Intel Arc A-Series Mobile ชิปกราฟิกแบบแยกของทาง Intel มาแล้ว ไปดูกันว่าชิปกราฟิกรุ่นใหม่นี้พกอะไรมาบ้างและประสิทธิภาพในการเล่นเกมจะแรงมากแค่ไหน
Intel ใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการเข้าสู่ตลาดชิปกราฟิกซึ่งมีคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง NVIDIA และ AMD เป็นผู้ครองตลาดอยู่ ดังจะเห็นได้ว่าทาง Intel เองนั้นมีความพยายามที่จะพัฒนากราฟิกชิปของตัวเองมาตลอดเวลาในช่วงเกือบจะ 20 ปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดีในอดีตนั้นชิปกราฟิกของทาง Intel จะเป็นแบบฝังในหน่วยประมวลผล(CPU) แทบทั้งหมด ซึ่งประสิทธิภาพในการใช้งานนั้นเรียกได้ว่าเทียบไม่ได้เลยกับคู่แข่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วกับด้านการเล่นเกม ทว่าหลังจากนี้นั้นเกมได้เปลี่ยนไปแล้วเมื่อล่าสุดทาง Intel ได้ทำการเปิดตัวชิปกราฟิกแบบแยกสำหรับโน๊ตบุ๊คของตัวเองอย่าง Intel Arc A-Series Mobile ออกมาอย่างเป็นทางการพร้อมกันทีเดียวถึง 5 รุ่น
งานนี้มาดูกันดีกว่าว่า Intel Arc A-Series Mobile นั้นพกเอาอะไรมาให้ผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ได้ตื่นตาตื่นใจกันบ้าง แล้ว Intel Arc A-Series Mobile ในแต่ละรุ่นนั้นหากใช้งานในการเล่นเกมจริงแล้วจะแรงมากแค่ไหน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปติดตามกันได้เลย
- การมาถึงของ Intel Arc A-Series Mobile
- Intel Arc A770M
- Intel Arc A730M
- Intel Arc A550M
- Intel Arc A370M
- Intel Arc A350M
การมาถึงของ Intel Arc A-Series Mobile
จริงๆ แล้วนั้นทาง Intel เปิดตัวชิปกราฟิกแบบแยกสำหรับโน๊ตบุ๊คของอย่าง Intel Arc A-Series Mobile ออกมาได้เป็นระยะเวลาเกือบจะหนึ่งปีได้แล้ว ทว่ากว่าที่โน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel Arc A-Series Mobile จะออกมาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการนั้นก็พึ่งจะผ่านมาไม่กี่เดือนนี้(ซึ่งยังออกไม่ครบทุกรุ่นด้วยสำหรับตลาดในไทย)
อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นก่อนที่เราจะไปดูผลการทดสอบของ Intel Arc A-Series Mobile ในแต่ละรุ่นนั้นเรามาทำความรู้จัก Intel Arc A-Series Mobile กันก่อนดีกว่าว่ามันพกอะไรมาให้ผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ได้ตื่นเต้นกันบ้าง
Intel Arc A-Series Mobile นั้นเป็นชิปกราฟิกแบบแยกสำหรับโน๊ตบุ๊คที่ใช้สถาปัตยกรรม Intel Xe-HPG ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม Xe รุ่นที่ 2 ของทาง Intel ที่แรงมากขึ้นกว่าเดิม Intel Arc A-Series Mobile นั้นถูกแบ่งออกเป็น 5 รุ่นสำหรับแต่ละตลาดอันประกอบไปด้วย A770M, A730M, A550M, A370M และ A350M ตามลำดับความแรงของตัวชิป โดยรุ่น Arc 7 นั้นจะถูกจัดไว้ในระดับบน, Arc 5 ถูกจัดเอาไว้อยู่ในระดับกลาง ส่วน Arc 3 นั้นถูกจัดเอาไว้ในระดับเริ่มต้น โดยแต่ละรุ่นนั้นจะมีสเปคแตกต่างกันไปดังภาพด้านบน
ถึงแม้ว่าแต่ละรุ่นจะมีสเปคที่ต่างกัน ทว่าด้วยความที่ชิปกราฟิกทุกรุ่นนั้นใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกันหมดทำให้ Intel Arc A-Series Mobile ทุกรุ่นนั้นจะรองรับการใช้งานกับ DirectX 12 Ultimate รวมถึงยังรองรับการใช้งานฟีเจอร์แสงและเงาอย่าง Ray-Tracing อีกด้วยต่างหาก ตัวชิปผลิตภายใต้กระบวนการผลิตที่ระดับ 6nm โดยทาง TSMC
แน่นอนว่าเมื่อเป็นชิปกราฟิกของทาง Intel เองดังนั้นก็ต้องมีฟีเจอร์เด่นๆ สำหรับร่วมใช้งานกับหน่วยประมวลผล(CPU) ของทาง Intel อย่าง Deep Link technology ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการดังต่อไปนี้
- Dynamic Power Share จะทำให้ชิปกราฟิกกับหน่วยประมวลผลสามารถที่จะแชร์ปริมาณงานในการทำงานกันสำหรับการประมวลผลได้เมื่อใช้งานร่วมกับหน่วยประมวลผล Intel Gen 12 ขึ้นไป โดยการทำงานนั้นจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานในด้านต่างๆ ดีขึ้นโดยการแบ้งพลังงานของโน๊บุ๊คให้กับการใช้งานระหว่างหน่วยประมวลผลและชิปกราฟิกว่าอะไรต้องการทำงานมากกว่ากัน งานนี้นอกจากจะทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานดีขึ้นแล้วฟีเจอร์นี้ยังช่วยเรื่องการประหยัดแบตเตอรี่ให้กับผู้ใช้ได้อีกด้วย
- Hyper Encode จะช่วยในการทำการเข้ารหัสไฟล์ภาพและวีดีโอโดยใช้การประมวลผลร่วมกันของหน่วยประมวลผลและชิปกราฟิกทำให้การเข้ารหัสไฟล์ภาพและวีดีโอต่างๆ นั้นเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
- Hyper Compute จะช่วยในการประมวลผลด้าน AI รวมถึงกระประมวลผลด้านกราฟิกในโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันต่างๆ โดยใช้การประมวลผลร่วมกันระหว่างชิปกราฟิกแบบแยกอย่าง Intel Arc และชิปกราฟิกแบบฝังในหน่วยประมวลผล(Intel Gen 12 ขึ้นไปซึ่งในปัจจุบันนี้นั้นเป็น Iris Xe)
ต่อกันที่การรองรับการเข้ารหัสไฟล์วีดีโอที่ถือว่าน่าสนใจเป็นอย่างมากเนื่องจาก Intel Arc A-Series Mobile ทุกรุ่นนั้นจะรองรับการถอดและเข้ารหัสไฟล์วีดีโอที่นิยมในปัจจุบันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น VP9, AVC, HEVC รวมไปถึงรูปแบบการถอดและเข้ารหัสไฟล์รุ่นใหม่ที่กำลังเริ่มได้รับความนิยมในปัจจุบันอย่าง AV1 อีกด้วยต่างหาก หากถามว่าประสิทธิภาพเป็นอย่างไรแล้วล่ะก็นี่คือตัวอย่าง
จากกราฟทั้ง 3 ทางด้านบนนั้นเป็นการเทียบการเข้ารหัสไฟล์วัดีโอในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ชิปกราฟิกแบบแยกระดับเริ่มต้นของทาง Intel อย่าง A370M ซึ่งจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการเข้าและถอดรหัสไฟล์รวมถึงการใช้ AI ในการปรับแต่งวีดีโอผ่านโปรแกรมนั้น A370M สามารถที่จะทำผลการทดสอบได้ดีกว่า GeForce RTX 3050 ซึ่งถือว่าเป็นชิปกราฟิกตัวตึงในระดับเริ่มต้นได้ในบางการทดสอบด้วย
หมายเหตุ – แต่ว่าหน่วยประมวลผลรุ่นที่ทำการทดสอบนั้นจะเป็นคนละ Gen กันเลยทำให้อาจจะไม่สามารถยึดโยงผลได้มากนัก ทว่าก็ยังพอเห็นภาพได้ว่า Intel Arc A-Series Mobile จาก Intel นั้นมีของจริงๆ
สิ่งสุดท้ายที่หลายๆ ท่านอาจจะกังวลกันนั่นก็คือเรื่องของ Driver ของตัวชิปกราฟิกว่าจะทำออกมาได้ดีแค่ไหนเพราะขนาด AMD ซึ่งเป็นขาเก๋าแล้วในวงการกราฟิกยังมีปัญหากับการทำ Driver สำหรับชิปกราฟิกออกมาบางรุ่นอยู่ ทว่าในส่วนของทาง Intel นั้นเข้าใจเรื่องดังกล่าวนี้เป็นอย่างดี โดยทาง Intel ได้สัญญาว่าจะพัฒนา Driver สำหรับ Intel Arc A-Series Mobile ให้รองรับกับเกมใหม่ๆ ทันทีที่เกมใหม่นั้นๆ ออกวางจำหน่ายออกมาอย่างเป็นทางการ
นอกไปจากนั้นแล้วทาง Intel ยังได้แนะนำ Intel ARC Control สำหรับการควบคุมฟีเจอร์ของชิปกราฟิก Intel Arc A-Series Mobile ทั้งหมดออกมาซึ่งลักณะการใช้งานนั้นจะเน้น UI ที่สวยงามมากกว่าเดิม, ใช้งานง่ายขึ้น, รองรับการปรับแต่งมากขึ้น ฯลฯ
เราได้แนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับฟีเจอร์หลักๆ ของ Intel Arc A-Series Mobile กันไปแล้ว จากนี้ไปก็จะถึงเวลาที่หลายๆ ท่านรอคอยอยู่นั่นก็คือผลการทดสอบประสิทธิภาพของ Intel Arc A-Series Mobile ในแต่ละรุ่น จะน่าสนใจมากแค่ไหนนั้นไปติดตามกันต่อได้เลย
Intel Arc A770M
เริ่มต้นกันที่ชิปกราฟิกรุ่นท๊อปอย่าง Intel Arc A770M ซึ่งจะมีสเปคและผลการทดสอบดังต่อไปนี้
Codename | Alchemist |
Architecture | Xe HPG |
Pipelines | 32 – unified |
Raytracing Cores | 32 |
Core Speed | 1650 MHz |
Cache | L1: 6 MB, L2: 16 MB |
Memory Speed | 16000 MHz |
Memory Bus Width | 256 Bit |
Memory Type | GDDR6 |
Max. Amount of Memory | 16 GB |
Shared Memory | no |
Memory Bandwidth | 512 GB/s |
API | DirectX 12_2, OpenGL 4.6, Vulkan 1.3 |
Power Consumption | 150 Watt (120 – 150 Watt TGP) |
Transistor Count | 21.7 Billion |
Die Size | 406 mm² |
technology | 6 nm |
PCIe | 4 16x |
Displays | 4 Displays (max.), HDMI 2.0b, DisplayPort 2.0 10G Ready |
Notebook Size | large |
จากกราฟนั้นจะเห็นได้ว่า Intel Arc A770M มีประสิทธิภาพตามหลัง GeForce RTX 3070 mobile อยู่เล็กน้อย งานนี้เรียกได้ว่าน่าประทับใจมาก
Intel Arc A730M
ต่อกันที่ชิปกราฟิกรุ่นท๊อปตัวรองอย่าง Intel Arc A730M ซึ่งจะมีสเปคและผลการทดสอบดังต่อไปนี้
Codename | Alchemist |
Architecture | Xe HPG |
Pipelines | 24 – unified |
Raytracing Cores | 24 |
Core Speed | 1100 MHz |
Cache | L1: 4.5 MB, L2: 16 MB |
Memory Speed | 14000 MHz |
Memory Bus Width | 192 Bit |
Memory Type | GDDR6 |
Max. Amount of Memory | 12 GB |
Shared Memory | no |
Memory Bandwidth | 336 GB/s |
API | DirectX 12_2, OpenGL 4.6, Vulkan 1.3 |
Power Consumption | 120 Watt (80 – 120 Watt TGP) |
Transistor Count | 21.7 Billion |
Die Size | 406 mm² |
technology | 6 nm |
PCIe | 4 16x |
Displays | 4 Displays (max.), HDMI 2.0b, DisplayPort 2.0 10G Ready |
Notebook Size | medium sized |
จากกราฟนั้นจะเห็นได้ว่า Intel Arc A730M มีประสิทธิภาพตามหลัง GeForce RTX 3060 mobile อยู่เล็กน้อย
Intel Arc A550M
ต่อกันที่ชิปกราฟิกรุ่นกลางอย่าง Intel Arc A550M ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังคงไม่มีโน๊ตบุ๊คที่ใช้ชิปกราฟิกรุ่นนี้ออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการทำให้ยังไม่มีผลทดสอบออกมา อย่างไรก็ตามตัวชิปกราฟิกรุ่นนี้จะมีสเปคดังต่อไปนี้
Codename | Alchemist |
Architecture | Xe HPG |
Pipelines | 16 – unified |
Raytracing Cores | 16 |
Core Speed | 900 MHz |
Cache | L1: 3 MB, L2: 16 MB |
Memory Speed | 14000 MHz |
Memory Bus Width | 128 Bit |
Memory Type | GDDR6 |
Max. Amount of Memory | 12 GB |
Shared Memory | no |
Memory Bandwidth | 224 GB/s |
API | DirectX 12_2, OpenGL 4.6, Vulkan 1.3 |
Power Consumption | 80 Watt (60 – 80 Watt TGP) |
Transistor Count | 21.7 Billion |
Die Size | 406 mm² |
technology | 6 nm |
PCIe | 4 16x |
Displays | 4 Displays (max.), HDMI 2.0b, DisplayPort 2.0 10G Ready |
Notebook Size | medium sized |
จากสเปคและการคาดการณ์นั้น Intel Arc A550M น่าจะมีประสิทธิภาพอยู่ระหว่าง Radeon RX 6500M และ 6600M
Intel Arc A370M
ต่อกันที่ชิปกราฟิกรุ่นล่างตัวบนอย่าง Intel Arc A370M ซึ่งตัวชิปกราฟิกรุ่นนี้จะมีสเปคและผลการทดสอบดังต่อไปนี้
Codename | Alchemist |
Architecture | Xe HPG |
Pipelines | 8 – unified |
Raytracing Cores | 8 |
Core Speed | 1550 MHz |
Cache | L1: 1.5 MB, L2: 4 MB |
Memory Speed | 14000 MHz |
Memory Bus Width | 64 Bit |
Memory Type | GDDR6 |
Max. Amount of Memory | 4 GB |
Shared Memory | no |
Memory Bandwidth | 112 GB/s |
API | DirectX 12_2, OpenGL 4.6, Vulkan 1.3 |
Power Consumption | 50 Watt (35 – 50 Watt TGP) |
Transistor Count | 7.2 Billion |
Die Size | 157 mm² |
technology | 6 nm |
PCIe | 4 8x |
Displays | 4 Displays (max.), HDMI 2.0b, DisplayPort 2.0 10G Ready |
Notebook Size | medium – small sized |
จากกราฟและผลการทดสอบนั้นจะเห็นได้ว่า Intel Arc A370M มีประสิทธิภาพตามหลัง Radeon RX 6500M อยู่พอสมควร แต่ถ้าหากถามถึงเรื่องการเล่นเกมแล้วนั้น Intel Arc A370M สามารถที่จะเล่นเกมที่ความละเอียด 1080p โดยปรับเอฟเฟคที่ระดับกลาง – สูงได้แบบสบายๆ(ขึ้นอยู่กับเกมที่เล่น)
Intel Arc A350M
ปิดกันที่ชิปกราฟิกรุ่นเล็กสุดของซีรีย์อย่าง Intel Arc A330M ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังคงไม่มีโน๊ตบุ๊คที่ใช้ชิปกราฟิกรุ่นนี้ออกวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการทำให้ยังไม่มีผลทดสอบออกมา อย่างไรก็ตามตัวชิปกราฟิกรุ่นจะมีสเปคดังต่อไปนี้
Codename | Alchemist |
Architecture | Xe HPG |
Pipelines | 6 – unified |
Raytracing Cores | 6 |
Core Speed | 1150 MHz |
Cache | L1: 1.1 MB, L2: 4 MB |
Memory Speed | 14000 MHz |
Memory Bus Width | 64 Bit |
Memory Type | GDDR6 |
Max. Amount of Memory | 4 GB |
Shared Memory | no |
Memory Bandwidth | 112 GB/s |
API | DirectX 12_2, OpenGL 4.6, Vulkan 1.3 |
Power Consumption | 35 Watt (25 – 35 Watt TGP) |
Transistor Count | 7.2 Billion |
Die Size | 157 mm² |
technology | 6 nm |
PCIe | 4 8x |
Displays | 4 Displays (max.), HDMI 2.0b, DisplayPort 2.0 10G Ready |
Notebook Size | medium – small sized |
จากกราฟและผลการทดสอบนั้นจะเห็นได้ว่า Intel Arc A330M มีประสิทธิภาพตามหลัง GeForce GTX 1650 Max-Q อยู่เล็กน้อย แต่ถ้าหากถามถึงเรื่องการเล่นเกมแล้วนั้น Intel Arc A330M สามารถที่จะเล่นเกมระดับ AAA ที่ความละเอียด 1080p โดยปรับเอฟเฟคที่ระดับต่ำได้เท่านั้น(แต่ก็ขึ้นอยู่กับเกมที่เล่น)
โดยรวมแล้ว Intel Arc A-Series Mobile นั้นถือว่าเป็นชิปกราฟิกแยกสำหรับโน๊ตบุ๊คของทาง Intel ที่น่าประทับใจพอสมควร หากจะมีข้อเสียอยู่นั้นก็คือตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับชิปกราฟิก Intel Arc A-Series Mobile นั้นยังมีออกมาวางจำหน่ายให้เลือกกันไม่มากนัก อย่างไรก็ตามก็คงต้องให้เวลาทาง Intel ได้พิสูจน์กันอีกสักพัก แต่การที่ Intel เริ่มมาเล่นตลาดชิปกราฟิกแบบจริงจังนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ เพราะนั่นหมายถึงทำให้คู่แข่งนั้นก็จะพยายามพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะหนีกันและสร้างความแตกต่างออกมาให้เราๆ ท่านๆ ได้่เลือกกันมากขึ้นนั่นเอง
ที่มา : notebookcheck 1, 2, 3, 4, 5, intel, forbes, hothardware