ในปัจจุบันนี้นั้นนิวเคลียร์ถูกนำมาใช้งานในการผลิตพลังงานไฟฟ้ากันมากขึ้นครับ ถึงแม้ว่านิวเคลียร์จะถือว่าเป็นหนึ่งในพลังงานสะอาดสำหรับการผลิตไฟฟ้าแต่ทว่าในความเป็นจริงแล้วนั้นกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากนิวเคลียร์จะทิ้งกากนิวเคลียร์ที่เป็นของเสียที่ไม่สามารถจะกำจัดได้ด้วยวิธีการปกติทั่วไป แน่นอนครับว่าหากโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยนิวเคลียร์มากขึ้นเรื่อยๆ มีหวังว่าโลกเราได้เต็มไปด้วยขยะนิวเคลียร์กันแน่ๆ ทว่าดูเหมือนว่าล่าสุดเราจะมีความหลังในการกำจัดกากนิวเคลียร์ดังกล่าวแล้วครับ
เมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์จาก University of Bristol ได้ออกมาเผยครับว่าพวกเขาสามารถพัฒนาขั้นตอนวิธีการเปลี่ยนกากนิวเคลียร์ให้เป็นแบตเตอรี่สะอาดได้โดยใช้กรรมวิธีแบบเดียวกับการสร้างเพชร วิธีการดังกล่าวก็คือใช้วัสดุแบบเดียวกันกับกราไฟท์ที่สามารถกันรังสีนิวเคลียร์ตามที่ใช้ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้(ซึ่งในที่นี้ใช้ไอโซโทปของคาร์บอนอย่าง Carbon-14) ร่วมกับการนำเอากากนิวเคลียร์ดังกล่าวไปห่อหุ้มด้วยคลื่นกัมมันตรังสีระยะสั้น(แบบเดียวกับที่เราใช้ในการผลิตเพชร) ก็จะได้ผลผลิตออกมาเป็นเพรชดังรูปครับ
ที่เจ๋งไปกว่านั้นเจ้ากากนิวเคลียร์ที่เปลี่ยนมาอยู่ในรูปเพชรดังกล่าวนี้นั้นยังจะสามารถทำตัวเป็นแบตเตอรี่สพอาจที่สามารถให้ไฟฟ้าได้ด้วยอีกต่างหาก ทว่าอย่างไรก็ตามไฟฟ้าที่เจ้าเพชรจากการนิวเคลียร์นั้นจะไม่ได้ให้พลังไฟฟ้าได้มากเท่าไรนักต่อก้อนแต่สิ่งที่มันเจ็งก็คืออายุครึ่งชีวิตของมันนั้นนานมากถึง 5,730 ปีถึงจึงเสื่อสภาพไป 50% เรียกได้ว่าหากมีมากๆ แล้วนั้นก็สามารถที่จะเอามาใช้ผลิตไฟฟ้าสะอาจกันได้ยาวๆ ต่อเนื่องอย่างสบายครับ
แต่ช้าก่อนครับ การประยุกต์งานดังกล่าวนี้ไปใช้งานจริงๆ นั้นอาจจะต้องใช้เวลากันอีกนานทีเดียวเพราะว่ามันจะมีปัญหาจุกจิกยุ่งยากบางอย่างเช่นที่เห็นได้ชัดเจนเลยนั้นก็คือต้นทุนเพราะว่าแน่นอนครับไอโซโทปของกราไฟท์อย่าง Carbon-14 นั้นก็เป็นเพชรรูปแบบหนึ่งหากจะนำเอามันไปครอบกากนิวเคลียร์ตามกระบวนการแล้วหล่ะก็ได้จ่ายเงินกันบานแน่ๆ แถมเราก็ยังมั่นใจไม่ได้แน่ชัดว่ากากเพชรแบตเตอรี่ที่ได้ออกมานั้นจะสามารถใช้งานจริงได้อย่างที่ทำในห้องวิจัยหรือไม่ครับ
หมายเหตุ – อย่างไรก็ตามนี่ถือได้ว่าเป็นการเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มากๆ ครับ เชื่อว่าหากพัฒนาต่อไปในอนาคตอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เพชรก็เป็นได้ครับ
ที่มา : engadget