บ่อยครั้งที่มีเพื่อนๆ คนรู้จักที่เข้ามาถ้ามว่าแรมอัพเกรดอย่างไร ดูยังไง อัพเกรดแล้วจะใช้ได้เต็มที่ไหม
ผมเลยรวบรวมคำถามที่หลายๆ ท่านสงสัยมาไขข้อข้องใจว่ามีอะไรที่เราควรจะรู้บ้าง
แรมสูงสุดที่สามารถใส่ได้ ?
- โน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่จะใส่ได้สูงสุดแค่ 8GB (4GB x2) เช่น Intel Pentium ,Core i3 ,i5 ,AMD E Series ,A Series
- ส่วนรุ่นที่ใส่ได้สูงสุดแค่ 4GB (4GB x1) นั้นจะเป็นตระกูลเน็ตบุ๊ก ได้แก่ Intel Atom ,AMD C Series
- รุ่นใหญ่ที่สามารถใส่ได้ถึง 16GB (8GB x2) จะเป็นตระกูล Intel Core i7 เป็นหลักซึ่งก็ไม่ใช่ทุกรุ่นนะครับแต่ส่วนใหญ่จะใส่ได้ถ้าไม่ได้ต้องลองอัพ Bios ดู
แรมต่างยี่ห้อต่างความจุใช้ด้วยกันได้ไหม ?
- ถ้าเป็นยุค DDR2 ก็คงต้องให้เป็นยี่ห้อและความจุเหมือนกันจึงจะใส่กันได้เป็น Dual Channel แต่ปัจจุบัน DDR3 นั้นไม่จำเป็นต้องใส่แรมยี่ห้อเดียวกัน หรือความจุเท่ากันเสมอไปก็สามารถใส่ด้วยกันได้ไม่มีปัญหาแถมยังเป็น Dual Channel ด้วยครับ
ใส่แรมบัสต่างกันจะใช้ได้ไหม ?
- อีกคำถามนึงคือกรณีซื้อแรมที่มีความเร็วบัส (MHz) ต่ำกว่าหรือไม่ทราบว่าเครื่องแรมเร็วเท่าไรใส่แล้วจะติดไหม คำตอบคือใส่ได้ครับ เช่นแรมเครื่อง 1600MHz แต่ใส่ 1333MHz เครื่องก็ยังสามารถเปิดติดเห็นความจุเต็มที่ แต่ความเร็วของแรมจะวิ่งเท่าความเร็วของตัวที่ช้ากว่า นั่นก็คือแรม 1600MHZ จะลดความเร็วเหลือ 1333MHz เพื่อให้สามารถใช้งานได้
ซีพียูตัวไหนใช้บัสแรมเท่าใด ?
- ปัจจุบันโน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่จะรองรับบัส 1333MHz เกือบหมดครับไม่ว่าจะเป็น AMD ,Intel อีกทั้งรุ่นที่เป็น 1333MHZ จะมีราคาถูกคุ้มค่าที่สุดในตอนนี้
- ยกเว้น?Intel Core i Gen 3 และ AMD Ax-3xxx ,4xxx หรือซีพียูรุ่นใหม่ๆ จะรองรับแรมได้ถึง 1600MHz
แรมเครื่องมีกี่ Slot
- โน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่จะมี 2 Slot เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีบางรุ่นที่เหลือแค่ Slot เดียวเช่นกลุ่ม Ultrabook หรือโน๊ตบุ๊คบางเบา หรือโน๊ตบุ๊ครุ่นพิเศษที่จะตัด Slot แรมที่เหลือออกเพื่อลดตุ้นทุน ซึ่งตรงนี้สามารถสอบถามได้จากพนักงานขาย หรือกรณีที่สามารถเปิดฝาปิดเครื่องได้ก็เปิดดูเลยครับชัวร์สุด
หรือถ้าท่านใดมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอัพเกรดแรมก็โพสสอบถามได้นะครับ เผื่อว่าจะมีอะไรสงสัยเพิ่มเติม จะได้ซื้อแรมมาอัพเกรดได้เองโดยไร้กังวล