เราจะเห็นได้ว่าบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์อย่างเช่น Nest, GoPro, Beats, Jawbone, Oculus ฯลฯ ในช่วงที่ผ่านมานั้นมีการเปลี่ยนผ่านเจ้าของด้วยมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นได้เพราะเรามักจะเห็นได้ว่าฮาร์ดแวร์นั้นไม่ได้มีความน่าหลงไหลมากเท่าไรนัก(ฮาร์ดแวร์ภายใน) จนกระทั่งมาในช่วงปี 2013 ที่ผ่านมานี้บริษัทฮาร์ดแวร์นั้นถูกซื้อโดยบริษัทซอฟต์แวร์เป็นปริมาณมาก สาเหตุหนึ่งที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากว่าซอฟต์แวร์นั้นเคยอยู่ในจุดที่มีต้นทุนสูงและกระบวนการผลิตที่ยากครับแต่ว่าในปัจจุบันนั้นกระบวนการต่างๆ และต้นทุนในการผลิตซอฟต์แวร์นั้นง่ายและลดลงมากพอสมควร แถมยังมีบริการ?open-source ที่เปิดให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและดัดแปลงแก้ไขโค้ดกันได้อย่างอิสระอีกนั่นทำให้ทุกอย่างของซอฟต์แวร์ง่ายมากขึ้นไปอีก
เดี๋ยวนี้เราไม่จำเป็นต้องมีบริษัทที่ใหญ่โต แค่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องที่บ้านเราก็สามารถที่จะทำซอฟต์แวร์ออกมาขายกันได้แล้วครับ แถม App Store, Play Store และ Windows Store ยังทำให้ผู้ขายซอฟต์แวร์ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านด้วยอีกต่อไป สามารถที่จะนำซอฟต์แวร์ที่ตนเองสร้างนั้นลงขายได้อย่างง่ายดาย (แถมยังสามารถที่จะขายไปได้ทั่วโลกอีกด้วย) ถ้าถามว่าแล้วซอฟต์แวร์มีอะไรที่ขาดหายไปนั้น คำตอบที่ได้ก็คือฮาร์ดแวร์นั่นเองครับ ลองคิดดูง่ายๆ ว่าก่อนที่เราจะเข้าถึงข้อมูลในระดับบิท(ซอฟต์แวร์) ได้นั้น สิ่งที่จะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่างๆ นั้นได้ก็คือฮาร์ดแวร์นั่นเองครับ ในทางกลับกันฮาร์ดแวร์เองก็ยังเป็นตัวกำหนดอนาคตซอฟต์แวร์ด้วย ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็หนีไม่พ้น smartphone นั่นเองครับ
สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนไม่ค่อยชอบที่จะลงทุนในอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์มากสักเท่าไรในปัจจุบันนี้เนื่องมาจากว่าฮาร์ดแวร์นั้นเป็นอะไรที่ยากมากครับ(อ้างอิงจากคำพูดของ?Marc Andreessen) การผลิตฮาร์ดแวร์นั้นต้องผ่านกระบวนการต่างๆ หลายๆ ขั้นตอน และต้องมีผู้คนที่เกี่ยวข้องด้วยในจำนวนมาก เวลาอย่างน้อยที่สุดในการจะผลิตฮาร์ดแวร์ขั้นมาสัก 1 ชิ้นนั้นก็มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1 ปีครับ และผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตฮาร์ดแวร์นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า, นักออกแบบทางด้านอุตสาหกรรม, วิศวกรไร้สาย และอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนครับ ในแต่ละขั้นตอนของการพัฒนาฮาร์ดแวร์นั้นเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งจะต้องมีการใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยครับ ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนของอุปกรณ์นั้นๆ ก็ไม่ใช้น้อยๆ ครับ อาจจะมีค่าตั้งแต่ $100 หรือประมาณ 3,300 บาท ไปจนถึงระดับหลายล้านบาทเลยทีเดียวครับ
และการใช้เครื่องมือนี้ก็แตกต่างจากการผลิตซอฟต์แวร์ครับ เพราะการผลิตซอฟต์แวร์นั้นเราสามารถที่จะแก้ไขจุดที่ผิด ตรงไหนเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ แต่ทว่าฮาร์ดแวร์นั้นถ้ามีจุดผิดพลาดจุดหนึ่งขึ้นมาอาจจะต้องแก้ไขกันหมดและอาจจะต้องย้อนไปแก้ไขตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบเลยก็เป็นได้ครับ ดังนั้นอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาฮาร์ดแวร์จึงถือเป็นสิ่งที่ต้องได้รับความถูกต้องมาก หลังจากที่สามารถสร้างฮาร์ดแวร์ขึ้นมาได้แล้วนั้นต่อไปก็ต้องทำการคำนวณต่อครับว่าจะทำการผลิตฮาร์ดแวร์ชิ้นนี้จำนวนเท่าไร มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าผลิตน้อยไปก็อาจจะขาดทุน แต่ถ้าผลิตมากไปแล้วไม่สามารถขายได้ก็ขาดทุนเช่นเดียวกัน เมื่อคำนวณจุดคุ้มทุนและกำไรได้แล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการในการผลิตต่อไปครับ แต่ยังไม่จบเท่านั้นนะครับ เพราะในท้ายที่สุดผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ก็ต้องผลิตซอฟต์แวร์ที่จะทำการเรียกใช้งานฮาร์ดแวร์นั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เห็นไหมครับว่าการผลิตฮาร์ดแวร์นั้นยากมากเลยทีเดียวครับ
ถึงกระนั้นในปัจจุบันนี้กระบวนการในการผลิตฮาร์ดแวร์ก็ง่ายกว่าในอดีตค่อนข้างมากครับ ดังจะเห็นได้ว่ามีบริษัทที่รับประกอบฮาร์ดแวร์อย่าง Foxconn และ Quanta นอกเหนือไปจากนั้นตัวแทนจำหน่ายก็มักจะแพ็ครวมฮาร์ดแวร์ที่ผ่านการทดสอบว่าใช้งานได้แล้วส่งให้กับผู้บริโภคเลยตัวอย่างที่ชึดเจนก็อย่างเช่นร้านที่รับประกอบ PC นั่นเองครับ แถมในปัจจุบันนั้นด้วยความที่เราอยู่ในยุคของโลกออนไลน์ ทำให้ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสามารถที่จะส่งขายฮาร์ดแวร์ของตัวเองออกไปได้ทั่วโลกเช่นเดียวกันกับซอฟต์แวร์ ดังนั้นในยุคปัจจุบันนี้เราจึงจะเห็นได้ว่าฮาร์ดแวร์นั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ไปด้วยเป็นที่เรียบร้อย คำกล่าวที่ว่าฮาร์ดแวร์นั้นกลายเป็นซอฟต์แวร์ไปแล้วจึงไม่ได้มากเกินไปอีกในยุคปัจจุบันนี้ครับ และเราก็กำลังเข้าสู่ยุคของฮาร์ดแวร์เวอร์ชัน 2.0 กันแล้วครับ
เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงได้เห็นว่าบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่ๆ เริ่มผันตัวเองเป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ตามไปด้วย และการซื้อบริษัทฮาร์ดแวร์ที่มีความต้องการอยู่ในตลาดอยู่แล้วก็กลายมาเป็นเทรนใหม่ที่เราได้เห็นกันตั้งแต่ในช่วงปี 2013 ที่ผ่านมาครับ คุณจะเห็นได้ว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์นั้นได้มีการอัพเกรดซอฟต์แวร์ให้กับผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลาตัวอย่างที่ชัดเจนก็คงหนีไม่พ้น smartphone ครับ การปรับตัวในครั้งนี้ของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์นั้นก็ถือได้ว่าเป็นไปตามกลไกการตลาดที่ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้ามาเป็นส่วนรวมกันที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้แล้วนั่นเองครับ
ที่มา :?techcrunch