นักสังคมวิทยาท่านหนึ่งให้คำนิยามองค์กรว่ามี 3 ประเภท คือ แบบราชการ (อนุรักษ์นิยม ระเบียบจัด ชัดเจน มีแบบแผน) แบบคร่ำครึ (ความเชื่อนิดๆ เหนือธรรมชาติหน่อยๆ เช่นองค์กรศาสนาบางประเภท) และแบบมีเสน่ห์ ซึ่งอย่างหลัง มักมีผู้นำองค์กรที่แหวกแนวและไม่เหมือนใคร มีผลิตผลหรือผลงานองค์กรที่เป็นที่ตราตรึง เป็นที่โจษจันกล่าวขานกันไปนาน นอกจากนี้ เหล่าสาวกหรือผู้นิยมชมชอบ จะมีแรงกระตุ้นประหลาดที่จะ “ชาบูๆ” องค์กรดังกล่าวไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลายเลยทีเดียว O_o
?
ฟังถึงอย่างหลังแล้วมันก็… ศาสดา Jobs ของ Apple ก็เป็นหนึ่งในนั้น สตีฟเป็นคนที่คิดค้นอะไรได้มีเสน่ห์อย่างน่าประหลาด ผู้นิยมชมชอบรอบตัวเขาก็เต็มไปด้วยจุดประสงค์เดียวกัน นั่นคือ เพื่อผลิตภัณฑ์แอปเปิ้ล แม้จะไม่ได้โดยเหล่าแฟนแอปเปิ้ลผลิตเองเลยก็ตาม เพราะมันมาจากมันสมองของคนๆ เดียวล้วนๆ ในคอนเซปต์ที่ขายเป็นพลุแตกอยู่ ณ ขณะนี้
แน่นอนว่าความมีเสน่ห์ดึงดูดของผลิตภัณฑ์ Apple มีแรงกระตุ้นเสมอ เช่นข่าวการออกอุปกรณ์ Gadget รุ่นใหม่ๆ (ที่ถล่มทลายที่สุดในประวัติศาสตร์น่าจะเป็น iPhone+iPod+iPad นี่แหละ) ทำให้คลื่นมนุษย์จำนวนมากยอมอดตาหลับขับตานอน เพื่อแสดงให้เห็นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ว่าผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลนั้นเปี่ยมเสน่ห์พอจะทำให้ทุกคนมาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย… ไม่ต้องชักชวน ชี้นำ แต่มันขายตัวมันเองได้เสมอ นี่แหละที่อีกหลายๆ บริษัทไม่สามารถหรืออาจจะไม่มีวันทำตามได้เลย
และแม้ว่าจ็อบส์จะจากไปแล้ว แต่ก็ยังมีระดับผู้นำองค์กรที่เปี่ยมพลังในการโน้มน้าวบรรดาลูกค้าหรือสาวกของเขา ให้เชื่อในพลังการสร้างสรรค์และพร้อมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มาทำหน้าที่แทนจ็อบส์ได้ในแทบจะทันที นอกจากคุณสมบัติแม่ทัพดังกล่าว ยังมีความสามารถในการท้ามฤตยูอีกด้วย บางครั้ง สำเร็จกับล้มเหลวก็มีเพียงเส้นกั้นบางๆ ซึ่งน่าอิจฉาแอปเปิ้ลว่าวิสัยทัศน์ผู้นำองค์กรเขาสืบสานกันได้อย่างน่าประหลาด และยังส่งผ่านไปถึงเหล่าทีมงานที่พร้อมผลิตทุกอย่าง ไม่ใช่ภายใต้แบรนด์แอปเปิ้ลแล้วจึงขายได้ แต่ เพราะเป็นแบรนด์แอปเปิ้ลที่มีคุณสมบัติที่ทุกคนที่รักแอปเปิ้ลเข้าใจนั่นเอง ซึ่งถ้าขาดตรงนี้ องค์กรชั้นดีเลิศ ก็จะลดสถานะมาเป็นแค่องค์กรชั้นดีธรรมดาๆ ถึงกระนั้น นักวิเคราะห์ยังยกย่องจ็อบส์ว่า เมื่อขาดเขาแล้ว อนาคตการเจริญเติบโตขององค์กรคงลดระดับลงแม้จะยังพุ่งเป็นจรวดต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง
ที่มา George Colony Blogs: Blos Forrester