โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ใช้เวลาในการทดสอบ SuperPI ถึง 1 นาที 13.071 วินาที ซึ่งถือว่าช้าเมื่อเทียบกับ E-450 เหมือนกันอย่างใน MSI X370 ที่ใช้แค่ประมาณ 47 วินาทีเท่านั้น
wPrime
แนวโน้มของผลการทดสอบใน wPrime ก็ยังคงเช่นเดิม นั่นคือช้ากว่าใน MSI X370 ทำให้น่าสงสัยว่าทำไมระยะเวลาที่ใช้มันค่อนข้างแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
เมื่อดูจากคะแนนที่ได้ทั้งในส่วน CPU และ GPU แล้ว ก็ยังตามหลัง E-450 ในเครื่องอื่น ๆ อยู่ดี ทำให้มีสองประเด็นที่เป็นไปได้
- เป็นเพราะ Windows ที่ติดตั้งเป็นแบบ 32-bit
- ระบบภายในอาจจะออกแบบได้ไม่ดีนัก
โปรแกรม PCMark ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวณทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
ด้วยคะแนนในระดับนี้ก็อย่าไปคาดหวังว่ามันจะใช้งานได้แรงทันใจ เพราะมันถูกออกแบบมาให้ใช้งานทั่วไป เน้นการใช้งานนอกสถานที่แบบนาน ๆ มากกว่า
คะแนนในส่วนของ GPU ทั้ง SM 2.0 และ SM 3.0 ถือว่าอยู่ในระดับของ E-450 ซึ่งคะแนน CPU กลับน้อยกว่า แต่ก็ยังอยู่ในช่วงที่รับได้อยู่
คะแนนก็นะ? อย่าหวังเรื่องการเล่นเกมและภาพสวยงามละกันนะครับ
โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลาย ๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย
คะแนนไม่สูงมากนัก แต่ก็ใช้ทำงานทั่วไป เช่น ดูหนัง HD ได้แบบสบาย
Custom PC Benchmark Suite 2007
ทดสอบประสิทธิภาพด้วยโปรแกรมที่ใช้งานบนโลกของความจริง ประกอบด้วย การแก้ไข ตกแต่งภาพด้วยโปแกรม Gimp, ทดสอบการเข้ารหัสวิดีโอที่ใช้ Handbrake, และการทดสอบแบบมัลติทาสกิ้งโดยใช้ 7?Zip เพื่อบีบอัดไฟล์ขนาดใหญ่ ในขณะที่เปิดหนัง HD ก็เล่นด้วยโปแกรม mplayer
คะแนน 1,000 คะแนน คือ ประสิทธิภาพของชุดทดสอบอ้างอิง ประกอบไปด้วย Intel Core 2 Duo E6750, หน่วยความจำ 1066 MHz DDR2, ฮาร์ดดิสก์ 250GB ยกตัวอย่างเช่น หากระบบที่ทำการทดสอบได้ผลออกมาที่ 1,200 คะแนน นั่นหมายความว่า ระบบที่ทำการทดสอบนั้นมีประสิทธิภาพที่สูงกว่าชุดทดสอบอ้างอิงอยู่ 20%
คะแนนรวมอยู่ที่ 323 คะแนนเท่านั้น เมื่อเทียบกับชุดอ้างอิงที่ 1,000 คะแนนก็จัดได้ว่าช้ากว่าพอสมควรเลย
7-Zip
ทดสอบขีดความสามารถของซีพียูในการบีบอัดและแตกไฟล์
เมื่อเทียบกับใน MSI X370 พบว่าใน DM1 จะทำการแกะไฟล์ได้ดีกว่า แต่กลับทำการบีบอัดไฟล์ได้ความเร็วต่ำกว่าเล็กน้อย
AIDA 64
ผลเทสต์แรมและแคชในตัว APU ที่ได้จาก HP DM1
x264 HD Benchmark
LinX
Street Fighter IV
ก็พอเล่นได้อยู่ ถ้าจะให้ดีก็น่าจะต้องลด Resolution ลงมานิด จะลื่นกว่านี้อีกเล็กน้อย
Resident Evil 5
ในการเล่นจริง ๆ ก็พอเล่นได้ แต่ไม่ค่อยไหลลื่นมากนัก
HDD ที่ติดมากับเครื่องเป็นแบบ 5400 RPM SATA II ความจุ 500 GB หน่วยความจำ Buffer 8 MB ด้วยกัน
ความเร็วที่ได้ก็อยู่ในกลุ่มทั่วไป แต่ดูเส้นกราฟจะแกว่งเล็กน้อย เลยพอจะคาดการณ์ได้ว่าความเร็วของมันไม่ค่อยนิ่งเท่าไรนัก
ก่อนทำการทดสอบ
อุณหภูมิไม่สูงเกินไป ตัวเครื่องก็ไม่ร้อนด้วย
ขณะ Full Load
ก็ไม่จัดว่าร้อนมากนัก ตัวเครื่องก็แค่อุ่นขึ้นมาเล็กน้อย ถือว่าจัดการกับความร้อนที่เกิดขึ้นได้ดี
แบตเตอรี่ที่ให้มาสามารถจุไฟได้ถึง 4608 mAh ซึ่งถือว่ามากสำหรับเน็ตบุ๊กเลยทีเดียว
ใช้งานทั่วไป เปิดเว็บ พิมพ์งาน
ได้ราว ๆ 7 ชั่วโมง 10 นาที จัดว่าเยอะเลย
ปล่อยเครื่องไว้เฉย ๆ ? ปิด WLAN เปิดจอความสว่างครึ่งหนึ่งตลอดเวลา
คราวนี้จัดเต็มเลย ล่อไปร่วม 10 ชั่วโมง จัดได้ว่าเป็นอีกเครื่องที่ใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนาน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะระบบการจัดการพลังงานของ APU ด้วยที่มีการปรับรูปแบบการใช้งานได้ดี
Full Load
เมื่ออัดเต็มสูบ ก็เหลือเวลาให้ใช้ได้แค่ประมาณ 4 ชั่วโมงเท่านั้น
การชาร์จไฟ
นอกจากจะใช้งานแบตเตอรี่ได้ยาวนานแล้ว ยังใช้ระยะเวลาในการชาร์จไฟน้อยอีกด้วย โดยใช้แค่ประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น หลังจากนี้ก็แทบจะชาร์จไม่เข้าแล้ว เนื่องด้วยมีระบบตัดการชาร์จให้อัตโนมัติ
การรับสัญญาณของการ์ดไวเลสในเครื่องไม่ค่อยดีนัก แต่ในการใช้งานจริงก็สามารถใช้งานได้ปกติดี