อินเทลเตรียมประกาศถอดรูปแบบการทำงานบน BIOS พีซีและเปลี่ยนไปใช้เฟิร์มแวร์ UEFI แทนแบบเต็มตัว โดยหวังว่าจะทำให้การจัดการฮาร์ดแวร์ทำได้ง่ายขึ้น รวมถึงทำให้การปรับปรุงแก้ไขและติดตั้ง Windows เช่นเดียวกับการบูตเครื่องได้เร็วกว่าเดิม
สำหรับ BIOS (Basic Input/Output System) ที่หลายคนคุ้นเคยกันอยู่นั้น เป็นรูปแบบของการเขียนโค๊ตเล็กๆ เอาไว้บนเมนบอร์ด โดยที่โค๊ตดังกล่าวนี้จะทำให้หน้าที่ทุกๆ อย่างเวลาที่เปิดเครื่องคอมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการเช็คฮาร์ดแวร์ที่อยู่ภายในเครื่อง ค้นหาและรายงานแรม รวมถึงไดรฟ์ที่ใช้ในการบูต ความเร็วของซีพียูที่ทำงาน แต่ก็ด้วยกระบวนการเช็คทุกอย่าง เลยทำให้มีความล่าช้าอยู่บ้าง ซึ่งหลังจากที่ระบบมีการเช็คสิ่งต่างๆ ทั้งหมดแล้ว จึงจะสามารถทำให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไปได้
แต่กับ UEFI หรือ Unified Extensible Firmware Interface จะทำให้สิ่งต่างๆ เริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และเริ่มเข้ามาแทนที่ BIOS ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจได้เห็น EUFI มากขึ้น แต่เมนบอร์ดหลายรุ่น ก็ยังมี BIOS เอาไว้ให้ใช้อยู่ด้วยเช่นกัน เรียกว่ามีให้เลือกทั้ง 2 ระบบ เพื่อให้เหมาะกับความเข้ากันได้บนฮาร์ดแวร์เก่าบางรุ่นรวมถึงซอฟต์แวร์บางอย่าง ที่ยังต้องอิง BIOS แบบดั้งเดิม
อย่างไรก็ดีในอนาคตก็ดูเหมือนว่า แทบจะไม่จำเป็นที่ต้องมีการสนับสนุนในความเข้ากันได้ในเรื่องดังกล่าว และทาง Intel ขีดเส้นไว้ว่าในปี 2020 จะตัดส่วนการทำงานของ BIOS เดิมออก ซึ่งแม้ว่าจะดูอีกยาวไกล แต่อย่าลืมว่าปีหน้าก็จะเป็นปี 2018 แล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่อาจเกิดผลกระทบก็คือ บรรดาผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ที่จะต้องเข้ามาจัดการปัญหาซอฟต์แวร์เก่าๆ นั่นเอง
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวดูจะใกล้ตัวหรือผู้ใช้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเริ่มคุ้นเคยกันดีกับ EUFI แล้วก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลก็คือ เรื่องของการสร้างความ Compatible ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ให้ทำงานกันอย่างสอดคล้องและมีความรวดเร็วนั่นเอง เพราะส่วนตัวเชื่อว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ที่ต้องการปรับแต่งหรือโอเวอร์คล็อก รวมถึงการใช้ฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าๆ อาจจะต้องมีการปรับตัว แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ น่าจะตอบโจทย์ผู้ใช้ส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบอินเทอร์เฟสที่ดูกันเองและมองเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน ใช้งานง่ายกว่าเดิม
ที่มา : Intel to kill bios 2020