Connect with us

Hi, what are you looking for?

CONTENT

4 วิธีแก้ Stuck Pixel และ Dead Pixel ที่เกิดบนหน้าจอของคุณพร้อมวิธีส่งเคลม อัปเดตปี 2024

ปัญหาที่คนซื้อหน้าจอมอนิเตอร์ไม่อยากเจอมาที่สุดคงหนีไม่พ้น Stuck Pixel และ Dead Pixel แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วเรามาดูวิธีแก้ไขเบื้องต้นกันดีกว่า

Stuck Pixel
แก้ Black Spots หรือ หรือ Dead Pixels บนมอนิเตอร์ของคุณ

Stuck Pixel และ Dead Pixel เป็นปัญหาที่บางท่านอาจจะเจอซึ่งถ้าเจอแล้วมันจะน่ารำคาญเป็นอย่างมาก ปัญหาดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะใช้พาเนลใดๆ ก็ตามเช่น TFT, OLED หรือ LCD ของคุณ เจ้าปัญหา Dead Pixel นี้อาจติดอยู่และแก้ไขได้ง่ายถ้าเราใช้วิธีที่ถูก หากมอนิเตอร์ของคุณยังมีประกันดูมันคงไม่ยากเท่าไรนักที่จะส่งมอนิเตอร์ของคุณไปเปลี่ยนใหม่ (ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของยริษัทผู้จัดจำหน่ายซึ่งโดยปกติแล้วจะต้องเกิด 3 จุดขึ้นไป) อย่างไรก็ตามด้วยโปรแกรมในปัจจุบันนี้มีโปรแกรมที่สามารถคืนสภาพของมอนิเตอร์ของคุณได้ (หากมันไม่ได้เกิดจากฮาร์ดแวร์โดยตรง) 

สิ่งที่อาจจะเกิดได้มากที่สุดก็คือปัญหาเรื่อง Stuck Pixel ไม่ว่าจะเป็นมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะหรือมอนิเตอร์ที่มาพร้อมกับโน๊ตบุ๊คต่างสามารถเจอปัญหาดังกล่าวได้ทั้งหมด Stuck นั้นปรากฏได้ง่ายมากๆ เมื่อเวลาผ่านไป แม้ว่าปัญหามักจะมีขนาดเล็กและไม่ได้ปัญหาที่ถึงขั้นทำให้หน้าจอมอนิเตอร์ของคุณใช้งานไม่ได้ แต่มันก็อาจสร้างความรำคาญได้แน่นอนว่าปัญหาดังกล่าวนี้ไม่เลือกว่าคุณจะใช้หน้าจอจากผู้ผลิตรายไหนหรือใช้มอนิเตอร์เทพที่สเปคดีเพียงใดก็เกิดปัญหานี้ได้หมด บทความนี้จะอธิบายสาเหตุว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างไรและจะกำจัดปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีไหนบ้างนั้นไปติดตามอ่านกันได้เลย

Advertisement


วิธีทดสอบหน้าจอใหม่สำหรับ Stuck หรือ Dead Pixels

Dead Pixel

แม้ว่าจุดดำบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คจะสามารถแก้ไขได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นสาเหตุของจุดดำเหล่านั้นเพื่อที่คุณจะได้ป้องกันไม่ให้หน้าจอเสียหาย น่าเสียดายที่มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้เกิดจุดด่างดำและไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะค้นหาว่าสาเหตุอาจเกิดจากอะไร อย่างไรก็ตามมันก็ยังคงมีวิธีการง่ายกว่านั้นหากคุณทำความเข้าใจว่า Pixels ของมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คของคุณเป็นอะไรกันแน่ดังต่อไปนี้

  • ปัญหา Stuck Pixels เป็นอาการพิกเซลค้างทำให้หน้าจอมอนิเตอร์ไม่สามารถแสดงผลสีที่ถูกต้องได้แล้วแสดงเพียงสีเดียวเท่านั้น อาจเกิดเป็นจุดสีดำหรือสีขาวบนหน้าจอซึ่งมักจะมีขนาดเล็ก แต่รบกวนสมาธิและน่ารำคาญมาก
  • ปัญหา Dead Pixels ที่น่ากลัวเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของจุดดำบนหน้าจอมอนิเตอร์ การเกิดของปัญหานี้จะเกิดขึ้นกับพิเซลเป็นพื้นที่เล็กๆ บนหน้าจอที่สูญเสียความสามารถในการทำงานอย่างถูกต้อง ในบริเวณนี้ไดโอดเปล่งแสงของหน้าจอ LED หรือจอแสดงผลคริสตัลเหลว (LCD) จะไม่แสดงผลสีที่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้คือพื้นที่มืดบนหน้าจอที่ไม่เคยหายไป แม้ว่าส่วนที่เหลือของจอแสดงผลจะทำงานตามปกติก็ตาม
Dead Pixel

โดยส่วนใหญ่แล้วพิกเซลที่เสียมักเป็นสัญญาณของการสึกหรอบนมอนิเตอร์คอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คของคุณ แต่ก็อาจปรากฏขึ้นเนื่องจากความเสียหายทางกายภาพของหน้าจอหรือข้อบกพร่องจากการผลิต เพื่อสร้างความแตกต่างระหว่าง Stuck และ Dead ให้สังเกตจุดนั้นอย่างระมัดระวังและดูว่ามีการเปล่งแสงหรือไม่ ถ้ามันเปล่งแสงแต่กลับเป็นสีเดียวกันเสมอแสดงว่ามันเป็น Stuck หากไม่มีแสงออกมาจากจุดนั้นแสดงว่ามันเป็น Dead แล้ว

การสะสมของสิ่งสกปรกและเศษขยะสามารถสร้างจุดดำบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คของคุณได้ สิ่งนี้เกิดขึ้นกับแล็ปท็อปที่ไม่ได้รับการทำความสะอาดอย่างเหมาะสมหรือสม่ำเสมอ สิ่งสกปรก, ฝุ่นและเศษซากจะเกาะอยู่บนพื้นผิวของหน้าจอ และบดบังแสงพื้นหลังที่จอแสดงผลเปล่งออกมา ผลลัพธ์ที่ได้คือเงาหรือบริเวณที่มืดบนหน้าจอซึ่งอาจเริ่มส่งผลต่อคุณภาพของจอแสดงผลได้

จอแสดงผลมีความไวต่ออุณหภูมิสูง อุปกรณ์ที่มีความร้อนสูงเกินไปอาจทำให้มีจุดดำปรากฏบนหน้าจอ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมโน๊ตบุ๊คของคุณจะต้องมีระบบระบายความร้อนที่เหมาะสม คุณต้องบำรุงรักษาระบบทำความเย็นนี้ด้วยการทำความสะอาดเป็นประจำ

หากภาพแสดงบนจอแสดงผลบางประเภท เช่น LCD และ OLED เป็นเวลานาน ภาพนั้นอาจเบิร์นลงใน Pixels หน้าจอคอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คได้หลังจากผ่านไประยะหนึ่ง ปรากฏการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่าภาพค้างหรือภาพซ้อน ซึ่งหากปล่อยเอาไว้มันอาจทำให้เกิดจุดดำปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คได้

Dead Pixel

เนื่องจากหน้าจอทั้งของคอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คจะประกอบด้วยชั้นต่างๆ มากมาย หากชั้นใดชั้นหนึ่งเสียหาย ก็อาจทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไปยังผลึกเหลวได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจุดดำซึ่งเป็นสาเหตุที่พิกเซลไม่สามารถแสดงสีได้ รูปร่างและขนาดของจุดด่างดำนั้นจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขอบเขตของความเสียหายทางกายภาพ วิธีที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้หน้าจอคอมพิวเตอร์พีซีและโน๊ตบุ๊คได้รับความเสียหายคือการใช้แรงกดมากเกินไปกับหน้าจอเหล่านั้น

จุดสีดำบนหน้าจอทั้งของคอมพิวเตอร์พีซีของคุณอาจปรากฏขึ้นเมื่อมีปัญหาซอฟต์แวร์เกิดขึ้น อาจเป็นไดรเวอร์กราฟิกที่ล้าสมัย, มัลแวร์, ข้อขัดแย้งระหว่างแอปต่างๆ หรือระบบปฏิบัติการที่ล้าสมัย ดังนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบของคุณอัปเดตอยู่เสมอและสแกนหาภัยคุกคามความปลอดภัยเป็นประจำ


วิธีตรวจสอบว่าเป็น Stuck หรือ Dead Pixels

Dead Pixel

พิกเซลที่ค้าง (Stuck) นั้นบางครั้งบางคนอาจจะเรียกอย่างไม่ถูกต้องว่าเป็นพิกเซลร้อน (hot pixel) มีข้อบกพร่องเนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ดังนั้นมอนิเตอร์จึงปรากฏเป็นสีใดสีหนึ่งที่พิกเซลย่อยสามพิกเซลสามารถสร้างได้ เช่น แดง, เขียว, หรือน้ำเงิน ซึ่งพิกเซลร้อน (hot pixel) จะปรากฏเฉพาะในกล้องดิจิตอลเมื่อมีประจุไฟฟ้ารั่วไหลเข้าไปในช่องเซ็นเซอร์ของกล้องเท่านั้น (พิกเซลที่ติดอยู่สามารถหายไปได้เอง)

หากเป็นพิกเซลที่เสีย (Dead) พิกเซลย่อยทั้งหมดจะถูกปิดอย่างถาวร ซึ่งจะทำให้พิกเซลปรากฏเป็นสีดำ สาเหตุอาจเป็นเพราะทรานซิสเตอร์พัง อย่างไรก็ตามในบางกรณีแม้แต่พิกเซลสีดำก็อาจติดบนมอนิเตอร์ของคุณแบบอยู่ได้โดยจะไม่หายไปไหน

ดังนั้นหากคุณเห็นพิกเซลสีหรือสีขาว คุณก็อาจแก้ไขได้และถ้าเห็นพิกเซลสีดำโอกาสในการแก้ไขอาจจะมีน้อยแต่เรายังอยากให้คุณมีความหวังว่ามันอาจจะยังแก้ได้ด้วยตัวคุณเองอยู่

EIZO Monitor Test

Stuck Pixel

EIZO Monitor Test เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้คุณสามารถค้นหาและแก้ไขพิกเซลที่ค้างได้ มันมาพร้อมกับการรวบรวมตัวเลือกมากมายไว้ในหน้าต่างทดสอบเดียว ซึ่งสามารถที่จะใช้งานได้ง่ายไม่ว่าคุณจะเป็นมือเก๋าหรือมือใหม่ก็ตาม

หากต้องการทดสอบหน้าจอ ให้เลือกช่องสำหรับลักษณะหน้าจอที่คุณต้องการตรวจสอบอีกครั้ง เราขอแนะนำให้ทำเครื่องหมายในช่องทั้งหมดไว้ หากคุณกำลังทดสอบจอภาพหลายจอ คุณสามารถเปิดการทดสอบบนจอภาพเพิ่มเติมได้ คลิกเริ่มการทดสอบเพื่อเปิดหน้าต่างทดสอบแบบเต็มหน้าจอ

ด้านล่างคุณจะเห็นรูปแบบการทดสอบแรก แต่ละหน้าจอจะมีคำอธิบายที่มุมขวาล่างซึ่งระบุรายละเอียดสิ่งที่คุณควรมองหา ถัดไป คุณจะเห็นเมนูที่ให้คุณเปลี่ยนจากการทดสอบหนึ่งไปยังอีกการทดสอบหนึ่งทางด้านซ้าย เลื่อนผ่านหน้าจอขาวดำและสีทึบทั้งหมด (เขียว น้ำเงิน และแดง) แล้วตรวจดูหน้าจอของเรา หากต้องการออก ให้กดปุ่ม ESC หรือสัญลักษณ์ทางออกที่มุมขวาบน

Stuck Pixel

หากคุณพบพิกเซลที่ไม่ดี เราขอแนะนำให้ใช้เครื่องมือเช่น UDPixel หรือ JScreenFix เพื่อทำการแก้ไข

ใช้งานได้จาก : EIZO Monitor Test


วิธีแก้ไข Stuck หรือ Dead Pixels

ก่อนอื่นเราต้องขออภัยเพราะจริงๆ แล้วคุณไม่สามารถแก้ไขพิกเซลที่เสีย (Dead) ได้ อย่างไรก็ตามคุณสามารถแก้ไขพิกเซลที่ค้าง (Duck) ได้ ตามที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น ปัญหาก็คือมันเป็นเรื่องยากที่จะแยกอาการ Stuck และ Dead ออกจากกัน แต่เราก็ยังพอมีวิธีเบื้องต้นที่ใช้แยกทั้งสองอาการได้ โดยวิธีการมีดังต่อไปนี้

  • ระบุพิกเซลที่เสียหรือค้างโดยการดูจอภาพของคุณในฐานสีต่างๆ จากโปรแกรมที่เราจะแนะนำทางด้านล่าง
  • หากต้องการแก้ไขพิกเซลที่ค้างหรือดูเสีย ให้ใช้เครื่องมือของผู้ผลิตรายอื่นเพื่อแฟลชพิกเซลที่มีหลายสีซึ่งเราขอแนะนำ UDPixel (Windows) และ JScreenFix (Website)
  • คุณสามารถลองใช้วิธีการบางอย่างด้วยตัวของคุณเอง โดยถูพิกเซลที่ติดอยู่ด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือวัตถุที่มีปลายแหลมแต่อ่อนนุ่มเช่น ยาง/ยางลบที่ปลายดินสอ

สำหรับแอปแก้ไขที่เราจะแนะนำให้คุณลองดูเพื่อจะทำการแก้ไขนั้นจะมีดังต่อไปนี้

UDPixel

Stuck Pixel

UDPixel หรือที่เรียกว่า UndeadPixel สามารถช่วยคุณระบุและแก้ไขพิกเซลโดยใช้เครื่องมือ Windows เดียว โปรแกรมต้องการ Microsoft .NET Framework

ด้วยตัวระบุตำแหน่ง Dead ทางด้านซ้าย คุณสามารถตรวจจับความผิดปกติของหน้าจอที่อาจทำให้คุณสนใจจนบัดนี้ได้อย่างง่ายดาย

หากคุณพบพิกเซลที่น่าสงสัย ให้สลับไปใช้ด้านพิกเซล Undead สร้างหน้าต่างแฟลชในปริมาณที่เพียงพอ (หนึ่งรายการต่อพิกเซลที่ติดอยู่) แล้วกดเริ่ม คุณสามารถลากหน้าต่างกะพริบเล็กๆ ไปยังตำแหน่งที่คุณพบพิกเซลเสีย

JScreenFix

Dead Pixel

JScreenFix จะไม่ช่วยคุณค้นหาพิกเซลที่ค้าง แต่มันสามารถช่วยคุณแก้ไขได้ เพียงคลิกปุ่ม Launch JScreenFix ที่ด้านล่างของหน้าเว็บไซต์ หากคุณเห็นปุ่ม “Start” หรือ “Start Now” ใหญ่ๆ ตรงไหนก็ไม่ต้องสนใจเพราะมันเป็นแค่โฆษณาที่จะลิงค์คุณไปที่อื่นเท่านั้น

เครื่องมือจะโหลดหน้าต่างเบราว์เซอร์สีดำพร้อมพิกเซลกะพริบสี่เหลี่ยมจัตุรัส กดปุ่มสีเขียวที่มุมขวาล่างเพื่อดูแบบเต็มหน้าจอ จากนั้นให้ลากสี่เหลี่ยมที่กะพริบไปยังตำแหน่งที่คุณพบพิกเซลที่ติดอยู่และปล่อยทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที

Stuck Pixel

ด้วยการทริกเกอร์พิกเซลย่อยที่แตกต่างกันของแต่ละพิกเซล กราฟิกอาจสามารถกระตุ้นพิกเซลที่ติดอยู่ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง


จะทำอย่างไรถ้าคุณไม่สามารถแก้ไข Stuck หรือ Dead Pixels

Dead Pixel

เมื่อความพยายามในการฟื้นฟูพิกเซลที่เสียของคุณล้มเหลว สิ่งที่ดีที่สุดถัดไปที่คุณสามารถทำได้คือยอมรับและใช้งานมันต่อไป

พิกเซลที่น่าเกลียดจะไม่ทำให้หน้าจอของคุณแตกและในที่สุด คุณอาจจะลืมมันไปได้ อย่างไรก็ตามหากข้อบกพร่องส่งผลกระทบมากกว่าหนึ่งพิกเซลหรือรบกวนจิตใจคุณเป็นอย่างมาก คุณสามารถเปลี่ยนจอภาพได้ตลอดเวลา (ถ้ามีงบประมาณอยู่แล้วนั้นถึงจุดนี้คุณก็อาจจะต้องยอมเสียเงินเพื่อซื้อของใหม่มาใช้งานแล้ว)

แต่ก่อนที่จะทำอะไรนั้นให้คุณตรวจสอบการรับประกันว่ามอนิเตอร์ของคุณยังมีประกันอยู่รึเปล่า แต่ก็อย่างที่เคยบอกเอาไว้ในตอนต้นของบทความว่าการจะเข้าเงื่อนไขการรับประกันได้มอนิเตอร์ของคุณอาจจะต้องมี Stuck และ Dead หลายจุดเพื่อที่จะสามารถเข้าเงื่อนไขประกันแล้วเปลี่ยนหน้าจอตัวใหม่มาได้


ที่มา :  helpdeskgeek, makeuseof


วิธีการและเทคโนโลยีรักษาหน้าจอคอม ลดโอกาสหน้าจอเสียหาย

Struck Pixel

นอกจากการใช้โปรแกรมเช็คอาการและซ่อมพิกเซลที่เสียหายบนหน้าจอแล้ว ก็มีวิธีการปรับพฤติกรรมของผู้ใช้เพื่อถนอมอายุพาเนลหน้าจอให้ใช้งานได้นานยิ่งขึ้นด้วย โดยมีทั้งหมด 5 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ปิดและเปิดหน้าจอใหม่ : ถึงจะดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อนก็จริง แต่ก็ช่วยยืดอายุพาเนลให้นานขึ้นลดโอกาสเกิดพิกเซลเสียได้ หากใช้งานต่อเนื่องมาราว 3-4 ชั่วโมงแล้ว ก็แนะนำให้ปิดจอสัก 1-5 นาทีให้เม็ดพิกเซลรีเซ็ตตัวสักครู่แล้วเปิดใช้งานใหม่ก็ช่วยถนอมหน้าจอได้แล้ว
  2. ระวังของเหลวและความชื้นโดนจอ : ความชื้นและของเหลวต่างๆ เป็นของแสลงกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกแบบอยู่แล้ว ยิ่งความชื้นในอากาศรวมไปถึงการใช้ผ้าชุบน้ำทำความสะอาดหน้าจอก็อาจทำให้เกิดพิกเซลเสียหายได้ ทางที่ดีแนะนำให้เอาผ้าไมโครไฟเบอร์แห้งเช็ดเอาฝุ่นออกก็พอแล้ว
  3. เช็คก่อนรับสินค้า : บางทีอาการเสียอาจจะเกิดตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต ทำให้เกิดเม็ดพิกเซลสีเพี้ยนแสดงสีไม่ถูกต้องหรือดับได้ ดังนั้นเมื่อซื้อหน้าจอคอมจากร้านค้าชั้นนำหรือผ่านทางออนไลน์ก็แนะนำให้เช็คความสมบูรณ์ของสินค้าก่อนค่อยตัดสินใจรับสินค้าจะดีสุด
  4. วิธี Pixel Massage : เป็นวิธีกระตุ้นเม็ดพิกเซลแบบหนึ่งโดยใช้ผ้าอุ่นหรือแผ่นร้อนทาบบนหน้าจอส่วนที่มีเม็ดพิกเซลดับแล้วเอาปากกาหรือแท่งโลหะรูปทรงเดียวกันกดบริเวณนั้นเพื่อกระตุ้นให้ผลึกเหลว (Liquid Crystal) ในจอทำงานได้ดีอีกครั้ง
  5. เปลี่ยนมาใช้หน้าจอ OLED : โดยลักษณะการเปล่งแสงของพาเนล OLED จะแตกต่างจากหน้าจอ LCD (Liquid Crystal Display) เพราะตัวหน้าจอเป็นหลอด LED เปล่งแสงได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้พาเนล Backlight มาช่วยทำให้เม็ดพิกเซลเสียหายได้ช้าลง แต่ก็อาจจะเกิดอาการจอเบิร์น (Bun-in) แทนได้ ทว่าทางผู้ผลิตพาเนลและหน้าจอคอมก็ออกแบบวิธีแก้ปัญหาพาเนล OLED เสียหายโดยการใช้ซอฟท์แวร์สั่งให้หน้าจอทำ Pixel Refresh ได้เช่นกัน

ตัวอย่างเช่นหน้าจอ OLED ของ MSI ก็มีฟีเจอร์ถนอมพาเนล OLED เสริมเข้ามาในเฟิร์มแวร์และหน้า OSD ของหน้าจอโดยเฉพาะที่เรียกว่า MSI OLED Care ซึ่งมี 3 ฟังก์ชั่นได้แก่

  1. Pixel Shift : ฟังก์ชั่นการขยับตำแหน่งของเม็ดพิกเซลบนหน้าจอโดยอัตโนมัติเพื่อลดโอกาสเกิดภาพค้างบนจอ (Static image) และสามารถปรับการทำ Pixel Shift ได้ 3 ระดับ คือ Slow, Normal, Fast
  2. Panel Protect : เป็นการทำ Pixel Refresh โดยเฟิร์มแวร์จะส่งข้อความแจ้งเตือนผู้ใช้ทุกๆ 4 ชั่วโมงว่าตอนนี้ต้องรันฟังก์ชั่นนี้แล้ว ซึ่งผู้ใช้สามารถกดปฏิเสธได้มากสุด 3 ครั้ง และครั้งที่ 4 ตัวเฟิร์มแวร์จะบังคับรันฟังก์ชั่นนี้โดยอัตโนมัติเป็นเวลา 15 นาที สังเกตว่าไฟแสดงสถานะของหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม และถ้าหน้าจอ MSI OLED ตัวนั้นมีอายุเกิน 1,500 ชั่วโมงแล้ว ฟังก์ชั่นนี้จะเพิ่มระยะเวลาทำงานเป็น 1 ชั่วโมง เพื่อยืดอายุของพาเนลให้ใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
  3. Static Screen Detection : ฟังก์ชั่นเช็คพื้นที่ว่าส่วนไหนเป็นขอบโปรแกรมบนหน้าจอแล้วลดแสงสว่างเรืองลงไปโดยจะมี 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่
    • Boundary Detection : ฟังก์ชั่นตรวจจับขอบดำในโปรแกรมแล้วลดความสว่างลง เพื่อลดโอกาสพื้นที่ตัดขอบกลายเป็นส่วนเบิร์นบนหน้าจอ
    • TaskBar Detection : ตัวโปรแกรมจะตรวจจับส่วน TaskBar บนหน้าจอแล้วลดความสว่างเรืองตรงขอบจอส่วนนั้นลงและใช้งานได้ทั้ง Windows, macOS
    • Multi Logo Detection : นอกจากเล่นเกมแล้ว บางคนก็ใช้หน้าจอดูการแข่งกีฬาหรือทีวีแล้วมีแบนเนอร์โฆษณาขึ้นค้างอยู่บนหน้าจอ ตัวฟังก์ชั่น Static Screen Detection จะลดความสว่างส่วนขอบลงเพื่อลดโอกาสหน้าจอเบิร์น

ฟังก์ชั่นทั้ง 3 อย่างนี้นอกจากของ MSI แล้ว หน้าจอ OLED ของทุกแบรนด์จะมีฟังก์ชั่นประเภทนี้ติดตั้งมาในเฟิร์มแวร์หน้าจอเพื่อถนอมอายุการใช้งานพาเนลให้ทนทานกว่าเดิม และขอแนะนำให้ตั้งความสว่างหน้าจอราว 50~60% หน้าจอก็สว่างมองเห็นคอนเทนต์บนหน้าจอได้ชัดเจนแล้ว


การรับประกันหน้าจอคอมเมื่อเกิด Struck หรือ Dead Pixel

ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องส่งสินค้าเพื่อซ่อมหรือเปลี่ยนตามเงื่อนไขการรับประกันต่อไป โดยแต่ละแบรนด์ก็จะมีวิธีการคล้ายกัน คือ ต้องมีใบเสร็จ, ใบแจ้งหนี้, บัตรรับประกัน ร่วมกับหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าพร้อมข้อมูลการสั่งซื้อเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนเพื่อยืนยันสิทธิ์การเคลมสินค้าได้ โดยเงื่อนไขของบริษัทที่ให้การรับประกันจะมีเงื่อนไขและกลุ่มสินค้าที่ให้การรับประกันแตกต่างกันดังนี้


BenQ

Dead Pixel

การดูแลรับประกันหน้าจอของทาง BenQ จะมีเงื่อนไขการรับประกันอาการ Dead และ Struck เขียนไว้ในเอกสารนโยบายการรับประกันชัดเจน อธิบายถึงรูปแบบที่เข้าและไม่เข้าเงื่อนไขสรุปได้ดังนี้

อาการพิกเซลย่อยบกพร่อง

  1. พิกเซลสีขาวในส่วนย่อยมีอาการสว่างตลอดเวลา
  2. พิกเซลสีดำในส่วนย่อยมืดหรือตาย (Dead) ตลอดเวลา
  3. พิกเซลสีแดง, เขียว หรือน้ำเงิน ในส่วนชุดพิกเซลย่อยจะมีอาการส่วางหรือมืดตลอดเวลา

ด้านอาการ Bright Sub pixel และ Dark Sub Pixel หรือพิกเซลส่วนย่อยมีอาการสว่างค้างหรือมืดตลอดเวลาที่ใช้งาน จะนับเป็นอาการบกพร่องของพาเนลหน้าจอ โดย BenQ นิยามอาการดังกล่าวไว้ดังนี้

  • Sub-Pixel Defect
    • พิกเซลย่อยสีแดง, น้ำเงิน และเขียวส่องสว่างตลอดเวลาบนพื้นหลังสีดำของจอ LCD นับเป็นพิกเซลย่อยที่สว่าง
    • พิกเซลที่มืดหรือมีสีตลอดเวลาบนพื้นหลังสีขาวของจอ LCD เป็นพิกเซลที่มืด ไม่ครอบคลุมในการรับประกัน

ด้านปริมาณจุดพิกเซลบกพร่องบนหน้าจอที่ทาง BenQ ประกาศเอาไว้ว่าสามารถส่งเคลมและรับประกันได้ จะแตกต่างกันไปตามความละเอียดของหน้าจอ โดยครอบคลุมตั้งแต่หน้าจอความละเอียดต่ำกว่า Full HD ไปจน 4K UHD โดยมีเงื่อนไขดังนี้

พาเนลและความละเอียดจอ
(Panel & Native Resolution)
Bright sub-pixelDark sub-pixelปริมาณ sub-pixel ที่ยอมรับได้
(Total Allowable sub-pixel)
ต่ำกว่า 1920*1080 พิกเซล335
1920*1080 พิกเซล (1080p)255
2560*1440 พิกเซล (1440p)255
3840*2160 พิกเซล (2160p)255

อย่างไรก็ตาม ทาง BenQ ก็ขอสงวนสิทธิ์การตัดสินใจก่อนเคลมประกันหน้าจอหลังการตรวจสอบพาเนลหน้าจอ ว่าเป็นไปตามเงื่อนไขการรับเคลมหน้าจอหรือไม่ ส่วนศูนย์บริการทั้งหมดของทางบริษัทสามารถเช็คได้ที่นี่


Ascenti Resource

Dead Pixel

ทาง Ascenti Resource ก็เป็นผู้รับประกันหน้าจอคอมให้ทาง LG เช่นกัน หากมีปัญหาก็สามารถติดต่อส่งเคลมกับศูนย์บริการและตัวแทนทั่วประเทศได้โดยโทรเข้าเบอร์ 02-057-5757 เพื่อติดต่อนำสินค้าเข้ารับประกันได้ทันที แต่จะมีเงื่อนไขการรับประกันดังนี้

  1. Monitor and Adapter รับประกัน 3 ปีนับจากใบเสร็จ
  2. กรณีสินค้าเสียภายใน 7 วัน สามารถเปลี่ยนตัวใหม่ได้จากร้านค้าที่ซื้อ (อาการชำรุดเกิดจากความผิดพลาดจากการผลิตเท่านั้น)
  3. การรับประกัน มี Dot (Dead Pixels) บนหน้าจอตั้งแต่ 5 จุดขึ้นไป
  4.  เมื่อต้องการใช้สิทธิ์การรับประกัน ลูกค้าต้องแสดงใบเสร็จการซื้อขายที่มีข้อความสมบูรณ์และไม่มีรอยแก้ไขในสาระสำคัญเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงวันที่ที่ซื้อผลิตภัณฑ์ ณ วันที่รับบริการต่อพนักงานแอลจีฯ ทุกครั้ง
  5. ในกรณีที่ทำใบเสร็จหรือหลักฐานการซื้อขายหาย หรือ กรณีวันที่ซื้อไม่สามารถตรวจสอบได้จากใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในรับประกันสินค้าโดยเริ่มนับจากวันที่ผลิตจากโรงงาน ซึ่งแสดงอยู่บนหมายเลขเครื่องของสินค้านั้นๆ
  6. รับประกันในกรณีที่อาการชำรุดเกิดจากความผิดพลาดของตัวเครื่องอันเนื่องมาจากความผิดพลาดจากการผลิตเท่านั้น
  7. บริการซ่อมนอกสถานที่สำหรับมอนิเตอร์ ตั้งแต่ขนาดตั้งแต่ 24″ ขึ้นไปซึ่งท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ที่ ศูนย์บริการแอลจี โทร.(02) 878-5757 (ไม่คิดค่าพาหนะในระยะประกัน)
  8. บริษัทฯ มีสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าบริการและค่าเดินทางสำหรับสินค้านอกประกันตามอาการชำรุด แม้ในกรณีที่อาการชำรุดนั้นจะไม่ถูกตรวจพบในตอนแรกก็ตาม
  9. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการเข้าบริการในพื้นที่ที่เข้าไม่ถึง, พื้นที่ที่ห้ามเข้า, พื้นที่ที่เสี่ยงอันตราย หรือพื้นที่อื่นใดที่บริษัทฯ เห็นว่าอาจก่อนให้เกิดอันตรายได้
  10. ในการพิจารณาลักษณะความชำรุดบกพร่องของสินค้า รวมไปถึงดุลยพินิจในการตัดสินใจเงื่อนไขในการรับประกันต่างๆ อันเกี่ยวกับสินค้าทุกประการ ให้ถือว่าพนักงานของบริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการและให้ถือว่าการพิจารณาดังกล่าวเป็นที่สุด
  11. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการรับประกันสินค้าโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
Dead Pixel

ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นศูนย์และตัวแทนการรับประกันหน้าจอ LG ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทยได้ ไม่ว่าจะเข้าศูนย์ของแบรนด์โดยตรงหรือจะตรงเข้าไปร้านตัวแทนจำหน่ายก็สามารถเคลมสินค้าได้ สะดวกอย่างแน่นอน ส่วนศูนย์บริการโดยตรงของ Ascenti Resource สามารถเช็คได้ที่นี่


Synnex

Dead Pixel

SYNNEX บริษัทผู้รับประกันสินค้าไอทีชั้นนำของไทยซึ่งรับประกันสินค้าหลากหลายประเภทรวมไปถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน และรองรับหลากหลายแบรนด์และมีเงื่อนไขการให้บริการอยู่บ้างดังนี้

แบรนด์/เงื่อนไขเคลมสินค้าที่รับเคลมสินค้าขอเคลม DOAสินค้าภายในระยะเวลารับประกัน (RMA)บริการ Onsite service
AOCLCD Monitorรับเคลมโดยมี End-user Invoice หรือ SYNNEX Invoice

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก
AXIS บริการซ่อม Onsite service สายด่วนด้าน
เทคนิคและบริการ 02-062-2211 และ
086-378-7750 (มือถือ) หรือโทร. 02-5301792-3,
02-5301788
ASUSLCD Monitorรับเคลมโดยมี End-user Invoice หรือ SYNNEX Invoice

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก
ASUS บริการซ่อม Onsite service ติดต่อที่หมายเลขโทร. 02-4011717
DELLLCD MonitorSYNNEX Invoice สินค้าที่ยังไม่ถูกขายให้ End-user หรือมีการประสานงาน DELL Thailand

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก
DELL บริการซ่อม Onsite service ติดต่อที่หมายเลขโทร. 02-670-7200
EIZOLCD Monitorลูกค้าสามารถติดต่อขอรับบริการผ่าน Synnex
Technical Support โทร. 02-5538888 # 8561-8564
HPLCD Monitorลูกค้าสามารถติดต่อ HP เพื่อรับบริการ Onsite service โทร. 02-787-3344
LenovoLCD Monitorรับเคลมโดยมี End-user Invoice หรือ SYNNEX Invoice

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก
ลูกค้าสามารถส่งซ่อมที่ศูนย์ Value ทั่วประเทศ โทร.
02-661-6909

Lenovo Fortune town โทร.
02-019-5125
LGLCD MonitorEnd User Invoice Date

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก
ลูกค้าสามารถส่งซ่อมได้ที่ศูนย์บริการ LG ทั่วประเทศ ติดต่อหมายเลข
โทร. 02-204-8895
PHILIPSLCD MonitorEnd User Invoice Date

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก
AXIS บริการซ่อม Onsite service สายด่วนด้านเทคนิคและบริการ 02-062-2211 และ
086-378-7750 (มือถือ) หรือ โทร. 02-5301792-3,
02-5301788
ViewsonicLCD MonitorEnd User Invoice Date

เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อมีปัญหาภายใน 7 วันแรก

จะเห็นว่า SYNNEX เองก็รับประกันหน้าจอคอมหลากหลายแบรนด์ชั้นนำของประเทศไทยอยู่แล้ว เพียงแค่เก็บใบเสร็จเมื่อสั่งซื้อสินค้าเอาไว้กับกล่องผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ยืนยันว่าเราเป็นเจ้าของสินค้าชิ้นนั้นจริงจะได้เคลมเวลามีเม็ดพิกเซลบอดได้โดยไม่มีปัญหาและสามารถเช็คศูนย์บริการทั้งหมดในประเทศไทยได้ที่นี่


SiS Distribution (Thailand)

273431727 508924897459163 1763076725332651486 n

ผู้ให้บริการเคลมสินค้าไอทีอย่าง SiS Distribution (Thailand) ก็รับเคลมสินค้าหลากหลายแบรนด์และมีโซลูชั่นให้บริการหลากหลาย โดยทางบริษัทจะให้บริการเคลมหน้าจอคอมที่มีปัญหาของแบรนด์ HP, Lenovo, PHILIPS, Samsung เป็นหลัก โดยเงื่อนไขการรับประกันจะเป็นดังนี้

แบรนด์/เงื่อนไขเคลมระยะเวลารับประกันรายละเอียดเงื่อนไขการรับประกัน/หมายเหตุ
HP Monitor3/3/3รับประกันอะไหล่
รับประกันค่าแรง
บริการ Onsite service
ระยะเวลา 3 ปี
โทร. 02-787-3344
Lenovo Monitor3 Year Carry-inรับประกัน 3 ปี
ด้านอะไหล่และค่าแรง
เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อเสียใน 7 วัน

ในช่วงรับประกันซ่อมสินค้าคืนตัวเดิม
PHILIPS3 ปี

หน้าจอ CRT, LCD ทุกรุ่น ยกเว้นรุ่น 150M, 170T
รับประกัน 3 ปี
ด้านอะไหล่และค่าแรง
เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อเสียใน 7 วัน

ในช่วงรับประกันซ่อมสินค้าคืนตัวเดิม
Samsung3 ปีรับประกัน 3 ปี
ด้านอะไหล่และค่าแรง
เปลี่ยนสินค้าใหม่เมื่อเสียใน 7 วัน

ในช่วงรับประกันซ่อมสินค้าคืนตัวเดิม

นอกจากหน้าจอคอมแล้ว ทาง SiS Distribution (Thailand) ก็รับประกันสินค้าไอทีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะโน๊ตบุ๊ค, กล้องวงจรปิด, กล้องดิจิตอล ฯลฯ สำหรับผู้ที่สนใจว่าทางบริษัทรับประกันสินค้าของแบรนด์ใดบ้างแล้วรับประกันหลังการขายนานเท่าไหร่สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ ส่วนผู้ที่ต้องการติดต่อเคลมสินค้ากับทาง SiS Distribution สามารถดูศูนย์บริการได้ที่นี่


Photo Credits : Ascenti Resource, Synnex, SiS Distribution (Thailand), MSI

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ไม่ว่าท่านจะ ซื้อ Notebook จากในงาน Commart หรือนอกงานก็น่าอ่านไม่แพ้กัน หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยกันว่าประกัน 7 วันนี้มันยังไงกันแน่ และมีวิธีอย่างไร

Buyer's Guide

สวัสดีชาว Notebook spec ทุกท่านวันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการเช็ค Dead pixel บน Dos เพราะโน้ตบุกส่วนใหญ่ที่ท่านซื้อนั้นจะไม่มี Windows มาให้ท่าน Advertisement

Tips & Tricks

ก่อน จะรับเครื่องสิ่งหนึ่งที่เราควร จะทำมากที่สุดก็คือ การตรวจสอบหา Dead Pixel ครับ เพราะหากว่าเอากลับมาบ้านแล้ว เกิดไปเจอเข้าทีหลัง และไม่มีจำนวนจุด Dead Pixel ตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เคลมก็ไม่ได้ เปลี่ยนก็ไม่ได้เช่นกัน Advertisement

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก