Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

รู้จักกับ USB 3.1 Generation 2 SuperSpeed+ ตัวจริงเต็มสปีด 10Gbps

ในบรรดาพอร์ตต่อพ่วงที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คก็ตาม พอร์ต USB ถือเป็นพอร์ตที่มีความสำคัญและได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นพอร์ตในการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์สำคัญต่างๆ มากมาย

ในบรรดาพอร์ตต่อพ่วงที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊คก็ตาม พอร์ต USB ถือเป็นพอร์ตที่มีความสำคัญและได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นพอร์ตในการเชื่อมต่อข้อมูลกับอุปกรณ์สำคัญต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไป เช่น แฟลชไดรฟ์ หรือ เมาส์ คีย์บอร์ด ไปจนถึงอุปกรณ์ชิ้นใหญ่อย่างเช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์ รวมถึงอุปกรณ์โมบาย สมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตก็ตาม

USB3.1-2

Advertisement

โดยที่ USB port ยังได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่เราอาจคุ้ยเคยกับ USB 2.0 ก็ก้าวมาสู่ USB 3.0 และปัจจุบันที่เป็น USB 3.1 ซึ่งในเวลานี้พบได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี ซึ่งเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆ อย่างเช่น Intel X97/ X99 หรือ Intel Z170/ H170 ก็มักจะมาพร้อมพอร์ต USB ที่เป็นมาตรฐานใหม่ USB 3.1 รวมไปถึง USB Type-C ซึ่งเป็นพอร์ตต่อพ่วงรูปแบบใหม่ที่มีขนาดเล็กลง แต่ใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น

หลายคนคงอาจสงสัยว่า USB 3.1 นั้น ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า USB 3.0 อย่างไร เพราะบนรูปลักษณ์ของพอร์ตสีฟ้าสดใส ที่ปรากฏอยู่บน USB ทั้งสองรูปแบบ ก็ดูไม่แตกต่างกัน อีกทั้งยังรองรับการต่อพ่วงอุปกรณ์ได้เหมือนๆ กันอีกด้วย ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว พอร์ต USB 3.1 รุ่นใหม่นี้ จะสามารถให้เแบนด์วิทธ์ในการโอนถ่ายข้อมูลได้ถึง 10Gbps ในการเข้ารหัสข้อมูล เพียงแต่เป็นตัวเลขประสิทธิภาพบน SuperSpeed USB สำหรับ USB 3.1 ในเจเนอเรชั่นที่ 2 เท่านั้น แต่สำหรับพอร์ต USB 3.1 ในเจเนอเรชั่นที่ 1 (หรือ USB 3.0 จากข้อกำหนดของ USB-IF) ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ประมาณ 5Gbps ซึ่งในความเป็นจริงพื้นฐานของพอร์ตทั้ง 2 รูปแบบนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก

USB3.1-1

ข้อสังเกตความแตกต่างระหว่าง USB 3.1 Generation 1 และ USB 3.1 Generation 2 ในเบื้องต้นคือ โลโก้ USB-IF Certification ปรากฏอยู่บนอุปกรณ์ เพื่อแสดงถึงประสิทธิภาพและการใช้พลังงาน แบ่งออกเป็นโลโก้ USB SuperSpeed อันหมายถึง USB 3.1 Generation 1 (5Gbps) และ USB SuperSpeed+ ที่บอกถึง USB 3.1 Generation 2 (10Gbps) ให้เห็นอย่างชัดเจน

แต่ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 หรือ USB 3.1 ก็ตาม ต่างสนับสนุน USB 2.0 มาตรฐานเดิม ที่ให้ความเร็วสูงสุดที่ 280Mbps อยู่ด้วย อย่างไรก็ดีต้องยกความดีให้กับอัตราการรับ-ส่งข้อมูลที่สูงของ USB 3.1 ที่ช่วยให้การเคลื่อนย้ายข้อมูลวีดีโอเป็นไปอย่างรวดเร็ว พร้อมกับการรองรับ MHL3 ซึ่งรองรับการส่งข้อมูลวีดีโอความละเอียดได้ถึงระดับ 4K อีกด้วย
ที่มา : http://www.usb.org/developers/ssusb

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

หัวชาร์จ Type C ให้ดีแนะนำตัวชาร์จไฟแรงๆ สัก 65 วัตต์ขึ้นไป ชาร์จมือถือพร้อมโน๊ตบุ๊คได้สบายๆ เลยนะ! หัวชาร์จ Type C เป็นแก็ดเจ็ดสำคัญอีกชิ้นในกระเป๋าของผู้ใช้ส่วนใหญ่ยุคนี้ เพราะนอกจากสมาร์ทโฟนแล้วโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ก็มีพอร์ต USB-C แบบรองรับการชาร์จ Power Delivery ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ใช้ชาร์จไฟให้เครื่องได้เท่าที่ต้องการถ้ามีช่องเสียบปลั๊กอยู่ ไม่ว่าจะหยิบไปนั่งทำงานร้านกาแฟแล้วแบตฯ เริ่มน้อยหรืออยากจะปรับเครื่องเข้าโหมด Performance,...

Buyer's Guide

ปลั๊กไฟคอม ของสำคัญที่ถูกมองข้ามแต่ควรใส่ใจเลือกให้ดี! ปลั๊กไฟคอมเป็นอุปกรณ์สำคัญซึ่งโดนมองข้ามบ่อยๆ คิดว่าแค่มีเอาไว้เสียบแล้วจ่ายไฟได้ก็พอแล้วไม่ต้องซื้อแพงมากก็ได้ ซึ่งความคิดนั้นผิดมหันต์เพราะมันคือจุดจ่ายไฟให้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากซื้อแบบราคาถูกๆ ไม่มี มอก. แค่พอจ่ายไฟได้ พอเจอกระแสสูงโหลดเยอะจนความร้อนสูงขึ้นจนตัวปลั๊กละลายเกิดอัคคีภัยและปัญหาอื่นๆ ตามมาในภายหลังซึ่งไม่มีผลดีต่อชีวิตอย่างแน่นอน เรื่องการเลือกปลั๊กไฟคอมใหม่สักอันก็ไม่ได้ยากอะไรมาก ถ้าเอาแบบง่ายๆ ก็ซื้อจากแบรนด์ชั้นนำมีตรา มอก. ติดอยู่เท่านี้ก็ได้ สำคัญคือห้ามซื้อปลั๊กพ่วงแบบไม่มีฟิวส์เพราะผิดกฏหมาย แล้วเลือกแบบเป็นเบรกเกอร์ให้ระบบตัดไฟแทนจะปลอดภัยเวลาโหลดไฟเกิน แต่ถ้าลงรายละเอียดว่าควรดูเรื่องอะไร ให้เช็คตามนี้Advertisement ดูสเปคว่าตัวปลั๊กรับวัตต์และแอมป์ได้เท่าไหร่ ถ้าใช้กับพีซีควรเป็น 2300W 10A...

Buyer's Guide

ปลั๊กไฟ USB เพื่อสายไอที มีเอาไว้ชาร์จเหมาหมดทั้งโน้ตบุ๊ค, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน สะดวกงี้ต้องมีเอาไว้จริงๆ นะ! ปลั๊กไฟ USB นอกจากติดมาเป็นช่องเสริมของปลั๊กรางที่หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ถ้าใช้อุปกรณ์ไอทีหลายชิ้น ไม่ว่าจะแท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน, หูฟัง TWS, โน๊ตบุ๊คแล้ว ถ้ามีปลั๊กไฟ USB ดีๆ สักตัวเอาไว้ก็ประหยัดช่องเสียบปลั๊กไปได้หลายช่อง แค่หาสาย USB-C, USB-A...

CONTENT

ในปัจจุบัน เวลาจะลง Windows ใหม่ รวมถึงระบบปฏิบัติการ (OS) ใด ๆ วิธีที่ทำได้ง่ายและแทบทุกเครื่องรองรับก็คือการใช้แฟลชไดรฟ์ USB ในการติดตั้ง ซึ่งก่อนที่จะใช้ได้นั้น ก็ต้องมีการนำไฟล์ ISO สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการมาผ่านกระบวนการด้วยโปรแกรมบางตัวก่อน เพื่อทำให้สามารถบูทเครื่องจากไฟล์ที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์ได้ และกลายเป็น USB ลง Windows ที่ใช้งานได้กับแทบทุกเครื่อง ตัวอย่างโปรแกรมยอดนิยมก็เช่น Media Creation...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก