ด้วยสภาวะอากาศในปัจจุบันนอกจากฝุ่น PM2.5 ที่ยังไม่หมดไป ก็ยังมีเรื่องของอุณหภูมิที่สูงขึ้นจนเกิดไฟป่าหลายแห่ง นอกจากนี้ทุกๆ ปี จะมีคนเสียชีวิตจากอากาศร้อนเกือบ 500,000 คนต่อปีและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทาง Google เล็งเห็นความน่ากลัวของเหตุการณ์นี้จึงได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่ทีชื่อว่า Heat Wave ให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ว่าจุดไหนเป็นจุดกที่เกิดความร้อนสูงขึ้นและควรหลีกเลี่ยงที่จะไปในจุดนั้น
Heat wave เป็นอีกเครื่องมือที่มีการนำ AI เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทาง Google ได้จับมือร่วมกับองค์กร Global Heat Health Information Network (GHHIN) ในการออกฟีเจอร์ใหม่นี้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยสามารถใช้งานได้ผ่านช่องค้นหา (Search) เพียงพิมพ์คำว่า Heat Wave ก็จะขึ้นข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ, เวลาที่คาดการณ์ว่าจะเริ่มร้อน, และเวลาสิ้นสุดของคลื่นความร้อน นอกจากนี้ยังเพิ่ทเติมเคล็ดลับในการรักษาความเย็น และข้อกังวลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
Google ขอสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินการด้านสภาพอากาศ
แน่นอนว่าการที่แก้ปัญฆาด้านความร้อนสูงนั้น Google ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว ทาง Google ได้ประกาศ Google.org Impact Challenge มูลค่าการลงทุนกว่า 30 ล้านดอลลาร์ ในการเปิดโอกาสให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรส่งแนวคิดสำคัญสำหรับการดำเนินการด้านสภาพอากาศ ล่าสุด World Resources Institute (WRI) ได้รับเงิน 5 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนโครงการซึ่งจะใช้เซ็นเซอร์ ภาพถ่ายดาวเทียม และ AI เพื่อปิดช่องว่างข้อมูล อุณหภูมิจำลองอากาศ ความชื้น การสะท้อนแสงพื้นผิว ต้นไม้ปกคลุม และความเปราะบางจากความร้อน นอกจากความพยายามของ Google แล้ว โครงการของ WRI จะช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจเข้าใจว่าควรติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานพื้นผิวเย็นที่ใด เช่น ต้นไม้และพื้นผิวสะท้อนแสง เพื่อลดผลกระทบจากความร้อนสูง และยังมีอีก 2 องค์กรที่ทาง Google ให้ทุนสนับสนุนงานจาก Resilient Cities Catalyst ผ่าน ICLEI USA Action Fund เพื่อสร้างดัชนีความเปราะบางด้านพลังงานความร้อนที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งจะช่วยให้เมืองต่าง ๆ นับตั้งแต่เมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ทำการตัดสินใจอย่างเท่าเทียมกันเกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ทั้งสององค์กรจะใช้เครื่องมือ Tree Canopy ของ Google ในการทำงาน
นอกจากโครงการนี้แล้วทาง Google ก็สนับสนุนเกี่ยวกับเรื่องอุปกรณ์ไฟป่ากับองค์กรระดับชาติ American Forests อีกด้วย
Tree Canopy เพิ่มความร่มเย็นด้วยพื้นที่สีเขียว
นอกจากนี้ยังมีอีกฟีเจอร์หนึ่งที่น่าสนใจคือ Tree Canopy หรือพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ Environmental Insights Explorer จากทาง Google ในการที่จะเพิ่มพื้นที่ให้ความเย็นตามหัวเมืองต่างๆ เพราะสาเหตุที่เกิดความร้อนหรือมีชื่อเรียกว่า “Heat Islands” เกิดจากมีพื้นที่สีเขียวน้อยลง แต่มีตึกและอาคารมากขึ้น ซึ่งวัสดุในการก่อสร้างตึกและอาคารจะก่อให้เกิดการดูดซับความร้อนแล้วระบายความร้อนออมาอีกที ทำให้อุณหภูมิในหลายๆ พื้นที่สูงขึ้นนั่นเอง และหลังจากฟีเจอร์นี้เปิดตัวออกไปผลลัพธ์ที่ได้คือมีพื้นที่ Tree Capony มากขึ้นจากเดิม 14 เมืองเป็น 350 เมืองทั่วโลก
แต่น่าเสียดายที่ในตอนนี้ประเทศไทยยังไม่สามารถใช้งาน Heat Wave ได้ในตอนนี้ แต่ในอนาคตจะมีการเปิดให้ใช้งานได้ทั่วโลกอย่างแน่นอน
ที่มา: Google Blog