Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

7 ไมค์คอมพิวเตอร์ตัวเด็ด เพื่อสตรีมเมอร์หรืออัด Podcast ก็แจ่มไม่แพ้กัน!

ไมค์คอมพิวเตอร์นับเป็นหัวใจของการทำคอนเทนต์ยุคนี้เลย แต่ตัวไหนเด็ดเรามาดูกัน!

mic cover

ไมค์คอมพิวเตอร์ยุคนี้เรียกว่าเป็นของจำเป็นสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในยุคปัจจุบันไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็นสายไลฟ์สตรีมเล่นเกมโชว์, อัด Podcast หรือจะโคฟเวอร์เพลงก็ตาม ถ้ามีไมโครโฟนดีๆ สักตัวก็เรียกว่าได้ชัยไปกว่าครึ่งแล้ว นั่นเพราะมันจะช่วยอัดเสียงพูดหรือร้องเพลงของเราได้ชัดเจนแล้วฟังชัดถ้อยชัดคำยิ่งขึ้น ทำให้คนที่เข้ามาเสพย์คอนเทนต์สามารถฟังเข้าใจสิ่งที่เราพูดได้ชัดเจนขึ้น

Advertisement

แต่เพราะแต่ละคนก็มีความต้องการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นถ้าจะซื้อไมค์มาใช้สักตัวก็ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วต่อคอมเลย เพราะว่าผู้ผลิตหลายแบรนด์ก็พากันใส่เทคโนโลยี, อินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อที่แตกต่างกันและลูกเล่นต่างๆ เข้าไปมากมายอีกด้วย ดังนั้นถ้าเราหาข้อมูลก่อนจะซื้อไมค์และเช็ครีวิวเพิ่มเติมสักหน่อย ก็จะทำให้เราเลือกไมค์ได้ตรงรูปแบบการใช้งานของเรายิ่งขึ้น

ไมค์คอมพิวเตอร์

ก่อนซื้อไมค์คอมพิวเตอร์ควรดูอะไรบ้าง?

ifwflcnjfcdaafmxl678

วิธีการอ่านสเปคของไมโครโฟนโดยหลักๆ แล้ว นอกจากเรื่องความถี่และพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้าคอมพิวเตอร์นั้น จะมีเรื่องรายละเอียดต่างๆ หลายอย่าง ไม่ว่าจะเรื่องค่าเดซิเบล (dB), แพตเทิร์นของทิศทางเสียง (Directional pattern), การตอบสนองความถี่ (Frequency response) ซึ่งโดยหลักๆ แล้วสำหรับไมค์คอมพิวเตอร์นั้นเมื่ออ่านสเปคจะมีจุดที่ต้องดูดังนี้

ค่าเดซิเบล (dB)

audio 5022542 1280

ค่าเดซิเบลนับเป็นการวัดความดังของการได้ยินเสียงของมนุษย์ โดยมีค่าการวัดที่แน่นอนและถ้าเกี่ยวกับไมโครโฟนก็จะมีการเขียนค่าเป็น 1 โวลต์ หรือ 0 dBV (ย่อมาจาก 0 dB re 1 Volt) ซึ่งเป็นค่าแน่นอนรวมทั้งเป็นการแสดงความไวของไมโครโฟนด้วย (microphone sensitivity)

ส่วนของความดังเสียงที่มนุษย์เริ่มได้ยินนั้นจะเริ่มที่ 1 dB ซึ่งเป็นเสียงที่เบาที่สุด, 3 dB เป็นระดับที่ได้ยินชัดเจน และไต่ระดับไปเรื่อยๆ และเสียงที่ดังที่สุดเท่าที่เราจะได้ยินในชีวิตจริงจะดังไม่เกิน 200 dB 

แพตเทิร์นของทิศทางเสียง (Directional pattern)

080620 how to read mic specs dirctional patterns 1170x660 1

เวลาเปิดดูหน้าสเปคของไมโครโฟน จะมีส่วนที่เขียนเรื่อง Directional อยู่ ซึ่งในส่วนนั้นเป็นรูปแบบของการรับเสียงว่าไมโครโฟนตัวนั้นรับเสียงในรูปแบบอย่างไรบ้าง โดยตรงกลางของวงกลมจะแทนหัวไมโครโฟนและเส้นสีคือทิศทางของการรับเสียง ซึ่งปัจจุบันจะมีทั้งหมด 6 แบบตามภาพตัวอย่างรูปแบบเสียงด้านบน แต่แพตเทิร์นที่เราจะเห็นกันโดยทั่วไปจะมีทั้งหมด 4 แบบด้วยกันคือ

  1. Omnidirectional – ไมโครโฟนแบบรับเสียงรอบทิศทาง พูดจากมุมไหนก็รับเสียงได้
  2. Cardioid – ไมโครโฟนแบบรับเสียงจากด้านหน้าและด้านข้าง แต่ไม่รับจากด้านหลัง
  3. Supercardioid – เหมือนกับ Cardioid แต่จะรับเสียงจากด้านหลังด้วยเล็กน้อย แต่ถ้าเสียงเข้าไมโครโฟนจากมุมราว 135 องศาจะไม่รับเสียงเลย
  4. Figure-of-eight – แปลตรงตัวว่าไมโครโฟนรับเสียงทรงเลข 8 โดยรับเสียงจากด้านหน้าและหลัง แต่ไม่รับจากด้านข้างเลย

ซึ่งนอกจากเรื่องแพตเทิร์นการรับเสียง ก็จะมีเรื่องรูปแบบการทำงานของตัวไดอะแฟรมรับเสียงของไมโครโฟนซึ่งเป็นเชิงลึก ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอในส่วนของทิศทางการรับเสียงที่เป็นเรื่องพื้นฐานสำหรับการเลือกซื้อไมโครโฟนมาต่อคอมเป็นหลักจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

การตอบสนองความถี่ (Frequency response)

080620 how to read mic specs frequency response 4006 diffuse 1170x363 1

การตอบสนองความถี่เป็นการแสดงค่าว่าตัวไมโครโฟนตัวนั้นๆ รับคลื่นความถี่เสียงที่เข้าตัวรับของไมโครโฟนที่ความถี่กี่ Hz ซึ่งโดยทั่วไปจะรับอยู่ที่ 20-20kHz และถ้าความถี่เกินจาก 20kHz เป็นต้นไป ตัวไมโครโฟนจะรับความถี่นั้นไม่ได้และทำให้ตัวรับของไมค์ไม่รับเสียงนั้นๆ

080620 how to read mic specs on and off axis 1170x520 1

และเรื่องการตอบสนองความถี่ก็จะมีผลกับองศาของเสียงที่ตรงเข้าตัวไมค์เช่นกัน ซึ่งองศาที่มีผลต่อความถี่เสียงที่ไมค์รับได้นั้นจะมี 0, 30, 60, 90 องศา ซึ่งจุดที่ไมโครโฟนรับความถี่ได้ดีที่สุดจะอยู่ที่ 0 องศา และค่อยๆ ลดหลั่นกันไปตามองศาที่เสียงเข้า โดยจากการวัดการตอบสนองความถี่เป็นกราฟแล้ว จะเป็นดังภาพด้านล่างนี้

080620 how to read mic specs frequency response 4011 1170x363 1

จากกราฟจะเห็นว่าเรื่ององศาเสียงเข้าไมโครโฟน นอกจากมีผลกับเรื่องการตอบสนองความถี่แล้ว ก็จะมีผลกับความดังของเสียงด้วย และเมื่อเสียงเข้าจากไมค์จากทิศทางหนึ่งตัวไดอะแฟรมรับเสียงของไมโครโฟนก็จะลดความดังของเสียงที่เข้ามาจากอีกองศาหนึ่งโดยปริยาย แต่องศาของเสียงเข้าไดอะแฟรมของไมโครโฟนจะไม่มีผลกับไมค์แบบ Omnidirectional เนื่องจากไมค์แบบนี้จะรับเสียงรอบ 360 องศา แตกต่างจากไมค์แบบอื่นๆ

อินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อ

สุดท้าย เรื่องอินเตอร์เฟสการเชื่อมต่อก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนตั้งคำถามอยู่เสมอ ว่าถ้าจะซื้อไมค์ใหม่มาต่อเข้ากับคอมสักตัวหนึ่ง จะเอาแบบต่อ USB-A หรือว่าเป็นช่องไมค์ 3.5 มม. จะดีกว่า? ซึ่งในจุดนี้ อินเตอร์เฟสทั้งสองแบบก็มีข้อดีแตกต่างกัน คือ

  • แจ็ค 3.5 มม. หรือแบบอนาล็อก – ราคาถูกกว่าและถ้ามีพรีแอมป์ไว้เชื่อมต่อก่อนต่อเข้าคอมพิวเตอร์ก็จะได้เสียงดียิ่งขึ้น หรือไม่ก็ต่อเข้ากับช่องไมโครโฟนบนเมนบอร์ดโดยตรงแล้วใช้ชิปเซ็ตเสียงบนตัวเมนบอร์ดก็ได้เช่นกัน
  • สาย USB – มักเป็นไมค์ที่รวมทั้งพรีแอมป์และชิปประมวลผลเสียงเอาไว้ในตัวและอาจจะมีลูกเล่นอื่นๆ อย่างต่อหูฟังเอาไว้มอนิเตอร์เสียงก็ได้ เน้นที่คุณภาพเสียงที่ดีที่สุดและใช้งานง่ายเพียงแค่ต่อพอร์ต USB ก็ใช้ได้เลย แต่ถ้าใครต้องการอัพเกรดคุณภาพเสียงให้ดียิ่งขึ้นก็ต่อทาง Digital interface แล้วเติมอุปกรณ์อื่นๆ ให้ได้เสียงที่ดีขึ้นก็ได้

แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งสองอินเตอร์เฟสนี้ก็มีจุดดีจุดเด่นแตกต่างกันไปตามการเลือกใช้งาน ซึ่งถ้าใครอยากได้ความง่ายแบบต่อแล้วใช้งานได้เลย ผู้เขียนก็เห็นว่าไมค์แบบ USB ก็เป็นตัวเลือกที่ดีมากแม้ราคาอาจจะสูงอยู่บ้างแต่ก็คุ้มค่าการลงทุนเช่นกัน ส่วนถ้าใครมีพรีแอมป์และอุปกรณ์ช่วยเพิ่มคุณภาพเสียงอื่นๆ ก็อาจจะเลือกไมค์แบบสายแจ็ค 3.5 มม. มาใช้งานก็ได้

headphone e1629790789993

 

แต่หลายๆ คนอาจจะติดใจว่าช่วงนี้ที่ WFH กันเป็นหลักเนื่องจากโรคระบาดไวรัส COVID-19 แล้วจำเป็นต้องซื้อไมโครโฟนดีๆ มาใช้งานขนาดนั้นเลยหรือเปล่า คำตอบส่วนตัวจากผู้เขียนคือ ไม่จำเป็นขนาดนั้น เนื่องจากเราสามารถใช้ไมโครโฟนของ Webcam, สายหูฟังของมือถือที่มีไมโครโฟนในตัว หรือจะซื้อเฮดโฟนแบบที่มีไมค์ในตัวมาใช้งานก็ได้ เพราะสุดท้ายเป้าหมายของไมโครโฟนตอนใช้ประชุมออนไลน์ คือเน้นเรื่องสื่อสารให้รู้เรื่องไม่ได้เน้นเรื่องเสียงที่ต้องชัดเจนหรือคมกริบระดับที่เอาไปอัดเพลงหรือ Podcast แต่ถ้าใครมีแผนทำ Podcast หรืองานที่ต้องการไมโครโฟนเสียงคุณภาพสูงในอนาคต จะลงทุนรอเอาไว้ก็คุ้มค่าเหมือนกัน

7 ไมค์คอมพิวเตอร์รุ่นเด็ดน่าใช้ หลักพันก็ได้ของเทพไปเล่น!

สำหรับคนที่ตัดสินใจได้แล้ว ว่าจะหาไมค์คอมพิวเตอร์ดีๆ เอาไว้ใช้สักอัน ไม่ว่าจะเพราะเอาไว้ไลฟ์สตรีมเกม, อัด Podcast, โคฟเวอร์เพลงก็ตาม ปัจจุบันนี้เราสามารถหาซื้อไมโครโฟนคุณภาพดีได้ง่ายและราคาก็ไม่แพงมากแล้ว โดยทั้ง 7 รุ่นที่ผู้เขียนเลือกมาแนะนำได้แก่

  1. FANTECH Leviosa MCX01 (1,290 บาท)
  2. Razer Seiren Mini (1,590 บาท)
  3. HyperX SoloCast (1,990 บาท)
  4. BOYA BY-PM500 (2,490 บาท)
  5. Audio-Technica ATR2500X-USB (3,790 บาท)
  6. Rode NT-USB (3,900 บาท)
  7. Bluet Yeti (6,590 บาท)
1. FANTECH Leviosa MCX01 (1,290 บาท)

mcx01

หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นแบรนด์ FANTECH ผ่านตากันไปไม่มากก็น้อย ซึ่ง FANTECH Leviosa MCX01 นั้นเป็นไมค์แบบคอนเดนเซอร์ที่ผู้ผลิตเน้นออกแบบมาเพื่อสายไลฟ์สตรีมหรือคนที่ต้องการอัด Podcast สามารถเลือกซื้อไปใช้งานได้และราคาไม่แพงมาก มีไฟ RGB และตัวปรับเสียงพร้อสวิตช์ที่ตัวไมค์และมีช่องเสียบหูฟังสำหรับ Monitor เสียงได้ด้วย โดยคุณภาพเสียงที่ผู้เขียนได้ยินและทดสอบมาก่อนหน้านี้ ต้องถือว่าได้เสียงที่เคลียร์และฟังชัดเจน

สำหรับสเปคของตัวไมค์จะตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit ความเซนซิทีฟเสียง -38dB±3dB รูปแบบรับเสียงเป็น Cardioid เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ได้โดยตรงจึงเชื่อมต่อกับพีซีหรือคอนโซลก็ได้ รวมทั้งในกล่องสินค้าก็มี POP Filter หรือตาข่ายกันหน้าไมค์และขาตั้ง Tripod แถมมาให้พร้อมใช้งานอีกด้วย

สเปคของ FANTECH Leviosa MCX01
  • ตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit
  • ความเซนซิทีฟเสียง -38dB±3dB รูปแบบรับเสียงเป็น Cardioid
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB มี POP Filter และขาตั้ง Tripod แถมมาให้
  • ราคา 1,290 บาท (Gadget Villa Shopee)
2. Razer Seiren Mini (1,590 บาท)

razer

ด้านแบรนด์เกมมิ่งเกียร์ก็มีไมค์สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกัน โดยแบรนด์แรกที่คุ้นตาใครหลายๆ คนอย่าง Razer ก็มี Razer Siren Mini ที่ดีไซน์เรียบง่าย ติดขาตั้งพร้อมให้ปรับไมค์ให้ได้องศาพร้อมใช้พูด, ติด Shockmount ลดแรงสั่นสะเทือนที่มาจากพื้นหรืออากาศและเชื่อมต่อได้ง่ายผ่านทางพอร์ต USB เพียงแค่ต่อปลั๊กแล้วใช้งานได้เลย

ด้านสเปคของ Razer Siren Mini จะตอบสนองความถี่ที่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit รูปแบบการรับเสียงเป็น Supercardioid หรือแบบรับด้านหน้าและข้างเป็นหลัก มีด้านหลังบ้างเล็กน้อย โดยตัวไมค์นั้นสามารถแกะกล่องแล้วตั้งโต๊ะต่อ USB แล้วใช้งานได้เลย รวมทั้งในตัวไมค์มีฟีเจอร์ลดเสียงรบกวน ไม่ให้เสียงคลิกเมาส์หรือคีย์บอร์ดลอดเข้าไมค์

สเปคของ Razer Siren Mini
  • ตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit
  • รูปแบบรับเสียงเป็น Supercardioid
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB มี Shockmount ในตัว ดีไซน์แบบมีขาตั้งวางโต๊ะใช้งานได้เลย มีฟีเจอร์ลดเสียงรบกวนในตัวด้วย
  • ราคา 1,590 บาท (Lazada)
3. HyperX SoloCast (1,990 บาท)

hx features mic solocast

ไมค์คอมพิวเตอร์สำหรับเกมเมอร์อีกรุ่นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เป็น HyperX SoloCast ที่เชื่อมต่อได้ง่าย ใช้งานได้ทั้ง Windows, macOS, PS4, PS5 ได้ทั้งหมด โดยในแพ็คเกจจะมีขาตั้งแบบตั้งโต๊ะมาให้วางไมค์เป็นแนวตั้งหรือหันหัวไมค์เข้าตัวก็ได้ และมีช่องน็อตท้ายไมค์ให้ต่อกับแขนล็อคไมค์ให้เข้ากับสไตล์การแต่งโต๊ะของเราได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีปุ่ม Mute อยู่ท้ายไมค์ให้ใช้กดตัดเสียงเวลาไม่ต้องการและมีไฟ LED แสดงสถานะติดมาด้วย

สเปคของ HyperX SoloCast มีแพตเทิร์นรับเสียงแบบ Cardioid ตอบสนองคลื่นความถี่ 20-20kHz ได้ ความเซนซิทีฟเสียง -6dBFS ค่า Bit Rate 16-bit เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ซึ่งไมค์ตัวนี้ทาง HyperX นั้นออกแบบมาเจาะจงสำหรับสตรีมเมอร์และได้รับการทดสอบและการันตีด้วย Discord รวมทั้งโปรแกรมไลฟ์สตรีมชื่อดังอย่าง OBS, XSplit, Streamlabs OBS ฯลฯ ทั้งหมดแล้ว ดังนั้นถ้าใครเน้นไลฟ์เกมล่ะก็ ไมค์ตัวนี้ถือว่าน่าสนใจมากรุ่นหนึ่ง

สเปคของ HyperX SoloCast
  • ตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit
  • ความเซนซิทีฟเสียง -6dBFS รูปแบบรับเสียงเป็น Cardioid
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB แถมขาตั้งสำหรับตั้งโต๊ะแล้วปรับไมค์แนวตั้งหรือหันหัวไมค์เข้าตัวก็ได้ รวมทั้งมีช่องร้อยน็อตต่อขาตั้งล็อคไมค์ได้ มีปุ่ม Mute ปิดเสียงท้ายไมค์
  • ราคา 1,990 บาท (HyperX Official Shop Shopee)
4. BOYA BY-PM500 (2,490 บาท)

1604050001

ถ้าใครทำ YouTube แล้วอัดทั้ง Podcast และไลฟ์สตรีมเกม เน้นหาไมค์ดีๆ เอาไว้ใช้งานสักตัวล่ะก็ BOYA BY-PM500 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเพราะตัวไมค์มีช่องเสียบหูฟังเอาไว้ Monitor เสียงพูดของเราได้, มีตัวปรับความดังของเสียงและเชื่อมต่อด้วยพอร์ต USB-C ได้แล้ว นอกจากนี้ยังได้ประกันการใช้งานยาว 2 ปีเต็มๆ อีกด้วย

สเปคของไมค์ตัวนี้ตอบสนองความถี่ 20-20kHz มีแพตเทิร์นรับเสียง 2 แบบ ปรับได้ทั้ง Cardioid หรือ Omnidirectional ก็ได้แค่กดสวิตช์ที่ตัวไมค์เท่านั้น ความเซนซิทีฟเสียงที่ -36dB ค่า Bit-Rate สูง 24-bit ซึ่งทำให้คุณภาพเสียงที่ได้ทำได้ดีกว่าไมค์รุ่นอื่นๆ ส่วนการเชื่อมต่อรองรับผ่านทาง USB-C ได้เลย ซึ่งถ้าใครเป็นสายอัดคลิปหรือสัมภาษณ์ จัดรายการใน Clubhouse, Twitter Spaces รวมไปถึงสายร้องเพลงด้วยล่ะก็ BOYA ตัวนี้ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากรุ่นหนึ่งเช่นกัน

สเปคของ BOYA BY-PM500
  • ตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 24-bit
  • ความเซนซิทีฟเสียง -36dB รูปแบบรับเสียงปรับได้ 2 แบบทั้ง Cardioid หรือ Omnidirectional ก็ได้ โดยกดสวิตช์ปรับเสียงที่ไมค์
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB-C เป็นไมค์แบบตั้งโต๊ะติดขาตั้งมาให้ในตัว มีช่องหูฟัง 3.5 เป็นช่อง Monitor สำหรับฟังเสียงพูดที่พูดเข้าไมค์ได้ด้วย
  • ราคา 2,490 บาท (BOYA Thailand)
5. Audio-Technica ATR2500X-USB (3,790 บาท)

atr2500x usb 01 e1629771816306

นอกจากหูฟังแล้ว audio-technica ATR2500x-USB เองก็เป็นไมค์ต่อแยกสเปคเด็ดตัวหนึ่งที่ถ้าใครหาไมค์คอมพิวเตอร์ไว้อัด Podcast, โคฟเวอร์เพลงหรืออัดเสียงพากย์ต่างๆ เรียกว่าเหมาะเป็นอย่างมาก สามารถปรับเสียงดังหรือเบาได้ที่ตัวไมค์แบบปุ่มกดรวมทั้งมีช่องต่อหูฟังเอาไว้เป็น Monitor ได้ รวมทั้งตัวไมค์ออกแบบมาให้ต่อกับแขนล็อคไมค์ได้เลย

สเปคของไมค์ตัวนี้จะตอบสนองความถี่ 30-15,000 Hz แพตเทิร์นเสียงเป็นแบบ Cardioid ค่า Bit Rate 24-bit ระดับสตูดิโอ เชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB-C ได้ ที่ตัวไมค์มีช่องหูฟัง 3.5 มม. ซึ่งไมค์ตัวนี้ถือว่าเหมาะกับการร้องเพลงหรืออัด Podcast มากหรือจะสตรีมเกมก็จะได้เสียงคมขึ้น และในกล่องก็มีขาตั้ง 3 ขาและมีตัวจับไมค์แถมมาให้รวมทั้งสาย USB-C to C กับ USB-C to A แถมมาให้ใช้งานด้วย 

สเปคของ audio-technica ATR2500x-USB
  • ตอบสนองความถี่ 30-15,000 Hz ค่า Bit Rate 24-bit
  • รูปแบบรับเสียงเป็น Cardioid
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB-C แถมขาตั้งโต๊ะมาให้ในกล่อง มีช่องหูฟัง 3.5 เป็นช่อง Monitor สำหรับฟังเสียงพูดที่พูดเข้าไมค์ได้ด้วย ส่วนในกล่องมีขาตั้ง 3 ขาและมีตัวจับไมค์แถมมาให้ใช้งาน
  • ราคา 3,790 บาท (Mercular)
6. Rode NT-USB (3,900 บาท)

2 2

ชื่อชั้นไมค์ของ Rode นั้นเรียกว่าเหมาะกับสายร้องเพลงหรืออัดเสียงทำ Podcast โดยเฉพาะเลยทีเดียว โดยตัว Rode NT-USB ตัวนี้ใช้กับแอพฯ อัดเสียงต่างๆ ใน Windows, macOS ได้แทบทั้งหมดที่รองรับไมค์ต่อแยกภายนอก รวมทั้งมีขาตั้งไมค์และ POP Filter ตาข่ายกันเสียงลมรบกวนแถมมาให้ในแพ็คเกจอีกด้วย

สเปคของตัวไมค์ตอบสนองความถี่ที่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit แพตเทิร์นการรับเสียงเป็น Cardioid รองรับการเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB ที่แถมมาให้ในตัว และที่ตัวมีช่องหูฟัง 3.5 มม. เอาไว้ Monitor เสียงเวลาพูดได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีถุงผ้าสำหรับใส่ไมค์แถมมาให้กรณีต้องการพกไมค์ไปอัดเสียงที่อื่นก็ทำได้อีกด้วย ซึ่งถ้าใครเป็นสายโคฟเวอร์เพลงแล้วมีงบประมาณสักหน่อย ก็แนะนำให้ดูไมค์ Rode ตัวนี้เอาไว้ได้เลย

สเปคของ Rode NT-USB
  • ตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit
  • รูปแบบรับเสียงเป็น Cardioid
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB เป็นไมค์แบบแถมขาตั้งและถุงผ้ามาให้ในตัว มีช่องหูฟัง 3.5 เป็นช่อง Monitor สำหรับฟังเสียงพูด ใช้กับแอพฯ ที่รับไมค์แยกได้
  • ราคา 3,900 บาท (Big Camera Official Shopee)
7. Bluet Yeti (6,590 บาท)

yeti microphone

รุ่นสุดท้ายเป็นไมค์สำหรับครีเอเตอร์ที่เลื่องชื่อมานาน ระดับที่ถ้ามีงบพร้อมซื้อก็แนะนำให้ซื้อมาใช้ได้เลยกับ Blue Yeti ที่เป็นไมค์ทรงแนวตั้งรับเสียงจากด้านข้าง ซึ่งทางผู้ผลิตก็แนะนำการใช้งานเอาไว้ว่าให้วางไมค์แนวตั้ง ไม่ควรเบนหัวไมค์เข้าหาตัวเราจะได้เสียงที่ดีที่สุด และแม้ไมค์คอมพิวเตอร์ตัวนี้จะราคาสูงสุดในกลุ่มแต่ก็ลูกเล่นเยอะมากเช่นกัน

สเปคของไมค์นี้ตอบสนองความถี่เสียงที่ 20-20kHz เช่นกัน มีค่า Bit Rate 16-bit แพตเทิร์นรับเสียงปรับได้ 4 แบบ คือ Cardioid, Bidirectional, Omnidirectional, Stereo เรียกว่ารองรับการอัดเสียงทุกรูปแบบทั้งทำ Podcast, ร้องเพลง, ไลฟ์สตรีมเกมก็ใช้งานได้ทั้งหมด รองรับการเชื่อมต่อผ่านทาง USB และมีช่องหูฟัง 3.5 มม. เอาไว้ Monitor เสียงพูดได้ ที่ตัวไมค์มีปุ่ม Mute ปิดเสียงและลูกบิด Gain เอาไว้ปรับเสียงและลูกบิดเปลี่ยนแพตเทิร์นรับเสียงได้ รองรับระบบปฏิบัติการ Windows 10 หรือ macOS 10.13 ขึ้นไป ซึ่งแม้ Blue Yeti จะราคาแพงสักหน่อยก็ตาม แต่ความคุ้มค่าเรียกว่าจัดเต็มรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว

สเปคของ blue Yeti
  • ตอบสนองความถี่ 20-20kHz ค่า Bit Rate 16-bit
  • รูปแบบรับเสียง 4 แบบ ได้แก่ Cardioid, Bidirectional, Omnidirectional, Stereo มีลูกบิดเปลี่ยนแบบเสียงได้ที่ไมค์
  • เชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB เป็นไมค์แบบติดขาตั้งมาให้ มีช่องหูฟัง 3.5 เป็นช่อง Monitor ที่ตัวไมค์มีลูกบิดปรับ Gain ติดมาให้
  • ราคา 6,590 บาท (Mercular)

สรุปสเปคไมค์คอมพิวเตอร์ทั้ง 7 รุ่น ตัวไหนเด็ดตัวไหนน่าโดน

สำหรับไมค์คอมพิวเตอร์สักตัวนั้นเรียกว่ามีเรทราคาตั้งแต่พันต้นไปจนครึ่งหมื่นให้เลือกซื้อได้ตามการใช้งานของเรา และมีแพตเทิร์นเสียงและรูปแบบการเชื่อมต่อแตกต่างกันไปตามที่ผู้ผลิตออกแบบมาให้ใช้งาน โดยสรุปสเปคแล้วจะได้ดังนี้

สเปคของไมค์คอมพิวเตอร์ ความถี่ที่ตอบสนองและ Bit Rate รูปแบบรับเสียง การเชื่อมต่อ ราคา
FANTECH Leviosa MCX01 20-20kHz

Bit Rate 16-bit
Cardioid

ความเซนซิทีฟเสียง -38dB±3dB
USB

มี POP Filter และ Tripod แถมมาให้
1,290 บาท
Razer Siren Mini 20-20kHz

Bit Rate 16-bit
Supercardioid USB

มี Shockmount ติดมาให้

ดีไซน์รวมกับขาตั้งวางโต๊ะใช้งานได้เลย
1,590 บาท
HyperX SoloCast 20-20kHz

Bit Rate 16-bit
Cardioid

ความเซนซิทีฟเสียง -6dBFS
USB

แถมขาตั้งโต๊ะมาให้ หมุนไมค์เข้าหาตัวได้

ที่ไมค์มีปุ่ม Mute
1,990 บาท
BOYA BY-PM500 20-20kHz

Bit Rate 24-bit
Cardioid หรือ Omnidirectional

ความเซนซิทีฟเสียง -36dB
USB-C

ไมค์แบบติดขาตั้งโต๊ะ

มีช่องหูฟัง 3.5 มม. ใช้ Monitor เสียงพูดได้
2,490 บาท
audio-technica ATR2500x-USB 30-15,000 Hz

Bit Rate 24-bit
Cardioid USB-C

แถมขาตั้งโต๊ะ 3 ขากับตัวจับไมค์แถมให้

ที่ตัวไมค์มีช่องหูฟัง 3.5 มม. ใช้ Monitor เสียงพูดได้
3,790 บาท
Rode NT-USB 20-20kHz

Bit Rate 16-bit
Cardioid USB

แถมขาตั้งโต๊ะและถุงผ้ามาให้ ใช้กับแอพฯ ที่รองรับไมค์แยกได้

มีข่องหูฟัง 3.5 มม. ใช้ Monitor เสียงพูดได้
3,900 บาท
Blue Yeti 20-20kHz

Bit Rate 16-bit
Cardioid

Bidirectional

Omnidirectional

Stereo

มีลูกบิดเปลี่ยนโหมดของไมค์ได้
USB

ไมค์แบบติดขาตั้งโต๊ะ

มีช่องหูฟัง 3.5 มม. ใช้ Monitor เสียงพูดได้

มีลูกบิดปรับ Gain
6,590 บาท

แต่สุดท้ายแล้วถึงไมค์คอมพิวเตอร์ตัวแพงจะมีสเปคดีน่าสนใจแค่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ได้แปลว่าต้องจ่ายแพงเสมอไป นั่นเพราะการใช้งานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ซึ่งบางคนที่เน้นเรื่องไลฟ์สตรีมเป็นหลักอาจจะซื้อไมค์ตัวละพันต้นๆ แบบ Cardioid มาใช้ก็เพียงพอแล้ว แต่บางคนที่ต้องการใช้อัด Podcast หรือโคฟเวอร์เพลงก็อาจจะลงทุนซื้อตัวที่ดีกว่าเพื่อให้ตัวคอนเดนเซอร์มีคุณภาพดียิ่งขึ้นก็ได้

สุดท้ายแล้วการซื้อสินค้าสักชิ้นมาใช้งาน ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของเราเป็นหลักว่าต้องการอะไร เมื่อรู้ความต้องการ เช็คสเปคและฟีเจอร์เด่นๆ ของไมค์คอมพิวเตอร์ตัวนั้นให้มั่นใจว่าตัวนี้ตอบโจทย์ก็ค่อยเลือกซื้อมาก็ได้ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาขายมือสองแล้วซื้อตัวใหม่นั่นเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง

bt true cover

extended monitor cover

hdmi cover

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Gaming Gear

หลังจาก Mechanical Keyboard กลายเป็นเกมมิ่งคีย์บอร์ดยอดนิยมของเกมเมอร์ส่วนใหญ่ไปแล้ว ในตอนนี้ Magnetic Switch คีย์บอร์ดก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่เกมเมอร์สาย FPS มากขึ้นเรื่อยๆ เพราะควบคุมตัวละครได้รวดเร็ว ขยับตัวละครหลบไปมาได้ว่องไวด้วยฟีเจอร์ใหม่อย่าง Snap Tap โดยเฉพาะจังหวะหลบอยู่มุมตึกแล้วขยับตัวออกมาเล็กน้อยเพื่อยิงฉวยจังหวะ ทำให้ผู้พัฒนาเกมบางเกมต้องแบนฟีเจอร์ทิ้งเพื่อความยุติธรรมของเกมเมอร์ทุกคนไปโดยปริยาย หลักการทำงานของสวิตช์แม่เหล็กจะต่างจากสวิตช์ทั่วไปตรงที่ไม่ต้องปล่อยให้ปุ่มคีย์บอร์ดถอยกลับไปจนสุดให้เข้าระยะ Reset การทำงานของปุ่ม แต่ปล่อยออกมาส่วนเดียวแล้วกดปุ่มสวนกลับไปให้ทำงานได้ทันที ปรับระยะกดแล้วทำงาน (Actuation Point) ให้ตื้นขึ้นหรือลึกลงไปได้ตามแต่ถนัด...

Buyer's Guide

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าตอนนี้เกมมือถือก็ได้รับความนิยมมากไม่แพ้แพลตฟอร์มอื่น แถมยังเล่นได้สะดวกทุกที่ทุกเวลา ยิ่งถ้ามีถุงนิ้วเล่นเกมเอาไว้สวมนิ้วหัวแม่มือสักนิดไม่ให้หน้าจอเปื้อนความมันจากนิ้วแล้วรูดจอได้สะดวกขึ้น ก็เล่นเกมยิงอย่าง PUBG หรือ Call of Duty Mobile ได้ง่าย ถ้ารักเกม RPG อย่าง Genshin Impact ก็เล่นได้อย่างเพลิดเพลินแล้ว แถมราคาก็ไม่แพงแค่หลักสิบถึงร้อยบาทเท่านั้นแต่เพิ่มอรรถรสเวลาเล่นเกมได้หลายเท่าไม่พอ ยังลดรอยนิ้วมือติดบนหน้าจอไม่ต้องมานั่งเช็ดทำความสะอาดภายหลังได้อีกด้วย ว่าด้วยถุงนิ้วเล่นเกมมือถือ ซื้อมาใช้จะดีไหม? ถุงนิ้วสำหรับเล่นเกมดีไซน์ให้ขนาดพอสวมนิ้วหัวแม่มือพอดี ทำให้รูดหน้าจอมือถือได้ลื่นขึ้นแล้วความมันจากนิ้วไม่ติดหน้าจอ ดีไซน์ของถุงนิ้วจะมีทั้งแบบเป็นปลอกสวมนิ้วหัวแม่มือหรือเป็นถุงมือสวมถึงข้อมือให้เลือกตามสะดวก...

Accessories review

HyperX Pulsefire Haste 2 Core และ HyperX Pulsefire Haste 2 Mini รุ่นใหม่ 2 ไซซ์ จับง่ายเข้ามือ น้ำหนักอย่างเบา 59 กรัม! HyperX Pulsefire Haste 2 Core และ...

Buyer's Guide

เกมมิ่งเกียร์นอกจากเมาส์และคีย์บอร์ดจะจำเป็นแล้ว จอยเกมก็สำคัญไม่แพ้กันโดยเฉพาะคนรักเกม RPG ยิ่งต้องมีติดโต๊ะเอาไว้สักอันให้ควบคุมตัวละครได้ง่ายทันใจ ถ้าใช้ได้ถนัดมือแล้วก็แทบจะเลี่ยงอุปกรณ์ชิ้นนี้ไม่ได้เลย เพราะผู้เล่นสามารถคุมทุกคำสั่งได้ด้วยปลายนิ้วเพียงรู้ว่าต้องกดปุ่มอย่างไรก็พอ ไม่ต้องขยับนิ้วออกไปไกลเกินปลายมือเอื้อมเหมือนกดปุ่มคีย์บอร์ด และปัจจุบันนี้จอยเกมราคาก็ไม่แพงมากแล้ว เพียงหลักร้อยบาทก็ซื้อมาติดโต๊ะไว้ได้ แถมจอยยุคใหม่นอกจากใช้ควบคุมตัวละครในเกมแล้วก็ยังใส่ลูกเล่นต่างๆ เข้ามาให้เกมเมอร์ได้กดใช้และตั้งค่าผ่านซอฟท์แวร์เฉพาะได้อีกด้วย เรื่องน่ารู้ว่าด้วยจอยเกม จะซื้อต้องรู้อะไรบ้าง? Windows 10/11 จะมีไดรเวอร์สำหรับจอย Xbox ติดตั้งมาให้ ใช้งานแบบ Plug&Play ได้ทันที ปุ่ม A, B,...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก