Connect with us

Hi, what are you looking for?

INTEL

รายละเอียด Intel Broadwell ขนาด 14nm เปิด 2in 1 รุ่น Core M ออกมาตัวแรก วางขายปลายปี

ตั้งแต่ Sandy Bridge , Ivy Bridge จนมาถึง Haswell รุ่นปัจจุบันตามรูปแบบของยุทธศาสตร์ Tick-Tock ก็เรียกได้ว่า Intel ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ซึ่งแน่นอนว่า Intel ก็จะต่อยอดด้วยซีพียูรุ่นใหม่ภายใต้รหัสที่มีชื่อว่า Broadwell

ตั้งแต่ Sandy Bridge , Ivy Bridge จนมาถึง Haswell รุ่นปัจจุบันตามรูปแบบของยุทธศาสตร์ Tick-Tock ก็เรียกได้ว่า Intel ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ซึ่งแน่นอนว่า Intel ก็จะต่อยอดด้วยซีพียูรุ่นใหม่ภายใต้รหัสที่มีชื่อว่า Broadwell

intel-broadwell-braswell-idf-2014

Advertisement

 

Broadwell เปิดเผยข้อมูล เตรียมวางขายสิ้นปี 2014

แต่อย่างไรก็ตาม Broadwell ก็เลื่อนกำหนดวันเปิดตัวมาเรื่อยๆ จนเกือบครบปีด้วยเหตุผลด้านการผลิตที่ยังหาความลงตัวไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามในที่สุด Intel ก็เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเป็นบางส่วนออกมาแล้ว ก่อนที่จะเปิดเผยรายละเอียดแบบเต็มๆ ในงาน IDF 2014 หรืองาน Intel Developer Forum 2014 ในเดือนกันยายนนี้นั่นเอง

 

intel1

 

โดย Broadwell จะเป็นซีพียูในรูปแบบของ Tick ตามยุทธศาสตร์ Tick-Tock โดยจะยังคงพึ่งพาสถาปัตยกรรมซีพียูเดิมจาก Haswell ที่ปรับแต่งจากเล็กน้อย แต่เปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตร มาเป็น 14 นาโนเมตรแทน และหลังจากนั่นในช่วงปี 2015 ก็จะปล่อย Intel Skylake ตามออกมาในรูปแบบของ Tock ที่เป็นการยกเครื่องใหม่ทั้งหมดนั่นเองละครับ

 

intel2

 

แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนมาใช่เทคโนโลยีผลิตแบบ 14 นาโนเมตรที่ปรับจากเดิมลงมาเรื่อยๆ ทำให้ตัวซียูมีขนาดที่เล็กลง แต่มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และแน่นอนว่าจะช่วยจัดสรรพลังงานที่ดีขึ้นทำให้ไม่เกิดความร้อนสูง ที่แน่นอนว่าจะทำให้ตัวเครื่องโน๊ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์ที่ใช้ชิป Broadwell นั่นมีขนาดเครื่องที่บางลงนั่นเองละครับ

intel3

intel4

โดยแกนหลักสำคัญที่ในการปรับเทคโนโลยีการผลิตจาก 22 นาโนเมตรมาเป็น 14 นาโนเมตรนั้นก็ขะอยู่ที่เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ 3 มิติ หรือ Tri-Gate ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งเจ้า Tri-Gate นี้จะถูกปรับปรุงให้มีระยะห่างระหว่างขา (pitch) แคบลง แต่ตัวขา (fin) สูงขึ้นเพื่อให้กระแสไฟวิ่งหมุนเวียนได้มากขึ้น และเมื่อลดจำนวนเมื่อลดจำนวน fin ลงเหลือแค่ 2 ทำให้ขนาดโดยรวมเล็กลงแต่ทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นด้วย

 

intel6

 

และจากเทคนโลยีการผลิต 14 นาโนเมตรทำให้กระแสไฟรั่ว (leakage power) ต่ำลง และประสิทธิภาพการสลับสถานะของทรานซิสเตอร์ดีขึ้นกว่าเทคโนโลยีการผลิตรุ่นก่อนๆ โดยวัดอัตราประสิทธิภาพการประมวผลต่อพลังงาน (performance per watt) เทียบกันระหว่าง 22 นาโนเมตรกับ 14 นาโนเมตร จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 2 เท่าตัว

 

intel7

 

ส่วนอัตราการใช้พื้นที่ผิวโลหะ (logic area) ของอินเทลก็มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ในขณะที่คู่แข่งเริ่มหยุดพัฒนาแล้ว การผลิตที่ระดับ 14 นาโนเมตรยังช่วยให้ต้นทุนต่อทรานซิสเตอร์ 1 ตัวลดลง ในภาพรวมทั้งหมดอีกด้วย

 

intel8

 

อย่างไรก็ตามปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ Intel ต้องเลื่อนเปิดตัว Broadwell มาหลายเดือน เนื่องมากจากอัตราความสำเร็จในการผลิต (yield rate) ที่ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีการผลิตระดับ 22 นาโนเมตรในปัจจุบัน แต่ตอนนี้อินเทลแก้ปัญหาเรื่องอัตราความสำเร็จในการผลิตได้แล้ว และคาดว่าปลายปีนี้จะสามารถเดินสายการผลิตได้เต็มขั้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านอัตราความสำเร็จในการผลิตทำให้เราจะเห็น Broadwell เปิดตัวแค่บางรุ่นในช่วงปลายปีนี้ ก่อนจะเปิดตัวแบบครบตระกูลๆ ในปีหน้า

 

intel9

intel10

 

Broadwell ตัวแรกคือ Core M ใช้กับแท็บเล็ตหน้าจอ 10 นิ้ว

ปกติแล้ว Intel จะเปิดตัว Intel Core รุ่นใหม่ด้วยตัวท็อป Core i7 แต่รอบนี้เปลี่ยนไป และเลือกเปิดตัวด้วย Core M ซีพียูรุ่นใหม่สำหรับแท็บเล็ตและไฮบริจ ที่เปิดตัวในงาน Computex เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งทาง NotebookSPEC ก็ได้ไปลองสัมผัสเจ้า Core M นี้มาด้วยเช่นกัน

 

Computex 2014 Intel 034

Computex 2014 Intel 044?Computex 2014 Intel 045

 

โดย Core M เป็นซีพียูแบรนด์ใหม่ที่จะวางขายเคียงคู่กับ Core i3/i5/i7 แต่ในทางปฏิบัติแล้ว มันคือ Core i3/i5/i7 รหัส Y เดิมที่ใช้กับ Ultrabook เอามารีแบรนด์ใหม่เป็น Core M ในรุ่นของ Broadwell นี้เอง (ในเอกสารจะเห็นชื่อ Broadwell Y หรือ BDW-Y ซึ่งก็หมายถึง Core M ส่วน HSW U/Y ก็คือ Haswell Y/U นั่นเอง) โดยอย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ยังมีแค่รายละเอียดของ Broadwell ในรุ่น Core M ส่วนตัวอื่นๆ ต้องรอในงาน IDF 2014 ดังที่กล่าวไปครับ

 

intel11

 

อย่างไรก็ตาม Intel กำหนดโจทย์การออกแบบ Core M ว่ามันจะต้องยัดลงในอุปกรณ์แท็บเล็ตไฮบริดเท่านั้น (อินเทลเรียก 2-in-1) ที่มีขนาดหน้าจอ 10 นิ้ว บางกว่า 9 มิลลิเมตร โดยการใช้งานในอุปกรณ์ที่บางขนาดนี้จะใช้ระบบระบายความร้อนแบบไร้พัดลมหรือ fanless ทำให้ Core M ต้องออกแบบมาให้กินไฟต่ำ มีขนาดที่เล็กลง และความปล่อยความร้อนออกมาน้อย โดยในแง่ของขนาด ตัวบอร์ดของ Core M ทั้งแผ่นมีขนาดเล็กลง 50% เมื่อเทียบกับ Haswell ในรหัส U/Y เช่นกับกับในแง่ของความสูงก็แบนลงกว่าเดิม 30% ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า 3D inductors (3DL)

intel12

intel13

 

 

การจัดสรรพลังงานก็มีการปรับปรุงการออกแบบในหลายๆจุด ร่วมกับการปรับขนาดการผลิตมาอยู่ที่ 14 นาโนเมตร และการปรับปรุงองค์ประกอบอื่นๆ ให้ควบคุมพลังงานได้ดีขึ้นในภาพรวม ผลคืออัตราการปล่อยความร้อน (TDP) ดีขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ Haswell-Y รุ่นที่แล้ว

 

intel14

 

ส่วนของสถาปัตยกรรมซีพียู ตรงนี้ยังไม่ค่อยมีรายละเอียดออกมามากนัก (ในสไลด์ของอินเทลมีหน้าเดียว) แต่เป็นการปรับปรุงขึ้นจาก Haswell ให้รันชุดคำสั่งต่อรอบ (instructions per cycle หรือ IPC) ดีกว่าเดิม 5%, ปรับปรุงเรื่องแคชและหน่วยความจำ, ปรับปรุงหน่วยประมวลผลทศนิยม (floating point) และปรับปรุงการเร่งการเข้ารหัส (cryptography acceleration)

intel15

intel17 intel16

 

ส่วนที่ปรับปรุงขึ้นเยอะกว่าคือจีพียู หรือชิปการ์ดจอออนบอร์ดนั่นเองซึ่งยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ โดยมีพลังการคำนวณดีขึ้น 20% และรองรับมาตรฐานกราฟิกใหม่ๆ ทั้ง Direct X 11.2 และ OpenGL 4.3 นอกเหนือจากนั้น ยังปรับปรุงเรื่องการแสดงผลภาพและวิดีโอ และปรับความละเอียดสูงสุดที่รองรับขึ้นไปที่ระดับ 4K Ultra HD เป็น Native Resolution และปรับปรุงคุณภาพของวิดีโอที่เรนเดอร์ให้ดีขึ้น และสำหรับ Intel Core M ชุดแรกนั้นจะวางขายภายในสิ้นปีนี้ และจะมีผลิตภัณฑ์ Intel รุ่นอื่นๆ ตามมาอีกมากในช่วงครึ่งแรกของปี 2015 ซึ่งต้องตามดูต่อไปแล้วละครับว่า Broadwell จะทำออกมาได้ดีแค่ไหน แต่อย่างไรก็ดีผมเชื่อว่า Intel Skylake ตัวถัดไปจาก Broawell น่าจะมีหมัดเด็ดที่มากกว่าเยอะเลยละครับ ซึ่งต้องตามดูกันต่อไป

intel-skylake-platform-details1-635x445

 

ที่มา : Blognone , Intel / ลิงค์ Computex 2014

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

INTEL

โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 200S series ใหม่ล่าสุด ส่งมอบประสิทธิภาพการเล่นเกมและการประมวลผลอันเหนือชั้นสำหรับเดสก์ท็อปพีซี พร้อมประหยัดพลังงานมากกว่าที่เคย กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ตุลาคม 2567 –  ประเด็นสำคัญ: อินเทล ประกาศเปิดตัวตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 200S series...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook S 14 UX5406SA พร้อม Intel Core Ultra Series 2 สุดทรงพลัง แบตฯ ทนถึงใจ 18 ชม. ได้สบาย! ในงาน IFA Berlin เมื่อไม่นานนี้ Intel ก็เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก