ในงาน CES 2019 นั้นผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คหลายๆ บริษัทได้ทำการเปิดตัวโน๊ตบุ๊ครุ่นอัพเกรดที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกซีรีส์ RTX 2000 มาอย่างมากมายครับ Alienware m15 เองนั้นก็เป็นหนึ่งในรุ่นที่ได้รับการอัพเกรดเช่นเดียวกัน ทว่าด้วยความที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกรุ่นใหม่นั้นสิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้เลยก็คือเรื่องของราคาที่จะสูงมากขึ้นกว่ารุ่นเดิม อย่างไรก็แล้วแต่ครับ Alienware m15 นั้นยังคงมีตัวเลือกชิปกราฟิกรุ่นเก่าในซีรีส์ GTX 1000 ให้ผู้ใช้ได้ทำการได้เลือกอยู่แถมราคานั้นก็ลดลงมาอยู่ในระดับที่หากไม่คิดอะไรมากแล้วก็ถือว่าคุ้มค่าคุ้มราคาครับ ลองมาดูกันครับว่า Alienware m15 รุ่นที่มาพร้อมกับชิปกราฟิก GTX 1070 Max-Q นั้นจะน่าสนใจมากแค่ไหน
(บน) Alienware m15 : (ล่าง) Alienware 15 R4
Alienware m15 นั้นจะเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่เน้นขนาดเครื่องเล็กกว่ารุ่นปกติครับ โดยทาง Alienware นั้นได้มีการเปิดตัวโน๊ตบุ๊ครุ่นดังกล่าวนี้มาในช่วงเดือนตุลาคม 2018 ที่ผ่านมาแล้วเริ่มมีการวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ตัวเครื่องนั้นจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Core i7-8750H พร้อมด้วยกราฟิกชิป GTX 1060 เป็นมาตรฐาน ทว่าผู้ใช้สามารถเลือกเปลี่ยนชิปกราฟิกเป็นรุ่น GTX 1070 Max-Q ได้ ซึ่งแน่นอนว่าหากคุณมีงบประมาณถึงล่ะก็การเปลี่ยนชิปกราฟิกเป็นรุ่นที่ใหญ่กว่าก็จะทำให้การเล่นเกมของคุณนั้นแรงมากขึ้นกว่าเดิมครับ
นอกไปจากนั้นแล้ว Alienware m15 ยังมาพร้อมกับตัวเลือกความละเอียดของหน้าจอมากมายให้เลือกกันอย่าง 1080p60, 1080p@144, 2160p@60 หรือ 4K UHD โดยราคาของรุ่นท๊อปสุดที่เลือกใช้หน้าจอความละเอียด 4K UHD พร้อมทั้งชิปกราฟิกเป็นรุ่น GTX 1070 Max-Q นั้นจะอยู่ที่ $1,900 หรือประมาณ 60,600 บาทซึ่งถือว่าไม่สูงมากเกินไปนักกับ Alienware ครับ(และตอนนี้ราคาได้ลดลงอีกเนื่องจากมีการเปิดตัวรุ่นที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกซีรีส์ RTX 2000 แล้วครับ)
สำหรับสเปคของ Alienware m15 ที่ทาง NotebookCheck ใช้ในการทดสอบมีดังต่อไปนี้ครับ
Case
สำหรับวัสดุประกอบเครื่องและขนาดของ Alienware m15 นั้นถือว่าได้รับการออกแบบมาดีครับ ซึ่ง Alienware m15 นั้นเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมแบบ ultrathin design ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจได้เลยว่าคุณสามารถพกพาตัวเครื่องไปไหนมาไหนได้อย่างสบายด้วยน้ำหนักของตัวเครื่องเพียง 2.16 kg วัสดุที่ใช้นั้นเป็นโลหะผสมแมกนีเซียมสำหรับในส่วนของตัวฐานและกรอบด้านนอกหน้าจอ สำหรับส่วนอื่นๆ ของตัวเครื่องนั้นจะใช้วัสดุพลาสติกมันวาว แบบเดียวกันกับ Alienware 15 R4 พร้อมด้วยฝาทางหน้าตัวเครื่อง(ที่อยู่ทางด้านหลังของหน้าจอก็จะเป็นยางเช่นเดียวกันครับ
เรื่องของการประกอบนั้นเรียกได้ว่าสบายใจหายห่วงครับเพราะ Alienware m15 ได้รับการประกอบมาอย่างแน่นหนาเป็นอย่างดี จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งที่จะสามารถเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือขอบทางด้านซ้ายและขวาของตัวหน้าจอนั้นจะเป็นขอบแบบบาง ฝาพับสำหรับยกตัวหน้าจอนั้นก็ออกแบบมาให้แข็งแกร่งโดยที่ขนาดของมันนั้นจะเล็กกว่า Alienware 15 R4 ซึ่งเป็นรุ่นที่มีขนาดเครื่องปกติเล็กน้อยครับ ซึ่งนั่นเลยทำให้คนที่เคยใช้ Alienware 15 R4 มาก่อนอาจจะรู้สึกได้ว่าตัวบานพับนั้นดูอ่อนแอกว่า Alienware 15 R4 เล็กน้อยครับ
อย่างที่บอกไปครับว่าในส่วนอื่นของ Alienware m15 นั้นจะใช้วัสดุเป็นยางโดยเฉพาะกับส่วนที่วางมือตรงด้านเดียวกับคีย์บอร์ดนั้นก็ใช้ยางด้วยเช่นเดียวกันทำให้เวลาใช้งานนั้นจะรู้สึกสบายมากกว่าโน๊ตบุ๊คเครื่องอื่นๆ ที่ใช้วัสดุตรงนี้เป็นพลาสติก ทางด้านหลังและด้านข้างของตัวเครื่องนั้นจะมาพร้อมกับระบบระบายอากาศเฉพาะตัวของทาง Alienware ที่มีชื่อเรียกเท่ห์ๆ ว่า “jet-engine” ซึ่งมีการแยกตะแกรงสำหรับระบายความร้อนจากในตัวเครื่องมาข้างนอกที่ได้ผลเป็นอย่างดีครับ
ส่วนของขอบจอทางด้านล่างนั้นก็ยังคงมาพร้อมกับความบางครับ โดยด้านล่างโลโกของตัวเครื่องส่วนคีย์บอร์ดคุณจะสามารถมองเห็นในส่วนของตะแกรงลำโพงนั้นจะเป็นส่วนเดียวกันกับตัวเครื่องทำให้ในจุดนี้นั้นผู้ใช้จะได้เห็นความราบเรียบของตัวเครื่องที่ไม่เหมือนกับบางผู้ผลิตที่ตะแกรงของลำโพงนั้นจะแยกส่วนออกมาต่างหากจากส่วนของฐานด้านล่างครับ
ขนาดของตัวเครื่องเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ
Connectivity
ในส่วนของพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ ของ Alienware m15 นั้นจะเหมือนกันกับ Razer Blade 15 ครับ ทว่าบน Alienware m15 นั้นจะมีจุดเด่นตรงที่มีการแยกพอร์ตการเชื่อมต่อพิเศษออกมาอย่าง Graphics Amplifier port ที่เอาไว้ใช้งานในการเชื่อมต่อกับกราฟิกการ์ดภายนอกโดยที่ความพิเศษของมันนั้นก็จะอยู่ตรงที่แบนด์วิดธ์ของพอร์ตนี้นั้นจะเป็น PCIe x16 ที่แรงกว่าพอร์ต Thunderbolt 3 ทว่าในตอนนี้นั้นยังคงต้องใช้งานคู่กับ Alienware Graphics dock เท่านั้นครับ
ด้านหน้าของตัวเครื่องไม่มีพอร์ตการเชื่อมต่อ
ด้านขวาของตัวเครื่องมากพร้อมกับ USB 3.1 Type-A จำนวน 2 พอร์ต
ด้านหลังของตัวเครื่องมาพร้อมกับ HDMI 2.0, mini-DisplayPort 1.3, Thunderbolt 3, Alienware Graphics Amplifier Port และ AC adapter
ด้านซ้ายของตัวเครื่องมาพร้อมกับ Noble Lock, Gigabit RJ-45, USB 3.1 Type-A, 3.5 mm combo audio
Communication
สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายนั้น Alienware m15 มาพร้อมกับชิป Killer 1550 ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 5 โดยตรงด้วย (ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 1.73 Gbps) จุดเด่นนั้นคงจะหนีไม่พ้นการที่ Alienware m15 นั้นยังคงมาพร้อมกับซอฟต์แวร์ Killer Control Center ที่ช่วยให้นักเล่นเกมสามารถที่จะปรับการใช้งานในระดับสูงได้เป็นอย่างดี ผลการทดสอบต่างๆ ของการเชื่อมต่อเครือข่ายจะมีดังต่อไปนี้ครับ
Maintenance
ในการบำรุงรักษาแก้ไขตัวเครื่องนั้นเริ่มต้นด้วยการที่ Alienware m15 จะมาพร้อมกับประกันเป็นระยะเวลา 1 ปี ทว่าผู้ใช้สามารถขยายระยะเวลาในการรับประกันได้สูงสุดถึง 5 ปี แต่ถ้าหากว่าหมดระยะเวลาประกันแล้วนั้นหากต้องการทำการแกะตัวเครื่องเองนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องใช้ Philips screwdriver และ sharp edge ในการแกะซึ่งทำได้ไม่ยาก ส่วนการวางตัวของแผงวงจรและฮาร์ดแวร์ต่างๆ นั้นจะเหมือนกันกับเครื่องรุ่น Alienware 15 ซึ่งได้มีการแบ่งส่วนของฮาร์ดแวร์ต่างๆ อย่างชัดเจนทำให้การบำรุงแก้ไขนั้นทำได้ไม่ยากครับ
Keyboard
สำหรับคีย์บอร์ดของ Alienware m15 นั้นได้รับการปรับปรุงใหม่จากรุ่นพี่ของมันครับ โดยคีย์บอร์ดนั้นจะมาพร้อมกับไฟส่องสว่าง RGB แยกเป็น 4 โซนซึ่งจุดเด่นที่สุดนั้นคงหนีไม่พ้นกับการที่ตัวคีย์บอร์ดนั้นมาพร้อมกับแป้นตัวเลขแยกส่วนด้วยทำให้ในการใช้งานของหลายๆ ท่านนั้นน่าจะสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม ตัวแป้นคีย์บอร์ดนั้นจะมีระยะห่างของแต่ละปุ่มอยู่ที่ 1.4 mm ซึ่งคนที่มีมือขนาดใหญ่นั้นอาจจะรู้สึกใช้งานยากหน่อยในช่วงแรกๆ แต่พอใช้งานไปแล้วนั้นก็น่าจะชินได้ไม่ยากครับ ข้อเสียอีกอย่างคงจะหนีไม่พ้นแป้นคีย์บอร์ดดานบนสุดที่เป็นตัวเลขนั้นจะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าแป้นคีย์บอร์ดในตำแหน่งอื่นๆ ครับ
หมายเหตุ – แน่นอนครับว่า Alienware m15 นั้นยังคงมาพร้อมกับ Alienware Command Center ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ปรับการใช้งานตัวเครื่องได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าการใช้พลังงาน, เอฟเฟคเสียงของลำโพงรวมไปถึงดูอุณหภูมิการใช้งานและปรับแต่งความเร็วรอบพัดลมระบายความร้อน ที่ลืมไม่ได้เลยก็คือการปรับสีของไฟส่องสว่าง RGB ทั้งในส่วนโลโก้ของตัวเครื่องทางฝาปิดและแป้นพิมพ์ครับ
Touchpad
ต่อกันที่ Touchpad ของ Alienware m15 นั้นจะอยู่ทางด้านล่างเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อยโดยที่ขนาดของตัว Touchpad นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าในรุ่น Alienware 15 R4 อยู่พอควรทำให้สามารถใช้งานได้ง่ายกว่า ทว่าในส่วนของการใช้งานนั้น Touchpad บน Alienware m15 จะมีระยะการควบคุมที่ไม่ลึกเท่าไรนักทำให้การบังคับใช้งานนั้นจะง่ายมากกว่าในรุ่น 15 R4 แต่หากนำไปเทียบกับ Dell XPS 15 9570 หรือ MSI GS65 แล้วนั้นจะมีการตอบสนองช้ากว่าเล็กน้อยครับ
หมายเหตุ – Touchpad ของ m15 นั้นยังคงมาพร้อมกับฟีเจอร์การใช้งานแบบ multi-touch inputs ซึ่งสามารถใช้งานได้ง่ายกว่าในรุ่น 15 R4 เนื่องด้วยขนาดของ Touchpad ที่ใหญ่กว่าครับ
Display
อย่างที่บอกไปในตอนต้นครับว่า Alienware m15 มาพร้อมกับตัวเลือกหน้าจอหลายความละเอียดอย่าง 1080p60, 1080p@144, 2160p@60 หรือ 4K UHD ซึ่งเครื่องที่ทาง NotebookCheck นำมาทำการรีวิวนั้นจะมาพร้อมกับความละเอียดที่ระดับ 1080p@144 ใช้พาเนลรุ่น AU Optronics AUO80ED ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่ใช้งานบน MSI GS65 ตามที่ Dell ได้โฆษณาเอาไว้นั้นตัวหน้าจอจะมีความสว่างมากสุดอยู่ที่ 300-nit แต่ในการทดสอบจริงนั้นพบว่าความสว่างสูงสุดที่สามารถทำได้จะอยู่ที่ราวๆ 350-nit เลยครับ
ขอบหน้าจอแบบบางมีขนาดอยู่ที่ 9 mm เท่านั้น
ไม่มีปัญหาเรื่องแสงลอดเข้ามาทางขอบเวลาที่แสดงสีดำทั้งหน้าจอ
การเรียงตัวของจุด pixel บนหน้าจอ
ความกว้างของสีแบบ sRGB อยู่ที่ 89%
ความกว้างของสีแบบ AdobeRGB อยู่ที่ 58%
Performance
มาถึงส่วนที่นักเล่นเกมน่าจะอยากรู้มากที่สุดกับการทดสอบประสิทธิภาพครับ ตัวเครื่อง Alienware m15 ที่ทาง NotebookCheck ใช้ในการรีวิวนั้นจะมาพร้อมกับหน่วยประมวลผล Intel Core i7-8750H ที่มีแกนการประมวลผลอยู่ที่ 6 แกน 12 threads พร้อมหน่วยความจำแบบ DDR4 ขนาด 16 GB ที่ความเร็ว 2,666 MHz ตามมาด้วยชิปกราฟิกแบบแยกรุ่น GTX 1070 Max-Q ที่ยังคงมาพร้อมกับเทคโนโลยี Nvidia Optimus ที่จะทำการเปลี่ยนไปใช้ชิปกราฟิกแบบฝังบนหน่วยประมวลผลเพื่อการประหยัดพลังงานครับ
Processor
กราฟแสดงความเร็วสัญญาณนาฬิกาขณะ Turbo Boost
เริ่มด้วยการทดสอบความแรงของตัวหน่วยประมวลผล Intel Core i7-8750H นั้นพบว่า Alienware m15 สามารถที่จะทำการทดสอบได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะกับการเพิ่มความเร็ว Turbo Boost ของความเร็วสัญญาณนาฬิกกาของหน่วยประมวลผลนั้นสามารถที่จะรักษาระดับได้ดีกว่าหน่วยประมวลผลรุ่นเดียวกันของโน๊ตบุ๊คแบรนด์อื่นๆ อย่างเช่น Lenovo Legion Y7000 หรือ Pavilion Gaming 15 เป็นต้นครับ สำหรับผลการทดสอบนั้นจะมีดังต่อไปนี้ครับ
System Performance
สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบด้วย PCMark 10 นั้นพบว่า Alienware m15 มีคะแนนอยู่ในระดับที่น่าพอใจครับ โดยส่วนของคะแนนการทดสอบเมื่อเทียบกับรุ่นอื่นๆ นั้นจะมีดังต่อไปนี้ครับ
Storage Devices
ต่อกันที่ผลการทดสอบแหล่งเก็บข้อมูลครับที่ต้องบอกเลยว่า Alienware m15 สามารถทำได้ดีเป็นอย่างมากกับการใช้แหล่งเก็บข้อมูล Toshiba XG5 KXG50ZNV512G SSD ความจุ 512 GB ผ่านการเชื่อมต่อแบบ 2x M.2 2280 นอกไปจากนั้นแล้วยังมีพื้นที่เหลือให้คุณสามารถเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลขนาด 2.5 นิ้วเพิ่มได้อีก 1 ตัว ดังนั้นแล้วเรื่องของการเก็บข้อมูลนั้นพื้นที่น่าจะเหลือแบบสบายๆ
GPU & Games Performance
สำหรับประสิทธิภาพของ GPU นั้นก็เรียกได้ว่าแรงหายห่วงครับ ตัว GPU นั้นถึงแม้จะไม่สดใหม่ทว่าการใช้งานนั้นก็ถือได้ว่ายังไม่ตกยุดอะไร ความเร็วของ GTX 1070 Max-Q นั้นก็ยังสามารถเชื่อถือได้เป็นอย่างดีถึงแม้ว่าจะมาพร้อมกับหน่วยความจำแบบ GDDR4 เท่านั้นก็ตาม(สำหรับเวอร์ชัน Desktop จะมาพร้อมกับ GDDR5)
ปิดท้ายการทดสอบด้วยประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่ต้องบอกเลยครับว่าความละเอียดที่ 1080p นั้น Alienware m15 สามารถขับกราฟิกออกมาได้แบบที่เล่นแล้วไม่กระตุกอย่างแน่นอน อย่างน้อยคุณก็ยังสามารถเล่นเกมที่ความละเอียดระดับ 1080p ไปได้สบายๆ อีก 2 – 3 ปี แถมด้วยในส่วนของหน้าจอที่มาพร้อมกับ frame rate 144 MHz นั้นก็ตอบสนองเป็นอย่างดีดังจะเห็นได้จากการทดสอบของเกมที่ถึงแม้จะเป็นเกมที่่กิรสเปคโหดมากๆ อย่าง The Witcher 3 นั้นถึงจะเป็นความละเอียดแบบ ultra ก็ยังเล่นได้ลื่นที่ 54.2 fps เลยทีเดียวครับ
Emissions
System Noise
Alienware m15 มาพร้อมกับระบบระบายความร้อนด้วยพัดลมคู่ทางด้านข้างซ้ายและขวาตรงส่วนบนของตัวเครื่องซึ่งพัดลมแต่ละข้างนั้นจะเป็นพัดลมแบบ 2 ใบพัด(ขนาด 0.2 mm) เชื่อมต่อกันด้วย 4 heat pipes โดยเสียงของตัวพัดลมขณะ idle นั้นจะอยู่ที่ 34 dB(A) ซึ่งทำได้ดีกว่า 15 R4 ส่วนเมื่อใช้งานขณะทำการเล่นเกมนั้นเสียงจะดังขึ้นมาหน่อยอยู่ที่ 45 dB(A) และดังที่สุดเมื่อใช้งานแบบเต็มที่ในการทำ Benchmark จะอยู่ที่ 50 dB(A) ซึ่งจะดังขึ้นมาจนได้ยินเสียงพัดลมชัดเจน(ตั้งแต่การเล่นเกม) ทั้งนี้เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Razer Blade 15 และ MSI GS65 แล้วนั้นจะพบว่า Alienware m15 มีเสียงรบกวนชัดเจนกว่าครับ
อย่างไรก็ตามมีจุดที่น่ากังวลใจอยู่ก็คือทางด้านตรงกลางของส่วนขวาของตัวเครื่องนั้นจะมีเสียรบกวนในลักษณะของการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาอยู่ตลอดเวลาซึ่งตำแหน่งดังกล่าวนั้นเป็นที่อยู่ของแหล่งเก็บข้อมูลแบบ NVMe SSD ทว่าทาง NotebookCheck เองนั้นก็ไม่แน่ใจครับว่าเสียงดังกล่าวจะมาจากตัวแหล่งเก็บข้อมูลรึเปล่าและคาดไว้ว่าตัวเครื่องที่วางจำหน่ายจริงน่าจะมาพร้อมกับการอัปเกรด BIOS ที่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ครับ
หมายเหตุ – ขณะทำการทดสอบระดับเสียงสิ่งแวดล้อมของรอบๆ ตัวเครื่องจะอยู่ที่ 28.6 dB(A)
Temperature
สำหรับอุณหภูมิในส่วนต่างๆ ของตัวเครื่องนั้นโดยรวมแล้วจะอยู่ที่แผงวงจรทางตรงกลางของเครื่องซึ่งตรงกับตะแกรงลำโพงกินพื้นที่มาจนถึงส่วนด้านบนของคีย์บอร์ดเล็กน้อยครับ เมื่อเปิดเครื่องโดยปกตินั้นอุณหภูมิของตัวเครื่องจะอยู่ที่ราวๆ 30 องศาเซลเซียสโดยที่ยังพบว่ามีการกระจายความร้อนมาทางส่วนด้านล่างของตัวเครื่องเล็กน้อยด้วยสาเหตุที่ว่าพัดลมของตัวเครื่องนั้นไม่ได้ทำงาน(หรือทำงานแบบเงียบๆ แบบหมุนไม่เต็มรอบของใบพัด)
อุณหภูมิตัวเครื่องทางด้านบนขณะเล่นเกม Witcher 3 สูงสุดอยู่ที่ 50 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิตัวเครื่องทางด้านล่างขณะเล่นเกม Witcher 3 สูงสุดอยู่ที่ 48.8 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิตัวเครื่องทางด้านบนขณะ Full load สูงสุดอยู่ที่ 53.8 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิตัวเครื่องทางด้านล่างขณะ Full load สูงสุดอยู่ที่ 55.3 องศาเซลเซียส
ในส่วนของอุณหภูมิขณะทำการเล่นเกมและ Full Load นั้นจะอยู่ใกล้ๆ กันครับโดยจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ราวๆ 50 – 54 องศาเซลเซียสในส่วนของด้านบนคีย์บอร์ด ส่วนอุณหภูมิทางด้านล่างของตัวเครื่องนั้นจะอยู่ที่ 48 – 56 องศาเซลเซียส จุดที่น่ากังวลก็คือส่วนของแป้นคีย์บอร์ดตัวเลข “0” นั้นค่อนข้างที่จะร้อนเอามากๆ คืออยู่ที่ราวๆ 50 องศาเซลเซียสเกือบจะตลอดเวลาเลยทีเดียว ทว่าในส่วนของปุ่มสำหรับบังคับใช้ในการเล่นเกมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น WASD, palm rests, trackpad และ NumPad นั้นยังมีอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนักทำให้ในการเล่นเกมจริงนั้นก็ยังสามารถเล่นได้แบบสบายๆ(แต่ก็ยังคงรู้สึกได้ถึงความร้อนที่เพิ่มขึ้นครับ)
เมื่อทำการทดสอบแบบหนักหน่วยด้วยการใช้โปรแกรม Prime95 เปิดพร้อมกับ FurMark Stress เพื่อให้ทั้งหน่วยประมวลผลและชิปกราฟิกทำงานเต็มที่ทั้งคู่นั้นพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของหน่วยประมวลผลจะพุ่งไปอยู่ที่ 84 องศาเซลเซียสโดยมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 2.7 GHz ส่วนกราฟิกชิปจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 74 องศาเซลเซียสโดยมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 1,101 MHz ทั้งนี้โดยรวมแล้วถือว่า Alienware m15 จัดการกับความร้อนได้ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับรุ่นใหม่อย่าง 15 R4 แต่ถ้าเทียบกับคู่แข่งที่เป้นโน๊ตบุ๊ค ultrathin สำหรับการเล่นเกมอย่าง Gigabyte Aero 15X นั้นก็ยังคงร้อนกว่าเล็กน้อยครับ
Battery Life
จุดที่น่าพอใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือการที่ Alienware m15 นั้นมาพร้อมกับแบตเตอรี่ความจุ 50 Wh ที่ในการใช้งานโดยทั่วไปนั้นเรียกได้ว่าผ่าน 7.45 – 8 ชั่วโมงได้แบบสบายๆ(เปิดใช้งาน WiFi พร้อมเปิดเว็บไซต์ต่างๆ ตลอดเวลา) ทว่าเวลาที่ทำการเล่นเกมโดยเปิดความสว่างของหน้าจอตัวเครื่องแบบสูงสุดนั้นระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่จะอยู่ที่ราวๆ 1.43 ชั่วโมงเท่านั้นดังนั้นหากคุณต้องการนำเครื่องไปเล่นเกมนอกสถานที่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องพกที่ชาร์จไปใช้งานด้วยครับ
หมายเหตุ – ที่ชาร์จมาพร้อมกับกำลังไฟสูงสุดที่ 180 W ซึ่งสามารถชาร์จไฟตัวเครื่องจาก 0 มา 100 ได้ด้วยระยะเวลาประมาณ 1.5 – 2 ชั่วโมงครับ
Verdict
โดยรวมแล้วนั้น Alienware m15 ถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คแบบ ultrathin ที่ทรงพลังครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานทั่วไปรวมไปถึงการเล่นเกมที่ความละเอียด 1080p นั้นก็ถือว่าครอบคลุมเป็นอย่างดี ทว่าหากคุณต้องการที่จะเล่นเกมที่ความละเอียด 4K แล้วนั้นตัวเลือกโมเดลที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกซีรีส์ RTX 2000 น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าทว่าราคานั้นก็เพิ่มขึ้นมากตาม เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Razer Blade 15 หรือ MSI GS65 แล้วนั้นเรียกได้ว่าสามารถสู้กันได้แบบสบายๆ อีกจุดเด่นที่ไม่พูดไม่ได้ก็คือการที่คีย์บอร์ดมาพร้อมกับแป้น NumPad ซึ่งหลายๆ ท่านน่าจะชินมากกว่าครับ
จุดเด่น
- แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้อย่างยาวนานโดยมีตัวเลือกแบตเตอรี่ทั้งความจุขนาด 60 Wh และ 90 Wh
- สามารถเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลได้สูงสุดถึง 3 แหล่งพร้อมทั้งรองรับเทคโนโลยี Intel Optane
- หน่วยประมวลผลสามารถทำงานขณะ Turbo boost ได้ความเร็วค่อนข้างสูงและมีความเสถียร
- หน้าจอมาพร้อมกับตัวเลือก 1080p@144 และ 4K
- เคสใช้วัสดุในการประกอบที่ดีดเมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่มีขนาดพอๆ กัน
- มาพร้อมกับ Graphics Amplifier Port
- มาพร้อมกับแป้น NumPad
ข้อสุงเกต
- เมื่อเทียบกับคู่แข่งที่เป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมแบบ ultrathin เหมือนกันแล้วนั้นถือว่ามีขนาดใหญ่กว่า
- ความแข็งแกร่งของตัวเครื่องยังเทียบไม่ได้กับรุ่นขนาดปกติอย่าง Alienware 15 R4
- การใช้วัสดุทางด้านแป้นคีย์บอร์ดเป็นยางนั้นทำให้การใช้งานระบบสแกนด้วยลอยนิ้วมือใช้งานได้ยากกว่า
- พอร์ตการเชื่อมต่อทางด้านหลังตัวเครื่องเข้าถึงได้ยากเนื่องจากตัวเครื่องมีความบางกว่ารุ่นขนาดปกติและใช้พื้นที่ไปกับระบบระบายความร้อนค่อนข้างมากทำให้ตัวพอร์ตนั้นวางตำแหน่งค่อนข้างจะชิดกัน
- ขอบหน้าจอทางด้านบนและด้านล่างยังยงหนากว่าโน๊ตบุ๊คแบบ ultrathin ขอคู่แข่ง
- ลำโพงยังให่เสียง Bass ไม่ค่อยจะดีเท่าไรนัก
- ระบบไฟส่องสว่าง RGB บนคีย์บอร์ดแบ่งออกเป็นโซน ไม่ได้ใช้ไฟส่องสว่างแบบแป้นต่อแป้น
- ไม่มี SD Card reader
- ไม่รองรับเทคโนโลยี G-Sync
ที่มา : notebookcheck