โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่งต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Intel Core i5-2410M ของ Lenovo IdeaPad G770 สามารถทำเวลาได้ 13.916 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M ด้วยสเปกซีพียูที่สูง อีกทั้งรองรับ Turbo Boost ย่อมทำให้ใช้เวลาในการคำนวณค่า PI ที่น้อยมาก
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ทำเวลาได้ดีเลยทีเดียวครับ
ประสิทธิภาพที่ออกมาอยู่ในะดับที่น่าพอใจไม่น้อย
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 750 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 82.5MB ต่อวินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 19.1 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี) เมื่อเทียบกับความจุที่สูงแล้วความเร็วอยู่ในระดับที่ดีเลย
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
ซึ่งสามารถทำคะแนนออกมาได้สูงเลยทีเดียวในทุกส่วนโดยเฉพาะในส่วนของซีพียู เมื่อมาเห็นคะแนนรวมแล้วเป็นที่น่าพอใจ
คะแนนสูงมากเลยทีเดียว ด้วยสเปกที่สูงมากในทุกส่วน
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยใ ห้ทดสอบทั้ง SM 2.0 Graphics Tests, CPU Test
เป็นไปตามประสิทธิภาพของการ์ดจอที่แรงดีทีเดียว สมกับเป็นการ์ดจอระดับกลาง เล่นเกมหรือทำงานกราฟิกได้ไม่มีปัญหา
3DMark11
คะแนนที่ออกมาระดับกลางๆ