บทความรีวิว?ThinkPad X1 Carbon เป็นการแปลจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ส่วนรีวิวจากทางทีมงานนั้นจะตามมาแน่นอน
เคยคิดถึงภาพหิ้วเครื่อง Ultrabook สุดบาง ที่มาพร้อมกับความเป็นเอกลักษณ์ในแบบ ThinkPad จากแบรนด์ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นทั้งรูปลักษณ์การออกแบบ หรือความแข็งแกร่งทนทาน ด้วยวัสดุที่ใครหลายคนต่างพูดพร้อมเพรียงเป็นเสียงเดียวกันว่าสุดเบาสุดแกร่งไหม นี่คือสิ่งที่คุณรอคอย กับ Lenovo ThinkPad X1 Carbon เคร่ื่อง Ultrabook ระดับงานธุรกิจขนาด 14 นิ้ว ที่ให้คำสัญญาว่าจะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดสำหรับคนทำงานเลยทีเดียว แต่ถ้าใครที่เป็นแฟน Lenovo มาก่อนหน้านี้แล้ว คงจำ ThinkPad X1 รุ่นแรกได้ที่เป็นโน๊ตบุ๊คบางเบา และนี่ก็เป็นรุ่นใหม่ที่เอาความเป็นของเดิมมาทำใหม่ ว่าแล้วก็ไปดูกันเลยดีกว่าว่ามันมีดียังไงบ้าง
สำหรับสเป็กเครื่องที่ใช้ในการรีวิวนั้น ก็จะมีรายละเอียดตามด้านล่างนี้เลย:
- 14-inch HD+ anti-glare display (1600 x 900 and 300 nits)
- Intel Core i5-3427U dual-core low-voltage processor with vPro (1.8GHz, up to 2.8GHz Turbo Boost, 3MB cache, 17W TDP)
- Integrated Intel HD graphics 4000
- 4GB DDR3-1600 RAM (1x 4GB; non-upgradeable; max supported)
- 128GB?SSD?(SanDisk SD5SG2128G1052E)
- 802.11n wireless network adapter (Intel Centrino Advanced-N 6205s)
- Internal Bluetooth v4.0
- 3G WWAN (Ericsson H5321gw)
- Integrated 720p webcam
- No internal optical drive
- 3-year limited warranty
- 45WHr polymer battery
- Weight: 3.0 lbs.
- Dimensions:?13.03 x 8.9 x 0.74 inches
- Price:?$1,499 (46,xxx บาท)
งานประกอบและการออกแบบ
มาเริ่มกันที่เรื่องงานประกอบและการออกแบบตัวเครื่องกันก่อนเป็นอันดับแรก Lenovo ได้จับเอา ThinkPad X1 ขนาด 13 นิ้วตัวเดิม มาทำใหม่ในขนาดหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเป็นแบบ Ultrabook 14 นิ้ว ในชื่อ ThinkPad X1 Carbon เป็นการตอบสนองตลาดของลูกค้าธุรกิจที่เริ่มหันมาให้ความสนใจในเครื่องขนาด 13 – 14 นิ้ว ที่มาในแบบบางและเบาแต่ก็มาพร้อมกับประสิทธิภาพที่เพียงพอสำหรับการทำงานมากขึ้น?
แม้ว่าเครื่อง Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?จะมีหน้าจอ 14 นิ้ว แต่ว่าก็ถูกใส่มาในบอดี้ตัวเครื่องขนาด 13 นิ้วเท่าเดิม ส่วนด้านน้ำหนักของตัวเครื่องก็มาแบบเบาๆเพียงแค่ 1.3 กิโลกรัมเท่านั้น และหนาเพียงแค่ 0.71 นิ้่วเท่านั้น ซึ่งก็ตรงตามข้อกำหนดความหนาของตัวเครื่อง Ultrabook จาก Intel ที่ตั้งเอาไว้ว่าเครื่องขนาด 13 นิ้วนั้นจะต้องมีความหนาไม่เกิน 0.71 นิ้ว และขนาด 14 นิ้วต้องหนาไม่เกิน 0.82 นิ้ว
ในด้านของการประกอบตัวเครื่องและความทนทานในการใช้งาน Lenovo ThinkPad?X1 Carbon ตัวนี้มอบประสบการณ์อันเป็นเอกลักษณ์อันคลาสสิคในแบบที่คุ้นเคย แต่ว่ามาในคราบของวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ทดแทนแม็กนีเซียมแบบเดิม เพราะก่อนหน้านี้เครื่องตระกูล ThinkPad ต่างๆ นั้น ออกแบบมาด้วยแม็กนีเซียมอัลลอยด์ ซึ่งการเอาวัสดุอย่างคาร์บอนไฟเบอร์ที่ถูกเอามาใช้นี้ ได้เอามาทำทั้งโครงสร้างภายใน และฝาเครื่องภายนอก ส่วนด้านความแข็งแกร่งของคาร์บอนไฟเบอร์นี้ก็เทียบเท่าได้กับอะลูมิเนียม แต่ว่ามีน้ำหนักที่เบากว่าแค่ระดับ 1 ส่วน 3 เท่านั้น นอกจากนั้น Lenovo ยังบอกว่าโครงสร้างภายในที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์ใหม่นี้ ยังแข็งแกร่งกว่าโครงแบบแม็กนีเซียมเดิมถึงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และยังเบากว่าเกือบจะ 50 เปอร์เซ็นต์ในด้านน้ำหนัก ผลลัพธ์ก็คือ Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ตัวนี้ ได้ผ่านมาตรฐานการทดสอบ MIL ต่างๆ ด้วยกันถึง 8 มาตรฐาน ตั้งแต่ความชื้นสัมพัทธ์, อุณหภูมิต่ำ, อุณหภูมิสูง, อุณหภูมิที่รุนแรง, ทราย, ความสูง, การสั่นสะเทือน และการกระแทก
ส่วนตัวเครื่องทางด้านล่าง ก็ยังสามารถที่จะเปิดฝาด้านล่างออกมาได้ ด้วยการไขน็อต แล้วดึงแผ่นปิดด้านล่างออกมาทั้งแผ่นเลย ซึ่งก็จะแตกต่างจากเครื่องตระกูล ThinkPad ที่ผ่านๆมา ที่สามารถทำการเข้าถึงฮาร์ดแวร์บางตัวภายในได้อย่างง่ายดายด้วยการเปิดฝาพิเศษเฉพาะส่วนอย่างฮาร์ดดิสก์ หรือว่าแรมได้เลย ดังนั้นถ้าต้องการจะอัพเกรดแรม หรือว่าเปลี่ยนการ์ดระบบไวเลสใหม่สำหรับ X1 Carbon นี้แล้วล่ะก็ อาจจะต้องใช้ฝีมือกันสักเล็กน้อย ใครไม่ถนัดก็ไม่ค่อยจะแนะนำสักเท่าไหร่?
พอร์ตการเชื่อมต่อและฟีเจอร์
ตัวเครื่องจะมีพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆอยู่ทั้งทางด้านซ้าย และด้านขวา ซึ่งจะมีมาน้อยลงกว่า X1 เดิมที่เคย แต่ว่า Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?นี้ก็จะบางกว่า และเบากว่าเดิม โดยทางด้านซ้ายก็จะประกอบไปด้วยช่องสำหรับต่ออแด็ปเตอร์จ่ายพลังงานหลักให้ตัวเครื่อง, USB 2.0 และสวิทช์สำหรับเปิด/ปิด WiFi ต่อมาทางด้านขวาก็จะมีช่องเสียบการ์ดแบบ 4-in-1, ช่องต่อหูฟัง, miniDisplay และ USB 3.0 แม้ว่าจะไม่ได้เป็นอะไรที่มากมาย แต่ว่าก็ดีพอเกินกว่าที่พวกเครื่อง Ultrabook ขนาด 13-14 นิ้วทั่วไปมีแล้ว
Left: AC power jack, powered USB 2.0 and Wi-Fi switch |
Right: Media card reader, headset jack, mini-DisplayPort, USB 3.0 port and Kensington lock slot |
แต่นอกเหนือไปจากที่กล่าวมาทั้งหมด ยังมีช่องต่ออีกช่องที่ซ่อนอยู่ที่ด้านหลังของตัวเครื่อง โดยที่มีฝายางปิดเอาไว้อยู่ นั่นก็คือช่องสำหรับใส่ SIM การ์ด ทำให้ Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ตัวนี้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเวลาที่อยู่ข้างนอกได้อย่างสะดวกสบาย และด้วยการที่หน้าจอสามารถกางออกมาได้จนแบนราบไปกับโต๊ะ ทำให้นี่เป็นช่องเดียวที่มีอยู่ทางด้านหลังของตัวเครื่อง ส่วนใครที่ชื่นชอบแท่น docking station ของ ThinkPad เดิม ก็คงต้องบอกว่าขอแสดงความเสียใจด้วยเล็กน้อย เพราะว่า Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ตัวนี้ไม่มีส่วนการเชื่อมต่อตัวแท่นที่ว่ามาให้
หน้าจอและลำโพง
หน้าจอขนาด 14 นิ้วของ X1 Carbon จะเป็นความละเอียดแบบ HD+ 1600 x 900 พิกเซล ซึ่งเป็นการอัพเกรดจากรุ่นเดิมที่เป็น 1366 x 768 พิกเซล มาแบบผิวด้านให้สามารถมองภาพโดยปราศจากการสะท้อนแสงจ้าได้สบายตา และไฟส่องสว่างด้านหลังของจอที่ 300 นิต เป็นการใส่หน้าจอที่เรียกว่าเหมาะสมกว่าตัว X1 เก่า ที่หน้าจอนั้นแม้ว่าจะใช้กระจกทนทานจาก Gorilla Glass ของ Corning แต่นั่นก็ทำให้มันกลายเป็นหน้าจอแบบเงา สะท้อนแสงแสบตา ซึ่งไม่เหมาะกับเครื่องสายตระกูล ThinkPad เลย เพราะอย่างที่รู้ว่าเป็นตระกูลสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพ ซึ่งบ่อยครั้งต้องเอาเครื่องออกไปใช้งานข้างนอก
ส่วนทางด้านองศาของการมองภาพนั้น ก็ทำออกมาได้ดีในแบบมาตรฐานของพาเนลแบบ TN แต่มันก็น่าจะดีกว่าถ้าจะมีการนำเอาพาเนลหน้าจอแบบ IPS มาใช้แทน ซึ่งจะทำให้สีของหน้าจอนั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปเวลาที่เราดันหน้าจอไปด้านหน้า หรีือดึงกลับมาด้านหลัง
ด้านคุณภาพเสียงนั้นก็ถือว่าทำออกมาได้ดีสำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คธุรกิจขนาดบางขนาดนี้ ส่วนความดังนั้นก็ดังพอที่จะสามารถนั่งฟังเสียงในห้องประชุมขนาดใหญ่โดยที่เสียงยังฟังได้ชัดเจนอยู่ ทางด้านเทคโนโลยีเสียง Lenovo ก็ใช้ Dolby Home Theatre V4 สำหรับการให้ประสบการณ์ด้านมัลติมีเดียที่ดีขึ้น
คีย์บอร์ดและทัชแพด
ด้านคีย์บอร์ดของ Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ตัวนี้ ยังคงใช้เป็นรูปแบบคีย์บอร์ดสไตล์ของ Lenovo ที่ช่วยให้สามารถพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ โดยจะเหมือนกันกับของ X1 เดิม แต่จะต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยเท่านั้น โดยคีย์บอร์ดรูปแบบนี้เราก็น่าจะได้เห็นกันมาพักใหญ่ๆ แล้วกับเครื่องโน๊ตบุ๊คของ Lenovo ที่ตัวปุ่มจะเป็นแบบในสไตล์ที่เรียกว่า chiclet แต่ว่ารูปทรงของปุ่มนั้นจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกับของใคร ด้วยลักษณะขอบของปุ่มด้านล่างจะโค่้งอยู่ด้านเดียว ในขณะที่ของยี่ห้ออื่นๆ นั้น มันจะเป็นแบบสี่เหลี่ยมจตุรัส นอกจากนั้นก็จะมีการใส่ไฟส่องสว่างมาให้ด้านใต้ของปุ่มแบบ LED เพื่อช่วยให้เราสามารถมองเห็นปุ่มแต่ละปุ่มได้อย่างชัดเจน แม้ในที่มีแสงน้อย สิ่งเดียวที่เป็นข้อสังเกตุก็คงเป็นเรื่องของปุ่ม Home และ End ที่ไม่ได้อยู่ใกล้กันกับปุ่ม Page Up และ Page Down แต่ก็ไม่คิดว่าน่าจะใช้เรื่องใหญ่อะไรมากมาย
ส่วนทางด้านทัชแพดก็ดูเหมือนว่าวิศวกรจาก Lenovo จะมีการทำการบ้านมาใหม่ เพราะว่ามีการปรับปรุงใหม่หมดจดเลยทีเดียว เริ่มตั้งแต่ขนาดของแผ่นทัชแพดนี้ที่มหญ่กว่าเดิมถึงกว่า 37 เปอร์เซ็นต์ และยังเป็น “คลิกแพด” ตัวจริง เพราะว่าไม่มีปุ่มอยู่ทางด้านล่างของตัวทัชแพด แต่ว่าเราสามารถกดลงไปที่ตัวแผ่นทัชแพดได้เลย และก็มาพร้อมกับการรองรับ มัลติ-เกสเจอร์ ในการสั่งงานแบบหลายนิ้วลงไปบนพื้นผิวของทัชแพด นอกจากนั้นประสิทธิภาพในความแม่นยำของตัวทัชแพดเองก็ได้รับการพัฒนาปรับปรุงด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยอัตราการส่งข้อมูลที่มากกว่าเดิมถึง 10 เท่า
ส่วนใช้งานจริงด้วยการวาดนิ้วลงไปบนแผ่นทัชแพดนั้น ต้องบอกว่านี่คือคำตอบที่เยี่ยมยอดที่สุดของ Lenovo ตั้งแต่ทำมาเลยทีเดียว เพราะทำมาได้ดีมาก เพราะลื่นต่อนิ้วมือเหมือนมีการทำผิวสัมผัสด้วยวัสดุที่ให้นิ้วเลื่อนไปมาได้โดยไม่มีอาการหนืดติด นอกจากนั้นไม่ว่าจะเป็นเสียงของปุ่มเวลาที่กดลงไป หรือว่าการป้องการริ้วรอยต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีเช่นกัน ซึ่งถ้าทำได้ขนาดนี้ ก็หวังว่า Lenovo จะนำเอาทัชแพดตัวนี้ไปใช้กับทุกๆ เครื่องโน๊ตบุ๊คของตัวเองในอนาคตให้ครบทุกตัวเลย
ส่วนเอกลักษณ์ความเป็น ThinkPad อีกจุดอย่างแทร็คพอยท์ ที่เป็นจุดสีแดงๆ ตรงกลางระหว่างปุ่ม G และ H นั้น ก็ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน และแม้ว่าคุณจะเป็นผู้ที่หลงไหลในความเป็นแทร็คพอยท์ตัวนี้แค่ไหน เราก็เชื่อว่าคุณจะต้องหลงรักทัชแพดของ Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ตัวนี้ด้วยอย่างแน่นอน ถ้าเพียงได้ลองให้โอกาสด้วยการใช้มันดู
ประสิทธิภาพ
การทำงานของเครื่อง Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ที่ได้มาทดสอบตัวนี้ ก็เรียกได้ว่าอยู่ในสเป็กระดับกลางๆ ของ Lenovo และก็มาพร้อมกับชิปกราฟฟิกใหม่ HD graphics 4000 จาก Intel ซึ่งก็ได้มีการจับเอามาทดสอบกับโปรแกรมยอดฮิตต่างๆ มากมายหลากหลายตัว ลองดูผลทดสอบทางด้านล่างได้เลย
ผลการเปรียบเทียบคะแนนของชิปประมวลผลจากโปรแกรม wPrime (ตัวเลขต่ำกว่าหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า):
PCMark Vantage โปรแกรมวัดประสิทธิภาพระบบเครื่องโดยรวม (คะแนนที่ได้มากกว่าหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า):
PCMark 7 สำหรับวัดผลระบบโดยรวมของเครื่องตัวใหม่ในระบบ Windows 7 (คะแนนที่ได้มากกว่าหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า):
3DMark06 วัดผลด้านกราฟฟิกสำหรับการนำเอาไปใช้เล่นเกม (คะแนนที่ได้มากกว่าหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า):
CrystalDiskMark และ ATTO ทดสอบการทำงานของฮาร์ดดิสก์ SSD:
ความร้อนและเสียงรบกวน
สำหรับเสียงรบกวนจากการทำงานของตัวเครื่อง X1 Carbon ตัวนี้ถือว่าลืมไปได้เลย เพราะว่าไม่ใช่ประเด็นที่ต้องเอามาคิดตัดสินใจแต่อย่างใด ตัวเครื่องทำงานได้เงียบ ไม่ว่าจะทั้งการทำงานธรรมดาทั่วๆ ไป และการทำงานหนักอย่างตัดต่อวิดีโอแบบ HD ก็ตาม แต่ทางด้านอุณหภูมิความร้อนที่วัดได้นั้น กลับกลายเป็นตรงกันข้าม เพราะว่าตัวเลขที่โชว์นั้นไม่ค่อยจะน่าเป็นที่น่าพอใจสักเท่าไหร่ ในระหว่างทำการทดสอบด้วยโปรแกรม 3DMark และ PCMark ด้านใต้ตัวเครื่องค่อนข้างจะมีความร้อนมาตรงบริเวณตรงกลางของฝาล่างตัวเครื่อง และใกล้ๆ บริเวณช่องดูดลมเข้า โดยความร้อนสูงสุดที่ทำการวัดได้อยู่ที่ระดับ 113 องศาฟาเรนไฮต์ (45 องศาเซลเซียส) แม้ว่าตัวเลขอาจจะไม่ได้สูงมากมายนัก แต่ก็ร้อนพอที่จะสร้างความไม่สะบายเวลาที่ใช้งานบนตักจริงๆ ได้ ผลการทดสอบบริเวณอื่นๆ ก็ดูได้จาภาพด้านล่าง
ชั่วโมงการทำงานของแบตเตอรี่
ตัวเครื่องสามารถทำงานได้นานราว 5 ชั่วโมงกับอีก 56 นาที จากแบตเตอรี่ภายในที่ใส่มากับตัวเครื่อง ซึ่งการตั้งค่าของเครื่องในการวัดผลนี้ก็คือตั้งค่าความสว่างหน้าจอเอาไว้ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ เปิดการทำงานของระบบ WiFi และรีเฟรซหน้าเว็บไซต์ต่อเนื่องทุกๆ 60 วินาที ส่วนโปรไฟล์การจัดการพลังงานของระบบ Windows 7 ก็เลือกใช้เป็น “balanced” ?ซึ่งชั่วโมงการทำงานประมณ 6 ชั่วโมงนี้ ก็มากเพียงพอที่จะนำเอาไปใช้งานในการทำงานทั่วๆ ไปต่อวัน?
ทดสอบระยะเวลาการใช้งานจากแบตเตอรี่ (คะแนนที่ได้มากกว่าหมายถึงประสิทธิภาพที่ดีกว่า):
และอีกหนึ่งจุดที่หายไปจาก X1 เดิม นั่นก็คือเรื่องของแบตเตอรี่เสริมที่ช่วยเพิ่มเวลาการใช้งานของตัวเครื่อง โดยจากผลการทดสอบที่เคยทำเอาไว้นั้น สามารถใช้งานได้นานถึงกว่า 11 ชั่วโมงกับอีก 18 นาที ส่วนในเครื่อง Lenovo ThinkPad?X1 Carbon?ก็จะไม่มีแบตเตอรี่เสริมนี้แล้ว ทำให้ชั่วโมงการทำงานคงไม่สามรถนานเท่าเดิมได้ แต่นั่นก็ทำให้ตัวเครื่องสามารถออกแบบให้บางลงได้ เบาลง และดูโฉบเฉี่ยวมากขึ้นเป็นการแลกเปลี่ยน
สรุป
ThinkPad X1 Carbon จาก Lenovo ตัวนี้เก็บทุกความเยี่ยมยอดจากเครื่องรุ่นก่อนหน้าอย่าง X1 มาเกือบหมดทุกอย่าง เอามาผสมกับเทคโนโลยีล่าสุดเข้าไป พร้อมกับความเป็น Ultrabook จาก Intel เข้าไปอีก ทำให้มันกลายเป็นเครื่อง Ultrabook สำหรับการทำงานด้านธุรกิจได้อย่างเต็มที่ แม้ว่ามืออาชีพหลายๆ คนที่ชื่นชอบเครื่องโน๊ตบุ๊คที่บางเบาอาจจะหันไปเลือกใช้งาน ThinkPad X230 แต่ X1 Carbon ตัวนี้ ก็จะเป็นตัวเลือกเสริมเพิ่มเติมที่จะออกมาทางสไตล์อ่อนนุ่มมากขึ้น มาพร้อมความเรียบง่ายแบบสุภาพ เป็นเครื่อง PC ที่ดูดีเหมาะกับคนทำงานด้านการขายที่ต้องคล่องตัว หรือระดับผู้บริหารที่ไม่ต้องการเครื่องโน๊ตบุ๊คอารมณ์กล่องสี่เหลี่ยม
ถ้าจุดเด่นบางอย่างของบทความรีวิวนี้เรียกความสนใจจากคุณได้มาก ก็คาดว่านั่นจะเป็นเรื่องของทัชแพดตัวใหม่ที่ Lenovo ใส่มาให้นี้ ผิวสัมผัสทัชแพดแบบกระจกของ ThinkPad X1 Carbon?นี้ ทำออกมาได้ดีกว่าอะไรอื่นที่ตลาดมีอยู่ในตอนนี้ ไม่ได้พูดจนเกินเลยนัก แต่บอกได้ว่ามันดีกว่าแทร็คแพ็ดในเครื่องที่ขึ้นชื่อเรื่องนี้อย่าง MacBook Pro และทัชแพ็ดของโน๊ตบุ๊คตัวอื่นๆ ทุกตัวที่มีในตอนนี้ซะอีก
ระยะเวลาการทำงานจากแบตเตอรี่ของ X1 Carbon นี้สูญเสียระยะเวลาไปพอสมควรจากการที่ไม่มีแบตเตอรี่ตัวเลือกเสริมเหมือนที่มีใน X1 เดิม ดังนั้นการทำงาน หรือการที่ต้องพกพาเอาไปใช้งานในระยะทางที่ไกลๆ ก็อาจจะสะดุดเล็กน้อย แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นการแลกมาด้วยความบางและน้ำหนักที่เบาของ ThinkPad X1 Carbon?นอกจากนั้นอีกเรื่องที่น่าเก็บไว้คิดเป็นตัวแปรนึง นั่นก็คือเรื่องอุณหภูมิจากการใช้งานเครื่องหนักๆ อย่างการใช้ตัดต่อวิดีโอ จะทำให้เกิดความร้อนพอสมควร
ถ้าไม่ได้ซีเรียสในจุดที่เป็นข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆตามที่ได้กล่าวไปแล้ว X1 Carbon ตัวนี้ก็ถือเป็นเครื่อง Ultrabook สำหรับการเอาไปใช้งานด้านธุรกิจที่ดีที่สุดที่มีในตลาดตอนนี้แล้ว ถ้าคุณเป็นคนที่ชื่นชอบเครื่อโน๊ตบุ๊คที่โฉบเฉี่ยวดูดี แล้วยังมาพร้อมกับประสิทธิภาพมาตรฐานสำหรับงานด้านธุรกิจของคุณ X1 Carbon ตัวนี้ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสุดแล้วในเวลานี้
จุดเด่น:
- ทัชแพดยอดเยี่ยม!
- หน้าจอแบบด้าน!
- โครงสร้างแข็งแกร่ง
- ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
ข้อสังเกต:
- มีความร้อนพอสมควรเวลาที่ทำงานหนักๆ
- ไม่มีแบตเตอรี่เสริมเหมือนรุ่นเดิม
- ความละเอียดหน้าจอ 1600 x 900 พิกเซล
ที่มา :?notebookreview