หลังจากที่ Microsoft ประกาศจะอัพเดทให้ Windows 8.1 นำปุ่ม Start กลับมาอย่างทางการ ตัวแทนของบริษัทอย่างนาย Chaitanya Sareen ตำแหน่ง Principal Program Manager Lead on Windows ก็ออกมาให้สัมภาษณ์กับ CNET ถึงที่มาที่ไปของการนำปุ่ม Start ออกจาก Windows 8 ว่ามันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากตั้งแต่แรกโดกรณีของ Windows 8 เป็นการแนวทางของ Microsoft ที่ฉีกออกไปจากเดิม โดย Microsoft มองเครื่อง Desktop PC ว่าเป็นแอปตัวหนึ่ง ส่วนการตัดสินใจนำปุ่ม Start ออกไปก็เป็นเรื่องที่ยากลำบาก และผ่านการถกเถียงอย่างหนักภายในบริษัทเอง
?
ทีมงานนักพัฒนามีการถกเถียงกันอย่างหนัก
?
Sareen กล่าวว่า”ไม่อยากให้ผู้ใช้ Windows 8 – 8.1 เข้าใจว่า มีผู้บริหารสักคนเดินมาสั่งให้เอาปุ่ม Start ออกไปแล้วพนักหงานก็ทำตามแค่นั้นจบ! แต่ในความเป็นจริงทีมงานนักพัฒนามีการถกเถียงกันอย่างหนักและยาวนานมาก แต่สุดท้ายด้วยเสียงส่วนใหญ่ทีมงานตัดสินใจเอาปุ่ม Start ออกเพื่อบีบให้ผู้ใช้ต้องเรียนรู้วิธีการทำงานแบบใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม เสียงตอบรับของผู้ใช้กลับออกมาในทางลบ” ซึ่ง Sareen ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะผู้ใช้สูญเสียสิ่งที่คุ้นเคยไปจากการอัพเกรด และสุดท้าย?Microsoft?ก็ตัดสินใจนำปุ่ม Start กลับมาใน Windows 8.1 (รวมถึง Start Menu ใน Windows 9)
Microsoft มองว่าผลิตภัณฑ์เองต้องปรับตัวตลอดเวลา
Sareen ไม่อยากให้มองการนำปุ่ม Start กลับมาว่าเป็นการเดินถอยหลังของ Microsoft แต่อยากให้มองว่าผลิตภัณฑ์เองต้องปรับตัวตลอดเวลา แก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด และ Microsoft ก็มีกระบวนการออก Windows ที่เร็วขึ้นเรื่อยๆ โดย Windows 8.1 Update ออกหลัง Windows 8.1 เพียง 6 เดือนเท่านั้น, Windows 8.1 ออกหลัง Windows 8 หนึ่งปี ในขณะที่ Windows 8 ทิ้งช่วงห่างจาก Windows 7 ถึงสามปีและเขายังเผยสถิติว่าตอนที่ Windows 8 ออกขาย Microsoft มีส่วนแบ่งตลาดพีซีจอสัมผัสเพียง 4% แต่พอเวลาผ่านไปตัวเลขเพิ่มเป็น 41% เมื่อ Windows 8.1 เปิดตัว
Windows 9 อาจะประสบความสำเร็จเหมือนดั่ง Windows 7
นอกจากนี้ Chaitanya Sareen ซึ่งเคยควบคุมการพัฒนา Windows 7 เช่นกัน ยังกล่าวอีกว่า Microsoft มีกระบวนการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดอยู่เสมอ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Windows 7 ไม่สามารถสมบูรณ์ขนาดนี้ได้เลยถ้าไม่มี Windows Vista (ที่ล้มเหลว) นำทางมาก่อน ซึ่งไม่แน่ว่า Windows 9 ที่กำลังจะมาในวันข้างหน้าอาจะประสบความสำเร็จเหมือนดั่ง Windows 7 ที่อยู่ในสถานะการณ์เดียวกันก็เป็นได้
ที่มา : Blognone , cnet