เป็นรีวิวฉลองการครบรอบปีที่ 5 ของ Lenovo ก็ว่าได้ กับรีวิว Lenovo IdeaPad Z460 ที่ถูกวางตัวให้อยู่ในระดับของกลุ่มลูกค้าองค์กร หรือผู้ใช้งานทั่วไปที่เน้นฟังค์ชั่นการใช้งานพร้อมหน้าตาที่โดดเด่น สวยงามไม่แพ้โน๊ตบุ๊คทั่วไปโดยสเปกของ Lenovo IdeaPad Z460 ในเครื่องทดสอบนี้จะแตกต่างจากในเครื่องขายจริงเล็กน้อยในส่วนของซีพียูที่เป็นรุ่น i5-520M (ขายจริงเป็น i5-450M) เร็วแรงสบายๆที่ 2.4 GHz ที่มาพร้อม 2 Core พร้อมรองรับ Hyper Thread ทำให้เสมือนว่าทำงานได้ถึง 4 Core แรมที่มาให้แล้ว 2 GB แบบ DDR3 (ขายจริง 4 GB) การ์ดจอระดับเริ่มต้นจาก NVIDIA 310M แรงพอตัวรองรับการใช้งานต่างๆได้ครบครัน จอภาพเองก็โดดเด่นด้วยขนาด 14 นิ้ว แบบ LED ให้ความคมชัดและสว่างสดใสกว่าจอภาพทั่วไป พอร์ตการใช้งานต่างๆก็ให้มาอย่างครบครัน ในขนาดและน้ำหนักที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้อย่างสบายๆ
Adapter นั้นมีขนาดเล็กมากขนาดเท่าๆกับของ Netbook เลยทีเดียว
ส่วนแรกจะเป็นภาพภายนอกซึ่งเวลาที่เราเห็นเครื่องจะเป็นส่วนที่สะดุดตาที่สุด
Body ของ Lenovo IdeaPad Z460 จะออกแบบมาในโทนเรียบหรูด้วยสีดำมันบริเวณด้านหลังจอภาพ ตัดกับสีเงินบริเวณคีย์บอร์ด เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เน้นฟังค์ชั่นการใช้งานสไตล์ ThinkPad เช่นคีย์บอร์ดแบบพิเศษหรืเรื่องของความทนทาน แต่ก็ยังชอบการออกแบบที่มีไตล์สวยงามในแบบ IdeaPad โดยขนาดและน้ำหนักนั้นสามารถถือได้สบายๆด้วยมือเดียว
วัสดุด้านหลังจอภาพจะเป็นพลาสติกมันเงา สวยงามแต่ก็เป็นรอยได้ง่ายพอสมควรหากใช้งานไม่ระมัดระวัง
ที่พักมือเป็นวัสดุกึ่งอลูมิเนียม แน่นอนว่ามีทั้งความทนทาง เป็นริ้วรอยได้ยาก แต่มีข้อสังเกตุที่จะรู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตบริเวณนี้ ถ้าหากไม่ได้มีการติดตั้งสายดิน หรือบริเวณเท้าของเราสัมผัสพื้น แต่ก็ไม่ได้รุนแรงถึงขนาดไฟดูดนะครับ เพียงแต่จะรู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตเท่านั้นเอง
บานพับยังคงเป็นรูปตัว L มีความแข็งแรงมากเลยทีเดียว
ขอบจอภาพโดยรอบปิดลงมาเรียบสนิททั้งหมดรับแรงกดได้ดี
จอภาพขนาดมาตรฐาน 14 นิ้ว ระดับ HD 720p ที่ความละเอียด 1366 x 768 แบบ LED ให้ความคมชัดสูงอีกทั้งยังใช้พลังงานต่ำกว่าจอภาพทั่วไปอีกด้วย
ความหนาอยู่ในระดับค่อนข้างบางเลยทีเดียว
กางจนสุดได้ประมาณ 135 องศา
ส่วนความหนานั้น ก็หนากว่ากล่อง CD อยู่ไม่มากนัก
เป็นด้านใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่อง
Z460 มีช่องระบายความร้อนมาให้เยอะพอสมควร เพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พร้อมช่องที่สามารถเปิดได้เอง 2 ส่วน ตามอุปกรณ์ต่างๆ
ลายของช่องระบายความร้อนจำนวนมาก พร้อมตะแกรงกันฝุ่น
ช่องระบายความร้อนซีพียูมีขนาดใหญ่ ลมแรงและพัดลมก็มีเสียงดังพอสมควร เวลาใช้งานหนักๆ ลมที่ออกมาก็ร้อนพอสมควร อีกทั้งยังมีฟังค์ชั่นในการปรับรอบพัดลมได้ด้วยปุ่มพิเศษเพื่อเพิ่มหรือลดรอบพัดลม ลดเสียงรบกวนได้ด้วยครับ
คีย์บอร์ดของ IdeaPad Z Series มากับความโดดเด่นเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครด้วยคีย์บอร์ดสไตล์ Thinkpad EDGE ที่เป็บคีย์บอร์ดแบบปุ่มยกตัว พร้อมปุ่่มที่มีมุมโค้งสอดรับกับนิ้วสัมผัสช่วยให้ใช้งานได้ถนัด และปุ่มคีย์บอร์ดเองก็สามารถรองรับแรงกดได้พอดี ไม่นิ่มจนยวบ หรือแข็งจนเกินไป ซึ่งเป็นจุดเด่นของ Z Series ที่ไม่เหมือนใครจริงๆ
ปุ่ม FN พื้นฐานก็ยังครบครัน ทั้งทั่วไปและมัลติมีเดี่ย
ปุ่มออปชั่นเสริมของ Lenovo IdeaPad Z460 หรือที่เรียกว่า Lenovo Desktop Navigator จะเป็นปุ่มแบบสัมผัสทั้งหมด ซ้ายสุดเปิด/ปิดเสียง , One Key Theater ,Smart noise control เพื่อเพิ่มลดรอบพัดลม ทำให้เสียงรบกวนน้อยลงสำหรับเวลาใช้งานทั่วไป และ Energy Management สำหรับเลือกโหมดการใช้พลังงาน
ปุ่มเปิดเครื่องจะอยู่ติดกับคีย์บอร์ดด้านซ้ายเลย ส่วนปุ่มข้างๆ เล็กๆ หน่อยนั้นจะเป็นปุ่มสำหรับใช้โปรแกรม Backup ซึ่งต้องใช้ของปลายแหลมจิ้มเข้าไปเพื่อป้องกันการกดปุ่่มโดยไม่ได้ตั้งใจ
Touchpad จะเป็นสีคล้ายๆ กับที่วางมือ ซึ่งนอกจากจะมีขอบบอกระยะชัดเจนแล้ว ตัวผิวของ Touchpad เองจะเป็นเหมือนปุ่มๆ โดยทั่วถึง ให้ความรู้สึกถึงการสัมผัสได้เป็นอย่างดี นอกจากรองรับ Scroll Bar ปุ่มเมาส์เองก็มีขนาดใหญ่ นิ่มกำลังดี พร้อมรองรับมัลติทัชด้วยครับ
สติกเกอร์เทคโนโลยีต่างๆ มีบอกมาอย่างครบครัน พร้อมฟังค์ชั่นเฉพาะตัวอย่าง ENHANCED EXPERIENCE ที่มีใน Lenovo เท่านั้น
เทคโนโลยีเด่นเฉพาะตัวใน Z Series
Panel ด้านหน้ามี Card Reader และ Switch เปิด/ปิด การ์ด WiFi
ด้านซ้ายเริ่มจากด้านในสุดที่ติดตั้งสายล๊อกเครื่อง ,ช่องระบายความร้อน , LAN ,USB 1 พอ์ต ,e-Sata , D-SUB, HDMI และ Express Slot
ทางด้านขวาเริ่มด้วย ไมค์ หูฟัง ,ไดรฟ์ DVD-RW,USB 1 พอร์ต และ Adapter
ด้านหลังมีเพียงแบตเตอรี่
คุณภาพของ Webcam และระบบเสียง
กล้อง Webcam ของ Lenovo IdeaPad Z460
ลำโพงของ Z460 นั้นมีคุณภาพของเสียงอยู่ในระดับดีทีเดียว ดัง ใส และกังวาลดีพอสมควร
แบตเตอรี่อยู่ด้านหลัง แต่ด้วยบานพับที่เป็นรูปตัว L อาจจะทำให้ใส่แบตเตอรี่ที่ยาวและใหญ่มากกว่านี้ไม่ได้แล้ว
สเปกแบตเตอรี่ของ Z460 >> 11.1V — 48Wh
Lenovo Software
โปรแกรมจัดการการใช้พลังงานที่นอกจากทำได้เหมือนของ Windows แล้ว ยังสามารถปรับแต่งและเลือกโหมดได้หลากหลาย ยืดหยุ่นพอสมควร
โปรแกรม Backup ง่ายๆ ได้แค่ปุ่มเดียว
อีกหนึ่ง Software ใหม่กับ Lenovo Dricet Share ซอฟแวร์ที่จะช่วยให้ท่าน Backup ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในโฟลเดอร์ของ user ใน Windows 7 เช่น My docments ,My Picture ลงใน USB Drive อย่างง่ายดาย แค่คลิกเดียว
Webcam รองรับที่ความละเอียดสูงถึง 1280 x 1024
ปุ่ม Control พิเศษบน panel เหนือคีย์บอร์ดซึ่งรองรับการเลือกโหมดการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นแบบธรรดา ,สำหรับชมภาพยนตร์ ,ทำงาน text ,ฟังเพลง หรือจะให้โปรแกรมเป็นตัวปรับอัตโนมัติก็ได้
Lenovo IdeaPad Z460 ใช้ Windows 7 Home Premium (64 bit) ในการทดสอบ
คะแนนที่ออกมาจัดได้ว่าสูงเลยทีเดียว
Lenovo IdeaPad Z460 ในเครื่องทดสอบนี้มากับซีพียู Core i5-520M ที่พร้อมฟังก์ชันเด็ด Turbo Boost กับความเร็วเดิมๆที 2.4 GHz ฟังก์ชัน Hyper threading ทำให้มี Core เสมือนอีก 2 Core รวมเป็น 4 Core แคช L3 3 MB โดยในเครื่องขายจริงจะเป็น i5-450M กับ i3-370M
แรมในเครื่องทดสอบ 2 GB แบบ DDR3 (แต่ในเครื่องขายจริงจะให้มาเต็มที่เลย 4 GB (2 GB + 2 GB) แบบ DDR3 )
การ์ดจอระดับเริ่มต้นจาก NVIDIA 310M ที่รองรับการใช้งานพื้นฐานได้ครบครัน หรือจะชมภาพยนตร์ HD ก็ไม่มีปัญหา
เป็นไดรฟ์ DVD ตามมาตรฐาน
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดเท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า Web ได้ขนาดไหน
Resolution ของ Lenovo IdeaPad Z460 มากับจอภาพมาตรฐาน 14 นิ้ว ความละเอียดตามมาตรฐานจอภาพในปัจจุบัน 1366 x 768
โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่งต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Intel Core i5-520M ของ Lenovo IdeaPad Z460 สามารถทำเวลาได้ 17.854 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M
ด้วยสเปกซีพียูที่สูง อีกทั้งรองรับ Turbo Boost ย่อมทำให้ใช้เวลาในการคำนวณค่า PI ที่น้อยมาก
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้ายๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ไม่ช้าเท่าไรเมื่อเทียบกับสเปกโอเคเลยครับรุ่นนี้
ประสิทธิภาพที่ออกมาอยู่ในะดับที่น่าพอใจไม่น้อย
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 75.3 MB ต่อวินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 21.3 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
ก็ไม่ช้าจนเกินไปนัก
Wireless Mon
แม้การ์ด Wifi จะไม่ใช่ของ Intel แต่ก๊มีความเข้มของสัญญาณอยู่ในระดับสูง แต่สัญญาณก็แกว่งบ้างพอสมควร
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
สามารถทำคะแนนออกมาได้สูงเลยทีเดียวในทุกส่วน น่าเสียดายที่ไม่สามารถทดสอบออกมาเป็นคะแนนรวมได้
คะแนนสูงมากเลยทีเดียว ด้วยสเปกที่สูงมากในทุกส่วน
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยใ ห้ทดสอบทั้ง SM 2.0 Graphics Tests, CPU Test
เป็นไปตามประสิทธิภาพของการ์ดจอที่แรงพอตัว
Performance Test
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปออกมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
คะแนนออกมาสูงเกือบพันเลยทีเดียว
เป็นโปรแกรมที่สามารถทดสอบเครื่องได้หลายๆ ส่วน เช่น ซีพียู ฮาร์ดดิสก์ และอื่นๆ อีกหลายอย่าง อีกทั้งสามารถเลือกซีพียูรุ่นอื่นๆ มาเปรียบเทียบได้ด้วย
1. Processor Arithmetic ทดสอบซีพียู
2. Memory Bandwidth ทดสอบ Bandwidth ของ Memory ในส่วนของชิปเซตและแรม
3. Physical Disks ทดสอบความเร็วในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 34-35 องศาC
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เช่น เล่นอินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน
อุณหภูมิออกมาถือว่าอยู่ในระดับไม่สูงมากแม้จะเป็น Core i5 ตัวแรงแต่ Z460 ก็สามารถระบายความร้อนได้ดี
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม CPU Burn in 4 หน้าต่างโปรแกรม เพื่อรันซีพียูให้ทำงานที่ 100% เป็นเวลา 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
หลังจาก Burn-in แล้วอุณหภูมิสูงขึ้นมาไม่มากเท่าไร แค่ระดับ 70 องศา จัดได้ว่าเย็นเลยทีเดียว นับได้ว่า Z460 สามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพดีทีเดียว
ทดสอบเวลาในการใช้งาน แบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
แม้สเปกจะค่อนข้างสูง แต่ก็สามารถใช้งานได้กว่า 3 ชั่วโมง
แบบที่ 2 ใช้งานหนักๆ
ด้วยการ์ดจอแยกและซีพียูที่ทำงานเต็ม Speed ทำให้สามารถใช้งานได้ชั่วโมงครึ่ง กำลังดี
เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการชาร์จแบตเตอรี่ พร้อมกับเปิดใช้งานเครื่องตั้งแต่ 8% จนถึง 100%
ใช้เวลาในการชาร์จเพียงชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
กราฟสรุปการใช้พลังงานแบตเตอรี่ของ Lenovo IdeaPad Z460
Lenovo IdeaPad Z460 เป็นหนึ่งในโน๊ตบุ๊คลูกผสมระหว่างผู้ที่เน้นการใช้งานแบบ Thinkpad และความสวยงามสไตล์ IdeaPad ที่ลงตัวทั้ง2 ด้าน ด้วยฟังค์ชั่นไม่ว่าจะเป็นความทนทาน หรือคีย์บอร์ดที่ใช้งานได้สะดวกสบาย พร้อมกันนั้นยังมากับความสวยงามด้วยโทนสีดำตัดกับวัสดุสไตล์อลูมิเนียม สวยงามดูหรูหรา พร้อมสเปกในระดับคุ้มค่าคุ้มราคาไม่น้อยเมื่อบวกกับฟังค์ชั่นพิเศษในราคาไม่ถึง 3 หมื่นนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งซีรีย์ที่โดดเด่นสำหรับหลายๆท่านซึ่งต้องการใช้งานโน๊ตบุ๊คที่สมบูรณ์แบบทั้งฟังค์ชั่นการใช้งานสไตล์ ThinkPad และความสวยงามในแบบ IdeaPad
?Lenovo IdeaPad Z460 สวยบาดตา ฟังชั่นบาดใจ ?
NBS Link Core i3 : https://notebookspec.com/notebook/3074-Lenovo-IdeaPad-Z460-:i3-370M.html
NBS Link Core i5 : https://notebookspec.com/notebook/3076-Lenovo-IdeaPad-Z360-:i5-450M.html
NBS เราได้มีการมอบรางวัลให้โน๊ตบุ๊คที่ผ่านการประเมินคะแนนในด้านต่างๆ เพื่อมอบเป็นรางวัลให้แก่โน๊ตบุ๊ครุ่นนั้นๆ ที่เราได้ทดสอบไป
โดยจะตัดสินจาก 6 หัวข้อหลัก ได้แก่
- Design
- ความคุ้มค่า (Value)
- Performance
- ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- Gaming
ซึ่งแต่ละหมวดมีคะแนนเต็ม 5 คะแนนตามประสิทธิภาพของแต่ละหมวด
โดยระดับคะแนนที่ได้ รางวัลต่างๆได้แก่
25 คะแนนขึ้นไป
20 คะแนนขึ้นไป
15 คะแนนขึ้นไป
โดย Toshiba Satellite A665-10013D สามารถผ่านการทดสอบมาได้ตามระดับคะแนนเลยครับ
- 4/5 ?Design
- 3/5 ?ความคุ้มค่า (Value)
- 3/5 ?Performance
- 4/5 ?ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 3/5 ?ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 2/5 ?Gaming
รวม 20 คะแนน
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Gold แก่ Lenovo IdeaPad Z460