“RAM” (Random-access memory) หรือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานในปัจจุบัน แต่จะมีหลายๆ คนสงสัยว่าแต่ละแบบนั้นต่างกันอย่างไร ค่า BUS ค่า CL ต่างๆ คืออะไรและต่างกันมากน้อยเพียงใด รวมถึงควรเลือกอย่างไรเพื่อใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ของเราได้อย่างเหมาะสม
ซึ่งในปัจจุบัน RAM จะมีขนาดตั้งแต่ 1GB, 2GB, 4GB, และ 8GB โดยในส่วนนี้เราจะซื้อมาใช้มากหรือน้อยอยู่ที่ความจำเป็นของเรา ซึ่งในเวลานี้ RAM ความจุขนาด 8GB สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์จะถือว่าเป็นมาตราฐานที่สามารถใช้งานได้ครบครันสำหรับการเล่นเกมส์ ทำงานทั่วๆ ไป เปิดเว็บหลายๆ หน้าเพื่อใช้งาน แต่ถามว่าถ้าคอมพิวเตอร์เรามีน้อยกว่า 8GB จะเป็นอะไรหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าไม่เป็นไร เพราะระบบจะเป็นตัวจัดการในการเรียกใช้งานอยู่แล้ว?แต่ในกรณีที่ทราบว่าต้องใช้ร่วมกับโปรแกรมที่มีการใช้แรมเยอะ?การเพิ่มแรมให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบโดยรวม?
แต่ถ้าอยากรู้ว่าขณะนี้เครื่องเราใช้ RAM ทำงานไปแล้วเท่าไหร่ ให้เปิด Task Manager ขึ้นมา โดยการคลิกขวาที่ Task bar แล้วเลือก Task Manager และเลือกไปที่หัวข้อ Performance ให้ดูในส่วน Memory จะมีสถานะให้เราดูว่ากำลังใช้งานอยู่เท่าไหร่
ที่นี้เรามาดูวิธีการอ่านค่า RAM กันบ้างว่าอ่านอย่างไร และมีอะไรบ้าง
- F3-12800CL7D-8GBSR = อันนี้คือชื่อรหัสรุ่นของ RAM ตัวนั้น
- DDR3-1600 = คือ RAM เป็นประเภท DDR3 โดยมีความเร็ว BUS 1600 MHz
- PC3-12800 = 12800 คือค่า Bandwidth ของ RAM
- CL 7-8-7-24 = CL (CAS Latency) คือเวลาที่ CPU จะเข้าถึงข้อมูลใน RAM ส่วน 7-8-7-24 คือค่าที่จะบอกถึงว่าจะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วมากน้อยเพียงใด (ยิ่งเลขน้อยยิ่งเร็ว)
- 1.6V = คือค่าไฟเลี้ยงมาตรฐานที่ RAM รุ่นนั้นๆ ต้องการใช้งาน
นอกจากส่วนต่างๆ ของ RAM แล้วเราต้องดูด้วยว่าเมนบอร์ดที่เราใช้งานนั้นมันรองรับได้แค่ไหน รองรับ RAM ประเภทอะไร ใส่ได้สูงสุดเท่าไหร่
เช่นเมนบอร์ดระบุว่า Supports Dual Channel DDR3 2100(OC) คือตัวเมนบอร์ดนั้นสามารถใช้งานร่วมกับ RAM DDR3 แบบ Dual Channel และรองรับ BUS 2100 MHz แบบ OC
- Dual Channel คือการใช้งาน RAM 2 ตัวทำงานร่วมกัน โดยจะได้ค่า Bandwidth เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และควรเลือกใช้ RAM รุ่นเดียวกันและขนาดเท่ากันเพื่อความสมบูรณ์ที่สุด
- 2100(OC) คือเราจะมั่นใจได้ว่า RAM ที่นำมาใส่นั้นสามารถใช้งานได้ถึง 2100 MHz ได้แน่นอน ในกรณีนำ BUS ที่ต่ำกว่ามาใส่ก็จะสามารถ OC (Overclock) เพื่อขึ้นมาได้ แต่ใช่ว่าจะ OC ได้ถึงเป้าหมายทุกตัว และนอกจากนั้นมันสามารถใช้งานเกินที่ระบุได้ด้วยการ OC เช่นกัน แต่ต้องใช้ความสามารถและความชำนาญด้วยถึงจะทำได้ และยิ่งค่านี้มากเท่าไหร่ RAM ก็จะแรงมากขึ้นเท่านั้นแต่ต้องเสถียรด้วย และมันจะไปโยงกับค่า CL อีกเพราะมันเป็นความเร็วในการเข้าถึง ยิ่ง BUS สูงๆ ค่า CL ก็คงต้องปรับสุงตามไปด้วย
เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นในการเลือกซื้อคือการรองรับและความต้องการใช้งานของเรา โดยมองที่ค่า DDR และขนาดที่เราต้องการเป็นหลัก หลังจากนั้นดูที่ค่า BUS ว่าเมนบอร์ดเรารองรับไหม จริงๆ แล้วการเลือกซื้อ RAM ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ในปัจจุบันนั้น RAM มีขายมากมายหลากหลายรุ่นมาก จึงทำให้ผู้ใช้งานสับสน โดยเฉพาะผู้ที่จะเริ่มต้นการอัพเกรดคอมพิวเตอร์แบบมือใหม่