มาด้านล่างกันบ้าง จะได้ไม่น้อยหน้ากัน
พลิกลงมาด้านล่างกันบ้าง จุดเด่นที่สุดคงหนีไม่พ้นตะแกรงใหญ่ตรงกลางนั่นละครับที่สามารถเปิดออกได้ด้วย แต่เดี๋ยวเราจะไปดูกันตอนหลังครับ
ที่ทั้ง 4 มุมจะมีพลาสติกใสๆอยู่อย่างในภาพนะครับ ซึ่งนั่นก็คือตำแหน่งที่มีแสงจากไฟ LED ออกมานั่นเอง
ด้านบนสุดจะมีช่องขนาดใหญ่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่องที่ช่วยใช้การจับ เพื่อทำให้พกพาไปได้สะดวกขึ้นครับ
เอาละครับ คราวนี้เราลองเปิดตะแกรงตรงกลางขึ้นมาบ้าง จะพบว่าข้างในโล่งเป็นช่องขนาดใหญ่มากเลยทีเดียว
สำหรับวิธีจ่ายไฟให้กับพัดลมนั้น ก็เป็นแท่งโลหะ 3 pin แบบที่ใช้ใน mainboard ของเครื่อง desktop เลยครับ ซึ่งนั่นหมายความว่า เราสามารถนำพัดลมที่เข้ากันได้ตัวอื่นๆมาใส่แทนได้ด้วยนั่นเอง โดยมีขั้วต่อแบบเดียวกันนี้ซึ่งมีด้านละ 2 อัน รวมแล้วมีทั้งหมด 4 อันด้วยกันครับ
นี่เลยครับ หน้าตาของแผงพัดลมขนาด 140 mm ทั้ง 2 ตัว ซึ่งพัดลมนั้นก็สามารถถอดออกจากตัวแผงได้ด้วยการกดที่ปุ่มด้านล่างในภาพเพื่อดึงออกจากตัวแผงครับ
นี่ครับขั้วต่อเพื่อจ่ายไฟที่ตัวพัดลม อาจจะทำให้เพื่อนๆหลายคนได้ไอเดียดัดแปลงขึ้นมาเลยนะเนี่ย
เมื่อทำการเปิดใช้งานครับ พัดลมหมุนเรียบร้อยดี ทดลองปรับความเร็วรอบพัดลมก็โอเค พอปรับสุดลมแรงมากครับแต่ก็เสียงดังมากด้วยเช่นกัน
ถ้าสงสัยนะครับ ว่าเจ้า SF-19 นี้ ดั้งเดิมมันเป็นพัดลมแบบดูดลมออกจากตัวเครื่องหรือเป่าลมเข้าตัวเครื่อง ผมเลยเอากระดาษมาวางบนแท่นขณะทำงานสุดๆให้ดูเลยครับ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า ดั้งเดิมมันดูดอากาศออกจากตัวเครื่องครับ ส่วนที่ผมใช้คำว่าดั้งเดิมนั้น ก็เป็นเพราะว่าตัวพัดลมเราสามารถถอดมาปรับแต่งได้นั่นเองครับ
ลองเอาเครื่องมาวางบนตัวแท่นดูบ้าง ตัวโน๊ตบุ๊คเป็นเครื่องขนาด 14 นิ้วนะครับ ดูขนาดต่างกันมากมายจริงๆ
ด้านข้างกันบ้าง จะเห็นว่าเครื่องอยู่ภายในกรอบของตาข่ายที่ยกขึ้นมาพอดีเป๊ะ
ด้านหลังกันบ้าง รูปที่ผ่านมาว่าดูต่างกันมากแล้ว รูปนี้ยิ่งเห็นชัดเลยครับว่า SF-19 มันใหญ่มาก นอกจากนี้ผมได้ลองทำการใช้งานร่องเก็บสายไฟด้วย ก็พบว่าใช้งานได้ดีเลยทีเดียว
ต่อไปจะเป็นการโชว์แสงไฟตามลำดับการกดกันบ้างนะครับ
เริ่มที่สีแดง
เขียวเข้ม
น้ำเงินเข้ม
เขียวอ่อน
ฟ้าอ่อน
สีม่วง
และปิดท้ายด้วยฟ้าอ่อนมากๆจนแทบจะเรียกว่าเป็นสีขาวก็ว่าได้ครับ และถ้ากดครั้งต่อไป ก็จะเป็นไฟไล่สีไปเรื่อยๆอัตโนมัติตามลำดับข้างบนนี้ละครับ ถ้ากดอีกครั้งก็จะวนกลับมาเป็นสีแดงแรกใหม่อีกครั้ง
เอาละครับ ถึงส่วนที่หลายๆคนรอคอยกันแล้ว นั่นคือผลการทดสอบนั่นเอง ซึ่งเครื่องที่ใช้ทดสอบก็มีคุณสมบัติดังนี้
- ASUS K40AB-VX044D อายุการใช้งานประมาณ 1 ปีกว่า
- ใช้งานในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ ค่อนไปทางอุ่นๆนิดๆ
- โปรแกรมที่่ใช้งาน
- Google Chrome 10 tab
- Mozilla Firefox 10 tab
- Skype
- HWMonitor
ก่อนใช้ SF-19
ขณะใช้ SF-19 (เปิดพัดลมระดับแรงสุด)
เราสรุปมาเป็นกราฟด้วยเลยละกันนะครับ จะได้เปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ต้องถือว่าทำได้ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว ลดอุณหภูมิส่วนหลักๆลงไปได้ถึง 10 กว่าองศา
มาถึงส่วนท้ายกันแล้วนะครับ ก็ต้องบอกว่า SF-19 ตัวนี้ ทำได้ดีเลยครับในด้านการระบายความร้อน รวมไปถึงการเป็น USB 2.0 hub ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ส่วนไฟ LED ก็มองซะว่าเป็นของประดับแล้วกันนะครับ เอาเป็นว่ามาสรุปข้อดีและจุดที่น่าสังเกตเกี่ยวกับ SF-19 กันดีกว่าครับ
ข้อดี
- มีพัดลมขนาดใหญ่ถึง 2 ตัว และสามารถเปลี่ยนได้ตามใจชอบ
- สามารถปรับความเร็วการหมุนของพัดลมได้
- ให้ USB hub มาตั้ง 4 พอร์ต (เมื่อรวมแล้วก็จะเหมือนได้เพิ่มมา 3 พอร์ตนั่นเองครับ เพราะต้องเสีย 1 พอร์ตในการต่อกับตัวแท่น)
- เป็น USB 2.0 ซึ่งในขณะนี้ยังแพร่หลายมากกว่า และยังทำให้ราคาถูกกว่ารุ่นที่เป็น USB 3.0 ด้วย
ข้อสังเกต
- ถ้าเปิดพัดลมความแรงสุด เสียงจะดังมาก
- ไฟบางสีมีความคล้ายกันมากๆ อาจแยกไม่ออก
- พัดลมที่ติดตั้งมาตอนแรกเป็นแบบดูดอากาศออกจากตัวโน๊ตบุ๊ค ซึ่งอาจไม่เหมาะเท่าไร (สามารถปรับเปลี่ยนได้)
- น้ำหนักมาก อาจไม่สะดวกกับการพกพา
สุดท้ายก็ต้องขอขอบคุณทาง Cooler Master ด้วยนะครับ ที่เอิ้อเฟื้อเจ้า CM Storm SF-19 มาให้ทาง N4G ทดสอบ สุดท้ายกระผมต้องขอลาไปก่อนนะครับ สวัสดีครับ