ขนาดเมื่อเทียบกับแฟลชไดร์ฟจากแบรนด์อื่นๆ จะมีขนาดที่ยาวและกว้างกว่าอย่างเห็นได้ชัด
แฟลชไดร์ฟจาก OCZ จะบอกขนาดความจุไว้ที่ส่วนปลายสุดของพอร์ต USB แต่ในขณะที่ Kingston จะไม่ได้บอกไว้
เมื่อนำมาใช้งานและเชื่อมต่อกับพอร์ต USB จะกินพื้นที่การทำงานได้อย่างลงตัว ไม่แออัดหรือเบียดเสียดจนเกินไป (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดวางของพอร์ต USB ของโน๊ตบุ๊คยี่ห้อต่างๆ ด้วยนะครับ)
เมื่อนำมาใช้งานร่วมกับ Kingston ก็ลงตัวได้อย่างเหมาะสมทีเดียว แถมมีไฟแสดงสถานะการใช้งานอย่างเห็นได้ชัด
จากภาพเมื่อเปรียบเทียบแฟลชไดร์ฟจาก OCZ ขนาดความจุ 8GB และ 4GB กับระบบไฟล์ประเภท FAT32 (สังเกตจำนวนพื้นที่ที่ใช้ไปเพียง 4KB เท่านั้น)
ระบบไฟล์สามารถฟอร์แมตได้จากตัววินโดว์ส (แต่ไม่สามารถเลือกประเภทไฟล์ NTFS ได้)
แต่ทั้งนี้สามารถใช้โปรแกรมเสริมอย่าง HP USB Disk Storage Format Tool ในการฟอร์แมตไฟล์ประเภท NTFS ได้นั่นเอง
หลังจากที่ฟอร์แมตไฟล์ประเภท NTFS แล้ว จะได้ไฟล์ตามภาพ แต่พื้นที่ที่ถูกใช้ไปจะมากกว่าไฟล์ประเภท FAT32
จากภาพเป็นการเปรียบเทียบด้วยโปรแกรม HD Tune Pro ที่แจ้งให้เราได้ทราบถึงระยะเวลาในการเข้าถึงไฟล์ได้เร็วกว่ากับแฟลชไดร์ฟขนาด 8GB เพียง 16.5 ms ในขณะที่ขนาด 4GB กลับใช้เวลาที่มากกว่าถึง 22.7 ms
จากภาพเป็นการเปรียบเทียบในการอ่านและบันทึกข้อมูล (Read/Write) ของแฟลชไดร์ฟทั้งสองประเภท โดยความจุที่น้อยกว่ากลับทำได้ดีในเรื่องการบันทึกข้อมูล แต่ในขณะที่ความจุมากกว่ากลับทำได้ดีในการอ่านข้อมูล
แฟลชไดร์ฟทั้งสองขนาด ที่สนับสนุนฟังก์ชั่น ReadyBoost และอื่นๆ อีกมากมาย
จากภาพเป็นการก็อปปี้ไฟล์ขนาด 3.2 GB ซึ่งแฟลชไดร์ฟขนาด 4GB กลับทำเวลาได้ดีกว่าเพียง 3 นาทีเศษเท่านั้น ในขณะที่ขนาด 8GB กลับใช้เวลาที่มากกว่าถึง 7 นาที
จากภาพเป็นการเปรียบเทียบแฟลชไดร์ฟระหว่าง Sandisk และ OCZ ขนาดความจุ 4GB เท่ากัน ซึ่งผลที่ได้คือ แฟลชไดร์ฟจาก OCZ ชนะขาดในเรื่องความเร็วเพียง 22.7 ms
จากภาพเป็นการเปรียบเทียบแฟลชไดร์ฟระหว่าง Kingston และ OCZ ขนาดความจุ 8GB เท่ากัน ซึ่งผลที่ได้คือ แฟลชไดร์ฟจาก OCZ ชนะในเรื่องความเร็วเพียง 16.5 ms