ดูเหมือนว่าแรมแบบ DDR3 นั้นจะมีการใช้งานยาวนานมากกว่าประเภทแรมในตระกูล DDR ก่อนหน้านี้ทั้งหมดนะครับ ซึ่งมันจะถูกใช้งานไปอย่างน้อยอีก 2-3 ปีเลยทีเดียว ก่อนที่แรมประเภท DDR4 จะเข้ามาแทนที่ในปี 2014
ในฤดูใบไม้ผลิของปี 2012 นี้ Intel ได้ส่งซีพียูใหม่อย่าง Inte Ivy Bridge ออกมา และ AMD ก็ตามมาด้วยติด ๆ ด้วยการส่ง Trinity APU ออกมา เราสามารถที่จะนับซีพียูรุ่นต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จในเวลาที่ผ่านมา 6 ปีได้เลย
ถ้าจำกันได้ในสมัยซีพียูสุดยอดความแรงในยุคหนึ่งอย่าง Core 2 Quad (ก่อนหน้าซีพียูในรุ่น Core i Nehalem) และ AMD Athlon และ Phenom ได้มีการส่งแรมรุ่นใหม่อย่าง DDR3 ออกมาซึ่งเป็นเวลากว่า 6 ปีมาแล้ว และยาวนานกว่าแรมแบบ DDR2 ที่ใช้กันเป็นเวลา 4 ปี
หนึ่งในเหตุผลที่แรมประเภท DDR3 นี้ประสบความสำเร็จเป็นเวลานานก็เพราะการปรับปรุงกระบวนการของ Semicon เราจะเห็นได้ว่าแรม DDR3 เริ่มต้นจากความเร็วที่ DDR3-1066 ในขณะที่ตอนนี้มันอยู่ที่ DDR3-2500 หรือสูงกว่า และในความเป็นจริงแล้วดูเหมือนว่า Ivy Bridge จะไม่มีปัญหาอะไรเลยถ้าแรมประเภท DD3 นี้จะมีความเร็วเหนือกว่า DDR3-3000 ซะอีก นอกจากนั้นยังมีการเปิด bandwidth ด้วยการใช้เทคโนโลยีแบบ quad-channel อีกด้วยครับ
อย่างไรก็ตามยุคของ DDR3 ก็ต้องมีวันสิ้นสุดลง เมื่อแรม DDR4 นั้นถูกสรุปแล้วว่ามันจะต้องเข้ามาแทนที่แรมแบบ DDR3 อย่างแน่นอน หลังจากใช้เวลากว่า 2 ปีในการหาข้อสรุปนี้ และแน่นอนว่าแรมแบบใหม่นี้ต้องมีกุญแจสำคัญที่จะให้สิ่งที่ดีกว่าแรมแบบ DDR3 แน่นอน
อย่างแรกเลยที่จะถูกใส่มาในแรม DDR4 ก็คือความเร็วพื้นฐานที่เพิ่มขึ้น โดยมันจะเริ่มตั้งแต่ DDR4-2667, DDR4-3200, DDR4-4000 และ 4266
ต่อมาคือการกินไฟที่ลดลง จากในปัจจุบันนั้นแรมประเภท DDR3 จะกินไฟอยู่ที่ Slot ละ 1.2v แต่สำหรับ DDR4 จะกินไฟลดลงเหลือแค่ 1.05v เท่านั้นครับ
ส่วนการออกแบบดีไซน์ก็จะมีการเปลี่ยนไปใช้ Rambus แบบ point-to-point ซึ่งจะมีค่า CL อยู่ที่ 15 สำหรับแรม DDR4 ความเร็ว 3200
โดยสรุปคือ DDR4 นั้นจะมาพร้อมกับ bandwidth ที่สูงขึ้น ซึ่งมันก็จะทำให้ค่าของ latency สูงขึ้นไปด้วย มันก็จะเหมือนกับแรม DDR3 ที่มีปัญหานี้อยู่ในช่วงแรก ๆ พูดง่าย ๆ คือมันจะไม่เหมาะแก่การ OC แต่พอใช้ได้ไปสักระยะผู้ผลิตจากค่ายต่าง ๆ ก็เริ่มทำให้ latency นั้นต่ำลงมาได้ครับ
ที่มา :: vr-zone