Intel Arc A Desktop Series กราฟิกชิปสุดแจ๋มเน้นราคาประหยัดแต่ประสิทธิภาพสูงวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการหลายรุ่นแล้ว มาลองดูกันว่าแต่ละรุ่นนั้นจะเจ๋งมากน้อยแค่ไหน
Intel Arc A Desktop Series กราฟิกการ์ดแบบแยกจากทาง Intel เริ่มวางจำหน่ายในบ้านเราหลายรุ่นแล้ว ที่สำคัญนั้นราคาก็ไม่แพงอีกด้วยต่างหาก ตัวกราฟิกการ์ดใช้ชิปเซ็ทสถาปัตยกรรม Intel Arc ที่บอกได้เลยว่าพกเอามาทั้งสเปคที่เหลือเชื่อพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ แบบจัดเต็มเรียกได้ว่างานนี้เจ้าตลาดอย่าง NVIDIA และ AMD ต้องมีสะเทือนกันไปข้างอย่างแน่นอน
ด้วยความที่ตัวกราฟิกการ์ด Intel Arc A Desktop Series นั้นมีวางจำหน่ายแล้วหลายรุ่นอันประกอบไปด้วย Intel ARC A380 ที่เป็นรุ่นเริ่มต้น, Intel ARC A580 ที่เป็นรุ่นในระดับกลางและ Intel ARC A750 และ Intel ARC A770 ที่เป็นระดับบน(ของ Intel เอง) หลังจากที่ทาง NBS เคยกล่าวถึงชิปกราฟิก Intel Arc บนโน๊ตบุ๊คไปแล้ว(Intel Arc A-Series Mobile ศักราชใหม่ของชิปกราฟิกจาก Intel) งานนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าเวอร์ชัน Desktop นั้นจะน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน หากพร้อมแล้วก็ไปติดตามกันได้เลย
- เทียบสเปคของ Intel Arc A Desktop Series ในแต่ละรุ่น
- เทคโนโลยีที่ Intel Arc A Desktop Series พกมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งานกัน
- Intel ARC A770
- Intel ARC A750
- Intel ARC A580
- Intel ARC A380
เทียบสเปคของ Intel Arc A Desktop Series ในแต่ละรุ่น
Graphics Card | |||||
Architecture | ACM-G10 | ACM-G10 | ACM-G10 | ACM-G10 | ACM-G11 |
Process Technology | TSMC N6 | TSMC N6 | TSMC N6 | TSMC N6 | TSMC N6 |
Transistors (Billion) | 21.7 | 21.7 | 21.7 | 21.7 | 7.2 |
Die size (mm^2) | 406 | 406 | 406 | 406 | 157 |
Xe-Cores32 | 32 | 32 | 28 | 24 | 8 |
GPU Shaders | 4096 | 4096 | 3584 | 3072 | 1024 |
Matrix Cores | 512 | 512 | 448 | 384 | 128 |
Ray Tracing Units | 32 | 32 | 28 | 24 | 8 |
Boost Clock (MHz) | 2100 | 2100 | 2050 | 1700 | 2000 |
VRAM Speed (Gbps) | 17.5 | 16 | 16 | 16 | 15.5 |
VRAM (GB) | 16 | 8 | 8 | 8 | 6 |
VRAM Bus Width | 256 | 256 | 256 | 256 | 96 |
L2 Cache | 16 | 16 | 16 | 16 | 6 |
ROPs | 128 | 128 | 128 | 128 | 32 |
TMUs | 256 | 256 | 224 | 192 | 64 |
TFLOPS FP32 | 17.2 | 17.2 | 14.7 | 10.4 | 4.1 |
TFLOPS FP16 (INT8) | 138 (275) | 138 (275) | 118 (235) | 84 (167) | 33 (66) |
Bandwidth (GB/s) | 560 | 512 | 512 | 512 | 186 |
TDP (watts) | 225 | 225 | 225 | 175 | 75 |
อย่างที่ได้บอกไปตอนต้นว่า Intel Arc A Desktop Series นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 4 รุ่นด้วยกันคือ Intel ARC A380 ที่เป็นรุ่นเริ่มต้น, Intel ARC A580 ที่เป็นรุ่นในระดับกลางและ Intel ARC A750 และ Intel ARC A770 ซึ่งสเปคในแต่ละรุ่นนั้นจะแตกต่างกันไปตามตารางทางด้านบนต่อไปนี้
หากมองในส่วนของสเปคแล้วนั้นเราอาจจะพอเทียบความแรงในส่วนของสเปค Intel Arc A Desktop Series กับกราฟิกการ์ดของคู่แข่งในตลาดได้ดังต่อไปนี้
- Intel ARC A770 สำหรับรุ่นที่มาพร้อมกับหน่วยความจำ(VRAM) ขนาด 16GB นั้นจะมีระดับสเปคใกล้เคียงกับ AMD Radeon RX 6900XT ส่วนรุ่นที่มาพร้อมกับหน่วยความจำ(VRAM) ขนาด 8GB นั้นจะมีระดับสเปคใกล้เคียงกับ AMD Radeon RX 6600XT
- Intel ARC A750 นั้นจะมีระดับสเปคใกล้เคียงกับ AMD Radeon RX 6600XT
- Intel ARC A580 นั้นจะมีระดับสเปคใกล้เคียงกับ NVIDIA GeForce RTX 3070
- Intel ARC A380 นั้นจะมีระดับสเปคใกล้เคียงกับ NVIDIA GeForce GTX 1660 Super
ทั้งนี้การเปรียบเทียบเบื้องต้นนั้นเป็นการเปรียบเทียบสเปคตามทฤษฎีอย่างที่ Intel Arc A Desktop Series ควรจะสามารถแรงได้ ทว่าในการใช้งานจริงนั้นมีอีกหลายปัจจัยที่ Intel Arc A Desktop Series จะต้องพิสูจน์เพื่อที่จะให้ตัวการ์ดแรงอย่างที่ควรจะเป็นไม่ว่าจะเป็นการออก Driver ที่ดีหรือแม้กระทั่งการร่วมกับผู้พัฒนาเกมต่างๆ ให้ออก Patch มาให้รองรับเทคโนโลยีที่ Intel Arc A Desktop Series ใช้กันมากขึ้น
ถึงแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นแต่จากการดูผลการทดสอบการใช้งานจริงของ Intel Arc A Desktop Series ในแต่ละรุ่นพบว่า Intel Arc A Desktop Series นั้นสามารถขับเฟรมเรทของเกมต่างๆ ในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีทีเดียว ก่อนที่เราจะไปดูกันว่าแต่ละรุ่นในการใช้งานจริงนั้นจะเป็นเช่นไรกันบ้างนั้น มาดูกันก่อนดีกว่าว่า Intel Arc A Desktop Series ที่ใช้ชิปกราฟิกสถาปัตยกรรม Intel Arc ที่ทาง Intel ภาคภูมิใจนั้นพกเทคโนโลยีอะไรมาให้ผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ บ้าง
เทคโนโลยีที่ Intel Arc A Desktop Series พกมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งานกัน
กราฟิกการ์ด Intel Arc A Desktop Series นั้นใช้ชิปเซ็ทสถาปัตยกรรม Xe HPG microarchitecture ที่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดเพื่อมอบประสิทธิภาพและความสามารถในการเล่นเกมสูงสุดสำหรับเกมเมอร์และผู้พัฒนาเกม(รวมถึงผู้ใช้งานด้านการออกแบบกราฟิก 3 มิติ) ซึ่งสถาปัตยกรรม Xe HPG ใหม่นั้นจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีดังต่อไปนี้
Xᵉ Super Sampling: AI-Enhanced Upscaling
Xᵉ Super Sampling เทคโนโลยีแรกที่ทาง Intel ภูมิใจนำเสนอกับเทคโนโลยีการอัปสเกลที่จะทำการสุ่มสัญญาณความละเอียดของภาพแล้วปรับปรุงด้วย AI ทำให้กราฟิกที่ได้นั้นดีมากขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีดังกล่าวนี้จะมีความคล้ายคลึงกับ DLSS ของทาง NVIDIA และ FSR ของทาง AMD
DirectX* 12 Ultimate
รองรับ DirectX* 12 Ultimate อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี ray tracing, variable rate shading, mesh shading และ sampler feedback ฯลฯ Intel Arc A Desktop Series นั้นก็รองรับหมด เรียกได้ว่าเกมใหม่ๆ ที่ใช้งาน DirectX* 12 Ultimate นั้นผู้ใช้กราฟิกการ์ด Intel Arc A Desktop Series สามารถที่จะเล่นได้อย่างแน่นอน(เว้นเสียแต่ว่าจะมีข้อผิดพลาดในโค๊ดของเกมซึ่งเชื่อว่าระดับ Intel นั้นคงมีพาวเวอร์มากพอที่จะขอความร่วมมือกับผู้พัฒนาเกมให้ทำการแก้ไขออกมาอย่างแน่นอน)
Intel® Deep Link
ด้วยความที่เป็นเจ้าพ่อแห่งหน่วยประมวลผลดังนั้นทาง Intel จึงจัดไม้เด็ดให้กับผู้ใช้หน่วยประมวลผล Intel Gen 12 ขึ้นไปที่ใช้งานกราฟิกการ์ด Intel Arc A Desktop Series ให้สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้ดีมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี Intel® Deep Link ที่จะมีการแบ่งสรรปันส่วนการประมวลผลให้กับทั้งในส่วนของ Intel Arc A Desktop Series และหน่วยประมวลผล Intel Gen 12 ขึ้นไปช่วยกันประมวลผลเพื่อเร่งประสิทธิภาพ
Intel ARC A770
สำหรับผลการทดสอบที่นำเอามาแสดงผลให้ทุกท่านได้ทราบกันในวันนี้นั้น Intel ARC A770 ได้จับคู่กับ Intel Core i9-12900k เเปรียบเทียบด้วยการเล่นเกมดังจำนวน 8 เกมที่ความละเอียด 1080p โดยเกมที่ใช้ทดสอบนั้นเป็น DX12 ทั้งหมด จากการทดสอบนั้นผลความแรงของ Intel ARC A770 เป็นดังต่อไปนี้
จะเห็นได้ว่าจากผลการทดสอบนั้น Intel ARC A770 จะมีประสิทธิภาพความแรงอยู่ที่ระดับใกล้ๆ กับ AMD RX 6650XT และ AMD RX 6600XT ทว่าหากมองไปในส่วนของคู่แข่งสีเขียวแล้วล่ะก็ Intel ARC A770 นั้นจะมีประสิทธิภาพในการประมวลผลเฉลี่ยน้อยกว่า NVIDIA RTX 3060 Ti ราวๆ 18% ด้วยกัน
สำหรับเกมที่ต้องการความเร็วเป็นหลักอย่าง Forza Horizon 5 นั้น Intel ARC A770 เองก็สามารถที่จะทำเฟรมเรทออกมาได้อย่างงดงาม งานนี้กับการ์ดราคา 12,xxx – 15,xxx บาท นั้นเรียกได้ว่k Intel ARC A770 ไม่ได้ทำให้ผิดหวังจริงๆ เพราะราคาที่ใกล้กับ AMD RX 6600XT อยู่พอดูนั้นประสิทธิภาพที่ได้ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากเท่าไรนัก แต่ถ้าเทียบกับกราฟิกการ์ดของทางฝั่งเขียวแล้วล่ะก็งานนี้ราคาคุ้มค่ากว่าอยู่อย่างแน่นอน
Intel ARC A750
มาต่อกันที่น้องรองอย่าง Intel Arc A750 ซึ่งต้องบอกเลยว่าประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นไม่ได้แตกต่างไปจากรุ่นพี่สักเท่าไรนักโดยจากการทดสอบนั้นได้ผลดังต่อไปนี้
สิ่งที่อยากให้สังเกตก็คือเกม Hitman 3 Ultra + RT + XESS ซึ่งมีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ XESS ที่ทำการอัปสเกลด้วย AI ซึ่งจะสังเกตได้ว่าประสิทธิภาพที่ได้นั้นถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเลยทีเดียวเพราะเฟรมเรทนั้นยังมากกว่า 30FPS อยู่
สำหรับ Intel Arc A750 นั้นมีราคาอยู่ในระดับ 8,xxxx – 11,xxx บาท ถือได้ว่าเป็นอีกกราฟิกการ์ดหนึ่งที่คุ้มค่ากับราคาเป็นอย่างมาก
Intel ARC A580
Intel ARC A580 กราฟิกการ์ดรุ่นปริศนารุ่นเดียวของ Intel Arc A Desktop Series ที่ยังคงไม่มีการออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเนื่องจากว่าตัวการ์ดนั้นอาจจะมีปัญหาเพราะผลการทดสอบที่เคยหลุดออกมาก่อนหน้านี้นั้นพบว่าประสิทธิภาพในการเล่นเกมต่ำกว่ารุ่นน้องอย่าง Intel ARC A380 เสียด้วยซ้ำไป
Intel ARC A380
ปิดท้ายที่น้องเล็กสุดอย่าง Intel Arc A380 ที่ประสิทธิภาพนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเล่นๆ เลยเนื่องจากว่าสามารถที่จะเล่นเกมที่ความละเอียดระดับ 1080p โดยเปิดเอฟเฟคที่ความละเอียดระดับ Medium ได้แบบสบายๆ ผลการทดสอบจากเกมจำนวน 8 เกมเฉลี่ยออกมาได้ดังกราฟต่อไปนี้
Intel Arc A380 นั้นมีราคาอยู่ที่ราวๆ 5,xxx – 6,xxx บาท ซึ่งถือว่าถูกเอามากๆ เหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจะนำเอามาเป็นกราฟิกการ์ดสำหรับการเล่นเกม E-Sport รวมไปถึงยังสามารถที่จะเอามาเล่นเกม 1080p สำหรับผู้ที่ใช้งานไม่มากนักอีกได้ด้วยต่างหาก
ที่มา: tomshardware 1, 2, pcworld, theverge, intel, theverge