ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า PC Game ยังคงเป็นสวรรค์ของนักเล่นเกมเพราะเราได้เล่นเกมกันหลากหลาย และนี่คือ 11 เกม PC พอร์ตเก่า ที่ควรค่าแก่การหามาเล่นแบบสุดๆ
ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นถือว่าเป็นสวรรค์ของนักเล่นเกมมาหลายยุคหลายสมัย ด้วยเหตุผลที่ว่านอกจากคอมพิวเตอร์นั้นจะมีเกมเฉพาะเป็นของตัวเองแล้ว ทว่าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมานั้นเกมดังๆ ของเครื่องคอนโซลมักจะถูกพอร์ตมาให้นักเล่นเกมคอมพิวเตอร์ได้เล่นกันอย่างสนุกสนานกันอีกด้วย(ถึงจะได้เล่นช้ากว่าเครื่องคอนโซลก็ตาม)
และแม้ว่าในบางครั้งการพอร์ตเกมจากคอนโซลมายังคอมพิวเตอร์ PC นั้นจะทำได้ไม่ดีบ้าง(ในอดีต) แต่ก็ยังมีเกมพอร์ตอีกหลายๆ เกมที่ทำออกมาได้ดีและคุ้มค่ากับการหามาเล่นค่าเวลาเป็นอย่างมาก ในช่วงเวลาเดือนมกราคมที่ไม่ค่อยมีเกมใหม่ๆ ออกมาเท่าไรอย่างนี้ ทาง NBS เลยอยากขอแนะนำเกมพอร์ตเก่าๆ ที่ทำออกมาได้ดีให้ทุกท่านลองไปหามาเล่นฆ่าเวลากันดูบ้าง
จะมีเกมอะไรน่าสนใจมากแค่ไหนนั้นไปติดตามกันได้เลย
- Ghosts ‘n Goblins (1987)
- Panzer Dragoon, Virtua FIghter Remix & More (1995)
- Cursed Mountain (2010)
- Hundred Swords (2001)
- Hologram Time Traveler (1991)
- Dementium 2 (2013)
- The Simpsons Arcade (1991)
- Thunder Blade (1989)
- RayStorm (2001)
- Captain Quazar (1997)
- Genso Suikoden (1998)
Ghosts ‘n Goblins (1987)
หลายคนเคยได้ยินเกี่ยวกับ Mega Man เวอร์ชั่น PC ที่น่าอับอายและการพอร์ตที่ขาดๆ หายๆ ของ Street Fighter 2 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับเกมพอร์ต DOS ของ Capcom อย่าง Ghosts ‘n Goblins จากเกมอาร์เคดแพลตฟอร์มสุดโหดแล้ว ต้องบอกเลยว่านี่คืองานพอร์ตชั้นครูที่สมควรแก่การขึ้นหิ้งจริงๆ
ด้วยการขับเคลื่อนการพอร์ตโดย Pacific Dataworks International(ที่บริษัทปิดไปนานแล้ว) นี่คือเกมพอร์ตคุณภาพดีเกมหนึ่งที่ทำออกมาได้เป็นอย่างดีในสมัยนั้น และการตีความธีมของเกมที่เสียดแทงหูผ่านลำโพงพีซี(สมัยนั้นเสียงถือว่าเสียงปรี๊ดๆ แสบแก้วหูมาก) ทว่าอาจถือเป็นความเมตตาเล็กน้อยที่เวอร์ชัน DOS นี้ไม่มีลูปที่สองที่น่าอับอายของเกม(เพราะจริงๆ แล้วเกมเวอร์ชันอาร์เคดนั้นพอเล่นไปครบ 1 รอบแล้วคุณต้องมาเล่นใหม่อีกรอบถึงจะจอบเกมได้) การลดขนาดการเล่นทั้งหมดให้เหลือต่ำกว่า 10 นาที(หากคุณไม่ได้ทำผิดพลาดมากเกินไป) ถือว่าเป็นการค่าเวลาได้อย่างดียิ่งระหว่างวัน
หมายเหตุ – ถึงจะลดความยากของเกมไปแล้วแต่เชื่อว่าเด็กรุ่นใหม่ที่พึ่งได้เล่นอาจจะกัวเสียกันได้เพราะมันก็ถือว่ายากอยู่)
Panzer Dragoon, Virtua FIghter Remix & More (1995)
ย้อนกลับไปในช่วงกลางทศวรรษที่ 90 เกม Saturn ที่ดีที่สุดของ Sega จำนวนหนึ่งมาถึงพีซีในรูปแบบที่ดี น่าเสียดายที่ไม่มีใครเล่นมัน เนื่องจากเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะสำหรับชิปเซ็ต GPU ตัวเดียวอย่าง NV1 ที่เป็นผลิตภัณฑ์เปิดตัวจากบริษัทเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงอย่าง Nvidia
การ์ด NV1 ที่รู้จักกันดีที่สุดคือ Diamond Edge 3D ซึ่งเป็นหนึ่งในการ์ดกราฟิกที่มีคุณสมบัติดีที่สุดและแพงที่สุดในยุคนั้น มันมีพอร์ตคอนโทรลเลอร์ Saturn คู่หนึ่งและการ์ดเสียงในตัว ในขณะที่พอร์ต NV1 ทั้งหกพอร์ตนั้นยอดเยี่ยม (แม้จะเลียนแบบการแสดงผลที่ไม่ใช่รูปหลายเหลี่ยมที่แปลกประหลาดของ Saturn) แต่คนส่วนใหญ่สมัยนั้นคิดว่าการซื้อ GPU ปกติและ Sega Saturn นั้นถูกกว่า
อย่างไรก็ตามหากมองข้ามข้อจำกัดเหล่านั้นไปมาสู่ยุคปัจจุบันแล้ว เกมพอร์ตทั้งหมดในยุคนั้นของทาง Sega สามารถที่จะหามาเล่นบนคอมพิวเตอร์ PC ในยุคปัจจุบันได้อย่างง่ายดาย ที่สำคัญคุณไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีสเปคแรงๆ ก็สามารถที่จะเล่นเกมพอร์ตเหล่านี้ได้แล้ว
Cursed Mountain (2010)
ก่อนที่จะโดนด่าว่าดักแก่ไปมากกว่านี้ขอกลับมาใกล้ๆ ยุคปัจจุบันกับเกม Cursed Mountain (2010) กันหน่อย ผู้เล่นจะถูกนำเข้าสู่เกมสยองขวัญเอาชีวิตรอดระดับปานกลางสำหรับ Wii ที่มีธีมการปีนเขาแบบทิเบตซึ่ง Deep Silver ก็เปิดตัวเวอร์ชันพีซีเช่นกัน แต่น่าเศร้าที่มันถูกปล่อยออกมาโดยไม่มีการประโคมข่าว ไม่มีการโปรโมต ทำให้มีความหวังเพียงเล็กน้อยในการอยู่รอดแล้วล้มหายตายจากไป(ในตอนที่เกมออก) อย่างน่าเสียดาย
อย่างไรก็ตามเกมนี้ก็มีข้อเสียอยู่บ้างไม่ว่าจะเป็นการพอร์ตที่ล็อค FPS ไว้ที่ 33 FPS แล้ว ลูกเล่นคอนโทรลเลอร์ Wii บางตัวไม่ได้ถูกแมปมาใช้กับจอยคอนโทรลเลอร์(และเมาส์กับคีย์บอร์ด) ได้อย่างสง่างาม สิ่งที่ส่งตัวเกมเวอร์ชัน PC เข้าสู่โลงศพอย่างแท้จริงก็คือตัวเกมไม่ได้รับความสนใจที่จะนำเอาไปวางจำหน่ายบน Steam เลย โดยตัวเกมนั้นมีให้บริการแบบดิจิทัลบน Gamersgate เท่านั้น(แต่ก็เท่านั้นเพราะสุดท้ายก็โดนถอนไปอีก ทว่านักเล่นเกมคอมพิวเตอร์ PC มือฉมังแล้วเกมนี้ยังคงหาเล่นได้อยู่นะ)
Hundred Swords (2001)
มีเกมพอร์ตที่น่าเบื่อหน่ายมากมายสำหรับเกมแนวกลยุทธ์จากคอมพิวเตอร์ PC ไปยังคอนโซล(เพราะเครื่องคอนโซลไม่รองรับการใช้เมาส์และคีย์บอร์ดที่เหมาะสมกับการเล่นเกมแนวนี้ในยุคนั้น) แต่ทว่ามีเพียงไม่กี่เกมแนวกลุยุทธ์ที่พอร์ตจากคอนโซลมายังคอมพิวเตอร์ PC ซึ่งเกม Hundred Swords เป็นหนึ่งในเกมนั้น ตัวเกมมีความดังพอสมควรบนเครื่อง Dreamcast แต่ด้วยที่สมัยนั้นคนเล่นเกมแนวนี้จะติดสตูดิโอผู้ผลิตเกมมากกว่า ทำให้ Smilebit นั้นไม่ค่อยมีคนให้ความสนใจเท่าไรนักและเป็นเหตุผลที่ว่าในตอนนั้นตัวสเกมเวอร์ชันพีซีแทบไม่มีใครรู้จัก
Hundred Swords มันเป็นการออกแบบ RTS มาตรฐานที่เล่นกับการใช้ความรวดเร็วในการเล่น ตัวเกมจะให้ผู้เล่นจะสั่งการทีมแทนที่จะจัดการหน่วยย่อยทีละหน่วย ซึ่งเอาจริงๆ แล้วถือว่าเป็นการพอร์ตที่ฉลาดเนื่องจากได้รับการปรับปรุงสำหรับคอนโทรลเลอร์ที่มีปุ่มไม่กี่ปุ่มและแท่งอะนาล็อกเพียงอันเดียว(ในยุคสมัยนั้น) Hundred Swords ได้รับการวิจารณ์จำสำนักเกมดังๆ ว่าค่อนข้างดี ถึงแม้จะมีซาวด์แทร็กที่แปลกไปนิดและฉากแฟนตาซีแบบสตีมพังค์ก็ตาม
Hologram Time Traveler (1991)
แม้จะอยู่บนหน้าจอเกมตูในร้านเครื่องอาร์เคด(ที่ทำงานบนฮาร์ดแวร์แบบกำหนดเองของบริษัทผู้พัฒนา) ทว่า Hologram Time Traveler ก็ไม่เคยได้รับเสียงตอบรับที่ดีเลย ตัวเกมนำแสดงโดยแนวเดินยิงที่น่าสงสัยเมื่อเล่นผ่านไปเป็นเวลานานๆ แถมในบางครั้งยังให้ความรู้สึกเหมือนกับเป็นการทดสอบปฏิกิริยาการตอบรับ FMV สไตล์ Dragon’s Lair ที่มาในหน้าจอฉายภาพโฮโลแกรมมากกว่า ทำให้ส่วนใหญ่แล้วทำให้ภาพเบลอและเล่นยากขึ้นจนน่าปวดหัว
สิ่งที่กล่าวมาในตอนต้นนั้นเห็นได้ชัดว่าไม่ได้ถูกพอร์ตมายังคอมพิวเตอร์ PC ด้วยเพราะตัวเกมในเวอร์ชันคอมพิวเตอร์ PC สามารถที่จะทำออกมาได้ดี ทว่าจุดที่แย่ที่สุดของตัวเกมเวอร์ชันคอมพิวเตอร์ PC ก็คือการเล่นที่ต้องใช้แว่นตา 3 มิติสีแดง/น้ำเงิน!(มีท่านใดจำมันได้บ้างนะ) ในการเล่นเพื่อให้ภาพแบบ 3 มิติโฮโลแกรม ซึ่งนั่นส่งผลกระทบที่ทำให้ผู้เล่นมีอาการปวดหัวขึ้นมาได้
ถึงจะเป็นเช่นนั้นแต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเกมเล่นได้สนุกอย่างน่าเหลือเชื่อเพียงแต่ว่าไม่ควรเล่นเกิน 10 – 15 นาทีก็เพียงเท่านั้น(เพราะไม่งั้นคุณอาจจะปวดตาปวดหัวขึ้นมาก่อนเอา)
Dementium 2 (2013)
น้อยครั้งมากที่เราจะได้เห็นเกมบนคอนโซลเครื่องที่อย่าง Nintendo DS ถูกพอร์ตมายังคอมพิวเตอร์ PC กัน โดย Dementium 2 (เดิมสร้างโดย Renegade Kid) เป็นเกม FPS สยองขวัญเอาชีวิตรอดเป็นหนึ่งในนั้น ตัวเกมทำออกมาได้ยอดเยี่ยมอย่างน่าประหลาดใจเมื่อพิจารณาจากการพอร์ตมาจากเครื่องเล่นเกมแบบระบบพกพา คุณจะได้ใช้เวลาเกือบประมาณ 70% โดยในตัวเกมเล่นวนอยู่ในโรงพยาบาลจิตเวชที่น่ากลัวและ ‘โลกอื่น’ ที่ขึ้นสนิมและเน่าเปื่อย(ให้อารมณ์เหมือน Silent Hill)
ตัวเกมเวอร์ชันพอร์ตคอมพิวเตอร์ PC ได้รับการพอร์ตโดย Memetic Games ซึ่งตัวเกมนั้นใกล้เคียงกับการรีเมคมาก ด้วยความสวยงามและการควบคุมที่แตกต่างกันอย่าง(เกือบ)สิ้นเชิง แม้ว่าอาจจะเล่นง่ายกว่าเล็กน้อย แต่สภาพแวดล้อมแบบ Silent Hill ที่ทรุดโทรมและทรุดโทรมของต้นฉบับ DS นั้นถูกดึงออกจากความเป็นตัวเกมไป ทว่ามันก็คุ้มค่าน่าหามาเล่นฆ่าเวลาอยู่ดี(มีให้บริการบน Steam)
The Simpsons Arcade (1991)
กลับมาดัก สว กันอีกสักรอบกับเกมในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ที่ทำมาจากการ์ตูนชื่อดังซึ่งมีการทำเกมออกมาแต่ไม่ค่อยจะดังเสมอกันสักเท่าไรนักกับ The Simpsons Arcade หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ยุ่งเหยิงมากที่สุดคือการต่อสู้แบบเลื่อนด้านข้างของ Konami ใน The Simpsons นั้นทำให้ตัวเกมเล่นได้ยากไปสักนิด(เอาจริงๆ แล้วก็ไม่นิดเลยล่ะเชื่อว่าคนที่เคยเล่นเกมนี้มาก่อนแล้วน่าจะรู้ถึงความยากของเกมนี้เป็นอย่างดี)
ที่แปลกกว่านั้นคือตัวเกมเวอร์ชันพอร์ตไม่ได้ลงให้กับเครื่องเกมคอนโซล แต่ดันไปลงจอดบนเครื่องเกม Commodore 64 และ DOS โดยที่ทั้งสองเวอร์ชันนั้นพัฒนาออกมาได้ดีอย่างน่าประหลาดใจ ตัวเกมมีการเล่นร่วมกันสองคนเต็มรูปแบบ(Co-op ก็มา) และฟีเจอร์ส่วนใหญ่ของเกมที่ลดสเกลลงอย่างน่านับถือ แม้จะไม่มีตัวอย่างเสียงจากเวอร์ชั่นอาร์เคด แต่ซาวด์แทร็กของ PC ก็ไม่ได้แย่เช่นกัน
Thunder Blade (1989)
เกม Thunder Blade คือสิ่งที่สร้างความทรงจำแนวน่ากลัวให้นักเล่นเกมสมัยก่อน ในเกมเวอร์ชันอาร์เคดนั้น Thunder Blade เป็นสิ่งมหัศจรรย์ทางเทคนิค(มุมมองที่สลับมุมมองบุคคลที่สาม/นักกีฬาเฮลิคอปเตอร์เหนือศีรษะด้วยกราฟิกสเกลสเกล 3D หลอกที่ลื่นไหล) ซึ่งพูดไปแล้วมันก็น่าทึ่งเอามากๆ สำหรับปี 1987 และอาจเจ๋งกว่า After Burner เลยด้วยซ้ำ
ด้วยความเจ๋งของสิ่งที่กล่าวมานั้นเองตัวเกมเวอร์ชันคอมพิวเตอร์ PC ที่มีออกมาให้เล่นนั้นเลยไม่ได้พกเอาความเจ๋งที่บอกไว้ข้างต้นมาด้วย(เพราะฮาร์ดแวร์ไม่แรงมากพอในยุดนั้น) ตัวเกมมีความยุ่งเหยิงในแบบที่แทบควบคุมไม่ได้พร้อมกราฟิกที่น่าสยดสยอง, สไปรต์ของศัตรูที่แทบจำไม่ได้และเสียงที่เลวร้ายที่สุดที่เคยออกมาจากลำโพงคอมพิวเตอร์ PC แต่เชื่อเถอะว่าหากคุณได้เล่นเกมนี้แล้วและชนะแม้ว่าจะในฉากที่ไม่สำคัญจะอะไรเท่าไรนักคุณก็อาจส่งเสียงออกมาได้แบบไม่รู้ตัวซึ่งนั้นคือส่วนที่ดีที่สุดของการได้เล่นเกมนี้
RayStorm (2001)
RayStorm นั้นเป็นเกมแนวยานยิงที่เยี่ยมยอด ไม่ว่าจะด้วยเพลงที่ยอดเยี่ยม, การออกแบบบอสเชิงกลที่ยอดเยี่ยมและความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมของการอยู่ท่ามกลางสงครามกาแลกติกขนาดมหึมา แม้ว่าเกมเหล่านี้จะได้รับการดัดแปลงที่ดีสำหรับเครื่องเกมคอนโซลก็ตาม แต่ตัวเกมนั้นมักจะดีกว่าในเวอร์ชันเกมอาร์เคดแต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่นะกับเวอร์ชันคอมพิวเตอร์ PC ไงล่ะ
ตัวเกมเปิดตัวอย่างเงียบ ๆ ในญี่ปุ่นและยิ่งสร้างความสับสนมากขึ้นในชื่อ เพราะดันใช้ชื่อเกมว่า ‘Operation: Raystorm 2291’ ในการจำหน่ายในโซนยุโรป ตัวเกม RayStorm เวอร์ชันคอมพิวเตอร์ PC เป็นพอร์ตโดยตรงของเกมเวอร์ชันรุ่นอาร์เคดดั้งเดิม ทำให้มันมาพร้อมกับการนำเสนอเสียงที่ดีกว่า, กราฟิกความละเอียดสูงและเวลาในการโหลดที่เร็วกว่าเวอร์ชันคอนโซล น่าเสียดายที่มันไม่เคยวางจำหน่ายในร้านค้าดิจิทัล และ RayStorm HD เวอร์ชันรีมาสเตอร์ในปี 2010 ยังคงเป็นเอกสิทธิ์ของเครื่องคอนโซลอยู่เท่านั้น
หมายเหตุ – ต้องหาเล่นผ่านทาง Emulator นะ
Captain Quazar (1997)
คุณไม่สามารถฆ่าเวลาได้มากไปกว่าการเล่นเกมของ 3DO Interactive แบบ Multiplayer ได้อีกแล้ว(สำหรับวัยรุ่นยุคนั้น) ตัวเครื่อง 3DO เองก็เป็นคอนโซลที่ไม่ค่อยจะสามารถหาผู้เล่นได้มากเท่าไรนัก(ยอดจำหน่ายน้อยมากเพราะราคาสูง) ทว่าเกมหลายๆ เกมนั้นทำออกมาได้เป็นอย่างดีโดยเกม Captain Quazar เกมยิงไอโซเมตริกที่ ‘แปลกประหลาด’ ก็เป็นหนึ่งในนั้น ตัวเกมมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับตำรวจอวกาศขากรรไกรสี่เหลี่ยมที่ต่อสู้กับอาชญากรอวกาศในอวกาศ ซึ่งจะว่าไปแล้วตัวเกมมันค่อนข้างคล้ายกับ Desert Strike อยู่พอสมควร
เพียงหนึ่งปีหลังจากเปิดตัวบน 3DO มันก็เปิดตัวบนคอมพิวเตอร์ PC อย่างไม่เป็นทางการ(เพราะไม่ได้โปรโมท) บางที 3DO อาจจะมองเห็นจุดจบของคอนโซลของตัวเองเลยนำเอาเกมนี้ที่เหมือนเกมเรือธงของเครื่อง 3DO ไปยังบ้านใหม่อย่างคอมพิวเตอร์ PC ทว่าน่าเสียดายที่ไม่มีใครสนใจที่จะเล่นเกมนี้บนคอมพิวเตอร์ PC สักเท่าไรแต่มันฆ่าเวลาได้เป็นอย่างดีเลยนะขอบอก
Genso Suikoden (1998)
ปิดท้ายกันด้วยหนึ่งในแฟรนไชส์เกม JRPG ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุค 90 (แทนยังพอร์ตมาสู่เวอร์ชันคอมพิวเตอร์ PC ก่อนที่จะไปลงเครื่อง Sega Saturn) อย่าง Genso Suikoden ซึ่งไม่เหมือนกับพอร์ตเกมคอนโซลส่วนใหญ่ในยุคนั้น เพราะ Konami ทุ่มเทความพยายามอย่างมากในการปรับเกมนี้ให้เข้ากับ Windows ไม่ว่าจะเป็น UI แบบเครื่องคอนโซลที่ถูกตัดออกแล้วแทนที่ด้วยเลย์เอาต์แบบหน้าต่างทั้งหมด (หากเป็นแบบทั่วไป) พร้อมการเล่นที่เป็นมิตรกับเมาส์แยกต่างหากสำหรับมุมมองเกม, บทสนทนา, สถิติตัวละครและช่องเก็บของ
ตามคลิปของช่อง YouTube Import Gaming FTW ในวิดีโอด้านบน มันไม่ได้ค่อนข้างสวยหรือฟังดูดีเท่ากับ PlayStation ต้นฉบับ แต่สำหรับช่วงเวลานั้น ตัวเกมถือว่าพอร์ตออกมาได้ดีอย่างน่าตกใจ น่าเศร้าที่เกมนี้ไม่เคยทำนอกประเทศญี่ปุ่น แต่พวกเราที่ต้องการเล่น Suikoden ให้ดีที่สุดก็ไม่ต้องรออีกต่อไป สองเกมแรกกำลังได้รับการรีมาสเตอร์ที่ดูสวยงามและกำลังจะมาถึง Steam โดยตรงในปี 2023 นี้
ที่มา : pcgamer