Ultrabook ในปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากผู้ผลิตรายหลักหลายค่ายที่พากันเปิดตัว Ultrabook ที่มีดีไซน์สวยงามแปลกตากันหลายแบบ โดยแต่ละดีไซน์ก็จะมีข้อดีแตกต่างกันไปตามแนวคิดการออกแบบของผู้ผลิตรายนั้นๆ โดย Ultrabook ระดับสูงบางรุ่นที่มีจอสัมผัสก็ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows 8 ที่ติดตั้งมาให้ได้ดียิ่งขึ้น แต่รุ่นที่เป็นหน้าจอแบบธรรมดาก็สามารถใช้งานได้ดีไม่แพ้กับรุ่นที่มีหน้าจอสัมผัสเลย
ซึ่งทาง Toshiba เองก็มี Ultrabook หลากหลายรุ่นเช่นกัน ที่ในบทความนี้เราจะมารีวิวในรุ่น Toshiba Satellite U940-1002X โดยเป็น Ultrabook ขนาดจอ 14 นิ้ว ที่ตัวเครื่องมีความบางเบาพกติดตัวได้สะดวกและมีกราฟิกการ์ดแยกติดตั้งมาช่วยเสริมเรื่องการประมวลผลกราฟิกอีกด้วย นอกจากนี้ตัวเครื่องยังเป็นดีไซน์แบบใหม่จากทาง Toshiba ที่ดูสวยงามทันสมัย ดูดีไม่แพ้ Ultrabook จากแบรนด์อื่นที่มีราคาใกล้เคียงกัน ซึ่งทาง Toshiba ตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่ 31,990 บาท
Specification
Toshiba Satellite U940-1002X เลือกใช้ซีพียู Intel Core i5-3317U สถาปัตยกรรม Ivy Bridge แบบประหยัดพลังงานพิเศษมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.7 GHz และเร่งความเร็วได้สูงสุดที่ 2.6 GHz มี L3 cache อยู่ที่ 3MB กับกราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GT 630M มี VRAM 2 GB แบบ GDDR3 เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิก ภายในเครื่องมีแรมขนาด 4 GB แบบ DDR3 กับฮาร์ดดิสก์ความจุ 640 GB รวมทั้ง SSD ขนาด 32 GB ติดตั้งไว้ แสดงผลด้วยหน้าจอ LED ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล
ตัวเครื่องรองรับพอร์ต USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง กับ USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง นอกจากนี้จะมีพอร์ต HDMI, Ethernet LAN, SD Card Reader และรองรับการเชื่อมต่อไร้สายผ่าน ทาง Bluetooth กับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 b/g/n นอกจากนี้จะมี Webcam ความละเอียดระดับ HD กับคีย์บอร์ดพร้อมระบบไฟ Backlit และมีระบบปฏิบัติการ Windows 8 (64-bit) ติดตั้งมาให้ในเครื่อง สำหรับน้ำหนักเบาเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น สนนราคาที่ 31,990 บาท ถือได้ว่าไม่แพงสมน้ำสมเนื้ออยู่
ชมสเปกของ Toshiba U940-1002x ได้ที่นี่
Hardware / Design
ตัวเครื่องของ Toshiba Satellite U940-1002X จะเป็นสีน้ำเงิน Textured Ice Blue ทั้งเครื่องยกเว้นขอบจอที่เป็นพลาสติกสีดำมันวาว ด้านในตัวเครื่อง บริเวณส่วนบนจะมีแบตเตอรี่เป็นส่วนนูนสูงขึ้นมาเข้ากับขอบจอด้านล่างที่ถูกตัดออกไป เป็นการดีไซน์ให้ติดตั้งแบตเตอรี่ที่มีความจุมากได้โดยไม่ทำให้ตัวเครื่องหนาขึ้น เพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานความบางของ Ultrabook ที่ทาง Intel กำหนดเอาไว้
บอดี้ภายในจะเป็นเนื้อเรียบมันที่ส่วนเหนือคีย์บอร์ดลงมาจนถึงบริเวณคีย์บอร์ด แต่ด้านล่างคีย์บอร์ดจะเป็นผิวไม่เรียบและมีทัชแพดขนาดใหญ่ติดตั้งเอาไว้ ถัดลงมาเป็นไฟแสดงสถานะเปิดเครื่อง, ชาร์จไฟและการเชื่อมต่อไวร์เลสสามดวง ส่วนฝั่งซ้ายจะมีสติ๊กเกอร์บ่งบอกสเปกติดเอาไว้ และพอถอดแบตเตอรี่ออกจะเห็นว่าขาบานพับที่เป็นแกนเหล็กด้านในจะมีขนาดใหญ่และถูกขอบข้างของแบตเตอรี่ปิดเอาไว้อย่างมิดชิด สังเกตว่าขาบานพับที่เป็นชิ้นส่วนโลหะจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ดูแข็งแรงไม่เสียหายง่ายๆ แน่นอน
ส่วนขวามือที่เป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องจะออกแบบให้อยู่ลึกกว่าระดับพื้นผิวตัวเครื่องเล็กน้อย เวลากดปุ่มจะต้องทำได้ยากกว่าโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่น แต่ที่จริงแล้ว การออกแบบให้ตัวปุ่มอยู่ลึกลงไปเหมือนบอกใบ้ว่า Ultrabook ไม่จำเป็นต้องเปิดปิดเครื่องบ่อยๆ เพียงแค่พับหน้าจอให้อยู่ในโหมด Sleep ก็พอแล้ว และเพราะเป็น Ultrabook จึงมีดีไซน์ตัวเครื่องที่บางกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปพอสมควรเมื่อมองจากทางด้านข้าง
ใต้ตัวเครื่องจากด้านบนจะเป็นแบตเตอรี่พร้อมสลักเลื่อนสองตัวติดตั้งเอาไว้ ถัดลงมาจะเป็นพัดลมช่วยในระบบระบายความร้อน, สติกเกอร์ Windows 8 บอกถึงระบบปฏิบัติการภายในเครื่องและลำโพงขนาดเล็กสองตัวที่ขอบฝั่งซ้ายและขวา สังเกตว่าจะเห็นพัดลมใต้เครื่องชัดเจนอย่างนี้บอกได้ว่าชิ้นส่วนภายในเครื่องประกอบไว้แน่นและมีที่ว่างภายในเครื่องน้อยมาก
หากใครสังเกตจะเห็นว่า Toshiba U940-1002X เครื่องนี้สามารถถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวเครื่องได้และสามารถถอดฝาใต้เครื่องออกเพื่อทำการอัพเกรดได้ทั้งฮาร์ดดิสก์และแรม ดังนั้นถ้าใครต้องการให้ Ultrabook เครื่องนี้มีประสิทธิภาพดีขึ้นก็สามารถทำได้ไม่ยาก
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ Toshiba จะเป็นแบบแยกปุ่ม (Chiclet Keyboard) เหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ติดตั้งไฟ Backlit มาให้ และความสว่างของปุ่มจะถูกควบคุมด้วยตัวเครื่องให้ปรับระดับความสว่างโดยอัตโนมัติ ส่วนปุ่ม Caps Lock จะมีไฟแสดงการเปิดใช้งานสีเขียวติดตั้งไว้ การออกแบบตัวปุ่มจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก ซึ่งถ้าใครใช้งานคีย์บอร์ดที่ปุ่มพิมพ์มีขนาดใหญ่อาจไม่คุ้นมือในตอนแรกต้องพึ่งการปรับตัวสักพัก ตัวปุ่มจะตื้นตามแบบฉบับของ Ultrabook ที่เน้นความบางทำให้ระยะกดของแต่ละปุ่มลดลงแต่ยังเด้งนิ้วได้ดีกว่า Ultrabook บางรุ่นและเสียงปุ่มจะเงียบมาก
ทัชแพดผิวเรียบมีขนาดใหญ่พอที่จะวางนิ้วมือลงไปสี่นิ้วพร้อมกัน ออกแบบให้อยู่ในระดับเดียวกับตัวเครื่องและมีขอบสีเงินเดินขอบไว้และตัวแผ่นจะเป็นแผ่นเดียวซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ด้านใต้ ส่วนขอบบนฝั่งซ้ายและขวาจะออกแบบให้โค้งในขณะที่ด้านล่างจะเป็นมุมเหมือนปกติ บนแผ่นจะมีรอยเส้นขีดแบ่งปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ ทดสอบกดแล้วปรากฏว่าปุ่มค่อนข้างแข็ง นอกจากนี้ทัชแพดจะรองรับการทำ Gesture Control และตอบสนองได้รวดเร็วแบบ Real Time แต่น่าเสียดายที่รองรับการใช้งานเพียง 2 นิ้วเท่านั้น
Screen / Speaker
หน้าจอ LED ขนาด 14 นิ้ว มีความละเอียดหน้าจอที่ 1366?768 พิกเซล พาเนลเป็นแบบ TN ที่ให้สีสันสวยสดใสรวมทั้งตอบสนองได้รวดเร็วแต่จะติดฟ้าเล็กน้อย หน้าจอเป็นแบบปกติไม่รองรับการทัชสกรีนเหมือนกับ Ultrabook รุ่นระดับสูงบางรุ่น ส่วนของขอบบนจะติดตั้ง Webcam ความละเอียดระดับ HD เอาไว้ และมีไฟแสดงการทำงานสีฟ้าที่ฝั่งซ้ายของกล้องกับไมโครโฟน พอทดสอบเปิดใช้งานดูแล้วปรากฏว่าตัวกล้องสามารถทำงานได้ดีและตอบสนองรวดเร็วอีกด้วย
ลำโพงจะติดตั้งเอาไว้ที่ด้านใต้ตัวเครื่องที่ขอบฝั่งซ้ายและขวาจำนวนสองตัว มีขนาดเล็กและไม่มีการปรับแต่งเสียงมาให้เหมือนกับโน๊ตบุ๊คบางรุ่นของ Toshiba ที่มีการปรับแต่งเสียงโดย Harman/Kardon พอทดสอบฟังเสียงแล้วปรากฏว่าเสียงดังสุดกลับไม่ดังมากนัก คาดว่าเพราะลำโพงมีขนาดเล็กแต่คุณภาพของเสียงมีความใส ฟังได้ชัดเจนแต่เบสน้อยกว่าเสียงอื่นเหมือนกับโน๊ตบุ๊คทั่วไปในท้องตลาด
Connector / Thin And Weight
เทียบตัวเครื่องกับนิตยสารสักเล่มจะเห็นว่าขนาดใหญ่กว่านิตยสารเพียงเล็กน้อยและมีความหนาใกล้เคียงเกือบเท่ากล่อง DVD ทีเดียว นับว่าขนาดของตัวเครื่องไม่ใหญ่นัก ทำให้ใส่กระเป๋าเอกสารเพื่อนำติดตัวไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวกมาก ส่วนของอะแดปเตอร์จะมีขนาดเล็กเพราะว่าตัวเครื่องไม่ต้องใช้พลังงานมาก
ส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อจากด้านซ้ายมือจะมี Kensington Lock, USB 2.0 และช่องระบายความร้อนติดตั้งเอาไว้ ด้านหน้าจะมีไฟแสดงสถานะติดตั้งเอาไว้สามดวง ส่วนด้านขวามือจะมี Audio Out, Mic In, SD Card Reader, USB 3.0 สองช่อง, HDMI, LAN และอะแดปเตอร์อีกหนึ่งช่อง เรียกว่า Ultrabook เครื่องนี้มีพอร์ตหลักๆ ที่จำเป็นต้องใช้งานติดตั้งมาให้ครบครันทีเดียว แต่ว่าพอร์ต USB 3.0 ค่อนข้างชิดกัน ทำให้เวลาต่อแฟลชไดรฟ์พร้อมๆ กันสองตัวไม่ได้ เพราะอาจเกิดความเสียหายได้
น้ำหนักตัวเครื่องอย่างเดียวอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม ถือว่าใกล้เคียงกับ Ultrabook หลายๆ รุ่น พอรวมอะแดปเตอร์เข้าไปแล้วจะอยู่ราว 2.1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้ำหนักไม่มากนัก ไม่เป็นภาระเวลานำติดตัวไปใช้งานนอกสถานที่?
Performance / Software
ซีพียูที่ติดตั้งมาให้เป็น Intel Core i5-3317U เป็นซีพียูรุ่นประหยัดพลังงานเป็นพิเศษทำให้ใช้งานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน ซีพียูเป็นแบบ 2 คอร์ 4 เธรด สถาปัตยกรรม Ivy Bridge มีความเร็วที่ 1.7 GHz ถึง 2.6 GHz ในโหมด Turbo มี L3 cache อยู่ที่ 3 MB ด้วยกัน มีค่า Max TDP อยู่ที่ 17W แรมที่ติดตั้งมาให้มีขนาด 4 GB แบบ DDR3 ผลิตโดย Micron Technology ติดตั้งมาให้ 1 ช่องและรองรับการอัพเกรดเพิ่มเป็น Dual-Channel อีกด้วย
กราฟิกการ์ดจะมี Intel HD Graphic 4000 เป็นกราฟิกการ์ดออนบอร์ดและ NVIDIA GeForce GT 630M พร้อม VRAM 2 GB แบบ GDDR3 ซึ่งถือว่าเป็น Ultrabook ไม่กี่เครื่องที่ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกมาให้ใช้ประมวลผลกราฟิกทั้งนำมาเล่นเกมและต่อจอเสริมก็ได้
ในการทดสอบครั้งนี้ ทางทีมงานใช้ไดร์เวอร์เวอร์ชั่น 320.00 ที่ยังเป็นเวอร์ชั่น Beta อยู่ โดยคาดว่าถ้าไดร์เวอร์เวอร์ชั่นเสถียร (WHQL) เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว คาดว่าผลการทดสอบจะทำออกมาได้ดีกว่านี้แน่นอน
ความเร็วการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์น้อยสุดอยู่ที่ 23.2 MB/s สูงสุดที่ 142 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 67 MB/s เท่านั้น ส่วนค่า Access Time ที่เป็นความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 17.3 ms ถือว่าความเร็วอยู่ในระดับใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปในท้องตลาด นอกจากฮาร์ดดิสก์หลักแล้ว Toshiba ยังติดตั้ง SSD ความจุ 32 GB มาให้เพื่อให้เพื่อใช้บูตระบบปฏิบัติการกลับมาพร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยไดรฟ์ดังกล่าวจะซ่อนเอาไว้ และความเร็วในการทำงานนั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจไม่แพ้ Ultrabook เครื่องอื่นๆ ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD เพียงอย่างเดียว
Windows Index Experience แสดงผลคะแนนต่ำสุดเป็น Graphics ที่มีคะแนนเพียง 4.8 คะแนนเพราะเป็นกราฟิกการ์ดแบบออนบอร์ด คะแนนเลยไม่สูง
ทดสอบด้วย CINEBENCH 11.5 แล้วได้คะแนน OpenGL อยู่ที่ 16.57 fps และมีคะแนน CPU อยู่ที่ 2.42 pts
ส่วนของคะแนน OpenGL จะเห็นว่ากราฟิกการ์ดแยกมีผลต่อการทำงานอย่างเห็นได้ชัด สังเกตได้จากคะแนนของ NVIDIA GeForce GT 630M ที่ทำคะแนนได้มากกว่า Intel HD Graphic 4000 ส่วนของ CPU ถึงจะแพ้ไปเล็กน้อยแต่ก็ไม่มากนัก เพราะว่าซีพียู Intel Core i5, i7 แบบ ULV (Ultra Low Voltage หรือรุ่นประหยัดพลังงาน) เป็นซีพียูแบบ 2 คอร์ 4 เธรดเหมือนกัน แต่ Intel Core i7 มีความเร็วสูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น จึงถือว่าคะแนนที่ได้แทบไม่ต่างกันเลย
ทดสอบด้วย 3DMark06 แล้วได้คะแนนรวมที่ 8,865 คะแนน ส่วนคะแนน CPU อย่างเดียวอยู่ที่ 2,714 คะแนน จะเห็นได้ว่ากราฟิกการ์ดแยกมีผลต่อการประมวลผลของโปรแกรม 3DMark06 เป็นอย่างมาก และกราฟิกการ์ดจาก NVIDIA GeForce GT 630M ก็สามารถประมวลผลได้ดีกว่า AMD Radeon ที่นำมาเทียบอย่างเห็นได้ชัด
?
ส่วนของคะแนนซีพียูนั้นถึงจะมีความเร็วต่างกันไม่มาก มี 2 คอร์ 4 เธรด เหมือนกัน แต่กลับมีผลตอนทำการ Benchmark ด้วยโปรแกรมทดสอบอย่าง 3DMark06 แบบนี้?
3DMark11 ทดสอบแล้วได้ 1,060 คะแนนด้วยกัน จะเห็นได้ว่าคะแนนของ 3DMark11 นั้น AMD Radeon ทำคะแนนได้ดีกว่า แต่ไม่มากนัก
สำหรับ Toshiba U940 เครื่องนี้ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกจาก NVIDIA มาให้จึงทดสอบกับเกม DMC Devil May Cry ได้ค่า FPS ต่ำสุดที่ 36 FPS สูงสุดที่ 61 FPS เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 47 FPS ถึงจะเป็น Ultrabook แต่ก็สามารถเล่นเกมได้โดยไม่มีปัญหา คาดว่าถ้าไดร์เวอร์เป็นเวอร์ชั่นเสถียรแล้วจะสามารถแสดงผลได้ดีกว่านี้อีกแน่นอน
Street Fighter IV Benchmark ได้ 69 FPS และได้ 10,714 คะแนน โดยทางทีมงานเชื่อว่าตัวเครื่องสามารถแสดงค่าเฟรทเรทได้มากกว่านี้ แต่คาดว่าไดร์เวอร์ที่นำมาติดตั้งยังเป็นเวอร์ชั่นไม่เสถียรทำให้คะแนนไม่สูงนัก โดยถ้าเทียบกับ Toshiba P840t-1008X ที่เคยรีวิวมาก่อนนั้นจะมีค่าเฟรมเรทอยู่ที่ 116 FPS ทีเดียว
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน Toshiba Ultrabook เครื่องนี้มีความจุอยู่ที่ 2,770 mAh ถือว่าความจุอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ Ultrabook และ Slim Notebook เครื่องอื่นๆ ในท้องตลาดตอนนี้ สำหรับระยะเวลาการใช้งานนั้นทดสอบโดยเปิดความสว่างหน้าจอครึ่งเดียวและเปิดเสียงลำโพงดังสุดแล้วใช้ทำงานและเล่นอินเตอร์เน็ตต่อเนื่องปรากฏว่าสามารถใช้งานได้ราว 4 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งถือว่าทำได้ยาวนานน่าพอใจแม้แบตเตอรี่จะมีความจุไม่มากนัก
?นอกจากนำมาใช้ทำงานและเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว ทีมงานก็ทดสอบนำ Ultrabook ติดตัวไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย โดยชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มแล้วนำไปใช้งานนอกสถานที่ เปิดเครื่องใช้สลับกับปิดหน้าจอให้เครื่องอยู่ในโหมด Sleep และตั้งความสว่างหน้าจอและเสียงดังสุด ปรากฏว่า Toshiba เครื่องนี้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ทั้งวันและมีแบตเตอรี่เหลืออยู่ราว 50% นับว่าประหยัดพลังงานมากแม้จะมีกราฟิกการ์ดแยกก็ตาม รวมทั้งบูตเครื่องกลับมาให้พร้อมใช้งานจากโหมด Sleep ได้รวดเร็วมากด้วย ? ? ? ? ??
จากการเบิร์นเครื่องเพื่อทดสอบอัตราการกินไฟและความร้อนแล้ว ปรากฏว่าถ้าใช้งานอยู่ในโหมดปกติไม่นำไปเล่นเกมหรือใช้งานที่รีดประสิทธิภาพตัวเครื่องออกมามากๆ จะใช้พลังงานเพียง 36.5 วัตต์ ขณะที่ตัวเครื่องใช้ประสิทธิภาพสูงสุดจะกินไฟเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าที่ 62.7 วัตต์ แต่ปกติแล้ว Ultrabook จะใช้ทำงานแบบปกติเช่นเล่นอินเตอร์เน็ตมากกว่า ดังนั้นอัตรากินไฟสูงสุดที่ได้เห็นในรีวิวจึงไม่มีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยๆ แน่นอน
ความร้อนตอนที่เบิร์นเครื่องจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 31 องศาเซลเซียสจนถึง 48 องศาเซลเซียส โดยที่พักข้อมือขวาและซ้ายอยู่ที่ 31 และ 34 องศาเซลเซียสตามลำดับ ส่วนฝั่งขวามือของคีย์บอร์ดอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส คาดว่าเพราะอยู่ใกล้กับส่วนก่อความร้อนหลักเช่นซีพียูที่อยู่ตรงกลางตัวเครื่องใต้คีย์บอร์ด โดยอุณหภูมิส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 43 องศาเซลเซียส แต่ส่วนที่อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ช่องระบายความร้อนฝั่งซ้ายมือและส่วนเหนือคีย์บอร์ดที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ 47 และ 48 องศาเซลเซียส นับว่าระบบระบายความร้อนของ Toshiba เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีทีเดียว
จากการใช้งานจริงปรากฏว่าตัวเครื่องนั้นไม่ร้อนนัก เวลาใช้งานจริงสามารถนำมาวางใช้งานบนตักเพื่อพิมพ์งานต่อเนื่องได้นานโดยไม่เกิดความร้อนรบกวนมากจนต้องนำออกจากตัก แต่ถ้าผู้ใช้คนไหนไม่มั่นใจเรื่องความร้อนนี้ก็สามารถหาหนังสือมารองใต้เครื่องไม่ให้ถูกหน้าตักก็ดีเช่นกัน
Conclusion / Award
นับว่า Toshiba U940-1002X เครื่องนี้ก็เป็น Ultrabook อีกเครื่องหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว ทั้งงานประกอบที่ทำออกมาได้เรียบร้อยสวยงามและมีดีไซน์ที่ดูสวยงามหรูหราตามสไตล์ของ Toshiba และทัชแพดก็สามารถตอบสนองได้เร็วอีกด้วย รวมทั้งระบบการจัดการพลังงานและแบตเตอรี่ที่ทำออกมาได้ดี สามารถใช้งานต่อเนื่องได้เป็นเวลานานก็เป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งของ Ultrabook เครื่องนี้ ตัวเครื่องก็ก่อความร้อนน้อยและระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้รบกวนระหว่างใช้งาน
ถ้าสังเกตในตลาดตอนนี้ จะเห็นว่า Ultrabook ในปัจจุบันเน้นติดตั้งจอทัชสกรีนและกราฟิกการ์ดแยกมาให้เพื่อเน้นการทำงานร่วมกับ Windows 8 ภายในเครื่อง แต่ Toshiba เครื่องนี้จะเน้นความคุ้มค่าที่มีกราฟิกการ์ดแยกมาให้ใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิกแทน นอกจากนี้ยังสามารถถอดแบตเตอรี่และเปิดฝาเครื่องออกเพื่อทำการอัพเกรดฮาร์ดดิสก์และแรมได้อีกด้วยในขณะที่ Ultrabook หลายรุ่นไม่สามารถทำได้ ถือเป็นจุดเด่นหนึ่งของ Toshiba รุ่นนี้ทีเดียว
ข้อดี
- งานประกอบเรียบร้อยสวยงาม
- ทัชแพดตอบสนองได้รวดเร็วแบบ Real-Time
- ตัวเครื่องน้ำหนักเบาและบาง สามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก
- ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกมาให้ใช้ประมวลผลกราฟิกได้
- ตัวเครื่องสามารถเปิดฝาหลังออกมเพื่อทำการอัพเกรดได้ทั้งแรมและฮาร์ดดิสก์
- ประสิทธิภาพตัวเครื่องคุ้มค่ากับราคา
ข้อสังเกต
- แบตเตอรี่มีความจุน้อยและระยะเวลาใช้งานไม่นานตามมาตรฐาน Ultrabook ที่ Intel กำหนด
- ทัชแพดรองรับ Gesture Control แค่สองนิ้วเท่านั้น
Award
ตัวเครื่องบางเท่ากับกล่อง DVD เพียงหนึ่งกล่องและน้ำหนักเบาราว 1.8 กิโลกรัมเท่านั้น และถ้านำอะแดปเตอร์ติดตัวไปด้วยก็อยู่ราว 2.1 กิโลกรัม นับได้ว่า Ultrabook จาก Toshiba รุ่นนี้เหมาะสมที่จะนำติดตัวไปใช้งานนอกสถานที่เป็นอย่างมาก
สำหรับ Ultrabook ที่มาพร้อมกราฟิกการ์ดแยกนั้นมีไม่กี่รุ่นเท่านั้นในตลาด ติดตั้งซีพียู Intel Core i5 กับกราฟิกการ์ดแยกจาก NVIDIA และมีราคาคุ้มค่ากับสเปกที่ได้ก็ขอแนะนำเป็น Ultrabook จาก Toshiba เครื่องนี้อีกรุ่นหนึ่ง
Specification
Toshiba Satellite U940-1002X เลือกใช้ซีพียู Intel Core i5-3317U สถาปัตยกรรม Ivy Bridge แบบประหยัดพลังงานพิเศษมีความเร็วเริ่มต้นที่ 1.7 GHz และเร่งความเร็วได้สูงสุดที่ 2.6 GHz มี L3 cache อยู่ที่ 3MB กับกราฟิกการ์ด NVIDIA GeForce GT 630M มี VRAM 2 GB แบบ GDDR3 เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิก ภายในเครื่องมีแรมขนาด 4 GB แบบ DDR3 กับฮาร์ดดิสก์ความจุ 640 GB รวมทั้ง SSD ขนาด 32 GB ติดตั้งไว้ แสดงผลด้วยหน้าจอ LED ขนาด 14 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล
ตัวเครื่องรองรับพอร์ต USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง กับ USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง นอกจากนี้จะมีพอร์ต HDMI, Ethernet LAN, SD Card Reader และรองรับการเชื่อมต่อไร้สายผ่าน ทาง Bluetooth กับ Wi-Fi มาตรฐาน 802.11 b/g/n นอกจากนี้จะมี Webcam ความละเอียดระดับ HD กับคีย์บอร์ดพร้อมระบบไฟ Backlit และมีระบบปฏิบัติการ Windows 8 (64-bit) ติดตั้งมาให้ในเครื่อง สำหรับน้ำหนักเบาเพียง 1.7 กิโลกรัมเท่านั้น สนนราคาที่ 31,990 บาท ถือได้ว่าไม่แพงสมน้ำสมเนื้ออยู่
ชมสเปกของ Toshiba U940-1002x ได้ที่นี่
Hardware / Design
ตัวเครื่องของ Toshiba Satellite U940-1002X จะเป็นสีน้ำเงิน Textured Ice Blue ทั้งเครื่องยกเว้นขอบจอที่เป็นพลาสติกสีดำมันวาว ด้านในตัวเครื่อง บริเวณส่วนบนจะมีแบตเตอรี่เป็นส่วนนูนสูงขึ้นมาเข้ากับขอบจอด้านล่างที่ถูกตัดออกไป เป็นการดีไซน์ให้ติดตั้งแบตเตอรี่ที่มีความจุมากได้โดยไม่ทำให้ตัวเครื่องหนาขึ้น เพื่อให้เข้าเกณฑ์มาตรฐานความบางของ Ultrabook ที่ทาง Intel กำหนดเอาไว้
บอดี้ภายในจะเป็นเนื้อเรียบมันที่ส่วนเหนือคีย์บอร์ดลงมาจนถึงบริเวณคีย์บอร์ด แต่ด้านล่างคีย์บอร์ดจะเป็นผิวไม่เรียบและมีทัชแพดขนาดใหญ่ติดตั้งเอาไว้ ถัดลงมาเป็นไฟแสดงสถานะเปิดเครื่อง, ชาร์จไฟและการเชื่อมต่อไวร์เลสสามดวง ส่วนฝั่งซ้ายจะมีสติ๊กเกอร์บ่งบอกสเปกติดเอาไว้ และพอถอดแบตเตอรี่ออกจะเห็นว่าขาบานพับที่เป็นแกนเหล็กด้านในจะมีขนาดใหญ่และถูกขอบข้างของแบตเตอรี่ปิดเอาไว้อย่างมิดชิด สังเกตว่าขาบานพับที่เป็นชิ้นส่วนโลหะจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ดูแข็งแรงไม่เสียหายง่ายๆ แน่นอน
ส่วนขวามือที่เป็นปุ่มเปิดปิดเครื่องจะออกแบบให้อยู่ลึกกว่าระดับพื้นผิวตัวเครื่องเล็กน้อย เวลากดปุ่มจะต้องทำได้ยากกว่าโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่น แต่ที่จริงแล้ว การออกแบบให้ตัวปุ่มอยู่ลึกลงไปเหมือนบอกใบ้ว่า Ultrabook ไม่จำเป็นต้องเปิดปิดเครื่องบ่อยๆ เพียงแค่พับหน้าจอให้อยู่ในโหมด Sleep ก็พอแล้ว และเพราะเป็น Ultrabook จึงมีดีไซน์ตัวเครื่องที่บางกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปพอสมควรเมื่อมองจากทางด้านข้าง
ใต้ตัวเครื่องจากด้านบนจะเป็นแบตเตอรี่พร้อมสลักเลื่อนสองตัวติดตั้งเอาไว้ ถัดลงมาจะเป็นพัดลมช่วยในระบบระบายความร้อน, สติกเกอร์ Windows 8 บอกถึงระบบปฏิบัติการภายในเครื่องและลำโพงขนาดเล็กสองตัวที่ขอบฝั่งซ้ายและขวา สังเกตว่าจะเห็นพัดลมใต้เครื่องชัดเจนอย่างนี้บอกได้ว่าชิ้นส่วนภายในเครื่องประกอบไว้แน่นและมีที่ว่างภายในเครื่องน้อยมาก
หากใครสังเกตจะเห็นว่า Toshiba U940-1002X เครื่องนี้สามารถถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวเครื่องได้และสามารถถอดฝาใต้เครื่องออกเพื่อทำการอัพเกรดได้ทั้งฮาร์ดดิสก์และแรม ดังนั้นถ้าใครต้องการให้ Ultrabook เครื่องนี้มีประสิทธิภาพดีขึ้นก็สามารถทำได้ไม่ยาก
Keyboard / Touchpad
คีย์บอร์ดของ Toshiba จะเป็นแบบแยกปุ่ม (Chiclet Keyboard) เหมือนกับโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นในปัจจุบัน ติดตั้งไฟ Backlit มาให้ และความสว่างของปุ่มจะถูกควบคุมด้วยตัวเครื่องให้ปรับระดับความสว่างโดยอัตโนมัติ ส่วนปุ่ม Caps Lock จะมีไฟแสดงการเปิดใช้งานสีเขียวติดตั้งไว้ การออกแบบตัวปุ่มจะมีขนาดไม่ใหญ่นัก ซึ่งถ้าใครใช้งานคีย์บอร์ดที่ปุ่มพิมพ์มีขนาดใหญ่อาจไม่คุ้นมือในตอนแรกต้องพึ่งการปรับตัวสักพัก ตัวปุ่มจะตื้นตามแบบฉบับของ Ultrabook ที่เน้นความบางทำให้ระยะกดของแต่ละปุ่มลดลงแต่ยังเด้งนิ้วได้ดีกว่า Ultrabook บางรุ่นและเสียงปุ่มจะเงียบมาก
ทัชแพดผิวเรียบมีขนาดใหญ่พอที่จะวางนิ้วมือลงไปสี่นิ้วพร้อมกัน ออกแบบให้อยู่ในระดับเดียวกับตัวเครื่องและมีขอบสีเงินเดินขอบไว้และตัวแผ่นจะเป็นแผ่นเดียวซ่อนปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ด้านใต้ ส่วนขอบบนฝั่งซ้ายและขวาจะออกแบบให้โค้งในขณะที่ด้านล่างจะเป็นมุมเหมือนปกติ บนแผ่นจะมีรอยเส้นขีดแบ่งปุ่มคลิกซ้ายขวาเอาไว้ ทดสอบกดแล้วปรากฏว่าปุ่มค่อนข้างแข็ง นอกจากนี้ทัชแพดจะรองรับการทำ Gesture Control และตอบสนองได้รวดเร็วแบบ Real Time แต่น่าเสียดายที่รองรับการใช้งานเพียง 2 นิ้วเท่านั้น
Screen / Speaker
หน้าจอ LED ขนาด 14 นิ้ว มีความละเอียดหน้าจอที่ 1366?768 พิกเซล พาเนลเป็นแบบ TN ที่ให้สีสันสวยสดใสรวมทั้งตอบสนองได้รวดเร็วแต่จะติดฟ้าเล็กน้อย หน้าจอเป็นแบบปกติไม่รองรับการทัชสกรีนเหมือนกับ Ultrabook รุ่นระดับสูงบางรุ่น ส่วนของขอบบนจะติดตั้ง Webcam ความละเอียดระดับ HD เอาไว้ และมีไฟแสดงการทำงานสีฟ้าที่ฝั่งซ้ายของกล้องกับไมโครโฟน พอทดสอบเปิดใช้งานดูแล้วปรากฏว่าตัวกล้องสามารถทำงานได้ดีและตอบสนองรวดเร็วอีกด้วย
ลำโพงจะติดตั้งเอาไว้ที่ด้านใต้ตัวเครื่องที่ขอบฝั่งซ้ายและขวาจำนวนสองตัว มีขนาดเล็กและไม่มีการปรับแต่งเสียงมาให้เหมือนกับโน๊ตบุ๊คบางรุ่นของ Toshiba ที่มีการปรับแต่งเสียงโดย Harman/Kardon พอทดสอบฟังเสียงแล้วปรากฏว่าเสียงดังสุดกลับไม่ดังมากนัก คาดว่าเพราะลำโพงมีขนาดเล็กแต่คุณภาพของเสียงมีความใส ฟังได้ชัดเจนแต่เบสน้อยกว่าเสียงอื่นเหมือนกับโน๊ตบุ๊คทั่วไปในท้องตลาด
Connector / Thin And Weight
เทียบตัวเครื่องกับนิตยสารสักเล่มจะเห็นว่าขนาดใหญ่กว่านิตยสารเพียงเล็กน้อยและมีความหนาใกล้เคียงเกือบเท่ากล่อง DVD ทีเดียว นับว่าขนาดของตัวเครื่องไม่ใหญ่นัก ทำให้ใส่กระเป๋าเอกสารเพื่อนำติดตัวไปใช้งานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวกมาก ส่วนของอะแดปเตอร์จะมีขนาดเล็กเพราะว่าตัวเครื่องไม่ต้องใช้พลังงานมาก
ส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อจากด้านซ้ายมือจะมี Kensington Lock, USB 2.0 และช่องระบายความร้อนติดตั้งเอาไว้ ด้านหน้าจะมีไฟแสดงสถานะติดตั้งเอาไว้สามดวง ส่วนด้านขวามือจะมี Audio Out, Mic In, SD Card Reader, USB 3.0 สองช่อง, HDMI, LAN และอะแดปเตอร์อีกหนึ่งช่อง เรียกว่า Ultrabook เครื่องนี้มีพอร์ตหลักๆ ที่จำเป็นต้องใช้งานติดตั้งมาให้ครบครันทีเดียว แต่ว่าพอร์ต USB 3.0 ค่อนข้างชิดกัน ทำให้เวลาต่อแฟลชไดรฟ์พร้อมๆ กันสองตัวไม่ได้ เพราะอาจเกิดความเสียหายได้
น้ำหนักตัวเครื่องอย่างเดียวอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม ถือว่าใกล้เคียงกับ Ultrabook หลายๆ รุ่น พอรวมอะแดปเตอร์เข้าไปแล้วจะอยู่ราว 2.1 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้ำหนักไม่มากนัก ไม่เป็นภาระเวลานำติดตัวไปใช้งานนอกสถานที่?
Performance / Software
ซีพียูที่ติดตั้งมาให้เป็น Intel Core i5-3317U เป็นซีพียูรุ่นประหยัดพลังงานเป็นพิเศษทำให้ใช้งานต่อเนื่องได้เป็นระยะเวลานาน ซีพียูเป็นแบบ 2 คอร์ 4 เธรด สถาปัตยกรรม Ivy Bridge มีความเร็วที่ 1.7 GHz ถึง 2.6 GHz ในโหมด Turbo มี L3 cache อยู่ที่ 3 MB ด้วยกัน มีค่า Max TDP อยู่ที่ 17W แรมที่ติดตั้งมาให้มีขนาด 4 GB แบบ DDR3 ผลิตโดย Micron Technology ติดตั้งมาให้ 1 ช่องและรองรับการอัพเกรดเพิ่มเป็น Dual-Channel อีกด้วย
กราฟิกการ์ดจะมี Intel HD Graphic 4000 เป็นกราฟิกการ์ดออนบอร์ดและ NVIDIA GeForce GT 630M พร้อม VRAM 2 GB แบบ GDDR3 ซึ่งถือว่าเป็น Ultrabook ไม่กี่เครื่องที่ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกมาให้ใช้ประมวลผลกราฟิกทั้งนำมาเล่นเกมและต่อจอเสริมก็ได้
ในการทดสอบครั้งนี้ ทางทีมงานใช้ไดร์เวอร์เวอร์ชั่น 320.00 ที่ยังเป็นเวอร์ชั่น Beta อยู่ โดยคาดว่าถ้าไดร์เวอร์เวอร์ชั่นเสถียร (WHQL) เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว คาดว่าผลการทดสอบจะทำออกมาได้ดีกว่านี้แน่นอน
ความเร็วการถ่ายโอนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์น้อยสุดอยู่ที่ 23.2 MB/s สูงสุดที่ 142 MB/s ทำให้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 67 MB/s เท่านั้น ส่วนค่า Access Time ที่เป็นความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 17.3 ms ถือว่าความเร็วอยู่ในระดับใกล้เคียงกับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปในท้องตลาด นอกจากฮาร์ดดิสก์หลักแล้ว Toshiba ยังติดตั้ง SSD ความจุ 32 GB มาให้เพื่อให้เพื่อใช้บูตระบบปฏิบัติการกลับมาพร้อมใช้งานได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย โดยไดรฟ์ดังกล่าวจะซ่อนเอาไว้ และความเร็วในการทำงานนั้นอยู่ในระดับที่น่าพอใจไม่แพ้ Ultrabook เครื่องอื่นๆ ที่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD เพียงอย่างเดียว
Windows Index Experience แสดงผลคะแนนต่ำสุดเป็น Graphics ที่มีคะแนนเพียง 4.8 คะแนนเพราะเป็นกราฟิกการ์ดแบบออนบอร์ด คะแนนเลยไม่สูง
ทดสอบด้วย CINEBENCH 11.5 แล้วได้คะแนน OpenGL อยู่ที่ 16.57 fps และมีคะแนน CPU อยู่ที่ 2.42 pts
ส่วนของคะแนน OpenGL จะเห็นว่ากราฟิกการ์ดแยกมีผลต่อการทำงานอย่างเห็นได้ชัด สังเกตได้จากคะแนนของ NVIDIA GeForce GT 630M ที่ทำคะแนนได้มากกว่า Intel HD Graphic 4000 ส่วนของ CPU ถึงจะแพ้ไปเล็กน้อยแต่ก็ไม่มากนัก เพราะว่าซีพียู Intel Core i5, i7 แบบ ULV (Ultra Low Voltage หรือรุ่นประหยัดพลังงาน) เป็นซีพียูแบบ 2 คอร์ 4 เธรดเหมือนกัน แต่ Intel Core i7 มีความเร็วสูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น จึงถือว่าคะแนนที่ได้แทบไม่ต่างกันเลย
ทดสอบด้วย 3DMark06 แล้วได้คะแนนรวมที่ 8,865 คะแนน ส่วนคะแนน CPU อย่างเดียวอยู่ที่ 2,714 คะแนน จะเห็นได้ว่ากราฟิกการ์ดแยกมีผลต่อการประมวลผลของโปรแกรม 3DMark06 เป็นอย่างมาก และกราฟิกการ์ดจาก NVIDIA GeForce GT 630M ก็สามารถประมวลผลได้ดีกว่า AMD Radeon ที่นำมาเทียบอย่างเห็นได้ชัด
?
ส่วนของคะแนนซีพียูนั้นถึงจะมีความเร็วต่างกันไม่มาก มี 2 คอร์ 4 เธรด เหมือนกัน แต่กลับมีผลตอนทำการ Benchmark ด้วยโปรแกรมทดสอบอย่าง 3DMark06 แบบนี้?
3DMark11 ทดสอบแล้วได้ 1,060 คะแนนด้วยกัน จะเห็นได้ว่าคะแนนของ 3DMark11 นั้น AMD Radeon ทำคะแนนได้ดีกว่า แต่ไม่มากนัก
สำหรับ Toshiba U940 เครื่องนี้ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกจาก NVIDIA มาให้จึงทดสอบกับเกม DMC Devil May Cry ได้ค่า FPS ต่ำสุดที่ 36 FPS สูงสุดที่ 61 FPS เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 47 FPS ถึงจะเป็น Ultrabook แต่ก็สามารถเล่นเกมได้โดยไม่มีปัญหา คาดว่าถ้าไดร์เวอร์เป็นเวอร์ชั่นเสถียรแล้วจะสามารถแสดงผลได้ดีกว่านี้อีกแน่นอน
Street Fighter IV Benchmark ได้ 69 FPS และได้ 10,714 คะแนน โดยทางทีมงานเชื่อว่าตัวเครื่องสามารถแสดงค่าเฟรทเรทได้มากกว่านี้ แต่คาดว่าไดร์เวอร์ที่นำมาติดตั้งยังเป็นเวอร์ชั่นไม่เสถียรทำให้คะแนนไม่สูงนัก โดยถ้าเทียบกับ Toshiba P840t-1008X ที่เคยรีวิวมาก่อนนั้นจะมีค่าเฟรมเรทอยู่ที่ 116 FPS ทีเดียว
Battery / Heat / Noise
แบตเตอรี่ที่ติดตั้งมาให้ใน Toshiba Ultrabook เครื่องนี้มีความจุอยู่ที่ 2,770 mAh ถือว่าความจุอยู่ในระดับใกล้เคียงกับ Ultrabook และ Slim Notebook เครื่องอื่นๆ ในท้องตลาดตอนนี้ สำหรับระยะเวลาการใช้งานนั้นทดสอบโดยเปิดความสว่างหน้าจอครึ่งเดียวและเปิดเสียงลำโพงดังสุดแล้วใช้ทำงานและเล่นอินเตอร์เน็ตต่อเนื่องปรากฏว่าสามารถใช้งานได้ราว 4 ชั่วโมง 30 นาที ซึ่งถือว่าทำได้ยาวนานน่าพอใจแม้แบตเตอรี่จะมีความจุไม่มากนัก
?นอกจากนำมาใช้ทำงานและเล่นอินเตอร์เน็ตแล้ว ทีมงานก็ทดสอบนำ Ultrabook ติดตัวไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย โดยชาร์จแบตเตอรี่จนเต็มแล้วนำไปใช้งานนอกสถานที่ เปิดเครื่องใช้สลับกับปิดหน้าจอให้เครื่องอยู่ในโหมด Sleep และตั้งความสว่างหน้าจอและเสียงดังสุด ปรากฏว่า Toshiba เครื่องนี้สามารถใช้งานต่อเนื่องได้ทั้งวันและมีแบตเตอรี่เหลืออยู่ราว 50% นับว่าประหยัดพลังงานมากแม้จะมีกราฟิกการ์ดแยกก็ตาม รวมทั้งบูตเครื่องกลับมาให้พร้อมใช้งานจากโหมด Sleep ได้รวดเร็วมากด้วย ? ? ? ? ??
จากการเบิร์นเครื่องเพื่อทดสอบอัตราการกินไฟและความร้อนแล้ว ปรากฏว่าถ้าใช้งานอยู่ในโหมดปกติไม่นำไปเล่นเกมหรือใช้งานที่รีดประสิทธิภาพตัวเครื่องออกมามากๆ จะใช้พลังงานเพียง 36.5 วัตต์ ขณะที่ตัวเครื่องใช้ประสิทธิภาพสูงสุดจะกินไฟเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าที่ 62.7 วัตต์ แต่ปกติแล้ว Ultrabook จะใช้ทำงานแบบปกติเช่นเล่นอินเตอร์เน็ตมากกว่า ดังนั้นอัตรากินไฟสูงสุดที่ได้เห็นในรีวิวจึงไม่มีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยๆ แน่นอน
ความร้อนตอนที่เบิร์นเครื่องจะมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 31 องศาเซลเซียสจนถึง 48 องศาเซลเซียส โดยที่พักข้อมือขวาและซ้ายอยู่ที่ 31 และ 34 องศาเซลเซียสตามลำดับ ส่วนฝั่งขวามือของคีย์บอร์ดอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส คาดว่าเพราะอยู่ใกล้กับส่วนก่อความร้อนหลักเช่นซีพียูที่อยู่ตรงกลางตัวเครื่องใต้คีย์บอร์ด โดยอุณหภูมิส่วนดังกล่าวอยู่ที่ 43 องศาเซลเซียส แต่ส่วนที่อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ช่องระบายความร้อนฝั่งซ้ายมือและส่วนเหนือคีย์บอร์ดที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ 47 และ 48 องศาเซลเซียส นับว่าระบบระบายความร้อนของ Toshiba เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีทีเดียว
จากการใช้งานจริงปรากฏว่าตัวเครื่องนั้นไม่ร้อนนัก เวลาใช้งานจริงสามารถนำมาวางใช้งานบนตักเพื่อพิมพ์งานต่อเนื่องได้นานโดยไม่เกิดความร้อนรบกวนมากจนต้องนำออกจากตัก แต่ถ้าผู้ใช้คนไหนไม่มั่นใจเรื่องความร้อนนี้ก็สามารถหาหนังสือมารองใต้เครื่องไม่ให้ถูกหน้าตักก็ดีเช่นกัน
Conclusion / Award
นับว่า Toshiba U940-1002X เครื่องนี้ก็เป็น Ultrabook อีกเครื่องหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว ทั้งงานประกอบที่ทำออกมาได้เรียบร้อยสวยงามและมีดีไซน์ที่ดูสวยงามหรูหราตามสไตล์ของ Toshiba และทัชแพดก็สามารถตอบสนองได้เร็วอีกด้วย รวมทั้งระบบการจัดการพลังงานและแบตเตอรี่ที่ทำออกมาได้ดี สามารถใช้งานต่อเนื่องได้เป็นเวลานานก็เป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งของ Ultrabook เครื่องนี้ ตัวเครื่องก็ก่อความร้อนน้อยและระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้รบกวนระหว่างใช้งาน
ถ้าสังเกตในตลาดตอนนี้ จะเห็นว่า Ultrabook ในปัจจุบันเน้นติดตั้งจอทัชสกรีนและกราฟิกการ์ดแยกมาให้เพื่อเน้นการทำงานร่วมกับ Windows 8 ภายในเครื่อง แต่ Toshiba เครื่องนี้จะเน้นความคุ้มค่าที่มีกราฟิกการ์ดแยกมาให้ใช้เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิกแทน นอกจากนี้ยังสามารถถอดแบตเตอรี่และเปิดฝาเครื่องออกเพื่อทำการอัพเกรดฮาร์ดดิสก์และแรมได้อีกด้วยในขณะที่ Ultrabook หลายรุ่นไม่สามารถทำได้ ถือเป็นจุดเด่นหนึ่งของ Toshiba รุ่นนี้ทีเดียว
ข้อดี
- งานประกอบเรียบร้อยสวยงาม
- ทัชแพดตอบสนองได้รวดเร็วแบบ Real-Time
- ตัวเครื่องน้ำหนักเบาและบาง สามารถพกพาไปใช้งานนอกสถานที่ได้สะดวก
- ติดตั้งกราฟิกการ์ดแยกมาให้ใช้ประมวลผลกราฟิกได้
- ตัวเครื่องสามารถเปิดฝาหลังออกมเพื่อทำการอัพเกรดได้ทั้งแรมและฮาร์ดดิสก์
- ประสิทธิภาพตัวเครื่องคุ้มค่ากับราคา
ข้อสังเกต
- แบตเตอรี่มีความจุน้อยและระยะเวลาใช้งานไม่นานตามมาตรฐาน Ultrabook ที่ Intel กำหนด
- ทัชแพดรองรับ Gesture Control แค่สองนิ้วเท่านั้น
Award
ตัวเครื่องบางเท่ากับกล่อง DVD เพียงหนึ่งกล่องและน้ำหนักเบาราว 1.8 กิโลกรัมเท่านั้น และถ้านำอะแดปเตอร์ติดตัวไปด้วยก็อยู่ราว 2.1 กิโลกรัม นับได้ว่า Ultrabook จาก Toshiba รุ่นนี้เหมาะสมที่จะนำติดตัวไปใช้งานนอกสถานที่เป็นอย่างมาก
สำหรับ Ultrabook ที่มาพร้อมกราฟิกการ์ดแยกนั้นมีไม่กี่รุ่นเท่านั้นในตลาด ติดตั้งซีพียู Intel Core i5 กับกราฟิกการ์ดแยกจาก NVIDIA และมีราคาคุ้มค่ากับสเปกที่ได้ก็ขอแนะนำเป็น Ultrabook จาก Toshiba เครื่องนี้อีกรุ่นหนึ่ง