โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จาก เส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop มันเป็นอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Intel Atom N550 ของ Toshiba NB305 สามารถทำเวลาไปได้ 105.987 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M มีประสิทธิภาที่ไม่สูงมากตามสไตล์ Atom
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล ซึ่งสเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสค์ ขนาด 320 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 78.8 Mb ต่อวินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 22.5 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี) ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลช้าพอสมควร แต่ก็ไม่ถึงกับช้าจนรู้สึกได้ระหว่างการใช้งาน
Wireless Mon
ทดสอบภาครับส่งของการ์ด Wireless
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร และโอนถ่ายข้อมูลจาก PC อีกเครื่องที่อยู่ในวงแลนเดียวกัน
แม้จะไม่ใช่การ์ด Wi-Fi จาก Intel แต่ก็มีความเข้มของสัญญาณระดับสูงและค่อนข้างนิ่ง
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, HDD
การ์ดจอรุ่นเล็กเลยไม่ได้ทดสอบออกมา แต่คะแนนส่วนอื่น ๆ ที่ออกมาก็น่าพอใจตามสเปก
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบเพียง SM 2.0 CPU Test
ตามสไตล์การ์ดจอออนบอร์ดคะแนนไม่สูงมาก