ในช่วงไม่นานมานี้นั้นได้มีผลการสำรวจเศรษฐกิจดิจิทัลเผยออกมาครับ โดยสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจนั้นก็คือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในการก้าวผ่านของเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรานั้นกลายมาเป็นอยู่ในฝั่งเอเชียของบ้านเราแทนซึ่งตัวแปรสำคัญเลยนั้นก็คือประเทศจีนและอินดีที่มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น
อย่างประเทศจีนนั้นในการสำรวจล่าสุดพบว่ามีผู้ใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวนสูงถึง 800 ล้านรายสำหรับประเทศอินเดียวนั้นก็มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตถึง 500 ล้านรายรวมกันแล้วมากกว่า 37 ประเทศในกลุ่ม OECD ซะอีก แถมในทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ก็จะใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยวันละถึง 5.9 ชั่วโมงเลยทีเดียวครับ
ทาง World Economic Forum นั้นได้รวมเอาประเทศจีนและอินเดียเอาไว้ในกลุ่มที่เรียกว่า “digital south” ครับ ซึ่งคำดังกล่าวนี้หมายถึงว่าการใช้งานและการยอมรับระบบออนไลน์อย่างสมบูรณ์ยังคงพัฒนาอยู่ โดยสำหรับการวิจัยของ Digital Evolution Index (DEI) ของทาง World Economic Forum เองนั้นก็ได้บอกเอาไว้ว่าทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวนี้นั้นอยู่ในส่วนของกลุ่มประเทศ “Break Out” ซึ่งหมายความว่าประเทศทั้ง 2 นั้นเป็นกลุ่มประเทศที่มีการเติบโตทางดานดิจิทัลที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องครับ
ตามข้อมูลของทาง World Economic Forum นั้นระบุเอาไว้ครับว่าในประเทศจีนนั้นมีผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนแล้วมากกว่า 783 ล้านราย(จากข้อมูลของทาง Cyberspace Administration of China) และในจำนวนดังกล่าวนั้นมีผู้ที่ใช้จ่ายผ่านทางสมาร์ทโฟนสูงถึง 469 ล้านราย(ข้อมูลล่าสุดของเดือนมกราคม 2017) ซึ่งนั่นทำให้จีนเป็นตลาดการใช้จ่ายผ่านทางดิจิทัลที่สูงเอามากๆ ส่วนทางประเทศอินเดียวเองนั้นก็ไม่แพ้กันครับเพราะได้มีการคาดการกันเอาไว้ว่าภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้นั้นยอดการใช้จ่ายผ่านทางดิจิทัลจะสูงถึง $413 billion และสูงไปถึง $1 trillion ภายในปี 2025 ครับ
แน่นอนล่ะครับว่าด้วยยอดผู้ใช้งานและเม็ดเงินในตลาดดิจิทัลที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้นั้นเลยทำให้ทั้งประเทศจีนและอินเดียกลายมาเป็นตลาดที่ประเทศผู้นำทางด้านตลาดดิจิทัลหันมาสนใจ 2 ประเทศดังกล่าวนี้เป็นอย่างมาก ทว่าการจะเจาะตลาดเข้าไปในทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยครับเพราะตลาดดิจิทัลของทั้ง 2 ประเทศนั้นเรียกกลายๆ ว่าเป็นตลาดปิดเฉพาะในประเทศของตัวเองเลยก็ว่าได้ โดยทาง World Economic Forum ได้ยกตัวอย่างของเหตุผลเรื่องดังกล่าวเอาไว้ดังต่อไปนี้ครับ
- ภาษา – เรื่องของภาษานั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญครับเพราะถ้าสื่อสารกันได้ไม่เข้าใจล่ะก็นั่นหมายความว่าการจะเจาะตลาดได้นั้นเรียกได้ว่าแถบจะไม่มีทางเลย อย่างในประเทศอินเดียวนั้นจากประชากรที่มีมากถึง 700 ล้านคนนั้นมีเพียงแค่ 100 ล้านคนเท่านั้นที่สามารถอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้และถ้าหากอยากจะเจาะตลาดอินเดียด้วยการใช้ภาษาที่มีการใช้งานอยู่ในอินเดียแล้วล่ะก็ยังคงต้องเจอกับกำแพงใหญ่อีกเนื่องจากว่าว่าในอินเดียนั้นมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่มากถึง 32 ภาษาเลยทีเดียวครับ ถ้ายังอยากจะเจาะตลาดอินเดียจริงๆ แล้วล่ะก็อย่างน้อยต้องใช้ภาษาที่แตกต่างกันซึ่งเป็นภาษาราชการในแต่ละส่วนภาคของอินเดียให้ได้ 5 ภาษาซึ่งนั่นก็ยังมากอยู่ดีครับ
- นโยบายการตั้งภาษีอากรที่สูงมาก – เรื่องดังกล่าวนี้นั้นสำหรับประเทศจีนนั้นไม่มีปัญหาครับเพราะเขามีนโยบายที่ชัดเจนอยู้แล้ว กลับกันแล้วนั้นในประเทศอินเดียนั้นจะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเพราะในประเทศอินเดียวนั้นเรื่องของภาษีนั้นจะดูที่สถานที่ต้องของคลังสินค้ามากกว่าโดยที่หากคลังสินค้าอยู่ภายในประเทศอินเดียเลยนั้นภาษีก็จะถูกกว่าการที่มีคลังสินค้าอยู่นอกประเทศมากๆ แถมด้วยการเก็บภาษีของธุรกิจดิจิทัลที่มีคลังสินค้าอยู่ที่ต่างประเทศนั้นก็ไม่เท่ากันอีกในแต่ละประเทศทำให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เจ้าของธุรกิจดิจิทัลปวดหัวได้เป็นอย่างมากครับ
อย่างไรก็ตามแต่ครับ ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ค่อนข้างจะสำคัญเลยก็คือรัฐบาลของทั้งประเทศจีนและอินเดียนั้นมีนโยบายที่ค่อนข้างจะปิดกั้นการเข้าไปดำเนินธุรกิจภายในประเทศที่โหดเอามากๆ เพราะทั้ง 2 ประเทศนี้นั้นทางรัฐบาลเขาจะค่อนข้างระวังในเรื่องของข้อมูลภายในประเทศมากเห็นได้ชัดจากเรื่องของการที่หลายๆ บริษัทไม่สามารถที่จะนำบริการของตัวเองเข้าไปเปิดตลาดในจีนและอินเดียได้ตัวอย่างเช่นทาง Google และ Facebook เป็นต้นครับ(หลายๆ คนที่เคยมีข้อสงสัยว่าทำไมสามารถโฟนที่จำหน่ายในประเทศจีนถึงไม่ได้มาพร้อมกับ Google Service ก็ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ล่ะครับ)
แน่นอนครับว่าบริษัทใหญ่ๆ เหล่านี้นั้นต่างก็มีความพยายามที่จะปรับการใช้งานบริการของตัวเองให้เข้ากันกับประเทศทั้ง 2 ดังกล่าวอย่างเช่นทาง Google เองก็ได้มีการลงทุนในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับแอปพลิเคชัน Translate ให้สามารถที่จะรองรับภาษาที่แตกต่างกันในประเทศจีนและอินเดียให้ได้มากที่สุดและทาง Amazon เองก็มีแผนที่จะเปิดตัวบริการซึ่งมาพร้อมกับการรองรับภาษาที่แตกต่างในประเทศอินเดียด้วยเช่นเดียวกันครับ
ยังครับยังไม่หมดแค่เพียงเท่านั้นการปิดกั้นดังข้อมูลของประชากรดังกล่าวนี้นั้นยังดูเหมือนกับว่าจะมีรูปแบบการปิดกั้นยาวไปจนถึงอย่างน้อยก็ปี 2020 นี้ โดยอย่างประเทศจีนเองนั้นก็ได้มีการใช้บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ภายในของตัวเองในการดูแลเรื่องข้อมูลประชากรซึ่งนั่นทำให้ในประเทศจีนนั้นมีบริษัทหลายๆ บริษัทที่มีความสามารถในรูปแบบก้าวกระโดดเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เช่นเดียวกันกับอินเดียครับที่ได้มีการขอความร่วมมือการใช้งานระบบดิจิทัลภายในประเทศมาจากประเทศจีนดังนั้นแล้วการที่จะสามารถเปิดบริการอะไรสักอย่างหนึ่งในประเทศจีนและอินเดียได้นั้นถือว่ายากเป็นอย่างยิ่งครับ
ข้อมูลดังกล่าวนี้นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่อ่อนไหวและสำคัญมากๆ ครับ ทั้งนี้ด้วยความที่ประเทศไทยเราเองนั้นก็พยายามที่จะก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งมีการสนับสนุนให้บริการดิจิทัลนั้นออกนอกประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ จากทางรัฐบาลซึ่งแน่นอนว่าประเทศที่น่าสนใจในการทำตลาดนั้นก็คงหนีไม่พ้นประเทศจีนและอินเดียซึ่งเป็นตลาดใหญ่มากๆ นั่นเอง ดังนั้นแล้วสำหรับผู้ที่เป็นเจ้าของธุรกิจดิจิทัลอยู่นั้นก็ควรจะต้องปรับตัวกันหน่อยเพื่อที่จะสามารถเจาะตลาดทั้ง 2 ประเทศดังกล่าวนี้ได้แต่จากการที่เมืองไทยเราเองนั้นก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้ง 2 ประเทศอยู่แล้วดังนั้นหากมีแรงสนับสนุนจากทางรัฐบาลผมเองคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะยากเท่ากับประเทศสหรัฐอเมริกาครับ
ที่มา : weforum