Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

ตารางเปรียบเทียบ CPU intel กับ AMD 2021 เลือกซีพียูรุ่นใด ให้คุ้มถูกใจ

มาถึงชั่วโมงนี้ ใครที่ยังเลือกไม่ถูกดูไม่ออก ว่าจะเลือกซีพียูอย่างไร เรามี ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ได้พิจารณากัน สำหรับคนที่กำลังมองหาว่าจะซื้อซีพียูประกอบคอมใหม่ปีนี้ โดยเฉพาะตัวเลือกของซีพียูที่มีความใกล้เคียงกันอย่าง Intel Core และ AMD Ryzen ที่ออกรุ่นกันมาแบบถี่ยิบ วันนี้เรามีรายละเอียดของซีพียูให้คุณได้เลือกใช้กันง่ายขึ้น ด้วยการแบ่งกลุ่มตามรูปแบบการใช้งาน มาให้เป็นแนวทางในการเลือกใช้กัน

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

ซีพียูกับการเล่นเกม

สำหรับเกมเมอร์ การที่ซีพียูมีคอร์จำนวนมาก ก็มีการใช้ประโยชน์ได้ดีในส่วนนี้ แม้ว่าจำนวนคอร์ อาจมีความสำคัญกับงานที่เน้นประสิทธิภาพหนักหน่วงและการประมวลผลร่วมกันหลายคอร์ก็ตาม แต่กรณีที่คุณใช้ในการสตรีมเกม แคสสตรีม หรือเล่นเกมไปด้วย สตรีมไปด้วย ซีพียูที่หลายคอร์ ก็จะช่วยจัดการกับงานเหล่านั้น ซึ่งแบ่งภาคออกไปจัดการทั้งการเล่นเกม ซอฟต์แวร์สตรีมและแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่ใช้ประกอบกันได้ การมีคอร์หรือแกนหลักจำนวนมาก จึงตอบโจทย์ได้มากกว่านั่นเอง ส่วนในแง่ของสัญญาณนาฬิกา เป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการประมวลผลมาตั้งแต่ดั้งเดิม สัญญาณนาฬิกาหลักของแต่ละคอร์ ก็จะทำให้การประมวลผลรวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรนเดอร์ภาพหรือการทำงานร่วมกับกราฟิกการ์ด ดังนั้นการเลือกซีพียูที่มีสัญญาณนาฬิกาต่อคอร์ที่สูง ย่อมส่งผลดีต่อการเล่นเกม รวมถึงกิจกรรมในด้านอื่นๆ ของคุณด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการดูภาพ ตกแต่งภาพและงานวีดีโอ เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดจาก ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ต่อไปนี้

Advertisement

ตารางจัดอันดับซีพียูยอดนิยมล่าสุด 2021

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

กลุ่มผู้ใช้เริ่มต้น คอมพิวเตอร์ราคาประหยัด

IntelAMD
Intel Celeron G5900 – 2 core/ 2 thread, Base clock 3.5GHz, Cache 4MB, Intel UHD Graphic 610AMD Athlon 200GE – 2 core/ 4 thread, Base clock 3.2GHz, Cache 4MB, Radeon™ Vega 3
Intel Celeron G5905 – 2 core/ 2 thread, Base clock 3.4GHz, Cache 4MB, Intel UHD Graphic 610AMD Athlon 3000G – 2 core/ 4 thread, Base clock 3.5GHz, Cache 4MB, Radeon™ Vega 3
Intel Pentium G6400 – 2 core/ 4 thread, Base clock 4.0GHz, Cache 4MB, Intel UHD Graphic 610AMD Athlon Gold 3150G – 2 core/ 4 thread, Base clock 3.5GHz, Boost clock 3.9GHz, Cache 4MB, Radeon Graphic
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ในกลุ่มแรกนี้ จะประกอบไปด้วยซีพียู Intel Celeron และ Pentium ส่วนทาง AMD จะมีซีพียู Athlon เป็นซีรีส์พื้นฐาน สำหรับการประกอบคอมราคาประหยัด รองรับการใช้งานทั่วไป เช่นงานด้านเอกสาร ท่องเว็บ อินเทอร์เน็ตหรือใช้สำหรับความบันเทิงแบบง่ายๆ เช่นดูหนัง ฟังเพลง และยังเหมาะกับการเป็นพีซีในระดับเริ่มต้นของนักเรียน หรือน้องๆ หนูๆ โดยเฉพาะในกลุ่มของการเรียนออนไลน์ ด้วยการทำงานแบบ 2 core/ 4 thread ของซีพียู Intel Pentium และ AMD Athlon ซึ่งมาพร้อมสเปคที่ใกล้เคียงกันเลยทีเดียว และที่สำคัญ กับกราฟิกที่มีมาในตัว (Integrate graphic) ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายในแง่ของกราฟิกการ์ดลงไปด้วย โดยจะทำให้คุณสามารถประกอบคอมพ์ราคาถูก เรียกว่าราคาระดับ 5,000 – 6,000 บาทได้เลยทีเดียว สำหรับรุ่นที่น่าสนใจก็คือ Intel Pentium G 6400 และ AMD Athlon Gold 3000G ที่ยังพอมีจำหน่ายอยู่ในเวลานี้ และยังเป็นแพลตฟอร์มของซีพียูรุ่นใหม่ในช่วงปลายปี 2020 นั่นเอง

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

กลุ่มเกมเมอร์มือใหม่ และใช้งานในชีวิตประจำวัน

IntelAMD
Intel Core i3 10100F – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.6GHzGHz, Boost clock 4.3GHz, Cache 6MBAMD Ryzen 3 3100 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 3.9GHz, Cache L3 16MB
Intel Core i3 10100 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.6GHzGHz, Boost clock 4.3GHz, Cache 6MB, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 3 3300X – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.3GHz, Cache L3 16MB, Unlocked
Intel Core i3 10300 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.7GHzGHz, Boost clock 4.4GHz, Cache 8MB, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 3 2200G – 4 core/ 4 thread, Base clock 3.5GHz, Boost clock 3.7GHz, Cache L3 4MB, Radeon™ Vega 8
Intel Core i3 10320 – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.8GHzGHz, Boost clock 4.6GHz, Cache 8MB, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 3 3200G – 4 core/ 4 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.0GHz, Cache L3 4MB, Radeon™ Vega 8
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ถัดมาจะเป็นกลุ่มของการใช้งานในบ้าน สำนักงาน หรือจะเป็นเกมเมอร์มือใหม่ เน้นการทำงานในชีวิตประจำวัน ความบันเทิงหรือเป็นพีซีเครื่องแรก โดยมีซีพียู Intel Core i3 และ AMD Ryzen 3 เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 2 พันปลายๆ เท่านั้น แต่ได้ซีพียูระดับ 4 core/ 8 thread ที่ตอบโจทย์การใช้งาน ร่วมกับซอฟต์แวร์ทั่วไปได้เป็นอย่างดี มีให้เลือกทั้งแบบที่มีกราฟิกในตัวและไม่มีกราฟิกมาด้วย เหมาะกับคนที่มีงบประมาณจำกัด สามารถใช้กราฟิกที่ติดตั้งมาในตัวซีพียูไปใช้ได้ โดยรุ่นที่มีกราฟิกมาด้วย ค่าย Intel จะสังเกตได้จากรหัสที่ไม่มี “F” ต่อท้าย จะมีกราฟิก Intel UHD Graphic มาให้ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไปได้ เช่นดูวีดีโอ หรือการทำงานกราฟิกพื้นฐาน และใช้การแชร์ VRAM กับหน่วยความจำหลัก ตัวเลือกที่น่าสนใจก็คือ Intel Core i3-10100F ที่ราคาค่อนข้างถูก และยังให้ความเร็วในการทำงานที่คุ้มค่าอีกด้วย เหมาะกับคนที่จะซื้อกราฟิกการ์ดแยกอยู่แล้ว

ส่วนทาง AMD นั้น จะมีให้เลือก 2 แบบเช่นกัน คือรุ่นที่มีกราฟิก ซึ่งจะมีรหัส “G” ต่อท้าย เช่น Ryzen 3 3200G ที่มาพร้อมกราฟิก Radeon Vega ที่เรียกว่าให้ประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี รองรับการเล่นเกมได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีรุ่นพิเศษที่เป็น “X” series ที่เติมเข้ามาตั้งแต่ในซีรีส์ Ryzen 3 ที่นอกจากจะได้รับการปรับปรุงให้สัญญาณนาฬิกาสูงกว่าปกติแล้ว ยังสนับสนุนการ Unlocked หรือรองรับการโอเวอร์คล็อกได้ดียิ่งขึ้น ตัวเลือกที่น่าสนใจมีอยู่ด้วยกัน 2 รุ่นคือ สำหรับคนที่เน้นประหยัดคุ้มค่า มีกราฟิกมาในตัว ทำงานได้ เล่นเกมก็พอไหว Ryzen 3 3200G เป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าเกมเมอร์ที่ต้องการความแรงขั้นสุด และเอาไปโอเวอร์คล็อกเพิ่ม Ryzen 3 3300X ก็น่าสนใจไม่น้อยเลย

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

กลุ่มที่เล่นเกมเป็นหลัก ทำงานและการไลฟ์สตรีม

IntelAMD
Intel Core i5-10400F – 6 core/ 12 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.3GHz, L3 cache 12MB,AMD Ryzen 5 3400G – 4 core/ 8 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 4.2GHz, L3 cache 4MB, Radeon™ RX Vega 11
Intel Core i5-10400 – 6 core/ 12 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.3GHz, L3 cache 12MB, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 5 3500 – 6 core/ 6 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.1GHz, L3 cache 16MB,
Intel Core i5-10500 – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.1GHz, Boost clock 4.5GHz, L3 cache 12MB, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 5 3500X – 6 core/ 6 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.1GHz, L3 cache 32MB,
Intel Core i5-10600 – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.3GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 5 3600 – 6 core/ 12 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.2GHz, L3 cache 32MB
Intel Core i5-10600K – 6 core/ 12 thread, Base clock 4.1GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Overclock, Intel UHD Graphic 630AMD Ryzen 5 3600XT – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.5GHz, L3 cache 32MB
Intel Core i5-10600KF – 6 core/ 12 thread, Base clock 4.1GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, OverclockAMD Ryzen 5 5600X – 6 core/ 12 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 4.6GHz, L3 cache 32MB, PCIe 4.0
Intel Core i5-10600KA – 6 core/ 12 thread, Base clock 4.1GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 12MB, Overclock, Intel UHD Graphic 630
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 กลุ่มที่เริ่มต้นกับงานหรือการเล่นเกมจริงจังมากขึ้น และเน้นที่การทำงานในแบบมัลติทาส์กกิ้ง รวมถึงการไลฟ์สตรีมพื้นฐาน ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 ในตลาดนี้มีซีพียูอย่าง Intel Core i5 และ AMD Ryzen 5 ซึ่งถือว่าเป็นซีพียูในกลุ่มที่มีความคุ้มค่าน่าลงทุนอย่างยิ่ง เพราะถ้ามองถึงการทำงานแบบ 8 core/ 16 thread และความเร็วที่เรียกว่าเกือบไปแตะที่ 5GHz ในบางรุ่น ย่อมทำให้ฝันของผู้ที่ต้องการรีดเร้นความแรงได้อย่างเต็มที่ มีความหวังมากขึ้นอีกด้วย สำหรับทาง Intel จะคล้ายกันกับซีพียู Core i3 แต่จะมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นมาจากเดิม ที่มีแค่รุ่นปกติและ F series แต่จะมีทั้ง K, KF และ KA เพิ่มเข้ามา ซึ่งความแตกต่างก็มีอยู่ในระดับหนึ่ง ว่ากันง่ายๆ คือ K จะเป็นรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับการโอเวอร์คล็อก ให้ปรับแต่งได้เต็มที่มากขึ้น เพียงแต่ต้องใช้ร่วมกับเมนบอร์ด Z series ไม่ว่าจะเป็น Z470 หรือ Z490 ก็ตาม ส่วนในรุ่น “KF” จะราคาถูกลงมาจาก K ธรรมดาเล็กน้อย แต่ได้ฟีเจอร์ที่แทบจะเหมือนกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณนาฬิกา ทั้ง Base/ Boost clock ขาดเพียงไม่มีกราฟิกมาในตัวเท่านั้น สุดท้ายจะเป็น “KA” จะเป็นรุ่นพิเศษ เรียกว่าเป็น Limited Edition จะดีกว่า เพราะความสามารถจะคล้ายกับ K และ KF แต่จะมีกราฟิก Intel UHD Graphic 630 มาในตัว และรองรับการโอเวอร์คล็อกนั่นเอง

ส่วนทาง AMD Ryzen 5 เรียกว่าเป็นส่วนที่มีการแตกไลน์ค่อนข้างเยอะพอสมควร แทบจะชนกับคู่แข่งกันแบบรุ่นต่อรุ่น ประกอบด้วยรุ่นพื้นฐานที่ไม่มีรหัสต่อท้าย เช่น Ryzen 5 3500 จะเป็นรุ่นประหยัด แต่ก็ถูกลดทอนบางส่วนลง จากซีพียูในกลุ่มนี้จะเป็น 6 core/ 12 thread รุ่นนี้จะมีเพียง 6 core/ 6 thread เท่านั้น แต่ราคาก็ลดลงมาเยอะ แต่ถูกวางไว้ในกลุ่มของผู้ผลิตพีซีแบบ OEM ส่วนรุ่นอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น X series และ XT series ทั้ง 2 รุ่นนี้จะคล้ายกันตรงที่เป็นแบบ Unlocked ออกแบบมาเพื่อการโอเวอร์คล็อกอย่างแท้จริง เพียงแต่ XT จะเป็นรุ่นที่เพิ่ม Boost clock และการปรับเพิ่มสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานในการเร่งประสิทธิภาพให้การทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงรองรับ PCIe 4.0 เต็มรูปแบบอีกด้วย เพียงแต่ AMD จะสามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ชิปเซ็ตรุ่นกลางเป็นต้นไป เช่น B450 หรือ B550 เป็นต้น

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

กลุ่มที่ต้องการประสิทธิภาพ ทำงานจริงจังและฮาร์ดคอร์เกมเมอร์

IntelAMD
Intel Core i7 10700F – 8 core/ 16 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 16MB,AMD Ryzen 7 3700X – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 4.4GHz, L3 cache 32MB,
Intel Core i7 10700KF – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 5.1GHz, L3 cache 16MB,AMD Ryzen 7 3800X – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.9GHz, Boost clock 4.5GHz, L3 cache 32MB,
Intel Core i7 10700KA – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 5.1GHz, L3 cache 16MB, Intel® UHD Graphics 630AMD Ryzen 7 3800XT – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.9GHz, Boost clock 4.7GHz, L3 cache 32MB,
Intel Core i7 10700 – 8 core/ 16 thread, Base clock 2.9GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 16MB, Intel® UHD Graphics 630AMD Ryzen 7 5800X – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.7GHz, L3 cache 32MB,
Intel Core i7 10700K – 8 core/ 16 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 5.1GHz, L3 cache 16MB, Intel® UHD Graphics 630
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

และถ้าคุณเริ่มจะขยับมาเป็นคนทำงาน สร้างคอนเทนต์ หรืออยากจะไลฟ์สตรีม และแคสเกมจริงจังมากขึ้น ก็ต้องอาศัยทรัพยากรที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะหากต้องการเน้นการประมวลผลที่มีความซับซ้อน และสามารถเร่งความแรงให้กับกราฟิกการ์ด ซีพียูในระดับ Intel Core i7 หรือ AMD Ryzen 7 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าลงทุนมากที่สุด เพราะถ้ามองกันที่ศักยภาพกับราคาเริ่มต้นแค่หมื่นบาท แต่ได้ซีพียูระดับ 8 core/ 16 thread และความเร็วไปแตะที่ 5.xGHz เลยทีเดียว สำหรับ Intel มีตัวเลือกทั้งรุ่นปกติ ไม่มีรหัสต่อท้าย และรุ่น F, K, KF และ KA แบบเดียวที่มีอยู่บน Core i5 ซึ่งถ้าเน้นลด Cost ของซีพียู ตัวเลือกอย่าง F ให้ความเร็วได้ดี และไม่มีกราฟิกมาในตัว เอาส่วนต่างไปซื้อการ์ดจอแยกได้ ส่วนถ้าเน้นการโอเวอร์คล็อก ตัวเลือก K และ KF น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสามารถปรับแต่งได้สะดวก รวมถึงได้รับการเพาเวอร์อัพทั้ง Base clock และ Boost clock มาเต็มที่ เพื่อเอาใจทั้งคอเกม และการทำงานบนซอฟต์แวร์ ตัดต่อ ตกแต่งภาพ รวมถึงการไลฟ์สตรีมได้ดี

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021 สำหรับทาง AMD ก็มีทั้งแบบ X และ XT มาให้เลือก ในแบบเดียวกับ Ryzen 5 และยังทำงานในแบบ 8 core/ 16 thread เช่นเดียวกับคู่แข่ง ความจัดจ้านอยู่ที่ซีพียูรุ่นใหม่อย่าง Ryzen 7 5800XT ที่เป็นซีพียูรุ่นใหม่ ในสถาปัตยกรรม Zen ล่าสุด เสริมความแรงมาด้วยการเพิ่ม Boost clock และแคชขนาดใหญ่ เพื่อให้การทำงานและประมวลผลได้อย่างคล่องตัว อีกทั้งลดกระบวนการผลิตให้เล็กลง เพื่อควบคุมอุณหภูมิและการใช้พลังงานที่น้อยลงนั่นเอง หากงบประมาณจำกัด ตัวเลือกอย่าง Ryzen 7 3700X ในราคาหมื่นนิดๆ คุ้มค่าน่าใช้งาน แต่ถ้าต้องการสดใหม่ ปรับแต่งได้สุดๆ 5700X ก็เป็นตัวเลือกที่น่าท้าทาย

ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

กลุ่มเน้นประสิทธิภาพในงานเฉพาะทาง และการเล่นเกมที่ความละเอียดสูง

IntelAMD
Intel Core i9-10900F – 10 core/ 20 thread, Base clock 2.8GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MBAMD Ryzen 9 3900X – 12 core/ 24 thread, Base clock 3.8GHz, Boost clock 4.6GHz, L3 cache 64MB, Unlocked
Intel Core i9-10900 – 10 core/ 20 thread, Base clock 2.8GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630AMD Ryzen 9 5900X – 12 core/ 24 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 4.8GHz, L3 cache 64MB, Unlocked
Intel Core i9-10850K – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630AMD Ryzen 9 3950X – 16 core/ 32 thread, Base clock 3.5GHz, Boost clock 4.7GHz, L3 cache 64MB, Unlocked
Intel Core i9-10850KA – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.6GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630AMD Ryzen 9 5950X – 16 core/ 32 thread, Base clock 3.4GHz, Boost clock 4.9GHz, L3 cache 64MB, Unlocked
Intel Core i9-10900KF – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 5.3GHz, L3 cache 20MB,
Intel Core i9-10900K – 10 core/ 20 thread, Base clock 3.7GHz, Boost clock 5.3GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630
Intel Core i9-10900KA – 10 core/ 20 thread, Base clock 2.8GHz, Boost clock 5.2GHz, L3 cache 20MB, Intel® UHD Graphics 630
ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

มาถึงซีรีส์ที่เป็นขั้นสุดในกลุ่มของเดสก์ทอปพีซีกับซีพียูระดับไฮเอนด์อย่าง Intel Core i9 และ AMD Ryzen 9 ที่ออกมาเพื่อเหล่าเกมเมอร์ฮาร์ดคอร์ และนักประกอบคอมสุดขั้ว ด้วยการทำงานแบบ 10 core/ 20 thread สำหรับซีพียูจาก Intel และเริ่มต้น 12 core/ 24 thread สำหรับ AMD Ryzen ตอบโจทย์การทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ขั้นสูงได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการตัดต่อวีดีโอ ทำ 3D กราฟิกแอนิเมชั่น รวมถึงการตกแต่งภาพ และเรนเดอร์ไฟล์ความละเอียดสูง ซึ่งรวมไปถึงการเล่นเกมและสำหรับคนที่ต้องการก้าวสู่การเป็นสตรีมเมอร์เต็มตัว

สำหรับ Intel นั้นมีตัวเลือกที่เป็นรุ่นธรรมดาอย่าง Core i9-10900F สำหรับการเริ่มต้น ในงบที่ไม่สูงเกินไปนัก หรือจะขยับมาเป็น Core i9-10900K และ KF สำหรับการปรับแต่งโอเวอร์คล็อก เพื่อสายโหด ที่สามารถรีดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ แม้ราคาจะสูงขึ้นอีกระดับ แต่ถ้ามองกันที่ความแรง เมื่อทำงานแบบเต็มที่สามารถเร่งความเร็วได้เกิน 5GHz ในแบบ All Core อีกด้วย ส่วนถ้าต้องการความแรง โอเวอร์คล็อกและมีกราฟิกมาในตัว KA series ก็นับว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ กับความเร็วบูสท์ที่ขยับไปกว่า 5.2GHz เลยทีเดียว

ส่วนทาง AMD นั้น ยังคงยืนหยัดด้วยซีพียูในกลุ่ม X series ทั้งในกลุ่มของ 3000 series และ 5000 series รุ่นใหม่ แต่จะมีความต่างอยู่เล็กน้อย ก็คือ ในรุ่น 3900X และ 5900X จะเริ่มต้นที่ 12 core/ 24 thread ส่วนถ้าเป็น 3950X และ 5950X จะขยับไปที่ 16 core/ 32 thread ที่เรียกได้ว่าจัดจ้าน ร้อนแรง ซึ่งเหมาะสำหรับกลุ่มที่ต้องการความแรงเต็มพิกัด จัดสุดในรุ่นแม้ว่าจะให้ความเร็วเดิมๆ ไม่แตะ 5GHz แต่ส่วนเสริมอื่นๆ ถือว่าจัดเต็มว่ากันตั้งแต่ Core/ Thread และ Cache อย่างไรก็ดีราคาของกลุ่มหลังนี้ เคาะออกมาไม่ธรรมดา เรียกว่าเพิ่มจากในรหัสเดียวกันเกือบหมื่นบาทเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีถือว่าเป็นตัวเลือกของคนที่ต้องการไปให้สุดในสายนี้ ตารางเปรียบเทียบ CPU Intel กับ AMD 2021

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

COMMART

โน๊ตบุ๊ค 2024 ราคาไม่เกิน 30000 บาท มีให้เลือกซื้อเพียบ!! ไปเดินเลือกกันได้ในงาน COMMART COMTECH! โน๊ตบุ๊ค 2024 ราคาไม่เกิน 30000 บาท เป็นระดับราคาในใจที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่พร้อมจ่ายแถมสเปคยังดีพอควรแล้วด้วย ภายในงบประมาณนี้ถ้าเป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาเน้นใช้ทำงานออฟฟิศก็ได้ซีพียู AMD Ryzen 7000 Series หรือ Intel 13~14th Generation...

INTEL

Intel® Core™ Ultra โปรเซสเซอร์ทรงพลังมาพร้อม AI เพื่อการสร้างสรรค์งานในยุคใหม่ ด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยจากผู้นำเทคโนโลยีโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra เป็นโปรเซสเซอร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ AI ในปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ ซึ่งมาถึงวันนี้มีซอฟต์แวร์ที่รองรับการทำงานร่วมกับ AI มากกว่า 100 โปรแกรมและมากกว่า 300 ฟีเจอร์ เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานด้าน AI ได้มากขึ้น และโปรเซสเซอร์...

รีวิว MSI

MSI Prestige 16 AI Studio B1V โน๊ตบุ๊คครีเอเตอร์ตัวบางพลัง AI พร้อมท้าชนทุกงานด้วยบอดี้สุดพรีเมี่ยม ถ้าบอกว่าโน๊ตบุ๊คครีเอเตอร์ในปี 2024 ทั้งเบาและได้รับการการันตี Intel Evo คงจะเหลือเชื่ออยู่บ้าง แต่ MSI Prestige 16 AI Studio B1V มีทั้งสองสิ่งรวมอยู่ในตัว แม้ตัวเครื่องจะมีขนาด...

AMD

AMD Ryzen 7 8700G การ์ดจอในตัวมี AI เล่นเกมได้ Radeon 780M ไม่ง้อการ์ดจอแยก ตัวจบทำงาน ความบันเทิง AMD Ryzen 7 8700G หนึ่งในไลน์ซีพียูจากทาง AMD เปิดตัวมารุ่นใหม่ล่าสุด จัดเป็นซีพียูในกลุ่มที่เรียกว่า GPU Budget หรือซีพียูที่มีการ์ดจอตัวแรงในตัว เล่นเกมได้ดี...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก