การป้องกันรถยนต์โดนขโมยนั้นตั้งแต่ในอดีตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันคงต้องบอกหล่ะครับว่ามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่เคยอยู่ในยุค 1990s มาก่อนน่าจะคุ้นเคยกันดีกับระบบสัญญาณกันขโมยของรถยนต์ที่ถูกติดตั้งไว้บนรถยนต์ที่เมื่อเวลามีกุญแจที่ไม่ใช่ของรถยนต์คันดังกล่าวมาเปิดล๊อครถยนต์หรือมีการเปิดประตูรถยนต์แบบผิดวิธี
หรือแม้กระทั่งมีการพยายามใช้ความรุนแรงในการเปิดรถยนต์ระบบดังกล่าวก็จะส่งเสียงดังและส่งสัญญาณไปยังกุญแจหลักเพื่อทำการเตือนเจ้าของรถ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็มีประโยชน์ในตอนแรกแต่หลังจากนั้นไม่นานกลุ่มขโมยก็มีการพัฒนาความรู้เพื่อจะปิดระบบดังกล่าวครับ
ภาพภายในของรถยนต์ Jeep Grand Cherokee โดย JOE RAEDLE/GETTY IMAGES
ถึงจะมีการจะมีการพัฒนาระบบป้องกันตัวเองมาโดยตลอดทั้งจากทางผู้ผลิตรถยนต์เองรวมไปถึงผู้ผลิตระบบล๊อครถยนต์รายอื่นๆ ทว่าไม่ว่าจะยังไงดูเหมือนเหล่าขโมยก็ไม่ยอมแพ้ที่จะทำการอัพเกรดตัวเองให้มีความไฮเทคตามยุคสมัยเพื่อที่จะทำการขโมยรถยนต์ได้อยู่ดีครับ เรื่องที่เรานำมานำเสนอให้ทุกท่านได้ทราบในวันนี้นั้นเป็นเรื่องของขโมยจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่พัฒนาตัวเองจนถึงขั้นใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คในการแฮ็กระบบรักษาความปลอดภัย(ระบบป้องกันขโมย) ของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เพื่อทำการปิดระบบป้องกันตนทั้งหมดจนในที่สุดก็สามารถที่จะขโมยรถยนตคันดังกล่าวไปได้ครับ
เหตุการณตัวอย่างหนึ่งเกิดขึ้นที่ Houston ซึ่งรถยนต์ที่ถูกขโมยไปนั้นคือ Jeep Wrangler รุ่นปี 2010 ซึ่งถือว่ามีระบบการป้องกันขโมยที่หนาแน่นรุ่นหนึ่งครับ โดยการขโมยของหัวขโมยนั้นสุดแสนจะล้ำยุคมากและจากกล้องวงจรปิดนั้นก็ดูแล้วไม่มีท่าทีที่จะกลัวต่อความผิดอะไรเลยเพราะจากภาพวงจรปิดของเจ้าของรถที่จอดรถไว้ที่จอดรถหน้าบ้านนั้นจะเห็นได้ว่าขโมยเดินตรางเข้ามายังรถยนต์คันดังกล่าวแล้วก็ใช้กุญแจปลอมเปิดประตูเข้าไปในรถครับ
การใช้กุญแจปลอมเปิดประตูเข้าไปในรถนั้นทำให้รถร้องตามปกติแต่เมื่อดูต่อไปจะเห็นว่าหัวขโมยรายนี้ใช้โน๊ตบุ๊คขึ้นมาแล้วเชื่อมต่ออะไรสักอย่างจากนั้นระบบเตือนก็หยุดแล้วหัวขโมยก็ขับรถออกไปแบบหน้าตาเฉยซึ่งกระบวนการทั้งหมดในการขโมยรถดังกล่าวนี้ตั้งแต่ช่วงที่รถร้องเตือนไปจนกระทั่งรถหยุดร้องใช้เวลา 10 นาทีก่อนที่สัญญาณจะหยุดลง(ตามคำให้การของเจ้าหน้าที่รายหนึ่ง) ว่าแล้วก็ไปชมคลิปกันเลยครับ
หมายเหตุ – คลิปทางด้านล่างนี้มีการร่นช่วงเวลาที่หัวขโมยทำให้รถยนต์หยุดร้องออกไปจาก 10 นาทีเหลือประมาณ 50 วินาทีครับ
ทางตำรวจนั้นยังได้เผยข้อมูลที่น่าตกใจเอาไว้อีกด้วยครับว่าวิธีการเดียวกันนี้ถูกใช้งานในการขโมยรถยนต์รุ่นใหม่ของ Wranglers และ Cherokees อีกถึง 4 คัน(ที่มีคลิปบันทึกภาพจากกล้องวงจรปิดเช่นเดียวกัน) จากตัวเมือง Houston เพียงที่เดียวเท่านั้น แถมรถทุกคันที่โดนขโมยไปนั้นก็ไม่สามารถที่จะตามกลับคืนมาด้วยอีกครับ
เจ้าหน้าที่ตำรวจอาวุสโสนาม James Woods ซึ่งใช้เวลาในแผนกหน่วยป้องกันการโจรกรรมรถยนต์ของ Houston มายาวนานกว่า 23 ปีได้บอกเอาไว้ครับว่าโดยปกติแล้วนั้นการขโมยรถด้วยวิธีการเชื่อมต่อสายตรงของรถยนต์นั้นไม่มีความจำเป็นเลยครับที่จะต้องนำเอาโน๊ตบุ๊คเข้าไปเพื่อที่จะทำการขโมยรถยนต์ด้วย
ดังนั้นเรื่องดังกล่าวนี้จึงถือว่าเป็นเรื่องที่น่าแปลกมากๆ เลยทีเดียวแถมหนักไปกว่านั้นทางตำรวจได้ให้ข้อมูลแบบตรงๆ เลยครับว่าพวกเขาไม่รู้จริงๆ ว่าหัวขโมยใช้โน๊ตบุ๊คเพื่อทำอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่ทางตำรวจได้คาดเดาไว้ก็คือหัวขโมยน่าจะทำการถ่ายโอนข้อมูลของตัวรถลงไปบนกุญแจรถยนต์ที่เขานำมาเพื่อที่จะทำให้กุญแจดังกล่าวสามารถที่จะสตาร์ทรถยนต์ออกไปได้ครับ(เหมือนกับการจับคู่การเข้ารหัสดิจิทัลลงสู่ตัวกุญแจครับ)
National Insurance Crime Bureau(NICB) หรือสำนักประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมแห่งชาติซึ่งคอยติดตามเรื่องของการโจรกรรมรถยนต์ทั่วสหรัฐอเมริกาอยู่อย่างตลอดเวลาเมื่อเห็นรายงานนี้จากทางตำรวจแล้วก็ได้ขนานนามวิธีการและเครื่องมือดังกล่าวว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลึกลับ หรือ “mystery electronic devices” โดย Roger Morris รองประธานของ NICB ได้ออกมากว่าด้วยครับว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องถูกเปิดเผยออกมาเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงวิธีการใหม่ในการขโมยรถยนต์รวมไปถึงผู้บังคับใช้กฎหมายและผู้ผลิตรถยนต์จะต้องตื่นตัวกับเรื่องดังกล่าวนี้ครับ
จุดหนึ่งที่เป็นอันตรายมากขึ้นนั้นคงหนีไม่พ้นนับวันนั้นรถยนต์ที่ถูกผลิตขึ้นมาใหม่ก็เริ่มจะใช้งานเป็นระบบดิจิทัลกันมากขึ้นครับ ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์จากผู้ผลิต Fiat Chrysler, General Motors Co. และ Tesla Motors Inc. นั้นเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนมากเลยทีเดียวหล่ะครับว่ารถยนต์ในปัจจุบันนั้นเริ่มใช้ระบบตัวรถเป็นดิจิทัลมากขึ้นซึ่งทาง NICB นั้นเป็นกังวลอย่างมากว่าวิธีการโจรกรรมดังกล่าวนี้จะสามารถทำการโจรกรรมรถยนต์ที่เป็นระบบดิจิทัลใหม่ๆ ได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิมครับ(ด้วยการใช้โน๊ตบุ๊คหรืออาจจะพัฒนาเป็นแค่สมาร์ทโฟนในการแฮ็กระบบป้องกันภัยของตัวรถยนต์ครับ)
สถิติรถยนต์ที่ถูกขโมยมากที่สุด 25 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 2010 – 2015 โดย NICB
เรื่องดังกล่างนี้ถือว่าน่าสนใจมากเลยทีเดียวครับ เพราะหากเราคิดกันตรงๆ แล้วหล่ะก็ในปัจจุบันนั้นรถยนต์หลายๆ ยี่ห้อต่างก็มาพร้อมกับความสามารถอัจฉริยะที่สามารถที่จะทำการเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนเพื่อการใช้งานได้ คำถามก็คือว่าเราจะเชื่อมั่นระบบต่างๆ ดังกล่าวของทางผู้ผลิตรถยนต์ได้มากแค่ไหนว่าจะมีความปลอดภัยพอที่จะช่วยให้รถยนต์ของเราไม่สามารถที่จะถูกขโมยไปได้เพราะอย่างที่เราได้เห็นในตัวอย่างเหตุการณ์นั้นก็น่าจะทราบกันแล้วหล่ะครับว่าเหล่าโจรผู้ร้ายในปัจจุบันนั้นก็พัฒนาวิธีการโจรกรรมขึ้นมาด้วยเหมือนกัน
Toyota Corolla 2015
นี่ขนาดว่าเป็นประเทศที่ปัญหาเรื่องของการโจรกรรมนั้นไม่น่าจะมีมากมายอย่างสหรัฐอเมริกานะครับ ไม่อยากจะคิดเลยจริงๆ ครับว่าถ้าเกิดว่าโจรในบ้านเราเกิดพัฒนาวิธีการของตัวเองเอากับเขาบ้างแล้วประเทศเรานั้นจะวุ่นวายกันมากขนาดไหน สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้รถอย่างเราๆ ท่านๆ น่าจะพอป้องกันได้ก็คือความไม่ประมาทนี่แหละครับ การพึ่งพาเทคโนโลยีหรือไว้ใจเทคโนโลยีมากจนเกินไปนั้นในท้ายที่สุดแล้วเราอาจจะต้องมาเสียใจในภายหลังก็เป็นได้ครับ
Nissan Altima 2015
สำหรับทางสหรัฐอเมริกานั้นในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมานี้นั้นทางเลขาของกระทรวงคมนาคมสหรัฐอเมริกาอย่าง Anthony Foxx ได้เข้าร่วมประชุม inaugural global automotive cybersecurity ที่ Detroit ด้วย โดยทางกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐอเมริกานั้นได้ออกมาบอกว่าพวกเขานั้นกำลังพัฒนาพิมพ์เขียวของระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อยู่ครับ และแน่นอนว่าการพัฒนานี้นั้นจะถูกทำขึ้นเพื่อช่วยป้องกันการโจรกรรมในรูปแบบของการแฮ็กระบบรถยนต์ดิจิทัลโดยเฉพาะครับ
Toyota Camry 2015
ที่มา : wsj