จริงๆ แล้วเรื่องดังกล่าวนี้พอจะคาดเดาได้ตั้งแต่ที่มีข่าวว่าทาง Intel สั่งปลดพนักงานกว่า 12,000 รายในช่วงที่ผ่านมาแล้วหล่ะครับว่าการดำเนินธุรกิจของทาง Intel นั้นเริ่มที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และจากการขึ้นปราศรัยของ CEO บริษัท 1Intel อย่าง Brian Krzanich ในงาน Computex 2016 ที่ผ่านมาเมื่อวานนั้นก็ดูเหมือนกับว่าทาง Intel จะเริ่มยอมรับแล้วหล่ะครับว่าตัวเองนั้นคงไม่สามารถที่จะใช้สโลแกน “Intel Inside” เหมือนอย่างที่เคยใช้มาตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมาได้อีกต่อไปเนื่องจากว่าในปัจจุบันนั้นทาง Intel เริ่มมีคู่แข่งที่น่ากลัวบุกตลาดของทาง Intel มาเรื่อยๆ ครั้นจะลงไปทำตลาดใหม่(อย่างตลาดสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่) ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนในงาน Computex 2016 นี้ทาง Intel ถึงขั้นต้องเปลี่ยนสโลแกนเป็น “Experience what’s inside.” แทนแล้วครับ
จากคำกล่าวของทาง Krzanich ในงาน Computex 2016 นั้นเขาได้ระบุเอาไว้ครับว่าด้วยสโลแกนใหม่นี้เราจะไม่เน้นในเรื่องของการที่อุปกรณ์ต่างๆ นั้นจะเป็นจะต้องมาพร้อมกับชิปเซ็ทหรือหน่วยประมวลผลของทาง Intel ทว่าสิ่งที่ Intel จะทำให้เกิดขึ้นมานั้นก็คือการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ของผู้ใช้งานให้เข้าถึง Intel แทนถึงแม่ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่ได้มาพร้อมกับชิปเซ็ทหรือหน่วยประมวลผลของทาง Intel
ประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ทาง Intel ระบุเอาไว้นั้นหากจะว่าไปแล้วก็ไม่ได้แตกต่างไปจากบริษัทผู้ผลิตชิปเซ็ทหรือบริษัทยักษ์ใหญ่รายอื่นเลยครับเพราะมันก็คือการนำผู้บริโภคเข้าสู่บริการผ่านระบบ cloud ของทาง Intel เองให้มากยิ่งขึ้น(ซึ่งแนวคิดนี้นั้นค่อนข้างจะไปเหมือนกันกับ Microsoft เข้าอย่างจึงเลยครับ) สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมากจากว่าในปัจจุบันนั้นเรากำลังเข้าสู่ยุดที่ต้องพึ่งพา data centers และ the Internet of Things กันมากขึ้นซึ่งอุปกรณ์ทั้ง 2 อย่างที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วนั้นไม่ได้เลือกใช้เทคโนโลยีของทาง Intel ในเรื่องของฮาร์ดแวร์ครับ
ถึงแม้ว่าในส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ไม่ว่าจะเป็นแบบโน๊ตบุ๊คหรือ Desktop นั้นต่างก็ยังคงมีการใช้งานหน่วยประมวลผลและชิปเซ็ทของทาง Intel เป็นหลัก ทว่าในอนาคตนั้นไม่มีใครสามารถที่จะบอกเราได้ครับว่ามันจะเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ หรือไม่ ณ จุดๆ นี้นั้นมีตัวอย่างชัดเจนมากเลยที่น่าจะทำให้ทาง Intel ต้องคิดหนักมากก็คือในส่วนของ NVIDIA ที่ได้มีการประกาศเปิดตัวกราฟิกการ์ดรุ่นล่าสุดอย่าง GeForce GTX 1080 ไปซึ่งกราฟิกการ์ดรุ่นนี้นั้นตัวสถาปัตยกรรมของมัน(ที่ใช้ชื่อว่า Pascal) ยังได้ถูกแปลงไปใช้งานเป็นหน่วยประมวลผลลนรถยนต์ขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติด้วยอีกทำให้เราเห็นได้กลายๆ ครับว่าในอนาคตนั้นหน่วยประมวลผลของทาง Intel อาจจะไม่ได้จำเป็นกับการใช้งานอีกต่อไป
อีกจุดหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนในเรื่องของความไม่จำเป็นของหน่วยประมวลผลก็คือการสร้างภาพเสมือนจริง(VR) ที่หากจะว่าไปแล้วก็อาศัยการประมวลผลจากกราฟิกการ์ดมากกว่าหน่วยประมวลผลหลักของตัวเครื่อง แถมในอนาคตนั้นเรื่องของการเข้าสู่โลกเสมือนจริงนั้นน่าจะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ทาง NVIDIA หรือคู่แข่งรายอื่นเองเริ่มก้าวเข้ามาแทนที่ Intel ในปัจจุบันนี้ได้ครับ(ถึงแม้ว่า CEO ของทาง NVIDIA อย่าง Jen-Hsun Huang จะออกมาบอกไว้ตอนเปิดตัวกราฟิกการ์ด GTX 1080 ว่าทาง NVIDIA คงไม่คิดไปไกลมากกว่าการทำชิปกราฟิกให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็ตามแต่เรื่องแบบนี้นั้นก็ไม่สามารถที่จะคาดเดากันได้ครับ)
อย่างที่บอกหล่ะครับว่าหันไปทางไหน Intel ก็ดูเหมือนจะช้าไปหมดแล้ว การก้าวเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟนนั้นก็คงไม่สามารถที่จะไปสู้กับคู่แข่งอย่าง ARM ได้ หรือจะก้าวมาที่ชิปเซ็ทแบบปรับแต่งได้เอง(เหมือนกับที่ใช้บนเครื่องเกมคอนโซล Xbox One และ PS4) ก็มี AMD ครองตลาดอยู่แบบเรียกได้ว่าจะ 100% เลยก็ได้ การเปลี่ยนแนวทางของบริษัทให้อยู่ในรูปแบบของ cloud ที่อาศัยว่าผู้ใช้สามารถติดต่อกับ data centers ของตัวเอง(ซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้หน่วยประมวลผลของทาง Intel) จึงดูน่าจะเป็นอะไรที่ยังคงทำให้ Intel สามารถดำรงอยู่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม คงต้องรอดูกันครับว่าการเปลี่ยนมาเป็น “Experience what’s inside.” ของ Intel ในครั้งนี้จะทำให้ Intel รุ่งหรือร่วงครับ
หมายเหตุ – จริงๆ แล้วตลาดชิปเซ็ทสำหรับสมาร์ทโฟนนั้นทาง Intel ก็ไม่ได้ถึงขั้นทิ้งเลยหลังจากที่ Atom ไม่ประสบความสำเร็จนะครับ เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวออกมาว่าทาง Intel จะรุกหนักด้วยการส่งชิปเซ็ท Pentium สถาปัตยกรรมใหม่เข้าลงสู้ในตลาดแทนแต่ก็อย่างที่บอกครับว่าจะสำเร็จหรือไม่นั้นคงต้องคอยดูกันต่อไปครับ
ที่มา : theverge