แน่นอนว่าไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Winamp Media player หรือเครื่องเล่นเพลงยอดฮิตตลอดกาลสำหรับเครื่อง PC และ Android ที่มีอายุอานามยาวนานมากกว่า 15 ปี จากบริษัท Nullsoft ซึ่งถือกำเนิดในปี 1997 และเรียกได้ว่าได้รับความนิยมแบบก้าวกระโดดอย่างมากในเวลานั้น
มาถึงจุดพีค
ในช่วงจุดเริ่มต้นของ Winamp โปรแกรม Media player ที่ถูกพัฒนาโดย Nullsoft มีนักพัฒนาหัวเรือหลักอย่าง Justin Frankel และ Dmitry Boldyrev ที่ได้ความนิยมอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ด้วยความที่เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย สวยงาม โดนเด่น ซึ่ง ณ เวลานั้นเรียกได้ว่าแทบจะยังไม่มีคู่แข่ง Media player เจ้าอื่นๆ เลย ซึ่งในขณะนั้นไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Winamp ใครก็ตามที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างๆ น้อยๆ ต้องนึกถึง และมีโปรแกรม Winamp เอาไว้ติดเครื่องเป็นอันดับแรก
?
ถึงคราวหายนะ
เมื่อการเข้ามาซื้อกิจการของ Nullsoft จาก AOL ในปี 1999 ด้วยราคาประมาณ 80-100 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแน่นอน Winamp ก็ต้องติดสอบห้อยตามไปด้วย และดูเหมือนว่าในช่วงแรก Winamp ประสบความสำเร็จมาก โดยในปี 2005 นั้นมียอดผู้ใช้มากกว่า 33 ล้านคน และมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวราว 57 ล้านคน ในเดือนกันยายน 2006 แต่ดูเหมือนว่าแนวโน้มตลาด และการแข่งขันในช่วงปี 2010-2013 ที่ผ่านมาจะเปลี่ยนไป ซึ่ง Winamp เจอกับของแข็งจำนวนมาก ทั้งโปรแกรม Media player อื่นๆ ต่างก็ผุดขึ้นมาราวดอกเห็ด ซึ่งโปรแกรมเหล่านั้นล้วนทำได้ดีเสียด้วย หรือแม้แต่การเข้ามาของสมาร์ทโฟน และแท็ปเล็ตรุ่นใหม่ๆ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเล่นเพลงอีกต่อไป ทำให้บริษัท AOL เกิดเป๋ขึ้นมาดื้อๆ จึงเกิดช่วงเวลาสูญญากาศ และไม่ยอมกำหนดทิศการการตลาดอย่างจริงจังให้กับ Winamp จนทำให้นักพัฒนาคู่บุญอย่าง Justin Frankel และ Dmitry Boldyrev เกิดอาการงอลจึงลาออกจากบริษัทในเวลาต่อมา
และแน่นอนในเมื่อนักพัฒนาคู่บุญไม่อยู่แล้วที่นี้ Winamp ก็เป๋ยาว จนสุดท้ายก็กู่ไม่กลับถึงคราวหายนะอย่างแท้จริง จนเมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) ทาง Winamp.com ก็ประกาศว่าจะไม่มีการพัฒนาต่อ และจะหยุดให้ดาวน์โหลดโปรแกรมในวันที่ 20 ธันวาคม 2013
ซึ่งก็นับว่าน่าเสียดายโปรแกรมดีๆ อย่าง Winamp?ที่เรียกได้ว่าเป็น Media player คู่ใจของใครหลายๆ คน รวมทั้งผม เป็นอย่างมาก สุดท้ายนี้เรามาร่วมกันลำลึกอดีตด้วยการช่วยกันโหลด(ฟรี) และใช้เจ้านี่กัน เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้กับ Winamp กันเถอะครับ แล้วเราจะไม่ลืมคุณ Winamp
ที่มา : winamp , arstechnica , engadget , wikipedia