Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

แนะนำตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม ที่น่าซื้อมาใช้งาน อัปเดต 2022

ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม ยี่ห้อไหนดี น่าซื้อมาใช้งาน ราคาไม่แรง อัปเดต 2022

pocket wifi with SIM

อุปกรณ์เกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตอีกหนึ่งประเภทที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ตัวปล่อยตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม หรือเราเตอร์แบบใส่ซิมได้ ซึ่งเรียกว่าค่อนข้างเหมาะมาก โดยเฉพาะกับใครที่อาศัยอยู่ในหอพัก หรืออพาร์ทเมนต์ ที่ไม่สามารถติดตั้งอินเทอร์เน็ตไวไฟได้ แต่หากจะใช้ไวไฟของทางหอพักก็ไม่ทั่วถึง ตัวปล่อยตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ทีมงาน NotebookSPEC ก็อยากจะมาแนะนำตัวปล่อยสัญญาณ WiFi ที่น่าสนใจ สามารถหาซื้อได้ไม่ยาก และอยู่ในช่วงราคาที่ไม่แรง สามารถเอื้อมถึงได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบที่พกพาไปไหนมาไหนได้ และแบบที่ต้องเสียบไฟก่อนใช้งาน

  1. TP-LINK TL-MR100 4G LTE Router 300Mbps
  2. 4G Router 300 Mbps
  3. D-Link DWR-M920
  4. Tenda 4G06 4G N300 router
  5. AIS 4G Hi-Speed Home WiFi + SIM NET Marathon
  6. True Pocket WiFi Smart1 2021
  7. ZMI MF885 Pocket Wi-Fi
  8. Huawei E5576 Pocket WiFi 4G
  9. TP-Link M7350 4G Pocket WiFi

การเลือกซื้อเราเตอร์ไวไฟหรือตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบที่ใส่ซิมได้นั้น ในปัจจุบันมักรองรับเครือข่าย 3G/4G หรือบางเครื่องก็สามารถรองรับสัญญาณ 5G ได้ ซึ่งการเลือกซื้อนั้น

Advertisement
  • เราควรมองหาตัวปล่อยสัญญาณที่รองรับเครือข่ายสัญญาณได้หลากหลาย หากตัวปล่อยสัญญาณรองรับการเชื่อมต่อกับสาย LAN เพื่อกระจายสัยญาณ WiFi ได้ ก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีมากทีเดียว
  • ควรมีการรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้หลากหลายอุปกรณ์ ก็ทำให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างราบรื่นขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านการใส่ซิมการ์ดนั้น ทีมงานก็อยากแนะนำว่าใช้เป็นการส่วนตัวน่าจะดีที่สุด เนื่องด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรือแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตสำหรับเครือข่ายมือถือนั้น หากมีการใช้งานร่วมกันหลายๆ อุปกรณ์ ก็อาจทำให้ความเร็วลดลง และไม่เพียงพอกับการใช้งานได้

สำหรับอุปกรณ์ในการช่วยปล่อยสัญญาณไวไฟแบบใส่ซิม ที่ทีมงานได้นำมาแนะนำนั้น ก็จะอยู่ในช่วงราคาที่ยังเอื้อมถึงได้ สามารถรองรับสัญญาณจากหลายเครือข่าย รวมไปถึงสามารถใช้งานได้หลากหลายอุปกรณ์ และยังมี Pocket WiFi สำหรับการใช้งานนอกสถานที่ หรือพกพาไปไหนมาไหนได้ด้วย (ดูข้อมูลเพิ่มเติม การเลือกซื้อ Wireless Router)

ตัวปล่อยสัญญาณ Wi-Fiราคาสัญญาณความเร็วอินเทอร์เน็ตการรับประกัน
TP-LINK TL-MR100 4G LTE Router 300Mbps1,590 บาท– Wi-Fi N
– 3G/4G LTE
– ความเร็วสูงสุด 300 Mbps
– 3G/4G LTE ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดถึง 150 Mbps
3 ปี
4G Router 300 Mbps959 บาท– WiFi 6 (802.11ax), WiFi AC (802.11ac), WiFi N (802.11n)
– 4G ที่คลื่น 900 / 1800 / 2100 MHz
– ความเร็วสูงสุด 300 Mbps
– 4G LTE FDD ความเร็วสูงสุดที่ 150Mbps/50Mbps
3 ปี
D-Link DWR-M9201,750 บาท– WiFi 2.4 GHz
– 3G/4G
– ความเร็วสูงสุด 300Mbps
– 4G ความเร็วสูงสุดที่ 150 Mbps/50 Mbps
3 ปี
Tenda 4G06 4G N300 router1,679 บาท– WiFi 2.4 GHz
– 3G/4G LTE CAT4
– ความเร็วสูงสุด 300 Mbps
– 4G ความเร็วสูงสุด 150 Mbps/50 Mbps
5 ปี
AIS 4G Hi-Speed Home WiFi + SIM NET Marathon2,490 บาท– 4G LTE FDD บนคลื่น 900/1800/2100 MHz
– 3G บนคลื่น 900/2100 MHz
ดาวน์โหลดความเร็วสูงสุด AIS 4Gไม่ระบุ
True Pocket WiFi Smart1 20211,700 บาท– 4G LTE 2 CA(CAT6) บนคลื่น 700/900/1800/2100 MHz
– 3G UMTS 850/900/2100MHz
– 4G LTE ความเร็วสูงสุด 300 Mbps/50 Mbps
– 3G ความเร็วสูงสุด 42 Mbps/5.76 Mbps
12 เดือน
ZMI MF885 Pocket Wi-Fi2,799 บาท3G/4G FDD-LTE / TD-LTE / WCDMA / TD-SCDMA– ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps
– ความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps
1 ปี
Huawei E5576 Pocket WiFi 4G1,999 บาท– WLAN (IEEE 802.11a/b/g/n)
– LTE (FDD-800/900/1800/2100/2600Mhz)
– 4G / 3G / 2G
– ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps
– ความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps
3 เดือน
TP-Link M7350 4G Pocket WiFi3,590 บาท– WiFi 2.4 GHz
– 4G/LTE 800/900/1800/2100/2600
– 3G บนคลื่น 900/2100Mhz
– ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps
– ความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps
1 ปี

1. TP-LINK TL-MR100 4G LTE Router 300Mbps

เราเตอร์ใส่ซิม

ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิมได่ ตัวแรกที่เราจะมาแนะนำกันนั้นก็คือ TP-LINK TL-MR100 4G LTE Router ที่รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงสุด 300Mbps สามารถรองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้ทั้ง Wi-Fi N ซึ่งสามารถปล่อยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 150 Mbps มาพร้อม 10/100Mbps LAN Port 1 พอร์ต และ 10/100Mbps LAN/WAN Port อีก 1 พอร์ต รองรับการใส่ซิมเพื่อปล่อยสัญญาณ 3G/4G LTE ด้วย โดยให้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดถึง 150 Mbps เข้ากันได้ทั้งกับ FDD-LTE และ TDD-LTE ในการใส่ซิมการ์ดนั้น เราเตอร์ตัวนี้รองรับการใส่ซิมแบบ micro SIM เหมาะมากสำหรับการใช้งานในปัจจุบัน อีกทั้งตัวเราเตอร์ยังรับประกันถึง 3 ปีอีกด้วย

  • รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงสุด 300Mbps
  • รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต Wi-Fi N
  • มาพร้อม 10/100Mbps LAN Port จำนวน 1 พอร์ต และ 10/100Mbps LAN/WAN Port อีก 1 พอร์ต
  • รองรับการใส่ซิมเพื่อปล่อยสัญญาณ 3G/4G LTE ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps
  • เข้ากันได้ทั้งกับ FDD-LTE และ TDD-LTE
  • รับประกัน 3 ปี

ราคา: 1,590 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: SHOPEE


2. 4G Router 300 Mbps

w3

เราเตอร์ตัวต่อมาจะเป็นตัวปล่อยสัญญาณไวไฟที่สามารถรองรับการใส่ซิมการ์ดได้ โดยสามารถปล่อยสัญญาณ WiFi 6 (802.11ax), WiFi AC (802.11ac), WiFi N (802.11n) และ 4G ที่คลื่น 900 / 1800 / 2100 MHz ได้ และยังรองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต HSPA+ ความเร็วสูงสุดที่ 21Mbps/5.76Mbps, LTE FDD ความเร็วสูงสุดที่ 150Mbps/50Mbps ตัวเราเตอร์สามารถรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์พร้อมกันได้สูงสุดถึง 32 อุปกรณ์ มาพร้อมกับพอร์ต LAN จำนวน 2 พอร์ต ทำให้สามารถใช้งานได้ทั้งกับสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, Notebook รวมไปถึง PC ด้วย ตัวเราเตอร์นี้มาพร้อมการรับประกันถึง 3 ปีด้วย

