Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

เปรียบเทียบ CPU Intel และ AMD 2023 รุ่นใหม่ ทำงาน เล่นเกม ตัดต่อ เขียนโปรแกรม สตรีมมิ่งรุ่นไหน?

เปรียบเทียบ CPU Intel และ AMD 2023 รุ่นไหนน่าใช้ เล่นเกม ทำงาน ตัดต่อ แคสเกม และสตรีมมิ่ง

เปรียบเทียบ CPU

เปรียบเทียบ CPU Intel vs AMD 2023 หลายคนกำลังตัดสินใจในการเลือกหาซีพียูเพื่อมาประกอบคอมปลายปี แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกรุ่นไหน อย่างไรดี เพราะทั้ง 2 ค่ายไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ AMD ต่างก็มีซีพียูที่ออกมาใหม่ น่าใช้งานด้วยกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็น Intel Core Gen 13 หรือ AMD Ryzen 7000 series ที่รองรับแรม DDR5 ด้วยกันทั้งคู่ รวมถึงมีตั้งแต่ซีพียูรุ่นเล็ก ที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไป จนถึงซีพียูรุ่นใหญ่ ที่ตอบโจทย์การทำงานเฉพาะด้าน การเล่นเกม เพื่อคนที่ต้องการประสิทธิภาพ ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าซีพียูในแต่ละกลุ่มมีรุ่นใดที่น่าสนใจ และเหมาะกับการใช้งานแบบไหนกันบ้าง


เปรียบเทียบ CPU Intel vs AMD 2023


เปรียบเทียบ CPU ในการใช้งานแต่ละแบบอย่างไร?

ในการเลือกใช้งาน cpu มีด้วยกันหลายองค์ประกอบ เพราะหลายท่านทราบดีว่า ซีพียูเป็นพื้นฐานในการประมวลผลงานที่มีอยู่ในทุกวันนี้เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นงานเอกสารสำนักงานทั่วไป ความบันเทิงดูหนัง สตรีมมิ่ง การเล่นเกมก็มีส่วนอย่างมาก แม้จะไม่เท่ากับกราฟิกการ์ดก็ตาม แต่ซีพียูช่วยจัดสรรข้อมูลในการประมวลผลเพื่อทำงานร่วมกับการ์ดจอได้ราบลื่น ดังนั้นการเลือกซีพียูให้สอดคล้องกัน ก็มีส่วนเพิ่มศักยภาพในการเล่นเกมได้ไม่น้อยเลย เช่นเดียวกับการแต่งภาพ ตัดต่อวีดีโอ แม้ปัจจุบันกราฟิกการ์ด จะมีส่วนในการทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ในหลายๆ แอพพลิเคชั่น ก็จะเห็นได้ว่า ซีพียูยังคงเป็นตัวหลักในการทำงาน โดยเฉพาะในการเรนเดอร์ภาพ และการสตรีมมิ่ง ซึ่งอาศัยทั้งแกนหลักและสัญญาณนาฬิกาที่สูง ส่วนในด้านอื่นๆ เช่น การทำงาน 3 มิติ เช่น งานออกแบบโครงสร้าง ทำโมเดล หรือการทำ Motion Graphic รวมถึงงานเขียนโปรแกรม หรือการแคสสตรีม ที่อาศัย Core/ Thread เพื่อจัดสรรการทำงานได้ทั่วถึงกับการทำงานแบบมัลติทาส์กกิ้ง หรือหลายๆ งานพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็น เปิดวีดีโอ ถอดรห้ส เข้ารหัส รวมถึงการเล่นเกม ไปพร้อมๆ กันนั่นเอง เรามาเปรียบเทียบ CPU กันดูว่ารุ่นไหนเหมาะกับการใช้งานอย่างไร

Advertisement

ซีพียูสำหรับผู้ใช้เริ่มต้น งบประมาณจำกัด

เปรียบเทียบ CPU

มาเริ่มต้นเปรียบเทียบ CPU ซีพียูในระดับผู้ใช้พื้นฐาน กับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ทั่วไป เช่น โปรกแกรมสำนักงาน ดูหนัง ฟังเพลง แต่งภาพแบบง่ายๆ รวมถึงการเขียนโปรแกรม เรียนออนไลน์ โดยกลุ่มนี้มีซีพียูที่เป็นทางเลือกหลากหลายรุ่นทีเดียว เพราะส่วนใหญ่การทำงานแบบ 4 core ขึ้นไป ก็รองรับงานเหล่านี้ได้ไม่ยาก จึงสามารถใช้ได้ทั้ง Intel Pentium ไปจนถึง Intel Core i3 ถึงแม้ว่า Intel Celeron ที่เป็นแบบ 2 core/ 4 thread ก็ใช้งานได้ แต่ก็เหมาะกับการทำงานเบาๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ท่องเน็ต ทำงานออนไลน์ หรือใช้ในด้านความบันเทิงทั่วไปได้ แต่ถ้าทำงานเอกสาร ทำพรีเซนเทชั่น สร้างกราฟ หรือเริ่มต้นการเรียนรู้ของนักเรียน แต่งภาพ และการเล่นเกมระดับเริ่มต้น Intel Core ที่มี 4 core ขึ้นไป ช่วยตอบสนองได้ดีกว่า ในราคาเริ่มต้นไม่ถึง 3 พันบาท สำหรับ Intel Core i3 Gen 12 ส่วนถ้าเป็น Gen 13 จะขยับไปที่ 4 พันบาท เป็นต้น แต่ความพิเศษของการเลือกซีพียูรุ่นใหม่ที่เป็น Gen 13 นั่นคือ คุณสามารถเลือกเมนบอร์ดที่ใช้แรม DDR5 มาใช้งานร่วมกันได้ในราคาสบายกระเป๋า เพราะเวลานี้มีให้เลือกตั้งแต่ 3 พันกว่าบาท ราคาสูงกว่าบอร์ด DDR4 บนชิปเซ็ตเดียวกันแค่หลักร้อยเท่านั้น

IntelAMD
Intel Celeron G6900, 2 core/ 2 thread, 3.4GHz, Cache 4MB, UHD GraphicAMD Athlon 200GE, 2 core/ 4 thread, 3.2GHz, Cache 4MB, Radeon Vega3 Graphic
Intel Pentium G7400, 2 core/ 4 thread, 3.7GHz, Cache 6MB, UHD GraphicAMD Athlon 3000GE, 2 core/ 4 thread, 3.5GHz, Cache 4MB, Radeon Vega3 Graphic
Intel Core i3-12100F, 4 core/ 8 thread, Boost 4.3GHz, Cache 12MB, No GraphicAMD Ryzen 3 3200G, 4 core/ 4 thread, Boost 4.0GHz, Cache 4MB, Radeon Vega8 Graphic
Intel Core i3-13100F, 4 core/ 8 thread, Boost 4.5GHz, Cache 12MB, No GraphicAMD Ryzen 3 3300X 4 core/ 8 thread, Boost 4.3GHz, Cache 16MB, No Graphic
Intel Core i3-13100 4 core/ 8 thread, Boost 4.5GHz, Cache 12MB, UHD GraphicAMD Ryzen 3 4100G, 4 core/ 8 thread, Boost 4.0GHz, Cache 4MB, No Graphic
เปรียบเทียบ CPU ซีพียูสำหรับผู้ใช้เริ่มต้น งบประมาณจำกัด

ส่วนทางด้านของ AMD ก็มีตัวเลือกที่น่าสนใจ อย่างเช่น Athlon ที่เป็นกลุ่มตลาดเดียวกับ Intel Pentium กับการทำงานแบบ 2 core/ 4 thread แต่เป็นแบบซ็อกเก็ต AM4 ซึ่งราคาเริ่มต้นไม่ถึง 2 พันบาท จัดว่าเป็นราคาที่จับต้องได้ง่าย หาเมนบอร์ดที่ราคาพันกว่าบาทก็ใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าต้องใช้งานที่หนักมากขึ้น ประเภทงานที่ต้องการพลังประมวลผล เกี่ยวข้องกับงานภาพ หรือมีโหลดสูงๆ สลับไปกับงานปกติ ตัวเลือกอย่าง AMD Ryzen 3 น่าสนใจอย่างมาก เพราะนอกจากมีศักยภาพที่ดี เป็นแบบ 4 core/ 8 thread แล้ว ยังมีตัวเลือกทั้งแบบ เน้นใช้งานเป็นหลัก ใช้ร่วมกับการ์ดจอแยก หรือแบบที่มีกราฟิกแรงๆ มาในตัว โดยมีทั้ง Ryzen 3000 และ 4000 series ในราคาแค่ 2 พันกว่าบาทเท่านั้น

เปรียบเทียบ CPU

และด้วยซีพียูในระดับเริ่มต้นของทั้ง 2 ค่าย ก็ทำให้คุณสามารถจัดสเปคประกอบคอมในราคาประหยัด ไม่ถึงหมื่นบาทได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น ใช้ซีพียูที่มีกราฟิกในตัว เมนบอร์ดชิปเซ็ตพื้นฐาน โดยมีแรม DDR4 8GB และ SSD 480GB พร้อมเพาเวอร์ซัพพลาย 550W และเคสทั่วไป ส่วนกราฟิกแบบที่มีมาให้ในตัว เคาะราคาที่ 9,000-12,000 บาทเท่านั้น


ซีพียูสำหรับเกมเมอร์ ความบันเทิงและซอฟต์แวร์ทำงาน

เปรียบเทียบ CPU

กลุ่มผู้ใช้ถัดมาถือว่ามีตัวเลือกจำนวนค่อนข้างมากในท้องตลาด สำหรับคนที่จะประกอบคอมใช้ทำงานในชีวิตประจำวันกับซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้นกว่างานเอกสารและการเปิดดูไฟล์ทั่วไป เช่น การเขียนซอฟต์แวร์ การแต่งภาพในระดับเริ่มต้น สร้างงาน 3 มิติขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการแปลงไฟล์และตัดต่อวีดีโอทั่วไป ที่ต้องอาศัยทั้งการทำงานของซีพียูในแบบมัลติดเธรด รวมถึงบางโปรแกรมต้องพึ่งพาสัญญาณนาฬิกาที่สูงขึ้น ดังนั้นซีพียูที่มีมากกว่า 4 core ขึ้นไป ก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะสม โดยที่ Intel และ AMD ก็มีตัวเลือกที่น่าสนใจด้วยกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็น Intel Core i5 Gen12 ที่ตัวเริ่มต้นเปิดมาไม่ถึง 5 พันบาท หรือ AMD Ryzen 5 ถ้าเป็นซ็อกเก็ต AM4 นั้นเริ่มแค่ 2 พันกว่าบาทเท่านั้น ส่วนถ้าเป็นรุ่นใหม่อย่าง Intel Core i5 Gen 13 หรือ AMD Ryzen 5 7000 series ตัวแรงๆ ก็จะ 10,000 บาท บวกลบตามซีรีส์ของซีพียู

ซีพียู Intel ซีรีส์ F หมายถึง ไม่มีกราฟิกในตัว, ส่วน KF หมายถึงปลดล็อคตัวคูณรองรับการ OC และ KS หมายถึงมี Base Power และ Base Clock ที่สูงกว่า K รวมถึงมีกราฟิกในตัว จัดว่าเป็นตัวท็อปสุด

เปรียบเทียบ CPU

นอกจากนี้การเปรียบเทียบ CPU ยังรวมไปถึงกลุ่มของเกมเมอร์ที่ต้องการการเล่นเกม ที่ต้องอาศัยการ์ดจอระดับ Mid-end ขึ้นไปกับแนวเกม Action FPS รวมถึงเกมระดับ AAA ที่ซีพียูต้องใช้พลังประมวลผล เพื่อตอบสนองการทำงานกับการ์ดจอได้ดีขึ้น ซีพียูระดับกลางนี้ ยังช่วยรีดประสิทธิภาพในการเล่นเกมได้ดี ในงบประมาณที่ไม่สูงจนเกินไป และยังเข้าคู่กับการ์ดจอได้ตั้งแต่รุ่นกลางๆ ไปจนถึงฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ได้ค่อนข้างดี เหมาะกับเกมเมอร์ที่ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายของซีพียูลง และไปลงทุนกับการ์ดจอที่แรงขึ้นได้ เพื่อความคล่องตัวในการเล่นเกมโดยเฉพาะ ซึ่งมีตัวเลือกของซีพียู Intel ที่เป็น “F” series ที่ราคาค่อนข้างประหยัด หรือจะใช้ AMD Ryzen 5000 series ที่เป็น AM4 หรือจะเป็น AM5 ในรุ่นเริ่มต้นอย่าง AMD Ryzen 5 7600 เป็นต้น

ประกอบคอม AMD Ryzen 5 7600 แรงได้ไม่ต้องใช้การ์ดจอแยก

เปรียบเทียบ CPU
source: thepcenthusiast.com
IntelAMD
Intel Core i5-12400F, 6 core/ 12 thread, Boost 4.4GHz, Cache 18MB, No GraphicAMD Ryzen 5 2600, 6 core/ 12 thread, Boost 3.9GHz, Cache 16MB, No Graphic
Intel Core i5-12400, 4 core/ 8 thread, Boost 4.4GHz, Cache 18MB, UHD 730 GraphicAMD Ryzen 5 3400G 4 core/ 8 thread, Boost 4.2GHz, Cache 4MB, Radeon Vega11 Graphic
Intel Core i5-12490F, 6 core/ 12 thread, Boost 4.6GHz, Cache 20MB, No GraphicAMD Ryzen 5 3600, 6 core/ 12 thread, Boost 4.2GHz, Cache 32MB, No Graphic
Intel Core i5-12600, 6 core/ 12 thread, Boost 4.8GHz, Cache 18MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 5 4500, 6 core/ 12 thread, Boost 4.1GHz, Cache 8MB, No Graphic
Intel Core i5-12600KF, 10 core/ 16 thread, Boost 4.9GHz, Cache 20MB, No GraphicAMD Ryzen 5 4600G, 6 core/ 12 thread, Boost 4.2GHz, Cache 8MB, Radeon Graphic
Intel Core i5-12600K, 10 core/ 16 thread, Boost 4.9GHz, Cache 20MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 5 4650G, 6 core/ 12 thread, Boost 4.2GHz, Cache 8MB, Radeon Graphic
Intel Core i5-13400F, 10 core/ 16 thread, Boost 4.6GHz, Cache 20MB, No GraphicAMD Ryzen 5 5500, 6 core/ 12 thread, Boost 4.2GHz, Cache 16MB, No Graphic
Intel Core i5-13400, 10 core/ 16 thread, Boost 4.6GHz, Cache 20MB, UHD 730 GraphicAMD Ryzen 5 5600, 6 core/ 12 thread, Boost 4.4GHz, Cache 32MB, No Graphic
Intel Core i5-13600KF, 14 core/ 24 thread, Boost 5.1GHz, Cache 24MB, No GraphicAMD Ryzen 5 5600G, 6 core/ 12 thread, Boost 4.4GHz, Cache 16MB, Radeon Graphic
Intel Core i5-13600K, 14 core/ 24 thread, Boost 5.1GHz, Cache 24MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 5 5600X, 6 core/ 12 thread, Boost 4.6GHz, Cache 32MB, No Graphic
AMD Ryzen 5 7600 (AM5), 6 core/ 12 thread, Boost 5.1GHz, Cache 32MB, Radeon Graphic
AMD Ryzen 5 7600X (AM5), 6 core/ 12 thread, Boost 5.3GHz, Cache 32MB, Radeon Graphic
เปรียบเทียบ CPU สำหรับเกมเมอร์ ความบันเทิงและซอฟต์แวร์ทำงาน

หรือถ้าเป็นกลุ่มที่ชอบเล่นเกม และใช้งานพื้นฐาน ลงทุนกับซีพียูที่มีกราฟิกที่มีกราฟิกที่ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งติดตั้งมาในตัวซีพียูอย่างเช่น Intel Core ที่ไม่มีรหัส F ต่อท้าย ที่มาพร้อมกราฟิก Intel UHD หรือ Intel Iris Xe หรือ AMD Ryzen ที่ต่อท้ายด้วย “G” series ที่ให้ประสิทธิภาพในการเล่นเกมทั่วไป รวมถึงเกมออนไลน์ Casual Game รวมถึงเกมพื้นฐาน ที่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมาก เช่น DOTA2, ROBLOX, CS:GO ซึ่งสามารถเล่นได้ลื่น แม้จะเป็นออนบอร์ด แล้วจึงอัพเกรดเพิ่มการ์ดจอแยกในภายหลัง เมื่อมีงบประมาณมากพอในอนาคต แต่จะมีข้อจำกัดเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบ CPU ที่ไม่มีกราฟิกในตัว เช่น ซีพียูบางรุ่นที่มีกราฟิกในตัว ก็อาจจะถูกลด Thread ลงไปหรือจำกัดแบนด์วิทธิ์หรือช่องทาง PCIe ได้น้อยลงอยู่บ้าง เมื่อใช้ร่วมกับการ์ดจอแยก แต่เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายก็ถือว่าคุ้มค่าน่าใช้ทีเดียว


ซีพียูสำหรับคอเกมระดับ AAA และไลฟ์สตรีมเกม

เปรียบเทียบ CPU

มาถึงซีพียูเพื่อคนที่ขยับมาทำงานจริงจัง และการเล่นเกมที่ต้องการพลังในการประมวผลที่มากขึ้น ไปจนถึงเหล่าสตรีมเมอร์ หรือเกมเมอร์ที่ต้องการแคสเกมไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ต้องประกอบเครื่องสตรีมเพิ่มเติม ซีพียูที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่สูงเกือบๆ 4GHz และ Core/ Thread ระดับ 8 core ขึ้นไป ก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้เต็มที่มากขึ้น นั่นก็เพราะในเกมหลายๆ เกมสัญญาณนาฬิกาซีพียูที่สูง ก็จะช่วยให้ทำงานร่วมกราฟิกการ์ดได้ดีขึ้น ใช้ร่วมกับการ์ดจอแรงๆ ได้ รวมถึงกลุ่มที่ทำงานจริงจัง บางโปรแกรม เช่น การเรนเดอร์ 3 มิติ การสร้างงาน 3D หรือการ Export file ก็ต้องอาศัยพลังของซีพียูเป็นหลัก รวมถึงประมวลผลพร้อมกันหลายเธรดในงานชิ้นเดียวกัน เพื่อให้งานเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น Export Video, Blender รวมไปถึงการเปิด Web Browser จำนวนมากๆ ในเวลาเดียวกัน

เปรียบเทียบ CPU

โดยการเปรียบเทียบ CPU ที่นำมาใช้ในงานเหล่านี้ มีรุ่นที่น่าสนใจทั้ง AMD และ Intel และซีพียูส่วนใหญ่ จะมีการทำงานอย่างน้อย 8 core/ 16 thread และสัญญาณนาฬิกาในการทำงานพื้นฐาน Base clock เกือบ 4GHz โดยบางรุ่นสามารถ Boost ไปได้กว่า 5GHz อีกด้วย โดยรุ่นที่ทำราคาได้น่าสนใจ อย่างเช่น AMD Ryzen 7 5700X หรือ 5800X ที่เรียกว่าเป็นตัวท็อปๆ ของไลน์ AM4 แล้ว ราคาประมาณ 8 พันบาทเท่านั้น ให้จำนวน Core/ thread ที่เยอะ และ Boost ได้เกือบ 5GHz เลยทีเดียว หรือถ้าต้องการจะขยับไปใช้ AM5 ที่เป็นซ็อกเก็ตใหม่ และใช้กับแรม DDR5 มีฟีเจอร์เพิ่มเติมเข้ามาอีกเพียบ AMD Ryzen 7 7700 ก็จัดว่าน่าใช้ในราคา 11,000 บาทโดยประมาณ ได้ทั้ง Cache ขนาดใหญ่กว่าเดิมเท่าตัว และยังได้ Boost clock มากกว่า 5GHz อีกด้วย หรือถ้าจะไปตัวท็อปอย่าง Ryzen 7 7800X3D ที่มาพร้อมแคชแบบใหม่ ตอบสนองได้ไว เน้นการประมวลผลที่หนักหน่วง พร้อมสำหรับการเล่นเกม ไปพร้อมๆ กับการแคสสตรีมได้ ในราคาที่เปรียบเทียบกับคู่แข่งคู่แข่งได้อย่างสูสีทีเดียว

IntelAMD
Intel Core i7-12700F 12 core/ 20 thread, Boost 4.9GHz, Cache 25MB, No GraphicAMD Ryzen 7 5700G, 8 core/ 16 thread, Boost 4.6GHz, Cache 16MB, Radeon Graphic
Intel Core i7-12700 12 core/ 20 thread, Boost 4.9GHz, Cache 25MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 7 5700X, 8 core/ 16 thread, Boost 4.6GHz, Cache 32MB, No Graphic
Intel Core i7-12700K 12 core/ 20 thread, Boost 5.0GHz, Cache 25MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 7 5800X, 8 core/ 16 thread, Boost 4.7GHz, Cache 32MB, No Graphic
Intel Core i7-13700F 16 core/ 24 thread, Boost 5.2GHz, Cache 30MB, No GraphicAMD Ryzen 7 7700, 8 core/ 16 thread, Boost 5.3GHz, Cache 32MB, Radeon Graphic
Intel Core i7-13700 16 core/ 24 thread, Boost 5.2GHz, Cache 30MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 7 7700X, 8 core/ 16 thread, Boost 5.4GHz, Cache 32MB, Radeon Graphic
Intel Core i7-13700KF 16 core/ 24 thread, Boost 5.4GHz, Cache 30MB, No GraphicAMD Ryzen 7 7800X3D, 8 core/ 16 thread, Boost 5.0GHz, Cache 96MB, Radeon Graphic
Intel Core i7-13700K 16 core/ 24 thread, Boost 5.4GHz, Cache 30MB, UHD 770 Graphic
เปรียบเทียบ CPU สำหรับคอเกม AAA และไลฟ์สตรีมเกม

ส่วนทางด้านซีพียู Intel ก็มีตัวเลือกอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 10,000 บาท สำหรับ Intel Core i7-12700F รุ่นเล็กสุด แต่ให้ประสิทธิภาพได้อย่างคุ้มค่า เพราะได้ 12 core/ 20 thread เหมาะกับงานที่รองรับจำนวน Core ทำงานร่วมกันได้เยอะๆ หรือจะใช้ในการสตรีมมิ่งก็ได้เช่นกัน เพราะซีพียูมีหลายเธรด ในราคาที่จับต้องได้ เปิดโปรแกรม สตรีม และเล่นเกมไปพร้อมกัน เมื่อเปรียบเทียบ CPU รุ่นพี่อย่าง 13700F แม้ว่าศักยภาพจะดรอปลงไปบ้างเล็กน้อย การสนับสนุนฟีเจอร์และช่องทาง PCIe ลดไปบ้าง แต่ราคาของ Gen 12 ยังถูกกว่า 3 พันกว่าบาทเลยทีเดียว หรือถ้าใครมีงบประมาณเยอะขึ้น และซื้อทีเดียว ใช้งานแบบเต็มที่ ไม่รออัพเกรด Intel Core i7-13700K หรือ KF ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ จ่ายเพิ่มเติมจากใน Core i7 รุ่นเริ่มต้นอีกประมาณ 4 พันกว่าบาท แต่ได้กราฟิกบนซีพียู สัญญาณนาฬิกาสูงสุดระดับ 4.5GHz รวมถึงช่องทาง PCIe มากขึ้น จึงรองรับการใช้งานเหล่านี้ได้ดีกว่า ลดเวลาในการทำงานลง รวมถึงเข้าคู่กับกราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ๆ ประสิทธิภาพสูงได้อย่างเต็มที่อีกด้วย


ซีพียูสำหรับฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ และทำงานซอฟต์แวร์มืออาชีพ

เปรียบเทียบ CPU

มาถึงการเปรียบเทียบ CPU ในระดับขั้นสุด ของเหล่าผู้ใช้พีซีในกลุ่มของคอนซูมเมอร์ หรือว่าผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ได้นับรวมไปถึงกลุ่มของพีซี Workstation, Server หรือ Data Center แต่ก็มีความสามารถในการรองรับกลุ่มงานระดับนี้ได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนที่ทำงานจริงจังกับซอฟต์แวร์เฉพาะทาง เช่นงานตัดต่อวีดีโอ เรนเดอร์กราฟิก และสร้างโมเดลสามมิติเป็นต้น ซีพียูที่นำมาใช้ ต้องตอบสนองได้ดี ด้วยการประมวลผลที่รวดเร็ว ซึ่งต่างจากซีพียูในระดับเบื้องต้นตรงที่รองรับงานที่มีสเกลขนาดใหญ่ขึ้นได้ เช่น งานโมเดล 3D สร้างแอนิเมชั่น หรือการตัดต่อวีดีโอที่จริงจังมากขึ้น มีไฟล์ฟุตเทจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการเล่นเกม และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการแคสสตรีมเกมเป็นต้น

Build PC AMD Ryzen 30K 2022 42

ด้วยขุมพลังที่จัดจ้านเพราะเป็นซีรีส์ที่ท็อปสุด และมีตัวเลือกเปรียบเทียบ CPU อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Intel Core i9 ทั้งเจนเนอเรชั่นที่ 12 และ 13 รวมถึง AMD Ryzen 9 ที่มีทั้ง AM4 และ AM5 ที่เป็น Ryzen 9 7000 series รุ่นใหม่ ความโดดเด่นของซีพียูในราคาสบายกระเป๋ายังคงอยู่ที่ Intel Core i9-12900 ที่เป็นตัวเริ่มต้นกับราคาประมาณ 18,000 บาทเท่านั้น และยังมีกราฟิกในตัว L3-cache ขนาดใหญ่ ส่วนถ้าใครจะเน้นการประมวลผลเป็นหลัก Core i9-13900KF เพิ่มจำนวน Core/ Thread มาเต็มพิกัด กับแคชขนาดใหญ่ และบูสท์ได้เกือบ 6GHz ในราคาประมาณ 2 หมื่นบาทเท่านั้น กับซีพียู Hybrid Core ใช้งานกับแรม DDR5 ได้ เข้าคู่กับการ์ดจอตัวแรงในท้องตลาดได้อย่างเต็มที่ เรียกว่าจัดเซ็ตคอมเกมมิ่งหรือทำงานในงบ 50,000 บาทได้ไม่ยาก

IntelAMD
Intel Core i9-12900K, 16 core/ 24 thread, Boost 5.2GHz, Cache 30MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 9 5950X, 16 core/ 32 thread, Boost 4.9GHz, Cache 64MB, No Graphic
Intel Core i9-12900, 16 core/ 24 thread, Boost 5.1GHz, Cache 30MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 9 7900X, 12 core/ 24 thread, Boost 5.6GHz, Cache 64MB, Radeon Graphic
Intel Core i9-13900, 24 core/ 32 thread, Boost 5.6GHz, Cache 36MB, UHD 770 GraphicAMD Ryzen 9 7900X3D, 12 core/ 24 thread, Boost 5.6GHz, Cache 128MB, Radeon Graphic
Intel Core i9-13900KF, 24 core/ 32 thread, Boost 5.8GHz, Cache 36MB, No GraphicAMD Ryzen 9 7950X3D, 16 core/ 32 thread, Boost 5.7GHz, Cache 128MB, Radeon Graphic
Intel Core i9-13900K, 24 core/ 32 thread, Boost 5.8GHz, Cache 36MB, UHD 770 Graphic
Intel Core i9-13900KS, 24 core/ 32 thread, Boost 6.0GHz, Cache 36MB, UHD 770 Graphic
เปรียบเทียบ CPU ฮาร์ดคอร์เกมเมอร์ และทำงานซอฟต์แวร์มืออาชีพ

ในขณะที่ทางฝั่ง AMD ก็มีซีพียูในระดับไฮเอนด์ สำหรับคนที่ต้องการเน้นประสิทธิภาพในงานและการเล่นเกมที่จริงจังเช่นกัน โดยมีโมเดลอย่าง Ryzen 9 ทั้งบนซ็อกเก็ต AM4 ที่ใช้กับแรม DDR4 และ AM5 ที่เป็นแพลตฟอร์มใหม่ล่าสุด รองรับแรม DDR5 เต็มตัว ความน่าสนใจอยู่ที่คนที่ยังใช้เมนบอร์ดในกลุ่มของ B450, B550 หรือ AMD X470 และ X570 ยังคงใช้งานกับ AMD Ryzen 9 5950X ได้พร้อมปรับจูนและโอเวอร์คล็อกได้สนุก แต่ในแง่ของความสดใหม่ AMD Ryzen 9 7900X เป็นพี่ใหญ่ที่ราคาจ่ายสบายกระเป๋า เพราะอยู่ที่ประมาณ 14,500 บาทเท่านั้น แต่สำหรับคนที่มองว่าจะใช้ Ryzen 9 ก็ต้องไปให้สุด 7950X3D ที่มีถึง 16 core/ 32 thread และสัญญาณนาฬิกาเกือบ 6GHz และแคช L3 3D-cache แบบพิเศษใหญ่ถึง 128MB ก็ช่วยให้การประมวลผลเป็นไปอย่างรวดเร็วอีกด้วย กับค่าตัวระดับ 26,500 บาท พร้อมปะทะกับคู่แข่งที่เป็นตัวท็อปต่างค่ายได้อย่างดุเดือด


Conclusion

เรียกได้ว่าเปรียบเทียบ CPU ในช่วงปลายปี 2023 นี้ ไม่เพียงมีตัวเลือกเยอะขึ้น แต่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคของแรม DDR5 เกือบเต็มรูปแบบแล้ว แม้ปัจจุบัน Intel Core Gen12 จะยังคาบเกี่ยวกับแรม DDR4 อยู่ แต่ล่าสุดข่าวเกี่ยวกับ Intel Core Gen14 ที่เข้ามา ก็ย้ำชัดแล้วว่า Intel จะขยับไปสู่แรม DDR5 เต็มตัว ซึ่งคู่แข่งอย่าง AMD ก็เรียกว่าเข้าสู่การสนับสนุนแรม DDR5 เต็มตัวมาได้ตั้งแต่ AMD Ryzen 7000 series ดังนั้นการเลือกใช้ซีพียูในปี 2024 นี้ ก็น่าจะชัดเจนว่าเป็นสเปคแรม DDR5 และน่าจะเข้าสู่การใช้งาน SSD รวมถึง PCIe 5.0 เต็มตัวเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้ระบบที่เป็นแรม DDR4 ก็ต้องปรับเปลี่ยนกันแบบยกชุด หากจะใช้ร่วมกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ส่วนการเลือกใช้ ก็ดูตามความเหมาะสมกับงานและไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ว่าจะเป็นงานเบาๆ เล่นเกม การไลฟ์สตรีม รวมไปถึงการแต่งภาพ ตัดต่อวีดีโอ หรือซอฟต์แวร์เฉพาะทางมืออาชีพเป็นต้น


FAQ คำถามพบบ่อย

1.เลือกคอมเล่นเกมอย่างไร

Ans. คอมเล่นเกมมีองค์ประกอบสำคัญหลายส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ์ดจอ มีผลต่อการเล่นเกมมากที่สุด รวมถึงซีพียู และแรม การเลือกคอมเล่นเกมเป็นหลัก เลือกการ์ดจอตามที่งบประมาณพอจัดได้ไหว แล้วเฉลี่ยค่าใช้จ่ายไปยังส่วนอื่นๆ เช่น ซีพียูเพราะจะทำหน้าที่ในการประมวลผลและส่งข้อมูลให้กับกราฟิกการ์ด แรมจะเป็นตัวช่วยในการเพิ่มช่องทางให้ข้อมูลวิ่งผ่านได้อย่างรวดเร็ว ส่วน SSD เดิมๆ ก็เร็วมากพออยู่แล้ว แต่ถ้าให้ดีก็เลือกความจุที่มากพอสำหรับติดตั้งเกมและเก็บข้อมูลให้เพียงพอ แต่ถ้าเลือกการ์ดจอแรง ก็อย่าลืมเลือกเพาเวอร์ซัพพลายที่มีคุณภาพ จ่ายไฟได้เพียงพอด้วย

2.3D V-Cache มีผลอย่างไรในการเล่นเกมบ้าง

Ans. ในการเล่นเกม ระบบจะต้องมีการรับ ส่ง ประมวลผลข้อมูลที่รวดเร็วและใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลไปหา GPU ประมวลผลด้านการแสดงภาพได้ทัน โดยเฉพาะกับการเล่นเกมที่เฟรมเรตสูงๆ ก็ยิ่งต้องการความสามารถในการประมวลผลที่เร็วไปพร้อมกันด้วย ถ้าต้องไปดึงข้อมูลจาก SSD หรือแรมบ่อยๆ ก็อาจเกิด latency จนอาจเกิดอาการเฟรมเรตตกเป็นช่วงๆ ได้ การเพิ่มขนาดแคช L3 ใน CPU ด้วยเทคโนโลยี 3D V-Cache ก็เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลที่รอการประมวลผลใน CPU ได้ดีขึ้น ส่งผลให้ชิปที่มีแคชแบบ 3D สามารถทำประสิทธิภาพในการเล่นเกมได้ดี เมื่อเทียบกับชิปปกติที่มีสเปคเทียบเท่ากัน

3.แรมคนละรุ่น คนละความจุใช้งานร่วมกันได้มั้ย

Ans. คำตอบคือได้ครับ ถ้าแรมนั้นเป็นแบบเดียวกันคือ DDR4 กับ DDR4 หรือ DDR5 กับ DDR5 แม้จะต่างกันเรื่องความเร็ว เช่น DDR4 3200 MT/s กับ DDR4 2666MT/s ก็ใช้ร่วมกันได้ แค่ความเร็วจะเหลือแค่ 2666MT/s เท่านั้น ความจุต่างกัน ก็ใช้ร่วมกันได้ 16GB กับ 8GB และจากการทดสอบ หลายครั้งใช้แรมต่างค่าย ต่างรุ่นก็ยังทำงานแบบ Dual-channel ได้อีกด้วย แต่จะมีบางครั้งที่ เมื่อใช้แรมต่างกันมากๆ จะไม่สามารถเพิ่มความเร็วหรือเปิดใช้ XMP. หรือ EXPO ได้

4.รหัสต่อท้ายซีพียูคืออะไร

Ans. รหัสต่อท้ายซีพียูจะเป็นตัวบอกเอกลักษณ์ของซีพียูรุ่นนั้นๆ เช่น ซีพียูเดสก์ทอป Intel “K” หมายถึงซีพียูที่เพาเวอร์อัพปรับตัวคูณเหมาะสำหรับการโอเวอร์คล็อก ส่วน “F” หมายถึงไม่มีกราฟิกในตัว และ “KS” คือซีพียูที่เพิ่มสัญญาณนาฬิกามาเป็นพิเศษ และรองรับการโอเวอร์คล็อก มีกราฟิกในตัว ส่วน “KF” คือรองรับ OC เช่นกัน แต่ไม่มีกราฟิกในตัว ส่วน AMD “G” หมายถึงมีกราฟิกมาในตัว ส่วน “X” คือเน้นการปรับแต่ง แรงขึ้นรองรับการโอเวอร์คล็อก เป็นต้น

5.เปลี่ยนซีพียูต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดหรือไม่

Ans.ในกรณีที่เดิมใช้ซีพียูในเจนเนอรชั่นเดียวกันกับเมนบอร์ดอยู่แล้ว เมนบอร์ดเสีย ก็ซื้อรุ่นที่ใช้ชิปเซ็ตใกล้เคียงกันมาใช้ได้ แต่ก็ต้องดูเรื่องความเหมาะสม เช่น ใช้ซีพียูในกลุ่ม OC ตัวอย่าง Intel Core i7-12700K ก็น่าจะเลือกเมนบอร์ดที่เป็น Z series อย่าง Z690 และ Z790 เพื่อให้ปรับแต่งเพิ่มเติมได้ รวมถึงรองรับฮาร์ดแวร์ความเร็วสูงได้เยอะกว่า โดยเฉพาะเมื่อต่อผ่านช่องทาง PCI-Express เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่ามากขึ้น ส่วนถ้าเป็น AMD ถ้าเดิมใช้ซีพียู Ryzen 3000, 5000 series ที่เป็น AM4 แต่เปลี่ยนไปใช้ Ryzen 7000 series ที่เป็น AM5 ก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่ ไม่สามารถใช้แทนกันได้

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Notebook Review

Gigabyte G6X 9KG ตัวแรงรุ่นใหม่เอาใจเกมเมอร์ขั้นสุด ดุดันทรงพลังไม่ถึงครึ่งแสน!! เกมเมอร์หลายคนอาจติดภาพ Gigabyte ว่าเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์คอมชั้นนำของโลก แต่ฝั่งเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คก็ถือว่าเด็ดดวงไม่แพ้กัน เช่น Gigabyte G6X 9KG ซึ่งเป็นภาคต่อของ Gigabyte G5 MD ซึ่งยืนพื้นราคาไว้ดีเท่าเดิมโดยจับคู่ซีพียู Intel รุ่นที่ 13 กับการ์ดจอ NVIDIA GeForce...

PR-News

บริษัท อินเทล คอร์ปอเรชั่น ประกาศแต่งตั้งผู้นำคนใหม่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายขาย การตลาด และการสื่อสาร (Sales, Marketing and Communications Group: SMG) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก-ญี่ปุ่น (APJ) และภูมิภาคอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของอินเทล สำหรับภูมิภาค APJ อินเทลได้ประกาศแต่งตั้ง นายฮานส์ ฉวง (Hans Chuang) ขึ้นดำรงตำแหน่ง...

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมรุ่นใหม่ก็มา รุ่นเก่าสเปคเด็ดก็มี ถ้าใครอยากเปลี่ยนเครื่องอยู่นาทีนี้มีรุ่นน่าโดนให้เลือกเพียบ! จะปี 2024 นี้หรือปีไหนโน๊ตบุ๊คเล่นเกมก็ยังคงเป็นตัวเลือกขวัญใจใครหลายคนเพราะประสิทธิภาพดี ทรงพลังเหลือเฟือไม่ว่าจะงานเบาๆ ทำเอกสารไปจนตัดต่อคลิปและงาน 3D ก็ไหว เล่นเกมก็ได้สบายๆ ยิ่ง 2~3 ปีมานี้ พอเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ซีพียูกับจีพียู็ยิ่งทรงพลังก็ทำให้เกมเมอร์และครีเอเตอร์ที่ไม่อยากเสียเวลาประกอบพีซีให้วุ่นวายเลือกตัดปัญหาทั้งหมดโดยซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมสเปคแรงมาใช้แทน แถมได้เปรียบว่าพกพาสะดวกหยิบไปทำงานได้ กลับบ้านต่อหน้าจอแยกก็เล่นเกมชั้นนำได้ดีพอตัว นอกจากสเปคแล้ว ในปี 2024 ที่ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น หลายแบรนด์ก็เสริม AI...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook 14 OLED UM3406H พรีเมี่ยมโน๊ตบุ๊คพร้อมพลัง Ryzen AI ทำงานได้ เนียนเล่นเกมลื่นอีก!! ถ้าจะซื้อโน๊ตบุ๊กสักเครื่อง ก็จะมีทางเลือกแค่เกมมิ่งโน๊ตบุ๊คหนาหนักแต่แรงทรงพลังหรือเป็นกลุ่มโน๊ตบุ๊คบางเบาเช่นเดียวกับ ASUS Zenbook 14 OLED UM3406H ทว่ามันจะไม่ติดข้อจำกัดเดิมว่าเล่นเกมไม่ไหวอีกต่อไปด้วยพลังของซีพียู AMD Ryzen 8000 Series พร้อม Ryzen...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก