เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วครับว่าสมาร์ทโฟนนั้นมีบางรุ่นที่มาพร้อมกับความสามารถในการจับภาพแบบ 3 มิติโดยใช้กล้องหลังจับภาพไปรอบๆ วัตถุชิ้นนั้นๆ แต่นั่นก็เป็นวิธีการจับภาพในรูปแบบ passable 3D scanner ซึ่งทำให้ภาพแบบ 3 มิติที่จับมาโดยวิธีนี้นั้นยังคงไม่สามารถที่จะกำหนดขนาดของได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นจึงมีกลุ่มนักวิจัยจาก Carnegie Mellon University(CMU) ได้ทำการวิจัยวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยให้ชื่อวิธีการใหม่นี้ว่า IMU (inertial measurement unit) ครับ
วิธีการ IMU นั้นก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษมากมายครับ เพียงแค่คุณหมุนแกว่งสมาร์ทโฟนในมุมที่พอเหมาะ ช้าๆ และกว้างมากพอที่จะไม่ทำให้เกิดภาพเบลอขณะทำการเก็บภาพระหว่างช่วงในการที่ทำการจับภาพ คุณก็จะสามารถได้ภาพ 3 มิติที่มีการกำหนดขนาดของวัตถุชิ้นนั้นๆ ได้ตามต้องการโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องไปทำการวัดขนาดของวัตถุชิ้นนั้นๆ ด้วยสายวัดอีกต่อไปครับ
Associate Research Professor อย่าง Simon Lucey จาก CMU Robotics Institute ได้บอกกับ Carnegie Mellon News ครับว่า gyroscope และ accelerometer ภายในระบบ IMU นั้นไม่ได้มีความแม่นยำมากนัก(เพราะใช้จากสิ่งที่สมาร์ทโฟนในปัจจุบันมีอยู่) แต่เมื่อเทียบกับไม้บรรทัดหรือสายวัดในปัจจุบันนั้นก็ต้องบอกว่าระบบ gyroscope และ accelerometer สร้าง “noisy” ได้น้อยเพียงพอกับความต้องการในการที่จะใช้ระบบ IMU ในการวัดขนาดและมาตราส่วนของวัตถุได้อย่างถูกต้องเพียงพอแล้วครับ
นอกเหนือไปจากนั้นทีมงานวิจัยยังได้สร้างแอปพลิเคชัน eyewear augmented reality ที่สามารถจะทำการสร้างโมเดล 3 มิติที่คุณพึ่งจะทำการถ่ายผ่านกล้องทางสมาร์ทโฟนของคุณมาแสดงบนอุปกรณ์สวมศรีษะสำหรับสร้างภาพเสมือนจริงได้อีกด้วยครับ ถึงแม้ว่าในตอนนี้แอปพลิเคชัน eyewear augmented reality จะยังไม่รองรับกับอุปกรณืมากเท่าไรนักแต่ด้วยความที่อุปกรณ์สวมศรีษะสำหรับสร้างภาพเสมือนจริงกำลังเป็นกระแสที่มาแรงมาก(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสมาร์ทโฟนอย่าง Samsung Galaxy Note 4 ที่มี Gear VR รองรับอยู่) ทางทีมนักวิจัยจึงคาดหวังว่าในอนาคตนี้แอปพลิเคชัน eyewear augmented reality จะได้รับความนิยมในการนำไปใช้กับเทคนิค IMU ในการใช้งานจริงมากกว่านี้ครับ
อย่างไรก็ตามแต่ดูเหมือนว่าเทคโนโลยี IMU นั้นอาจจะยังอยู่ห่างไกลจากการใช้งานจริงพอสมควรนัก(แถมอาจจะจำกัดกลุ่มอยู่ในผู้ใช้งานเพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น) แต่ด้วยความแรงของกระแสการสร้างภาพแบบเสมือนจริงคาดว่าอีกไม่นานเราอาจจะได้เห็นเทคนิค IMU นี้พัฒนาต่อและถูกนำออกมาใช้เป็นอุปกรณ์จริงที่อยู่บนมือของเราๆ ท่านๆ ต่อไปก็เป็นได้ครับ
ที่มา : engadget