มาดูใต้แท่นกันบ้าง ก็ไม่มีอะไรมากมายครับ นอกจากแถบยางกันลื่นขนาดใหญ่ทั้ง 4 มุม และช่องว่างตรงกลาง วัสดุที่ใช้คือพลาสติกสีดำผิวเรียบ ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแผ่นอะลูมิเนียมข้างบนแน่ๆ
ดูป้ายโลโก้กันชัดๆไปเลยครับผม บอกกันไปเลยว่า EVO ตัวนี้บ้านเกิดอยู่ในจีนนะ
ยังมีส่วนที่น่าสนใจอีกจุดครับ นั่นคือช่องดูดลมภายนอกเข้า ซึ่งมีอยู่ทั้งด้านซ้ายและขวาเลย ขนาดของช่องก็ไม่ใหญ่ ไม่เล็ก ดูแล้วน่าจะพอเหมาะกับพัดลมขนาด 80 mm ที่ให้มาเลยล่ะ
มาดูรูปถ่ายรอบข้างตัวแท่นกันบ้าง เริ่มต้นด้วยด้านหน้าเลยครับ
ต่อมาก็ทางด้านขวา เมื่อพลิกมาด้านข้างก็จะพบว่าตัวแท่นนั้นเอียงขึ้นราวๆ 30 องศา และจุดเด่นของด้านนี้ก็คือมีพอร์ต USB 2.0 มาให้ถึง 3 พอร์ตเลยทีเดียว
ย้ำชัดๆ ว่า 3 พอร์ตจ้าาาา
ส่วนด้านหลังก็มีช่องดูดลมจากภายนอกอยู่ทั้ง 2 ด้านครับ
ด้านซ้ายนี่มีจุดน่าสนใจหลายจุดเหมือนกัน เราซูมไปดูกันใกล้ๆ ดีกว่าครับ
(แหม ซูมเอียงนะนี่) คราวนี้ก็เห็นชัดเจนแล้วนะครับ ไล่จากซ้ายก็จะพบกับช่องเสียบสาย mini USB ที่ให้มานั่นเอง โดยอีกด้านก็ไปเสียบกับพอร์ต USB ของตัวเครื่อง เพื่อทำให้พัดลมและ USB อีก 3 พอร์ตของ EVO ทำงานได้ ถัดมาก็เป็นปุ่มปิด/เปิดการทำงานของพัดลม แล้วตามด้วยไฟแสดงสถานะการทำงานของพัดลมว่าเปิดหรือปิดอยู่ จากนั้นก็เป็นตัวปรับรอบความเร็วของพัดลม ปิดท้ายด้วยช่องเสียบสาย adapter ครับ น่าเสียดายที่ต้องหาซื้อมาใช้เอง เพราะไม่มีแถมมาในกล่องครับ เราเลยไม่ได้ทดสอบในจุดนี้ ซึ่งถ้าเสียบ adapter ก็จะทำให้สามารถใช้งานทั้งพัดลมและ USB hub ได้อย่างไม่มีปัญหาแน่นอน เพราะเท่าที่ทดสอบ พบว่าไม่สามารถใช้ USB ทั้ง 3 พอร์ตพร้อมกันได้ครับ เนื่องด้วยปัญหาไฟไม่พอนั่นเอง
ปิดท้ายด้วยความหนาของแผ่นอะลูมิเนียม ซึ่งดูแล้วไม่น่าเท่าไรเลย เมื่อกดก็ยวบลงไปนิดนึง แต่เวลาใช้งานจริงไม่มีปัญหาแน่นอนครับ เพราะจะมีการกระจายน้ำหนักออกไปทั้ง 4 มุม
มาดูผลการทดสอบกันบ้าง ว่าเจ้า EVO จะทำได้ดีขนาดไหนในการทดสอบการใช้งานจริง
Before
After
ความสามารถในการระบายความร้อนนับว่าทำได้ค่อนข้างดีครับ แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับทิศทางและวิธีในการระบายอากาศของตัวเครื่องเองด้วยนะครับ
มาถึงส่วนสุดท้ายของการรีวิว นั่นคือการสรุปรีวิว ถ้าให้ผมเปรียบเทียบกับ cooling pad ตัวอื่นๆเท่าที่เคยใช่หรือรีวิวมา ก็นับว่า Cooler Master Notepal Infinite EVO ตัวนี้เป็นตัวที่สามารถใช้งานได้ดีรุ่นหนึ่ง เนื่องด้วยความรอบด้านในสิ่งที่จำเป็นของมัน นั่นคือการเป็น USB hub และปรับรอบความเร็วของพัดลมได้ อีกทั้งการเลือกใช้อะลูมิเนียมเป็นผิวสัมผัสกับตัวเครื่องโน๊ตบุ๊ค มำให้เกิดการระบายความร้อนที่ค่อนข้างดี เสียงที่ได้ก็ไม่ดังมากนัก นับว่าคุ้มค่าคุ้มราคาค่าตัวราว 1,500 บาท อยู่เหมือนกันครับ แต่ใครที่สนใจ อาจต้องรออีกนิดนึงนะ เพราะมันยังไม่มีวางขายทั่วไปครับผม
ข้อดี
- พัดลมสามารถปรับความเร็วรอบได้
- มี USB hub ให้ถึง 3 พอร์ต
ข้อสังเกต
- ไม่มี adapter แถมมาให้ทั้งๆที่มีพอร์ตให้เสียบ ทำให้เกิดปัญหากับโน๊ตบุ๊คที่พอร์ต USB จ่ายไฟได้ไม่เต็มที่
ขอขอบคุณ Cooler Master สำหรับของในการทดสอบด้วยครับ -/\-