  • รองรับการปล่อยสัญญาณ WiFi 6 (802.11ax), WiFi AC (802.11ac), WiFi N (802.11n) และ 4G
  • รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต HSPA+ ความเร็วสูงสุดที่ 21Mbps/5.76Mbps, LTE FDD ความเร็วสูงสุดที่ 150Mbps/50Mbps
  • รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์พร้อมกันได้สูงสุดถึง 32 อุปกรณ์
  • มาพร้อมพอร์ต LAN จำนวน 2 พอร์ต
  • รับประกัน 3 ปี

ราคา: 959 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: SHOPEE


3. D-Link DWR-M920

w5

สำหรับเราเตอร์แบบใส่ซิมได้ ตัวต่อมาที่อยากจะแนะนำก็คือ D-Link DWR-M920 โดยเราเตอร์ตัวนี้ รองรับการใส่ซิมการ์ดขนาดมาตรฐาน USIM สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกเครือข่าย รองรับอินเทอร์เน็ต 4G ความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50 Mbps และความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps มาพร้อมพอร์ต WAN จำนวน 1 พอร์ต, พอร์ต LAN จำนวน 3 พอร์ต มีเสาอากาศ 4 เสา (ไม่สามารถถอดออกได้) รองรับการปล่อยสัญญาณ WiFi สูงสุด อยู่ที่ 300Mbps บนคลื่น 2.4 GHz ตัวเราเตอร์ยังมีไฟแสดงสถานะ มีการเข้ารหัสความปลอดภัยของ Wi-Fi ตามมาตรฐาน WPA/WPA2 และรองรับการเชื่อมต่อ VPN Client แบบ PPTP / L2TPv2 / L2TPv3 ในส่วนของการใส่ซิมการ์ดนั้นก็ง่ายมากๆ เพียงแค่ใส่ซิมอินเทอร์เน็ต จากนั้นทำการเปิดเครื่อง ตัวเครื่องก็พร้อมใช้งานได้เลยในทันที สำหรับเราเตอร์ตัวนี้นั้นก็มีการรับประกันถึง 3 ปีเลยด้วย

  • รองรับการใส่ซิมการ์ดขนาดมาตรฐาน USIM ใช้งานได้ทุกเครือข่าย
  • รองรับอินเทอร์เน็ต 4G ความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50 Mbps และความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150 Mbps
  • รองรับการปล่อยสัญญาณ WiFi สูงสุด อยู่ที่ 300Mbps บนคลื่น 2.4 GHz
  • มีการเข้ารหัสความปลอดภัยของ Wi-Fi ตามมาตรฐาน WPA/WPA2 และรองรับการเชื่อมต่อ VPN Client แบบ PPTP / L2TPv2 / L2TPv3
  • รับประกัน 3 ปี

ราคา: 1,750 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: SHOPEE


4. Tenda 4G06 4G N300 router

w4

ตัวปล่อยสัญญาณไวไฟ Tenda 4G06 4G N300 router มาพร้อมกับการรองรับสัญญาณ WiFi ที่คลื่น 2.4 GHz โดยสามารถให้ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 300 Mbps และสามารถใส่ซิมได้ โดยรองรับสัญญาณ 4G LTE CAT4 รองรับความเร็วในการดาวน์โหลด 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลด 50Mbps ตัวเครื่องยังมีพอร์ต LAN 1 พอร์ต, พอร์ต LAN/WAN จำนวน 1 พอร์ต และพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ ข้อดีของเราเตอร์รุ่นนี้ก็คือ สามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์บ้านเพื่อโทรออกและรับสายผ่าน VoLTE ได้ด้วย ทั้งยังรองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้สูงถึง 32 อุปกรณ์เลยด้วย และยังรองรับการเชื่อมต่อ Broadband internet เพื่อทำ Failover อีกด้วย เรียกได้ว่าใช้งานได้ค่อนข้างหลากหลายมากทีเดียว

  • รองรับสัญญาณ WiFi ที่คลื่น 2.4 GHz ให้ความเร็วสูงสุดที่ 300 Mbps
  • รองรับสัญญาณ 4G LTE CAT4 รองรับความเร็วในการดาวน์โหลด 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลด 50Mbps
  • สามารถเชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์บ้านเพื่อโทรออกและรับสายผ่าน VoLTE ได้
  • รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้สูงถึง 32 อุปกรณ์
  • รองรับการเชื่อมต่อ Broadband internet เพื่อทำ Failover

ราคา: 1,679 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: SHOPEE


5. AIS 4G Hi-Speed Home WiFi + SIM NET Marathon

w6

ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม จากเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ค่ายใหญ่อย่าง AIS กันบ้าง โดยเราเตอร์ตัวนี้เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ใช้งาน สามารถปล่อยสัยญาณไวไฟหรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องทำการติดตั้ง รองรับการใส่ซิม 4G LTE FDD บนคลื่น 900/1800/2100 MHz และสัญญาณ 3G บนคลื่น 900/2100 MHz ตัวเครื่องมาพร้อมแบตเตอรี่ความจุ 2,000 mAh ทำให้สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ด้วย สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้สูงสุด 32 อุปกรณ์ ทั้งยังมาพร้อมกับพอร์ต LAN ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อย่างอื่นๆ อย่าง Notebook, PC ได้ด้วย สำหรับ AIS 4G Hi-Speed Home WiFi เครื่องนี้ เมื่อซื้อผ่านเว็บไซต์ AIS ก็จะมาพร้อมกับ SIM NET Marathon ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องยุ่งยากกับการหาซิมเน็ตมาใส่เลย ในส่วนของข้อจำกัดนั้น ตัวปล่อยสัญญาณไวไฟเครื่องนี้รองรับเฉพาะซิมอินเทอร์เน็ตในเครือข่ายของ AIS เท่านั้น

  • รองรับเฉพาะซิมอินเทอร์เน็ตในเครือข่ายของ AIS เท่านั้น
  • รองรับการใส่ซิม 4G LTE FDD บนคลื่น 900/1800/2100 MHz และสัญญาณ 3G บนคลื่น 900/2100 MHz
  • สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้สูงสุด 32 อุปกรณ์
  • แบตเตอรี่ความจุ 2,000 mAh
  • เมื่อซื้อผ่านเว็บไซต์ AIS จะมาพร้อมกับ SIM NET Marathon

ราคา: 2,490 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: AIS 4G Hi-Speed Home WiFi + SIM NET Marathon


6. True Pocket WiFi Smart1 2021

w7

แนะนำตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม ที่เป็นเราเตอร์กันไปแล้ว เรามาดูในส่วนของ ตัวปล่อยสัญญาณแบบ Pocket WiFi กันบ้าง โดยตัวนี้จะเป็น Pocket WiFi จาก TRUE โดยเครื่องนี้รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต 4G LTE 2 CA(CAT6) บนคลื่น 700/900/1800/2100 MHz มาพร้อมไฟแสดงสถานะบนตัวเครื่อง รองรับการเชื่อมต่อแบบ LTE ที่ความเร็วสูงสุด 300Mbps รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้สูงสุด 12 อุปกรณ์ มาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 2,000 mAh มีหน้าจอสำหรับแสดงสถานะต่างๆ สามารถใช้พกพาไปไหนมาไหนมาได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ไหนๆ ก็สามารถใช้งานได้ง่ายโดยไม่ต้องติดตั้ง เพียงแค่ใส่ซิมอินเทอร์เน็ตแล้วเปิดเครื่อง ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ในส่วนของข้อสังเกต สำหรับ Pocket WiFi เครื่องนี้ รองรับเฉพาะการใช้งานเครือข่าย True Move H เท่านั้น

  • รองรับเฉพาะการใช้งานเครือข่าย True Move H เท่านั้น
  • รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต 4G LTE 2 CA(CAT6) บนคลื่น 700/900/1800/2100 MHz
  • รองรับการเชื่อมต่อแบบ LTE ที่ความเร็วสูงสุด 300Mbps
  • รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ได้สูงสุด 12 อุปกรณ์
  • มาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 2,000 mAh

ราคา: 1,700 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: Truecorp


7. ZMI MF885 Pocket Wi-Fi

ตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม

ZMI MF885 Pocket Wi-Fi ทำหน้าที่เป็นทั้ง Power Bank และ Pocket WiFi ไปในตัว โดยในส่วนของพาวเวอร์แบงค์นั้น ตัวเครื่องมีความจุ 10,000 mAh รองรับ QC2.0 จ่ายไฟออกสูงสุดที่ 15 วัตต์ ในส่วนของการเป็นตัวปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต รองรับการใส่ซิมการ์ดแบบ Nano SIM Card รองรับคลื่น 3G/4G FDD-LTE / TD-LTE / WCDMA / TD-SCDMA ครอบคลุมย่านความถี่ 13 แห่งทั่วโลก มาพร้อมการป้องกันแบบ 9S circuit รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้พร้อมกันถึง 9 อุปกรณ์ ให้ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps ตัวเครื่องมาพร้อมพอร์ต USB สำหรับการชาร์จอุปกรณ์ต่างๆ ที่รองรับ ทั้งนี้ตัวเครื่องมีการรับประกัน 1 ปี

  • พาวเวอร์แบงค์ความจุ 10,000 mAh รองรับ QC2.0 จ่ายไฟสูงสุด 15W
  • รองรับการใส่ซิมการ์ดแบบ Nano SIM Card บนคลื่น 3G/4G FDD-LTE / TD-LTE / WCDMA / TD-SCDMA
  • ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps
  • รองรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้พร้อมกันถึง 9 อุปกรณ์
  • รับประกัน 1 ปี

ราคา: 2,799 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: SHOPEE


8. Huawei E5576 Pocket WiFi 4G

ww1

Pocket WiFi 4G จากแบรนด์ Huawei รุ่น E5576 เป็นตัวตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม ที่รองรับความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps สามารถใช้งานพร้อมกันได้สูงสุด 16 อุปกรณ์ โดยตัวปล่อยสัญญาณนั้นมีแบตเตอรี่ในตัวอยู่ที่ 1500 mAh สามารถใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่องได้ 4 – 5 ชั่วโมง ในส่วนของการรองรับสัญญาณนั้น รุ่นนี้ รองรับทั้ง WLAN (IEEE 802.11a/b/g/n), LTE (FDD-800/900/1800/2100/2600Mhz), 4G / 3G / 2G ฯลฯ สามารถใช้งานได้กับหลากหลายอุปกรณ์

  • รองรับสัญญาณทั้ง WLAN (IEEE 802.11a/b/g/n), LTE (FDD-800/900/1800/2100/2600Mhz), 4G / 3G / 2G ฯลฯ
  • รองรับความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุด 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลดสูงสุด 50Mbps
  • สามารถใช้งานพร้อมกันได้สูงสุด 16 อุปกรณ์
  • แบตเตอรี่ในตัว 1500 mAh สามารถใช้งานได้ยาวนาน 4 – 5 ชั่วโมง

ราคา: 1,999 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: SHOPEE


9. TP-Link M7350 4G Pocket WiFi

ww2

TP-Link M7350 4G Pocket WiFi เป็นตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม พกพา ที่สามารถไปด้วยได้ทุกที่ สามารถปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ได้ย่านความถี่ 2.4GHz รองรับสัญญาณ 4G/LTE 800/900/1800/2100/2600 โดยความเร็วดาวน์โหลดอยู่ที่ 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลดที่ 50Mbps, รองรับสัญญาณ 3G บนคลื่น 900/2100Mhz ที่ความเร็ว 42Mbps ตัวเครื่องมาพร้อมหน้าจอแสดงผลขนาด 1.4 นิ้ว นอกจากนี้ยังมาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 1800 mAh ที่สามารถใช้งานได้ยาวนานสูงสุดถึง 8 ชั่วโมง ได้รับการรับประกันจากทาง TP-LINK ประเทศไทยถึง 1 ปีเต็มเลยด้วย

  • ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ได้ย่านความถี่ 2.4GHz
  • รองรับสัญญาณ 4G/LTE 800/900/1800/2100/2600 โดยความเร็วดาวน์โหลดอยู่ที่ 150Mbps และความเร็วในการอัปโหลดที่ 50Mbps
  • รองรับสัญญาณ 3G บนคลื่น 900/2100Mhz ที่ความเร็ว 42Mbps
  • มาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 1800 mAh สามารถใช้งานได้ยาวนานสูงสุดถึง 8 ชั่วโมง

ราคา: 3,590 บาท

สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: Shopee


และทั้งหมดนี้ก็คือตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิม ที่ทีมงานได้นำมาแนะนำ มีทั้งเป็นเราเตอร์ที่รองรับการปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ต WiFi และ 4G ไปจนถึงตัวปล่อยสัญญาณ WiFi แบบใส่ซิมที่เป็น Pocket WiFi สามารถใช้งานได้ทั้งในและนอกสถานที่ แม้ในจุดที่ไม่มีไวไฟบริการ ช่วยอำนวยความสะดวกให้เราสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา สำหรับใครที่มองหาเราเตอร์ใส่ซิมหรือตัวปล่อยสัญญาณไวไฟที่น่าซื้อมาใช้งาน ราคาน่าคบหา ก็สามารถนำที่ทีมงานแนะนำไปใช้พิจารณาซื้อหามาใช้งานกันได้เลย


อ่านบทความเพิ่มเติม / เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เก็บสายไฟ โต๊ะคอม, วิธีเก็บสายไฟโต๊ะคอม
สายชาร์จ Type C
คีย์บอร์ด บลูทูธ
โต๊ะคอมพับได้ Shopee
เว็บอ่านการ์ตูนออนไลน์ฟรี
เปรียบเทียบ Apple Watch Series 7 vs 8
บีบไฟล์วิดีโอ ออนไลน์
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

รีวิว Asus

ASUS Vivobook S 15 S5507QA ความหวังใหม่ของคนทำงานด้วยพลัง Snapdragon X Elite และฟีเจอร์ครบเครื่อง! ถ้าพูดถึง Qualcomm ทุกคนย่อมคิดถึงชิปเซ็ตในสมาร์ทโฟนก่อน จนกระทั่งยักษ์แห่งวงการสมาร์ทโฟนจับมือกับเหล่ายักษ์แห่งวงการคอม ก็ได้เป็น ASUS Vivobook S 15 S5507QA โน๊ตบุ๊ค Copilot+ PC รุ่นแรกรับยุคแห่ง...

Accessories review

TP-Link TL-MR105 เราเตอร์ซิม 4G LTE ใช้ง่ายแค่ใส่ซิมก็พร้อมใช้! ในปัจจุบันแม้เราจะสามารถสมัครใช้บริการเน็ตบ้านความเร็วสูงได้ แต่คนที่อยู่หอพักหรือบ้านเช่าแล้วเจ้าของไม่อนุญาตให้ดัดแปลงอาคารก็ทำอะไรไม่ได้ TP-Link TL-MR105 เราเตอร์ 4G LTE ที่ออกแบบให้ใส่ซิมเน็ตก็เชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตได้ทันทีจึงเป็นตัวเลือกของชาวบ้านเช่าหอพักแน่นอน ข้อดีของเราเตอร์ตัวนี้ ทั้งจ่ายสัญญาณให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับมันได้มากสุด 32 เครื่อง ทั้งผ่าน Wi-Fi หรือต่อสาย LAN ก็ได้ รองรับความเร็วสูงสุดถึง...

Tips & Tricks

สอนเปลี่ยนรหัสไวไฟ AIS, True, 3BB, TOT, CAT เช็คคนแอบใช้ ทำได้เองในไม่กี่ขั้นตอน อัพเดท 2024 การเปลี่ยนรหัส Wi-Fi นั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราสามารถเข้าไปเปลี่ยนรหัสไวไฟได้ผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชันโดยที่เว็บไซต์นั้น ก็จะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการของเรา ทีมงาน NotebookSPEC ก็ได้รวบรวมวิธีการเปลี่ยนรหัสไวไฟของแต่ละค่ายที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านมาฝากกัน สามารถทำได้ผ่านขั้นตอนง่ายๆ ด้วยตัวเอง ทำได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนเลย วิธีเปลี่ยนรหัส...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก