มาถึงชั่วโมงนี้ ใครที่ยังเลือกไม่ถูกดูไม่ออก ว่าจะเลือกซีพียูอย่างไร เรามี ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ได้พิจารณากัน สำหรับคนที่กำลังมองหาว่าจะซื้อซีพียูประกอบคอมใหม่ปีนี้ โดยเฉพาะตัวเลือกของซีพียูที่มีความใกล้เคียงกันอย่าง Intel Core และ AMD Ryzen ที่ออกรุ่นกันมาแบบถี่ยิบ วันนี้เรามีรายละเอียดของซีพียูให้คุณได้เลือกใช้กันง่ายขึ้น ด้วยการแบ่งกลุ่มตามรูปแบบการใช้งาน มาให้เป็นแนวทางในการเลือกใช้กัน
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021
- ผู้ใช้เริ่มต้น คอมพิวเตอร์ราคาประหยัด
- เกมเมอร์มือใหม่ และใช้งานในชีวิตประจำวัน
- เล่นเกมเป็นหลัก ทำงานและการไลฟ์สตรีม
- ต้องการประสิทธิภาพ ทำงานจริงจังและฮาร์ดคอร์เกมเมอร์
- ประสิทธิภาพในงานเฉพาะทาง และการเล่นเกมที่ความละเอียดสูง
ซีพียูกับการเล่นเกม
สำหรับเกมเมอร์ การที่ซีพียูมีคอร์จำนวนมาก ก็มีการใช้ประโยชน์ได้ดีในส่วนนี้ แม้ว่าจำนวนคอร์ อาจมีความสำคัญกับงานที่เน้นประสิทธิภาพหนักหน่วงและการประมวลผลร่วมกันหลายคอร์ก็ตาม แต่กรณีที่คุณใช้ในการสตรีมเกม แคสสตรีม หรือเล่นเกมไปด้วย สตรีมไปด้วย ซีพียูที่หลายคอร์ ก็จะช่วยจัดการกับงานเหล่านั้น ซึ่งแบ่งภาคออกไปจัดการทั้งการเล่นเกม ซอฟต์แวร์สตรีมและแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่ใช้ประกอบกันได้ การมีคอร์หรือแกนหลักจำนวนมาก จึงตอบโจทย์ได้มากกว่านั่นเอง ส่วนในแง่ของสัญญาณนาฬิกา เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการประมวลผลมาตั้งแต่ดั้งเดิม สัญญาณนาฬิกาหลักของแต่ละคอร์ ก็จะทำให้การประมวลผลรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรนเดอร์ภาพหรือการทำงานร่วมกับกราฟิกการ์ด ดังนั้นการเลือกซีพียูที่มีสัญญาณนาฬิกาต่อคอร์ที่สูง ย่อมส่งผลดีต่อการเล่นเกม รวมถึงกิจกรรมในด้านอื่นๆ ของคุณด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการดูภาพ ตกแต่งภาพและงานวีดีโอ เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดจาก ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ต่อไปนี้
ตารางจัดอันดับซีพียูยอดนิยมล่าสุด 2021
กลุ่มผู้ใช้เริ่มต้น คอมพิวเตอร์ราคาประหยัด
Intel | AMD |
Intel Celeron G5900 – 2 core/ 2 thread, Base clock 3.5GHz, Cache 4MB, Intel UHD Graphic 610 | AMD Athlon 200GE – 2 core/ 4 thread, Base clock 3.2GHz, Cache 4MB, Radeon™ Vega 3 |
Intel Celeron G5905 – 2 core/ 2 thread, Base clock 3.4GHz, Cache 4MB, Intel UHD Graphic 610 | AMD Athlon 3000G – 2 core/ 4 thread, Base clock 3.5GHz, Cache 4MB, Radeon™ Vega 3 |
Intel Pentium G6400 – 2 core/ 4 thread, Base clock 4.0GHz, Cache 4MB, Intel UHD Graphic 610 | AMD Athlon Gold 3150G – 2 core/ 4 thread, Base clock 3.5GHz, Boost clock 3.9GHz, Cache 4MB, Radeon Graphic |
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ในกลุ่มแรกนี้ จะประกอบไปด้วยซีพียู Intel Celeron และ Pentium ส่วนทาง AMD จะมีซีพียู Athlon เป็นซีรีส์พื้นฐาน สำหรับการประกอบคอมราคาประหยัด รองรับการใช้งานทั่วไป เช่นงานด้านเอกสาร ท่องเว็บ อินเทอร์เน็ตหรือใช้สำหรับความบันเทิงแบบง่ายๆ เช่นดูหนัง ฟังเพลง และยังเหมาะกับการเป็นพีซีในระดับเริ่มต้นของนักเรียน หรือน้องๆ หนูๆ โดยเฉพาะในกลุ่มของการเรียนออนไลน์ ด้วยการทำงานแบบ 2 core/ 4 thread ของซีพียู Intel Pentium และ AMD Athlon ซึ่งมาพร้อมสเปคที่ใกล้เคียงกันเลยทีเดียว และที่สำคัญ กับกราฟิกที่มีมาในตัว (Integrate graphic) ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในแง่ของกราฟิกการ์ดลงไปด้วย โดยจะทำให้คุณสามารถประกอบคอมพ์ราคาถูก เรียกว่าราคาระดับ 5,000 – 6,000 บาทได้เลยทีเดียว สำหรับรุ่นที่น่าสนใจก็คือ Intel Pentium G 6400 และ AMD Athlon Gold 3000G ที่ยังพอมีจำหน่ายอยู่ในเวลานี้ และยังเป็นแพลตฟอร์มของซีพียูรุ่นใหม่ในช่วงปลายปี 2020 นั่นเอง
กลุ่มเกมเมอร์มือใหม่ และใช้งานในชีวิตประจำวัน
Intel | AMD |
Intel Core i3 10100F – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.6GHzGHz, Boost clock 4.3GHz, Cache 6MB | AMD Ryzen 3 3100 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 3.9GHz, Cache L3 16MB |
Intel Core i3 10100 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.6GHzGHz, Boost clock 4.3GHz, Cache 6MB, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 3 3300X – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.3GHz, Cache L3 16MB, Unlocked |
Intel Core i3 10300 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.7GHzGHz, Boost clock 4.4GHz, Cache 8MB, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 3 2200G – 4 core/ 4 thread, Base clock 3.5GHz, Boost clock 3.7GHz, Cache L3 4MB, Radeon™ Vega 8 |
Intel Core i3 10320 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.8GHzGHz, Boost clock 4.6GHz, Cache 8MB, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 3 3200G – 4 core/ 4 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.0GHz, Cache L3 4MB, Radeon™ Vega 8 |
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ถัดมาจะเป็นกลุ่มของการใช้งานในบ้าน สำนักงาน หรือจะเป็นเกมเมอร์มือใหม่ เน้นการทำงานในชีวิตประจำวัน ความบันเทิงหรือเป็นพีซีเครื่องแรก โดยมีซีพียู Intel Core i3 และ AMD Ryzen 3 เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2 พันปลายๆ เท่านั้น แต่ได้ซีพียูระดับ 4 core/ 8 thread ที่ตอบโจทย์การใช้งาน ร่วมกับซอฟต์แวร์ทั่วไปได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกทั้งแบบที่มีกราฟิกในตัวและไม่มีกราฟิกมาด้วย เหมาะกับคนที่มีงบประมาณจำกัด สามารถใช้กราฟิกที่ติดตั้งมาในตัวซีพียูไปใช้ได้ โดยรุ่นที่มีกราฟิกมาด้วย ค่าย Intel จะสังเกตได้จากรหัสที่ไม่มี “F” ต่อท้าย จะมีกราฟิก Intel UHD Graphic มาให้ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไปได้ เช่นดูวีดีโอ หรือการทำงานกราฟิกพื้นฐาน และใช้การแชร์ VRAM กับหน่วยความจำหลัก ตัวเลือกที่น่าสนใจก็คือ Intel Core i3-10100F ที่ราคาค่อนข้างถูก และยังให้ความเร็วในการทำงานที่คุ้มค่าอีกด้วย เหมาะกับคนที่จะซื้อกราฟิกการ์ดแยกอยู่แล้ว
ส่วนทาง AMD นั้น จะมีให้เลือก 2 แบบเช่นกัน คือรุ่นที่มีกราฟิก ซึ่งจะมีรหัส “G” ต่อท้าย เช่น Ryzen 3 3200G ที่มาพร้อมกราฟิก Radeon Vega ที่เรียกว่าให้ประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี รองรับการเล่นเกมได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษที่เป็น “X” series ที่เติมเข้ามาตั้งแต่ในซีรีส์ Ryzen 3 ที่นอกจากจะได้รับการปรับปรุงให้สัญญาณนาฬิกาสูงกว่าปกติแล้ว ยังสนับสนุนการ Unlocked หรือรองรับการโอเวอร์คล็อกได้ดียิ่งขึ้น ตัวเลือกที่น่าสนใจมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ สำหรับคนที่เน้นประหยัดคุ้มค่า มีกราฟิกมาในตัว ทำงานได้ เล่นเกมก็พอไหว Ryzen 3 3200G เป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าเกมเมอร์ที่ต้องการความแรงขั้นสุด และเอาไปโอเวอร์คล็อกเพิ่ม Ryzen 3 3300X ก็น่าสนใจไม่น้อยเลย
กลุ่มที่เล่นเกมเป็นหลัก ทำงานและการไลฟ์สตรีม
Intel | AMD |
Intel Core i5-10400F – 6 core/ 12 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.3GHz, L3 cache 12MB, | AMD Ryzen 5 3400G – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 4.2GHz, L3 cache 4MB, Radeon™ RX Vega 11 |
Intel Core i5-10400 – 6 core/ 12 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.3GHz, L3 cache 12MB, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 5 3500 – 6 core/ 6 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.1GHz, L3 cache 16MB, |
Intel Core i5-10500 – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.1GHz, Boost clock 4.5GHz, L3 cache 12MB, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 5 3500X – 6 core/ 6 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.1GHz, L3 cache 32MB, |
Intel Core i5-10600 – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.3GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 5 3600 – 6 core/ 12 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.2GHz, L3 cache 32MB |
Intel Core i5-10600K – 6 core/ 12 thread, Base clock 4.1GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Overclock, Intel UHD Graphic 630 | AMD Ryzen 5 3600XT – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.5GHz, L3 cache 32MB |
Intel Core i5-10600KF – 6 core/ 12 thread, Base clock 4.1GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Overclock | AMD Ryzen 5 5600X – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 4.6GHz, L3 cache 32MB, PCIe 4.0 |
Intel Core i5-10600KA – 6 core/ 12 thread, Base clock 4.1GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Overclock, Intel UHD Graphic 630 | |
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 กลุ่มที่เริ่มต้นกับงานหรือการเล่นเกมจริงจังมากขึ้น และเน้นที่การทำงานในแบบมัลติทาส์กกิ้ง รวมถึงการไลฟ์สตรีมพื้นฐาน ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ในตลาดนี้มีซีพียูอย่าง Intel Core i5 และ AMD Ryzen 5 ซึ่งถือว่าเป็นซีพียูในกลุ่มที่มีความคุ้มค่าน่าลงทุนอย่างยิ่ง เพราะถ้ามองถึงการทำงานแบบ 8 core/ 16 thread และความเร็วที่เรียกว่าเกือบไปแตะที่ 5GHz ในบางรุ่น ย่อมทำให้ฝันของผู้ที่ต้องการรีดเร้นความแรงได้อย่างเต็มที่ มีความหวังมากขึ้นอีกด้วย สำหรับทาง Intel จะคล้ายกันกับซีพียู Core i3 แต่จะมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมาจากเดิม ที่มีแค่รุ่นปกติและ F series แต่จะมีทั้ง K, KF และ KA เพิ่มเข้ามา ซึ่งความแตกต่างก็มีอยู่ในระดับหนึ่ง ว่ากันง่ายๆ คือ K จะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อก ให้ปรับแต่งได้เต็มที่มากขึ้น เพียงแต่ต้องใช้ร่วมกับเมนบอร์ด Z series ไม่ว่าจะเป็น Z470 หรือ Z490 ก็ตาม ส่วนในรุ่น “KF” จะราคาถูกลงมาจาก K ธรรมดาเล็กน้อย แต่ได้ฟีเจอร์ที่แทบจะเหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณนาฬิกา ทั้ง Base/ Boost clock ขาดเพียงไม่มีกราฟิกมาในตัวเท่านั้น สุดท้ายจะเป็น “KA” จะเป็นรุ่นพิเศษ เรียกว่าเป็น Limited Edition จะดีกว่า เพราะความสามารถจะคล้ายกับ K และ KF แต่จะมีกราฟิก Intel UHD Graphic 630 มาในตัว และรองรับการโอเวอร์คล็อกนั่นเอง
ส่วนทาง AMD Ryzen 5 เรียกว่าเป็นส่วนที่มีการแตกไลน์ค่อนข้างเยอะพอสมควร แทบจะชนกับคู่แข่งกันแบบรุ่นต่อรุ่น ประกอบด้วยรุ่นพื้นฐานที่ไม่มีรหัสต่อท้าย เช่น Ryzen 5 3500 จะเป็นรุ่นประหยัด แต่ก็ถูกลดทอนบางส่วนลง จากซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็น 6 core/ 12 thread รุ่นนี้จะมีเพียง 6 core/ 6 thread เท่านั้น แต่ราคาก็ลดลงมาเยอะ แต่ถูกวางไว้ในกลุ่มของผู้ผลิตพีซีแบบ OEM ส่วนรุ่นอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น X series และ XT series ทั้ง 2 รุ่นนี้จะคล้ายกันตรงที่เป็นแบบ Unlocked ออกแบบมาเพื่อการโอเวอร์คล็อกอย่างแท้จริง เพียงแต่ XT จะเป็นรุ่นที่เพิ่ม Boost clock และการปรับเพิ่มสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานในการเร่งประสิทธิภาพให้การทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงรองรับ PCIe 4.0 เต็มรูปแบบอีกด้วย เพียงแต่ AMD จะสามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ชิปเซ็ตรุ่นกลางเป็นต้นไป เช่น B450 หรือ B550 เป็นต้น
กลุ่มที่ต้องการประสิทธิภาพ ทำงานจริงจังและฮาร์ดคอร์เกมเมอร์
Intel | AMD |
Intel Core i7 10700F – 8 core/ 16 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 16MB, | AMD Ryzen 7 3700X – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.4GHz, L3 cache 32MB, |
Intel Core i7 10700KF – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 5.1GHz, L3 cache 16MB, | AMD Ryzen 7 3800X – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.9GHz, Boost clock 4.5GHz, L3 cache 32MB, |
Intel Core i7 10700KA – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 5.1GHz, L3 cache 16MB, Intel® UHD Graphics 630 | AMD Ryzen 7 3800XT – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.9GHz, Boost clock 4.7GHz, L3 cache 32MB, |
Intel Core i7 10700 – 8 core/ 16 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 16MB, Intel® UHD Graphics 630 | AMD Ryzen 7 5800X – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.7GHz, L3 cache 32MB, |
Intel Core i7 10700K – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 5.1GHz, L3 cache 16MB, Intel® UHD Graphics 630 | |
และถ้าคุณเริ่มจะขยับมาเป็นคนทำงาน สร้างคอนเทนต์ หรืออยากจะไลฟ์สตรีม และแคสเกมจริงจังมากขึ้น ก็ต้องอาศัยทรัพยากรที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะหากต้องการเน้นการประมวลผลที่มีความซับซ้อน และสามารถเร่งความแรงให้กับกราฟิกการ์ด ซีพียูในระดับ Intel Core i7 หรือ AMD Ryzen 7 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าลงทุนมากที่สุด เพราะถ้ามองกันที่ศักยภาพกับราคาเริ่มต้นแค่หมื่นบาท แต่ได้ซีพียูระดับ 8 core/ 16 thread และความเร็วไปแตะที่ 5.xGHz เลยทีเดียว สำหรับ Intel มีตัวเลือกทั้งรุ่นปกติ ไม่มีรหัสต่อท้าย และรุ่น F, K, KF และ KA แบบเดียวที่มีอยู่บน Core i5 ซึ่งถ้าเน้นลด Cost ของซีพียู ตัวเลือกอย่าง F ให้ความเร็วได้ดี และไม่มีกราฟิกมาในตัว เอาส่วนต่างไปซื้อการ์ดจอแยกได้ ส่วนถ้าเน้นการโอเวอร์คล็อก ตัวเลือก K และ KF น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสามารถปรับแต่งได้สะดวก รวมถึงได้รับการเพาเวอร์อัพทั้ง Base clock และ Boost clock มาเต็มที่ เพื่อเอาใจทั้งคอเกม และการทำงานบนซอฟต์แวร์ ตัดต่อ ตกแต่งภาพ รวมถึงการไลฟ์สตรีมได้ดี
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 สำหรับทาง AMD ก็มีทั้งแบบ X และ XT มาให้เลือก ในแบบเดียวกับ Ryzen 5 และยังทำงานในแบบ 8 core/ 16 thread เช่นเดียวกับคู่แข่ง ความจัดจ้านอยู่ที่ซีพียูรุ่นใหม่อย่าง Ryzen 7 5800XT ที่เป็นซีพียูรุ่นใหม่ ในสถาปัตยกรรม Zen ล่าสุด เสริมความแรงมาด้วยการเพิ่ม Boost clock และแคชขนาดใหญ่ เพื่อให้การทำงานและประมวลผลได้อย่างคล่องตัว อีกทั้งลดกระบวนการผลิตให้เล็กลง เพื่อควบคุมอุณหภูมิและการใช้พลังงานที่น้อยลงนั่นเอง หากงบประมาณจำกัด ตัวเลือกอย่าง Ryzen 7 3700X ในราคาหมื่นนิดๆ คุ้มค่าน่าใช้งาน แต่ถ้าต้องการสดใหม่ ปรับแต่งได้สุดๆ 5700X ก็เป็นตัวเลือกที่น่าท้าทาย
กลุ่มเน้นประสิทธิภาพในงานเฉพาะทาง และการเล่นเกมที่ความละเอียดสูง
Intel | AMD |
Intel Core i9-10900F – 10 core/ 20 thread, Base clock 2.8GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB | AMD Ryzen 9 3900X – 12 core/ 24 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.6GHz, L3 cache 64MB, Unlocked |
Intel Core i9-10900 – 10 core/ 20 thread, Base clock 2.8GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630 | AMD Ryzen 9 5900X – 12 core/ 24 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 64MB, Unlocked |
Intel Core i9-10850K – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630 | AMD Ryzen 9 3950X – 16 core/ 32 thread, Base clock 3.5GHz, Boost clock 4.7GHz, L3 cache 64MB, Unlocked |
Intel Core i9-10850KA – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630 | AMD Ryzen 9 5950X – 16 core/ 32 thread, Base clock 3.4GHz, Boost clock 4.9GHz, L3 cache 64MB, Unlocked |
Intel Core i9-10900KF – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 5.3GHz, L3 cache 20MB, | |
Intel Core i9-10900K – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 5.3GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630 | |
Intel Core i9-10900KA – 10 core/ 20 thread, Base clock 2.8GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630 | |
มาถึงซีรีส์ที่เป็นขั้นสุดในกลุ่มของเดสก์ทอปพีซีกับซีพียูระดับไฮเอนด์อย่าง Intel Core i9 และ AMD Ryzen 9 ที่ออกมาเพื่อเหล่าเกมเมอร์ฮาร์ดคอร์ และนักประกอบคอมสุดขั้ว ด้วยการทำงานแบบ 10 core/ 20 thread สำหรับซีพียูจาก Intel และเริ่มต้น 12 core/ 24 thread สำหรับ AMD Ryzen ตอบโจทย์การทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ขั้นสูงได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อวีดีโอ ทำ 3D กราฟิกแอนิเมชั่น รวมถึงการตกแต่งภาพ และเรนเดอร์ไฟล์ความละเอียดสูง ซึ่งรวมไปถึงการเล่นเกมและสำหรับคนที่ต้องการก้าวสู่การเป็นสตรีมเมอร์เต็มตัว
สำหรับ Intel นั้นมีตัวเลือกที่เป็นรุ่นธรรมดาอย่าง Core i9-10900F สำหรับการเริ่มต้น ในงบที่ไม่สูงเกินไปนัก หรือจะขยับมาเป็น Core i9-10900K และ KF สำหรับการปรับแต่งโอเวอร์คล็อก เพื่อสายโหด ที่สามารถรีดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ แม้ราคาจะสูงขึ้นอีกระดับ แต่ถ้ามองกันที่ความแรง เมื่อทำงานแบบเต็มที่สามารถเร่งความเร็วได้เกิน 5GHz ในแบบ All Core อีกด้วย ส่วนถ้าต้องการความแรง โอเวอร์คล็อกและมีกราฟิกมาในตัว KA series ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ กับความเร็วบูสท์ที่ขยับไปกว่า 5.2GHz เลยทีเดียว
ส่วนทาง AMD นั้น ยังคงยืนหยัดด้วยซีพียูในกลุ่ม X series ทั้งในกลุ่มของ 3000 series และ 5000 series รุ่นใหม่ แต่จะมีความต่างอยู่เล็กน้อย ก็คือ ในรุ่น 3900X และ 5900X จะเริ่มต้นที่ 12 core/ 24 thread ส่วนถ้าเป็น 3950X และ 5950X จะขยับไปที่ 16 core/ 32 thread ที่เรียกได้ว่าจัดจ้าน ร้อนแรง ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มที่ต้องการความแรงเต็มพิกัด จัดสุดในรุ่นแม้ว่าจะให้ความเร็วเดิมๆ ไม่แตะ 5GHz แต่ส่วนเสริมอื่นๆ ถือว่าจัดเต็มว่ากันตั้งแต่ Core/ Thread และ Cache อย่างไรก็ดีราคาของกลุ่มหลังนี้ เคาะออกมาไม่ธรรมดา เรียกว่าเพิ่มจากในรหัสเดียวกันเกือบหมื่นบาทเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีถือว่าเป็นตัวเลือกของคนที่ต้องการไปให้สุดในสายนี้ ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021