Connect with us

Hi, what are you looking for?

INTEL

Intel – หลุดข้อมูล เผยรายละเอียดชิปกราฟิกแบบฝังรุ่นที่ 12 และชิปกราฟิกที่คาดว่าเป็นการ์ดจอแยกอีก 3 รุ่น

เมื่อไม่นานมานี้ทาง Intel ได้ทำการปล่อย Driver สำหรับกราฟิกชิปแบบฝังของตนเองรุ่นใหม่เวอร์ชัน 26.20.16.999 ออกมาครับ(เป็นเวอร์ชันทดสอบ) และเป็นที่แน่นอน

เมื่อไม่นานมานี้ทาง Intel ได้ทำการปล่อย Driver สำหรับกราฟิกชิปแบบฝังของตนเองรุ่นใหม่เวอร์ชัน 26.20.16.999 ออกมาครับ(เป็นเวอร์ชันทดสอบ) และเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อมีการปล่อยออกมาแล้วนั้นย่อมมีนักโปรแกรมมือดีแอบแกะโค๊ดเพื่อเข้าไปดูว่าภายในนั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ซึ่งนอกเหนือไปจากการอัพเดทในหลายๆ ส่วนแล้วนั้นยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เตะตาผู้เจาะเข้าไปดูโค๊ดเข้าซึ่งสิ่งที่เตะตาเข้าให้นั้นก็มีการคาดการณ์กันครับว่าน่าจะเป็นการเอ่ยถึงชิปกราฟิกแบบฝังรุ่นที่ 12 จำนวน 1 รุ่นและชิปกราฟิกแบบแยกอีกจำนวน 3 รุ่นครับ

Advertisement

ในส่วนของชิปกราฟิกแบบฝังนั้นไม่มีปัญหาครับเพราะว่ามันน่าจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Tiger Lake ที่ตามกำหนดการณ์นั้นจะเริ่มมีการเปิดตัวและวางจำหน่ายในช่วงปี 2020 นี้(สำหรับเครื่อง PC) ส่วนชิปกราฟิกแบบแยกนั้นก็มีกำหนดจะเปิดตัวและเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2020 เป็นต้นไปครับ เอาเป็นว่าเราไปดูโค๊ดส่วนนั้นกันก่อนดีกว่าครับ

; TGL HW
INTEL_DEV_9A49 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A40 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A59 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A60 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A68 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A70 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A78 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9A7F = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP” “gfx-driver-ci-master-2624”

; DG1 HW
iDG1LPDEV = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 LP DG1” “gfx-driver-ci-master-2624”

; LKF-R HW
INTEL_DEV_CAFE = “Intel(R) UHD Graphics, LKF-R” “gfx-driver-ci-master-2624”

; ATS HW
iATSHPDEV = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 HP ATS” “gfx-driver-ci-master-2624”

; LKF HW
INTEL_DEV_9840 = “Intel(R) UHD Graphics, LKF” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9841 = “Intel(R) UHD Graphics, LKF” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9842 = “Intel(R) UHD Graphics, LKF” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_9850 = “Intel(R) UHD Graphics, LKF” “gfx-driver-ci-master-2624”

; JSL Simulation
iJSLSIM = “Intel(R) UHD Graphics, JSL” “gfx-driver-ci-master-2624”

; EHL HW
iEHLLPDEVMOB1 = “Intel(R) UHD Graphics, EHL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iEHLLPDEVMOB2 = “Intel(R) UHD Graphics, EHL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iEHLLPDEVMOB3 = “Intel(R) UHD Graphics, EHL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iEHLLPVAL = “Intel(R) UHD Graphics, EHL” “gfx-driver-ci-master-2624”

; RYF HW
iRYFGT2 = “Intel(R) UHD Graphics, RYF” “gfx-driver-ci-master-2624”

; RKL HW
iRKLLPGT1H32 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iRKLLPGT1HPro32 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iRKLLPGT1S32 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iRKLLPGT0P5S16 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iRKLLPGT1U32 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iRKLLPGT0P5U16 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”
iRKLLPGT0 = “Intel(R) UHD Graphics, RKL” “gfx-driver-ci-master-2624”

; DG2 HW
iDG2HP512 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 HP DG2” “gfx-driver-ci-master-2624”
iDG2HP256 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 HP DG2” “gfx-driver-ci-master-2624”
iDG2HP128 = “Intel(R) UHD Graphics, Gen12 HP DG2” “gfx-driver-ci-master-2624”

; ADLS HW
INTEL_DEV_4680 = “Intel(R) UHD Graphics, ADL-S” “gfx-driver-ci-master-2624”
INTEL_DEV_46FF = “Intel(R) UHD Graphics, ADL-S” “gfx-driver-ci-master-2624”

66756 01 intel xe gpus teased 4 models total up 512 cores

เอาล่ะครับมาดูกันถึงตัวชิปที่น่าสนใจซึ่งนั่นก็คือ DG1 และ DG2 ครับ(ตามที่ขึ้นเป็นสีส้มเอาไว้) รหัสทั้ง 2 นั้นได้รับการคาดการณ์ว่าน่าจะมาจาก discrete graphics หรือกราฟิกการ์ดแบบแยก ซึ่งหากสังเกตดีๆ นั้นจะเห็นว่าโค๊ดตรงส่วนของ DG1 นั้นจะมีการระบุว่า LP ซึ่งน่าจะมาจาก Low Power ที่น่าจะเป็นกราฟิกการ์ดแยกในระดับล่าง ส่วน DG2 นั้นจะมีแยกกัน 3 รุ่นซึ่งมีการระบุเอาไว้ในโค๊ดว่า HP ซึ่งน่าจะมาจาก High Power ที่น่าจะเป็นกราฟิกการ์ดในระดับบนสำหรับการเล่นเกมไปถึงใช้งานบน datacenter

หมายเหตุ – แต่ใน DG1 นั้นมีการระบุเอาไว้ว่าเป็น DEV ซึ่งน่าจะมาจาก Developer ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้เหมือนกันว่ากราฟิกการ์ดรหัส DG1 อาจจะเป็นกราฟิกการ์ดสำหรับผู้ใช้งานทางด้านกหราฟิกระดับมืออาชีพหรือเป็นรุ่นสำหรับการพัฒนาก็เป็นได้ครับ

ตามโค๊ดยังมีจุดที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือใน DG2 จะเห็นได้ครับว่าทั้ง 3 โมเดลนั้นจะมีการระบุตัวเลขเอาไว้ว่า 512, 256 และ 128 ตามลำดับ ซึ่งมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าตัวเลขดังกล่าวนี้นั้นน่าจะเป็นจำนวน execution units หรือ EUs ซึ่งทั้ง 3 รุ่นนั้นน่าจะเป็นกราฟิกการ์ดสำหรับผู้ใช้งานสำหรับการเล่นเกมทั่วไปที่แบ่งเป็น 3 ระดับเอาไว้ชนกับทาง AMD และ NVIDIA โดยเฉพาะครับ

หมายเหตุ – ยิ่งจำนวน EUs มากนั่นหมายความว่ากราฟิกการ์ดรุ่นนั้นก็จะมีความแรงมากขึ้นตามไปด้วยครับ

หมายเหตุ 2 – ทั้งหมดนี้เป็นการคาดการณ์ทั้งนั้นทำให้ในหลายๆ เว็บไซต์อาจจะกล่าวไม่เหมือนกัน ทว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราได้เห็นได้นั้นก็คือทาง Intel น่าจะเริ่มมีการทดสอบกราฟิกการ์ดแบบแยกภายในที่จะมีการวางจำหน่ายในชื่อว่า Intel Xe กันแล้วครับ

ที่มา : notebookcheck, tweaktown

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

INTEL

โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 200S series ใหม่ล่าสุด ส่งมอบประสิทธิภาพการเล่นเกมและการประมวลผลอันเหนือชั้นสำหรับเดสก์ท็อปพีซี พร้อมประหยัดพลังงานมากกว่าที่เคย กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ตุลาคม 2567 –  ประเด็นสำคัญ: อินเทล ประกาศเปิดตัวตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 200S series...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook S 14 UX5406SA พร้อม Intel Core Ultra Series 2 สุดทรงพลัง แบตฯ ทนถึงใจ 18 ชม. ได้สบาย! ในงาน IFA Berlin เมื่อไม่นานนี้ Intel ก็เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง Intel...

รีวิว MSI

ถ้าคิดว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คจะต้องใหญ่และหนัก เชิญพบกับไลท์เวทหมัดหนักอย่าง MSI Cyborg 14 A13V ข้อดีของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ก็ต้องยกให้เรื่องสเปคแรงพอจะทำงานได้ดีเล่นเกมได้ลื่นแต่ก็แลกกับน้ำหนักตัวระดับ 2 กก. ขึ้นไป แต่ก็มี MSI Cyborg 14 A13V รุ่นย่อขนาดจาก Cyborg 15 เดิมให้เครื่องเล็กลงนิดน้ำหนักเบาลงหน่อย ฉีกกฏเดิมว่าถ้าอยากแรงก็ต้องหนักกลายเป็นว่าไม่ต้องหนักสเปคก็แรงได้ ภายในตัวเครื่องขนาด 14 นิ้ว...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก