Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook News

ฮาร์ดดิสก์ขนาด 60TB เป็นจริงได้ภายในปี 2016

แม้ว่าทุกวันนี้อุปกรณ์การเก็บข้อมูลหลักภายในเครื่องชนิดใหม่อย่าง SSD จะเป็นกระแส ที่มีผู้บริโภคตอบรับมากมาย ในด้านประสิทธิภาพที่เยี่ยมยอดในทุกๆด้าน พร้อมทั้งยังมีขนาดที่เล็ก ที่ผู้ผลิตสามารถนำเอาไปใช้กับเครื่องของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องชนิดไหน รูปแบบไหน ก็สามารถนำเอาไปใช้ได้ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเทคโนโลยีของฮาร์ดดิสก์แบบเดิมๆจะหยุดพัฒนาไปไหน เพราะรายงานล่าสุดนี้ ก็คาดว่าความละเอียดในการเก็บขอมูลลงไปบนแผ่นฮาร์ดดิสก์แบบเดิมๆ จะสามารถเพิ่มเข้าไปได้อีกเป็น 2 เท่าภายในปี 2016 ซึ่งนั่นก็หมายถึงความจุของฮาร์ดดิสก์ที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวด้วยเช่นกัน

hamr image

Advertisement

ซึ่งก็คาดว่า ด้วยความจุที่มากขึ้นนี้จะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนให้ฮาร์ดดิสก์แบบเดิม ยังสามารถทำตลาดได้อยู่ แม้ว่าเทรนด์หลักนั้นจะย้ายไปอยู่ที่ SSD แล้วก็ตาม โดยเทคโนโลยีที่ถูกมองไว้ว่าจะนำเข้ามาช่วยในการเพิ่มความจุของฮาร์ดดิสก์นั้น ก็คือ heat-assisted magnetic recording (HAMR) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของ Seagate ที่ได้จดสิทธิบัตรเอาไว้แล้ว โดยน่าจะช่วยให้สามารถผลิตฮาร์ดดิสก์ที่ความจุระดับ 60TB ในฟอร์มขนาด 3.5 นิ้ว ได้เลยทีเดียว ส่วนฮาร์ดดิสก์ในฟอร์มขนาดเล็กลงสำหรับเครื่องอย่างโน๊ตบุ๊ค ก็จะสามารถเพิ่มความจุไปได้ถึงที่ระดับ 10TB ถึง 20TB ในขนาดเท่าเดิมได้เลย

51214 seagate logo hdd 51214

ที่มา: Computerworld

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

หากคุณต้องการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นไดรฟ์ SSD แต่ไม่ต้องการเริ่มการสำรองข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ต้น(หรือลง Windows ใหม่) ต่อไปนี้เป็นวิธีถ่ายโอนข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์เก่าของคุณ ปัจจุบันนี้ พีซีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มาพร้อมกับการติดตั้งไดรฟ์ SSD หรือ M2.NVME ภายในที่มาพร้อมกับความเร็วมากขึ้นกว่า HDD เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามหากคุณยังคงใช้ฮาร์ดดิสก์แบบหมุนได้แบบเดิมๆ ถือว่าคุณพลาดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปแล้ว การสลับแหล่งเก็บข้อมูลหลักที่เป็นที่ตั้งของระบบปฏิบัติการ Windows จาก HDD เป็น SSD(หรือ M2.NVME) เป็นหนึ่งในการอัปเกรดที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ...

CONTENT

HDD หรือแหล่งเก็บข้อมูลแบบจานหมุนยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่พอใช้ไปนานๆ แล้วกลับช้าลงอย่างเห็นได้ชัด มาดูกันว่าจะมีโปรแกรมอะไรบ้างช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกับ HDD ได้บ้าง แม้ว่าในปัจจุบันเราๆ ท่านๆ จะเปลี่ยนมาใช้แหล่งเก็บข้อมูลแบบ Solid state drive(SSD) หรือแหล่งเก็บข้อมูลแบบที่ใช้ชิปหน่วยความจำ(NAND) กันมากขึ้นเพราะความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงมากกว่าแหล่งเก็บข้อมูลแบบจานหมุนหรือ Hard disk drive(HDD) แต่ก็ไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้เลยว่ายังคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้งานแหล่งเก็บข้อมูลแบบ HDD อยู่ในปัจจุบัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากราคาต่อพื้นที่ความจุเฉลี่ยของ HDD นั้นคุ้มค่ากว่า...

CONTENT

ระบบปฎิบัติการ Windows นั้นมีฟีเจอร์การบีบอัดพื้นที่บน Harddisk มานานหลายยุคหลายสมัย ทว่าหลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าฟีเจอร์นี้มีอยู่ ลองมาดูกันว่าฟีเจอร์นี้คืออะไรและควรทำหรือไม่ การบีบอัดไดรฟ์ระบบปฏิบัติการเป็นวิธีประหยัดพื้นที่ในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ การลดขนาดไฟล์ทำให้มีพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น เนื่องจากไดรฟ์ OS มักจะมีซอฟต์แวร์ที่อัดแน่นไปด้วยทรัพยากร, ไฟล์ปรับแต่งและโค้ดที่ซ้ำกัน ผู้คนจึงตั้งทฤษฎีว่าการบีบอัดไดรฟ์ OS อาจทำให้พื้นที่ว่างจำนวนมากขึ้นและด้วยระบบไฟล์บีบอัดแบบโปร่งใส(Transparent Compression) ผู้ใช้จึงสามารถใช้ไฟล์ของตนได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องบีบอัดและขยายขนาดด้วยตนเอง ดังนั้นคุณควรบีบอัดไดรฟ์ OS ของคุณหรือไม่ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องคืออะไร และการบีบอัดแบบโปร่งใสหมายถึงอะไร...

CONTENT

กู้ข้อมูลเพิ่มจากประกัน 3 ปี WD บริการพิเศษฮาร์ดดิสก์พัง ยังกู้ข้อมูลกับ IDRLAB ได้อีก 1 ปี กู้ข้อมูล เชื่อว่าเป็นสิ่งที่ใครหลายคนไม่อยากต้องประสบพบเจอ แต่หลายคนที่เคยเจอกับอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์สุดวิสัย ขณะที่ใช้ฮาร์ดดิสก์หรือ SSD มาบ้างแล้ว ก็น่าจะเข้าใจได้ดี กับสาเหตุที่บางทีไม่น่าจะเป็นเรื่องได้ เช่น เพื่อนเดินชนฮาร์ดดิสก์หล่น ขณะที่ ย้ายไฟล์ หรือน้องแมวที่บ้านกำลังน่ารัก วิ่งชนหล่น...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก