ภายใต้ข้อนำเสนอการสิ้นสุดการฟ้องร้องสำหรับ ZeoBit ผู้ผลิต MacKeeper ที่ล่าสุดได้ทำการขายซอฟต์แวร์ให้บริษัทสัญชาติเยอรมันอย่าง Kromtech นั้นทาง ZeoBit อาจจะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนสูงถึง $2 million หรือประมาณ 68 ล้านบาท(ด้วยเงินสดอย่างเดียว) ให้ครอบคลุมกับค่าทนายความ, การคืนเงินและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการครับ
ทาง MacWorld ได้รายงานว่า 1 ใน 3 ของจำนวนเงินดังกล่าวนั้นจะถูกจัดสรรให้กับทนายความ ส่วนที่เหลือจะถูกจัดสรรออกไปอย่างเท่าเทียมกันให้กับผู้ใช้ที่ซื้อซอฟต์แวร์ MacKeeper ในช่วงก่อนวันที่ 8 กรกฎาคมครับ
อย่างไรก็ตามมีลูกค้ากว่า 513,300 ราย(ภายในสหรัฐิเมริกา) ที่มีรายชื่ออยู่ในข้อตกลงการยุติการฟ้องร้องดังกล่าวนี้ โดยลูกค้าบางรายต้องจ่ายเงินในการซื้อใบอนุญาตของซอฟต์แวร์ MacKepper ไปถึง $39.95 หรือประมาณ 1,360 บาท(รวมแล้ว ZenBit ได้เงินไปจากการซื้อใบอนุญาตซอฟต์แวร์เยอะกว่าที่ต้องจ่ายเพื่อยุติการฟ้องร้องมากหลายเท่าครับ)
ด้วยปริมาณของจำนวนลูกค้าที่ทำการเรียกร้องดังนั้นจึงไม่สามารถการันตีได้เลยครับว่าลูกค้าทุกคนจะได้รับเงินค่าใบอนุญาตซอฟต์แวร์ที่เสียไปคืนมาเต็มจำนวนหรือไม่ เพราะส่วนหนึ่งก็คือการตกลงในการยุติการฟ้องร้องนี้เกิดขึ้นก่อนที่ศาลจะได้มีการตัดสินคดีว่า ZeoBit ทำผิดจริงตามที่อ้างหรือไม่ครับ(เพราะจากบันทึกของคดีความนั้นทาง ZeoBit เองก็ให้การปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาอีกด้วยครับ)
สำหรับท่านใดที่ไม่ทราบนั้นซอฟต์แวร์ MacKeeper เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกโฆษณาว่าสามารถที่จะทำการปรับปรุงการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฎิบัติการ Mac OS ให้ได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเร่งความเร็ว, ประสิทธิภาพการใช้งานทั่วไป รวมไปถึงด้านการบริการความปลอดภัยโดยการตรวจสอบและขจัดข้อผิดพลาดที่เป็นอันตรายและภัยคุกคาม ทว่าในสหรัฐอเมริกานั้นกลับมีผู้ใช้หลายรายที่เมื่อซื้อซอฟต์แวร์ MacKeeper ไปใช้งานแล้วกลับพบว่าประสิทธิภาพการทำงานไม่ได้เป็นไปตามที่ได้โฆษณาเอาไว้จึงเกิดการรวมกลุ่มขึ้นมาเพื่อฟ้องร้องครับ
หมายเหตุ – อย่างไรก็ตามข้อตกลงในการยอมจ่ายเงินเพื่อยอมถอนฟ้องในครั้งนี้ก็ยังถือว่าไม่สิ้นสุดเพราะว่าคุณสามารถเข้าไปลงทะเบียนว่าต้องการที่จะทำอย่างไรกับข้อตกลงนี้ได้ที่ settlement website ก่อนวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ครับ
หมายเหตุ 2 – ข้อเสียอย่างเดียวก็คือคุณจะต้องเป็นผู้ที่ซื้อซอฟต์แวร์ MacKeeper มาก่อนวันที่ 8 กรกฎาคม 2015 และต้องอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้นครับ
ที่มา : appleinsider