ลำโพงคอมดีๆ ปี 2023 นี้มีให้เลือกหลายรุ่นตั้งแต่ราคาเบาไปจนตัวพรีเมี่ยมเลย!
คนที่ชื่นชอบเรื่องไอทีรู้ว่าอุปกรณ์คอมแทบทุกชิ้นสามารถอ่านกระดาษสเปคแล้วตัดสินใจซื้อได้ ยกเว้นลำโพงคอมเพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่ทำอย่างนั้นแทบไม่ได้เลย เพราะเรื่องของเสียงเกี่ยวข้องกับรสนิยมของแต่ละคน บางคนอาจจะชอบเสียงแหลมเคลียร์ เบสฟังสบายหู แต่บางคนก็ตรงกันข้ามอยากได้เสียงเบสหนัก โทนเสียงทึบดุดัน เพราะชอบเพลงร็อคและเมทัล ถ้าได้ลำโพงสไตล์นั้นไปก็คงจะส่ายหน้า ดังนั้นอุปกรณ์คอมที่เกี่ยวข้องกับรสนิยมและความชอบของแต่ละคนจึงเอากระดาษสเปคมาดูได้ แต่ก็ต้องไปทดลองฟังเสียงของลำโพงตัวนั้นด้วย ว่าถูกใจหรือเปล่า? แต่ถ้าไม่คิดมากจะซื้อมาต่อคอมให้ได้ยินเสียงของหนังที่ดูเพลงที่ฟังอย่างนี้ก็ไม่ต้องคิดมากก็ได้
ถ้าตัดสินใจแล้วว่าจะลงทุนกับลำโพงคอมดีๆ สักตัว ณ ตอนนี้ก็มีตั้งแต่รุ่นราคาไม่แพงแค่ 2,000 บาทก็ใช้ฟังเพลงได้แล้ว หรือจะจริงจังก็ซื้อแบบเป็นตู้ลำโพงมีพอร์ตเชื่อมต่อหลายๆ อย่างในตัวทั้ง Banana plug, สายเปลือยแยกฝั่งซ้ายขวา, Optical ไปจนรุ่นต่อ Bluetooth เข้ามือถือได้ก็มี ซึ่งราคาก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่าไปตามฟีเจอร์ของลำโพงแต่ละตัว ว่ากันไปตามโจทย์ของแต่ละคน
วิธีเลือกลำโพงคอมฉบับเข้าใจง่าย อ่านเสร็จเดินหน้าเข้าร้านคอมไปลองฟังเสียงได้เลย!
เพราะในยุคนี้การเลือกลำโพงสักตัวนอกจากจิ้มสายหูฟังแล้วใช้ได้เลย ยังมีปัจจัยอื่นๆ ให้คิดอีกหลายอย่าง เพราะบางคนนอกจากคอมแล้วก็อยากต่อมือถือหรือแท็บเล็ตเพื่อดูหนังฟังเพลงได้ด้วย แต่จะเลือกอย่างไรถึงดีสุด ก็มีวิธีดูดังนี้
- ดีไซน์และขนาด เป็นสิ่งแรกที่หลายคนน่าจะคิดถึง โดยเฉพาะคนจัดโต๊ะคอมอยากคุมธีมข้าวของบนโต๊ะให้ใช้สีโทนใกล้เคียงหรือเหมือนกันตามรสนิยมและความชอบของแต่ละคน และยังต้องคิดถึงขนาดของลำโพงให้พอดีวางบนโต๊ะได้ด้วย ถ้าใหญ่เกินไปก็วางไม่ได้หรือเบียดพื้นที่ข้าวของบนโต๊ะจนรกไปหมด ส่วนนี้ยังสามารถดูขนาดของลำโพงในหน้าสเปคแล้ววัดพื้นที่โดยคร่าวๆ เอาไว้ก่อนได้
- ระบบเชื่อมต่อจะเอาอะไรบ้าง? เริ่มต้นถ้าจะใช้กับคอมอย่างเดียว จะเริ่มจากรุ่นต่อสายหูฟัง 3.5 มม. แล้วใช้งานได้เลยก็ได้ แต่ถ้าอยากต่อมือถือหรือแท็บเล็ตได้ก็ควรหารุ่นที่ต่อ Bluetooth ได้ด้วยก็สามารถกดสลับโหมดได้ทันที และรุ่นราคาสูงขึ้นหลายๆ รุ่นก็จะมีช่องต่อ Subwoofer, เสริม DAC ให้ปรับจูนเสียงได้ละเอียดและดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย
- กำลังขับก็สำคัญ ลำโพงแต่ละตัวจะมีกำลังขับแตกต่างกัน โดยแยกเป็น 2 ค่า คือ RMS (Root Mean Square) คือกำลังขับที่เหมาะสมของลำโพงหรือแอมปลิฟายเออร์นั้นๆ ตอนฟังเพลงอย่างต่อเนื่องและลำโพงไม่เสียหาย ส่วน Peak หรือกำลังขับสูงสุดเท่าที่ลำโพงหรือแอมปลิฟายเออร์ทำได้ตอนเปิดเสียงดังสุด แต่ควรเปิดเพียงชั่วคราวเป็นเวลาสั้นๆ ไม่อย่างนั้นดอกลำโพงจะเสียหายได้ สมมติถ้าอ่านในหน้าสเปคแล้วเจอคำว่า 42W RMS (60W Peak) นั่นคือกำลังขับของลำโพงตัวนั้นๆ เวลานับกำลังขับต่อข้าง ให้เอาค่า RMS มาหาร 2 เช่น 42W RMS คือ 21W RMS ต่อข้างนั่นเอง
- ค่าการตอบสนองความถี่ก็สำคัญ! บางคนอาจมองข้ามเรื่องนี้ แต่ค่าการตอบสนองความถี่ (Frequency Response) มีผลต่อลำโพงและหูฟังมาก ซึ่งถ้ามีค่าความถี่ที่ดีและเหมาะสมจะทำให้ลำโพงตัวนั้นๆ สามารถเล่นเสียงต่ำ, กลาง, สูง ออกมาได้อย่างถูกต้องไม่มีเสียงเพี้ยน ส่วนหูของมนุษย์จะได้ยินคลื่นความถี่เสียงแตกต่างกันไป เริ่มต้นที่ 20Hz (เสียงเบส) ไปจนสุดราว 20,000Hz (20kHz) ซึ่งเป็นเสียงแหลมและถ้าเกินจากนี้หูก็จะไม่ได้ยินแล้ว พออายุเพิ่มขึ้นประสาทหูจะเสื่อมสภาพลงและฟังเสียงความถี่สูงได้น้อยลงเรื่อยๆ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะได้ยินเสียงราว 13~14kHz และลำโพงคอมทั่วไปจะมีค่าตอบสนองความถี่ 20Hz~20kHz
- เสียงกี่แชนแนลดี? ลำโพงหลายๆ ตัวจะเขียนหน้าสเปคเอาไว้ว่าเป็น 2.0, 2.1, 5.1 แชนแนล ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้จะบอกถึงจำนวนลำโพงในเซ็ต เช่น 2.1 ก็มีดอกลำโพง (Satellite) 2 ตัว และ Subwoofer อีก 1 ตัว ซึ่งหน้าที่ของ Subwoofer จะช่วยเสริมเสียงย่านความถี่ต่ำ (low frequency) และเนื้อเสียงโดยองค์รวมให้ดีมีมิติยิ่งขึ้นรวมถึงเบสให้มีมิติยิ่งกว่าเดิม ซึ่งถ้าใช้ดูหนังฟังเพลงทั่วไปก็ใช้แบบ 2.0 แชนแนลพอแล้ว แต่ถ้าเน้นดูหนังฟังเพลงให้เต็มอิ่มมีมิติกว่าเดิมก็หาแบบ 2.1 แชนแนลเพิ่มได้ ทว่าลำโพงบางรุ่นถึงเป็น 2.0 แชนแนล แต่ก็มีช่องเอาไว้ต่อ Subwoofer เพิ่มให้เป็น 2.1 แชนแนลได้
- มีชิป DSP ในตัวยิ่งแจ่ม! อย่างลำโพงคอมรุ่นราคา 2-3 พันบาทหลายๆ รุ่นในตอนนี้ ผู้ผลิตหลายๆ เจ้าก็ใส่ชิปเสียงดิจิตอล (DSP – Digital Signal Processor) เสริมเข้ามาให้เพื่อประมวลผลเสียงให้ดีมีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น โดยมีลำดับขั้นตอนทำงานคือ สัญญาณอนาล็อค > ตัวแปลงสัญญาณอนาล็อคเป็นดิจิตอล (ADC – Analog-to-Digital Conversion) > DSP > ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อค (DAC – Digital to Analog Converter) > สัญญาณอนาล็อค (ที่ปรับจูนเสียงให้ดีขึ้นแล้ว) นั่นเอง ซึ่งเสียงของเพลงเดียวกันจากลำโพงที่มีและไม่มี DSP ต่างกันอย่างมาก
- รับรีโมตคุมเพิ่มไหม? นอกจากปรับเสียงลำโพงด้วยลูกบิดบนตัวหรือในคอมแล้ว ลำโพงคอมบางตัวจะมีรีโมตแยกมาให้โดยเฉพาะเอาไว้ควบคุมได้ง่ายขึ้น เผื่อว่าเอาลำโพงตัวเดียวต่อทั้งเครื่องเสียง, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ตก็กดสลับโหมดไปมาได้ หรือแม้แต่กด Mute เสียงลำโพงชั่วคราวก็ด้วย
สรุปสเปค 6 ลำโพงคอมตัวเด็ด มีติดโต๊ะดูหนังดีฟังเพลงก็เพลิน!
สเปคลำโพงคอม | ขนาด น้ำหนัก | ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | พอร์ตเชื่อมต่อ | ชุดควบคุม | ราคา (บาท) |
Logitech Z120 | ข้างละ 110 x 90 x 88 มม. รวม 250 กรัม | 1.2 วัตต์ RMS | AUX USB สำหรับจ่ายไฟ | ลูกบิดปรับเสียง และเป็นสวิตช์ | 329 |
CREATIVE Pebble Plus | ดอกลำโพงข้างละ 116 x 122 x 115 มม. Subwoofer 150 x 195 x 202 มม. ดอกลำโพง ข้างละ 300 กรัม Subwoofer 1 กิโลกรัม | 50Hz~20kHz 8 วัตต์ RMS (16 วัตต์ Peak) | AUX USB สำหรับจ่ายไฟ | ลูกบิดปรับเสียง และเป็นสวิตช์ | 1,450 |
Edifier G2000 | ข้างละ 106 x 105 x 130 มม. | 98Hz~20kHz 8+8 วัตต์ RMS (16+16 วัตต์ Peak) | AUX USB Bluetooth 5.0 USB-DAC | ก้านปรับเพิ่มลดเสียงลำโพง | 2,790 |
Edifier R1380DB | ข้างละ 150 x 240 x 180 มม. รวม 5 กก. | 55Hz~20kHz 21+21 วัตต์ RMS | Coaxial Optical RCA คู่ Bluetooth 5.1 | รีโมต ลูกบิด 3 ตัว ปรับ Volume / Treble / Bass | 4,290 |
BOSE Companion 2 Series III | ข้างละ 190 x 80 x 150 มม. รวม 2 กก. | – | AUX x 2 Headphone Jack x 1 | ลูกบิดปรับเสียง และเป็นสวิตช์ | 4,700 |
Audioengine A2+ | ข้างละ 152 x 102 x 133 มม. รวม 3 กก. | 65Hz~22kHz 15+15 วัตต์ RMS (30+30 วัตต์ Peak) | AUX RCA L/R USB Bluetooth 5.0 รองรับ aptX | ลูกบิดปรับเสียง และเป็นสวิตช์ | 11,500 |
6 ลำโพงคอมตัวแจ่ม! ถูกใจสายดูหนังฟังเพลง เล่นเกมก็เพลินได้อีก!
สำหรับลำโพงคอมที่ผู้เขียนเลือกมาแนะนำ ณ ตอนนี้ จะมีตั้งแต่ลำโพงคอมรุ่นเริ่มต้นราคาเบาๆ เอาไว้ใช้งานทั่วไปฟัง Podcast ได้จนกระทั่งตัวแพงฟีเจอร์เยอะไปต่อได้แยะรวมอยู่ด้วย โดยทั้ง 7 รุ่นที่แนะนำมีดังนี้
- Logitech Z120 (329 บาท)
- CREATIVE Pebble Plus (1,450 บาท)
- Edifier G2000 (2,790 บาท)
- Edifier R1380DB (4,290 บาท)
- BOSE Companion 2 Series III (4,700 บาท)
- Audioengine A2+ (11,500 บาท)
1. Logitech Z120 (329 บาท)
ถ้าเอาง่ายเน้นราคาถูกต่อใช้งานได้เลย Logitech Z120 ถือว่าน่าสนใจในงบประมาณไม่เกิน 500 บาท ได้เสียงค่อนข้างดีไปทางใสและเคลียร์พอเอาไว้ดูหนังฟังเพลงได้ระดับหนึ่ง เผื่อว่าใครมีคอมพิวเตอร์ที่ออฟฟิศหรือซื้อเอาไว้ให้ลูกหลานฟังเพลงก็ได้ ติดลูกบิดเอาไว้ด้านหน้าลำโพงปรับเพิ่มลดระดับเสียงได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง แต่เสียงจะดังระดับหนึ่งเพราะกำลังขับรวม 1.2 วัตต์ RMS เท่านั้น แต่ก็ถือว่าคุ้มสุดในระดับราคาเบาๆ เช่นนี้
สเปคของ Logitech Z120
ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) น้ำหนัก | ข้างละ 110 x 90 x 88 มม. รวม 250 กรัม |
ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | – 1.2 วัตต์ RMS, 2.0 แชนแนล |
พอร์ตเชื่อมต่อ | AUX, USB สำหรับจ่ายไฟ |
ชุดควบคุม | ลูกบิดปรับเสียงและเป็นสวิตช์ในตัว |
Price | 329 บาท (ckonline Shopee Mall) |
2. CREATIVE Pebble Plus (1,450 บาท)
ลำโพงในช่วงราคา 2,000 บาท ที่ดีและคุ้มสุดต้องยกให้ CREATIVE Pebble Plus ซึ่งเป็นตัวอัพเกรดจาก Creative Pebble โดยเพิ่มตู้ Subwoofer มาให้เสียงดีหนักแน่นขึ้น เนื้อเสียงจะเน้นโทนใส มีเบสแน่นมีมิติใช้ฟังเพลงได้หลากหลายแนวตั้งแต่แจ๊สไปจนเพลง R&B เน้นเบสหนักๆ ได้เลย จึงดูหนังฟังเพลงได้อรรถรสขึ้น รายละเอียดที่น่าสนใจคือ CREATIVE ออกแบบให้ดอกลำโพงเฉียงขึ้น 45 องศาให้คลื่นเสียงทำมุมกับหูของผู้ฟังให้คลื่นเสียงยิงตรงไปที่หูผู้ฟังโดยตรง ส่วนเสียงจากตู้ Subwoofer ยิงอัดลงพื้นให้มีแรงปะทะดี เหมาะจะเอาไปต่อใช้งานกับคอมในห้องส่วนตัวมากๆ ถือเป็นตัวจบราคาสมเหตุผลสำหรับคนที่อยากซื้อมาใช้แล้วไม่มีแผนไปต่ออะไรเยอะนัก
สเปคของ CREATIVE Pebble Plus
ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) น้ำหนัก | ดอกลำโพงข้างละ 116 x 122 x 115 มม. Subwoofer 150 x 195 x 202 มม. ดอกลำโพงข้างละ 300 กรัม, Subwoofer 1 กิโลกรัม |
ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | 50Hz~20kHz 8 วัตต์ RMS (16 วัตต์ Peak) |
พอร์ตเชื่อมต่อ | AUX, USB สำหรับจ่ายไฟ |
ชุดควบคุม | ลูกบิดปรับเสียงและเป็นสวิตช์ในตัว |
Price | 1,450 บาท (Creative Shopee Mall) |
3. Edifier G2000 (2,790 บาท)
เกมเมอร์ที่อยากได้ลำโพงคอม RGB เสียงดีแรงปะทะหนักแน่น ต้อง Edifier G2000 นอกจากเอฟเฟคไฟ 12 แบบ ยังติดชิป DSP “Hecate” มาให้ เสียงตอนฟังเพลงและเล่นเกมมีมิติโดยเฉพาะเบสจะหนักแน่นเป็นพิเศษและยังเก็บรายละเอียดเสียงต่างๆ ได้ดี ปรับ Equalizer ได้ 3 โหมด ได้แก่ Gaming, Movie, Music มีก้านปรับเพิ่มลดเสียงติดตั้งมาให้ นอกจากคอมยังต่อ Bluetooth กับสมาร์ทโฟนเอาไว้ฟังเพลงได้และยังใช้เป็น USB-DAC ตอนต่อหูฟังเพิ่มได้อีกด้วย เป็นลำโพงต่อคอมราคาไม่แรงแต่ฟีเจอร์เยอะเกินตัวมาก
สเปคของ Edifier G2000
ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) น้ำหนัก | ข้างละ 106 x 105 x 130 มม. – |
ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | 98Hz~20kHz 8+8 วัตต์ RMS (16+16 วัตต์ Peak) |
พอร์ตเชื่อมต่อ | AUX, USB, Bluetooth 5.0, USB-DAC |
ชุดควบคุม | ก้านปรับเพิ่มลดเสียงลำโพง |
Price | 2,790 บาท (5decibel Shopee Mall) |
4. Edifier R1380DB (4,290 บาท)
Edifier R1380DB ภาคต่อของ R1280DBs ตัวนี้เป็นลำโพง Bookshelf ตู้ไม้ดีไซน์สวยเรียบหรูสำหรับคนชอบฟังเพลงโดยเฉพาะ มีรีโมตใช้ควบคุมเปลี่ยนโหมดการเชื่อมต่อและเพลงได้ และยังต่ออุปกรณ์อื่นๆ อย่าง Subwoofer หรือ DAC ก็ได้เพราะมีพอร์ต Coaxial, Optical, RCA คู่ หรือต่อมือถือด้วย Bluetooth 5.1 ก็ได้แถมยังรองรับ aptX ในตัว มีแอมปลิฟายเออร์ Class-D ติดมาให้พร้อมลูกบิดปรับโทนเสียงข้างลำโพงอีกด้วย นอกจากลำโพงตัวหลักแล้วยังมีดอกเสียงแหลม Silk dome เสริมให้ย่านเสียงสูงดียิ่งขึ้น ซึ่งโทนเสียงหากอิงจากรุ่นก่อนนับเป็นลำโพงเสียงโทนอุ่น ได้เสียงใสเคลียร์รายละเอียดเยอะ สเตจกว้างฟังเพลงได้หลากหลายแนวตั้งแต่เพลงคลาสสิคได้จน EDM ถ้าเติม Subwoofer กับ DAC เข้าไปยิ่งได้เสียงหนักแน่นเบสลึกมีมิติยิ่งขึ้น เป็นลำโพงคอมราคาสมเหตุผล ลงทุนซื้อมาคุ้มค่าเงินแน่นอน
สเปคของ Edifier R1380DB
ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) น้ำหนัก | ข้างละ 150 x 240 x 180 มม. รวม 5 กก. |
ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | 55Hz~20kHz 21+21 วัตต์ RMS |
พอร์ตเชื่อมต่อ | Coaxial, Optical, RCA คู่, Bluetooth 5.1 |
ชุดควบคุม | รีโมต, ลูกบิด 3 ตัว ปรับ Volume / Treble / Bass |
Price | 4,290 บาท (5decibel Shopee Mall) |
5. BOSE Companion 2 Series III (4,700 บาท)
BOSE Companion 2 Series III ลำโพงคอมดีไซน์เรียบง่ายแต่เบสหนักแน่นได้เบสเป็นลูก โทนเสียงใสกำลังดี ซึ่งลำโพงแนวนี้จะเด่นตอนเปิดดูหนังเพราะแรงแรงปะทะเยอะเกินตัวและหนักแน่นมาก สเตจเสียงถือว่ากว้างกำลังพอดีให้เสียงเครื่องดนตรีและนักร้องห่างจากคนฟังเกินไป เวลาใช้งานก็ง่ายเพราะมีลูกบิดปรับเสียงและปิดลำโพงรวมถึงช่องหูฟัง AUX หน้า, หลังและช่องหลักเอาไว้ต่อคอมพิวเตอร์โดยตรงอีกด้วย เป็นลำโพงสำหรับคอมพิวเตอร์ที่เผื่อช่องให้ต่อแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนได้ด้วยสาย AUX เส้นเดียว แนะนำให้หา USB-DAC สำหรับมือถือมาต่อเพิ่มจะได้เสียงเพราะมีอรรถรสขึ้นแน่นอน
สเปคของ BOSE Companion 2 Series III
ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) น้ำหนัก | ข้างละ 190 x 80 x 150 มม. รวม 2 กก. |
ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | – – |
พอร์ตเชื่อมต่อ | AUX x 2, Headphone Jack x 1 |
ชุดควบคุม | ลูกบิดปรับเสียงและเป็นสวิตช์ในตัว |
Price | 4,700 บาท (HD HiFi Shopee Preferred) |
6. Audioengine A2+ (11,500 บาท)
สุดท้ายเป็นลำโพงคอมระดับพรีเมี่ยมทรง Bookshelf อย่าง Audioengine A2+ ซึ่งลำโพงตัวนี้ขนาดไม่ใหญ่มากพอวางโต๊ะคอมได้สบายๆ มีให้เลือกหลายสี ตัวลำโพงจะเน้นเสียงกลางที่ทรงพลังเบสหนักแน่นลงลึกด้วยวูฟเฟอร์ Aramid Fiber และ Silk dome tweeter เลยเก็บเสียงทุกย่านดีมากฟังเพลงได้ทุกแนว แถมยังต่ออุปกรณ์เสริมได้เยอะเพราะมีพอร์ตหลากหลายแบบ จะเสริม DAC, Subwoofer เพิ่มมิติเสียงให้อลังการยิ่งกว่าเดิมหรือจะใช้เดิมๆ ก็มีแอมป์ในตัวช่วยขยายเสียงให้สมจริง และถ้าไม่ได้เปิดคอมแต่อยากฟังเพลงก็ต่อ Bluetooth เข้ากับมือถือก็ฟังเพลงได้เลย รองรับ aptX ในตัวด้วย เรียกว่าดีสมค่าตัวสำหรับคนรักเสียงเพลงและอยากได้ลำโพงคอมคุณภาพสูงไว้ใช้สักตัวมาก
สเปคของ Audioengine A2+
ขนาด (สูง x กว้าง x ลึก) น้ำหนัก | ข้างละ 152 x 102 x 133 มม. รวม 3 กก. |
ค่าตอบสนองความถี่ กำลังขับ | 65Hz~22kHz 15+15 วัตต์ RMS (30+30 วัตต์ Peak) |
พอร์ตเชื่อมต่อ | AUX, RCA L/R, USB, Bluetooth 5.0 รองรับ aptX |
ชุดควบคุม | ลูกบิดปรับเสียงและเป็นสวิตช์ในตัว |
Price | 11,500 บาท (Mercular Shopee Mall) |
นอกจากต้องไปลองฟังเพลงที่ชอบด้วยลำโพงตัวที่สนใจแล้ว พอซื้อมาถ้าเป็นลำโพงแบบ Bookshelf ที่ต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ อย่าง DAC หรือ Subwoofer เพิ่มได้ อยากแนะนำให้ทดลองใช้งานเปิดเพลงฟังไปก่อนราว 100~200 ชั่วโมงเพื่อ “เบิร์นไดรเวอร์” ให้เข้าที่ก่อน โทนเสียงลำโพงจะมีมิติยิ่งกว่าตอนที่ซื้อมาใหม่ๆ แล้วถ้าชื่นชอบก็ใช้งานต่อไปได้เลยหรือจะเสริมอุปกรณ์ชิ้นอื่นเข้าไปก็ขึ้นอยู่กับโจทย์ของแต่ละคนได้เลย