Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook News

OC การโอเวอร์คล็อกคืออะไร และมันช่วยให้พีซีมันแรงขึ้นจริงเหรอ

ผู้ใช้พีซีมือใหม่หลายท่านน่าจะเคยได้ยินคำว่า OC หรือโอเวอร์คล็อกกันมาบ้างแล้ว หลายท่านรู้ว่าคืออะไร หลายท่านไม่รู้ว่ามันคืออะไร วันนี้ทีมงาน NBS จะขอแนะนำว่าการโอเวอร์คล็อก คืออะไร แล้วมันช่วยให้พีซีแรงจริงเหรอ มีปัจจัยอะไรยังไงบ้าง ไปหาคำตอบกัน

Intel overclock plg skylake 1

Advertisement

การ OC หรือการโอเวอร์คล็อกคือการปรับให้เครื่องของเราทำงานเร็วขึ้นกว่าสเปคที่ระบุมา โดยเพิ่มความเร็วซีพียู หรือความเร็วการจอ ไปจนถึงอุปกรณ์อื่นๆให้เร็วมากกว่าสเปคที่ระบุไว้ เช่นซีพียูตามสเปคจะวิ่งอยู่ที่ 4.0 GHz ก็เพิ่มความเร็วเป็น 4.2 4.3 GHz โดยการปรับแต่งผ่าน Bios หรือซอฟแวร์ต่างๆ ไปจนถึงการปรับแต่งระดับฮาร์ดแวร์

โอเวอร์คล็อก (OC) ไปเพื่อ

การโอเวอร์คล็อกจะทำให้เครื่องเราทำงานเกินสเปคที่ระบุมา แสดงว่าเราจะทำงานได้เร็วขึ้น เล่นเกมได้ลื่นขึ้น บางครั้งการโอเวอร์คล็อกคลีอคก็เพื่อทำสถิติโลก เพื่อการแข่งกัน ในโอเวอร์คล็อกได้มากกว่ากันชนะ บางคนอยากเล่นเกมลื่นขึ้นโดยที่ไม่มีงบประมาณอัพเกรทเครื่อง การโอเวอร์คล๊อคก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเหมือนกัน แต่

การโอเวอร์คล็อก ก็มีข้อเสียที่มองข้ามไปไม่ได้

เมื่ออุปกรณ์ต่างๆได้รับการโอเวอร์คล็อก ก็เหมือนการทำงานที่เกินสเปค ทำให้มีความร้อนสูงมากกว่า รวมไปถึงการเสื่อมของอุปกรณืที่รวดเร็วกว่าการใช้งานปรกติ นักโอเวอร์คล็อกจึงต้องมีพวกชุดระบายความร้อนพิเศษเพื่อให้เครื่องยังทำงานได้ปรกติ เช่น LN2 หรือชุดน้ำต่างๆ และบางแบรนด์ความเสียหายจากการโอเวอร์คล็อกเช่นไหม้ หรือเกิดความเสียหายอื่นๆ ไม่รับประกันด้วยนะครับ

local733

แล้วผู้ใช้ทั่วไปควรโอเวอร์คล็อกไหม

ส่วนตัวถ้าโอเวอร์คล็อก แค่ลองวิชาชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ได้โอเวอรคลีอคทิ้งไว้เลย ผมว่าลองดูได้ เพราะเมนบอร์ดเกือบทุกตัวมีฟังค์ชั่นให้สามารถโอเวอร์คล็อกได้อย่างง่ายๆ ไม่ส่งผลต่อฮาร์ดแวร์ โดยเฉพาะพวกเมนบอร์ดระดับท๊อปเช่น Intel Z490 หรือ AMD X570 พวกนี้มีฟังค์ชั่นรองรับการโอเวอร์คล็อกที่จัดเต็มกว่าเมนบอร์ดรุ่นล่าง (เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีราคาแพงกว่าด้วย)

ปัจจัยที่ช่วยให้การโอเวอร์คล็อกได้ดี

1.ฮาร์ดแวร์

ฮาร์ดแวณ์ หรืออุปกรณ์ถือเป็นสิ่งแรกที่ต้องมองหาก่อนเลยถ้าต้องการให้โอเวอร์คล็อกได้ดี เพราะนอกจากเมนบอร์ดที่รองรับแล้ว ก็ยังมีในส่วนของซีพียูที่ควรจะเป็นรหัส K หรือ X ของแต่ละค่าย และอาจจะไปถึงการเลื่อนล๊อตผลิตกันเพราะบางล๊อคสามารถโอเวอร์คล็อกไปได้ไกลกว่าก็มี นอกจากนั้นก็ยังมีแรมที่ต้องเป็นบัสสูงๆรองรับการโอเวอร์คล็อกด้วย

2.ภาคจ่ายไฟ

การโอเวอร์คล็อกหลายครั้งต้องมีการปรับแรงดันไฟด้วย เพราะฉะนั้นภาคไฟจึงเข้ามามีบทบาท ตั้งแต่ภายใจ่ายไฟบนเมนบอรืดที่มักจะโฆษณากันว่ามี 10 เฟส 20 เฟส ที่มีประโยชน์นอกจากจ่ายไฟให้เสถียรแล้วยังออกแบบมาเพื่อรองรับการโอเวอร์คล็อกอีกด้วย ไปจนถึง Power Supply ที่ต้องมีคุณภาพดี จ่ายไฟนิ่ง และควรจำมีกำลังไฟหรือ W ที่สูงเพื่อรองรับการโอเวอร์คล็อกอีกด้วย

3.อุณหภูมิ

การโอเวอร์คล็อกที่ดี ต้องทำให้อุณหภูมิของซีพียู รวมไปถึงอุปกรณือื่นๆมีอุณหภูมิที่ตำ ระดับติดลบได้เลยยิ่งดี เพราะถ้าร้อนเกินไปจะทำให้ตัวเครื่องดับเพราะเมนบอรืดตัดการทำงานได้ ยิ่งเย็นก็จะยิ่งโอเวอร์คล็อกไปได้ไกลด้วย เราจึ้งเห็นนักโอเวอร์คล็อกใช้ไนโตรเจนเหลวระบายความร้อนให้ซีพียู เพราะเป็นสารที่เย็นมาก และใช้งานง่าย แต่ก็ระเหยไวจึงต้องหมั่นเติ่มเข้าไปเรื่อยๆ หรือถ้าพื้นฐานหน่อยก็จะใช้ชุดน้ำช่วยระบายความร้อนเพราะเย็นกว่า และยังแช่น้ำแข็งได้อีกด้วย

4.ฝีมือ

ปัจจัยสุดท้ายที่ทำให้การโอเวอร์คล็อกมีประสิทธิภาพสูงสุดเลยคือฝีมือ เพราะประสบการณ์ของแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอย่างเช่นผมมือใหม่ รู้ว่าต้องปรับอะไร แต่เอาเข้าจริงพอปรับแล้วก็ไม่ได้ตามสั่งดับเป็นประจำ แต่ถ้าเซียนๆหน่อย ปรับตรงนี้แล้วไม่ผ่าน ก็จะไปลดตรงนั้น ปรับตรงนี้ เพิ่ม FSB ลดตัวคูณ เพิ่มแรงดันไฟ อะไรแบบนี้ และการปรับในแต่ละเมนบอร์ด แต่ละซีพียุก็แตกต่างกัน บางตัวรับไฟได้เยอะ บางตัวรับไฟได้น้อย

aHR0cDovL21lZGlhLmJlc3RvZm1pY3JvLmNvbS9FL1kvODAyNzYyL29yaWdpbmFsLzE1MzkwMTg0NTQ1MjIuanBn

วิธีการโอเวอร์คล็อก

ผมแนะนำเปิดคู่มือเมนบอร์ดของแต่ละท่านแล้วลองทำตามเลย เพราะหลายเมนบอร์ดจะมีโหมดโอเวอร์คล็อกให้มาเลย หรือลองดูจากเว๊บต่างๆเหล่านี้ได้เลยครับ

ตัวอย่างทีมงานลองโอเวอร์คล็อกแบบ auto ของเมนบอร์ด Gigabyte Z490 UD โดยเลือกโหมด advance ตัวเครื่องก็โอเวอร์คล็อกให้เลยอัตโนมัติ โดยทดสอบร่วมกับแรม 2 รุ่น 2 สเปค

CPU Z 10 9 2020 3 07 08 PM CPU Z 9 29 2020 11 59 51 AM

โดย System ทีทีมงานทดสอบจะเป็น

  • CPU : Intel® Core™ i9-10900K Processor
  • M/B : Gigabyte Z490 UD
  • PSU : THERMALTAKE 850W TOUGHPOWER GRAND RGB (80+ GOLD)

DSC09482

เซ็ตแรกที่ทีมงานทดสอบจะเป็นแรม KLEVV CRAS XR RGB 16GB (2x8GB) 4,000 MHz ที่สเปคแรง ออกแบบเพื่อการโอเวอร์คล็อก

DSC00626 DSC00627

ซ้ายก่อนโอเวอร์คล็อกความเร็วซีพียูอยู่ที่ 4.9 GHz ส่วนขวาโอเวอร์คล็อกในโหมด Advance เพิ่มความเร็วมาเป็น 5.2 GHz โดยเพิ่มตัวคูณซีพียู และเพิ่มไฟเข้ามา

CPU Z 10 9 2020 3 07 20 PM CPU Z 10 9 2020 3 07 25 PM

สเปคแรม KLEVV CRAS XR RGB 16GB (2x8GB) 4,000 MHz

AIDA64 Cache Memory Benchmark 9 29 2020 11 57 21 AM

ก่อนโอเวอร์คล็อกสามารถอ่านได้ที่ 51,399 MB/s และเขียนที่ 55,694 MB/s

AIDA64 Cache Memory Benchmark 10 9 2020 3 09 21 PM

หลังโอเวอร์คล็อกสามารถเพิ่มความเร็วการอ่านได้ที่ 53,170 MB/s และเขียนที่ 55,510 MB/s ความเร็วการอ่านเพิ่มขึ้น โดยที่เขียนไม่ต่างกัน โดยรวมประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย จะเห็นได้ว่าตัวคูณของซีพียูเพิ่มมาจาก 50 เป็น 51 และโอเวอร์คล็อกจาก 35% มาเป็น 37% แบบอัตโนมัติเน้นชัวร์ไม่มีปัญหา

Hyper PI 0.99b 9 29 2020 12 28 15 PM

ก่อนโอเวอร์คล็อกใช้เวลาคำนวนอยู่ที่ 14.48 วินาที

Hyper PI 0.99b 10 9 2020 3 10 50 PM

หลังโอเวอร์คล็อกลดเวลาคำนวนลงมาเหลือ 13.694 วินาที ลดลงมาเกือบวินาที

DSC09547

อีกตัวเป็น KLEVV BOLT XR 16GB (2x8GB) 3,600 MHz บัสไม่สูงเท่า แต่ก็รองรับการโอเวอร์คล็อกได้อยู่
DSC00625 DSC00624
ซ้ายก่อนโอเวอร์คล็อกความเร็วซีพียูอยู่ที่ 4.9 GHz ส่วนขวาโอเวอร์คล็อกในโหมด Advance เพิ่มความเร็วมาเป็น 5.2 GHz โดยเพิ่มตัวคูณซีพียู และเพิ่มไฟเข้ามา

CPU Z 10 9 2020 2 17 38 PM CPU Z 10 9 2020 2 17 41 PM

สเปคแรม KLEVV BOLT XR 16GB (2x8GB) 3,600 MHz

AIDA64 Cache Memory Benchmark 10 2 2020 1 02 41 PM

ก่อนโอเวอร์คล็อกสามารถอ่านได้ที่ 48,904 MB/s และเขียนที่ 51,157 MB/s

AIDA64 Cache Memory Benchmark 10 9 2020 2 20 16 PM

หลังโอเวอร์คล็อกสามารถเพิ่มความเร็วการอ่านได้ที่ 49,936 MB/s และเขียนที่ 51,868 MB/s ความเร็วการอ่านเพิ่มขึ้น โดยที่เขียนไม่ต่างกัน โดยรวมประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย

Hyper PI 0.99b 10 2 2020 1 53 57 PM

ก่อนโอเวอร์คล็อกใช้เวลาคำนวนอยู่ที่ 13.46 วินาที

Hyper PI 0.99b 10 9 2020 2 22 25 PM

หลังโอเวอร์คล็อกลดเวลาคำนวนกลับมาที่ 12.802 วินาที

DSC09500

สรุปส่งท้ายการโอเวอร์คล็อกนั้นมีข้อดีตรงที่เพิ่มประสิทธิภาพให้เครื่องได้โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มแต่อย่างใด และเมนบอรืดส่วนใหญ่ก็รองรับการโอเวอร์คล็อกแบบปลอดภัยโดยมีโหมดอัตโนมัติให้อยู่แล้ว หรือจะปรับเพิ่มไปกว่านั้นก็สามารถทำได้ แต่เอาเข้าจริงโอเวอร์คล็อกแบบอัตโนมัตินั้นอาจจะรีดประสิทธิภาพของการโอเวอร์คล็อกไม่ได้เต็มที่ บางส่วนคะแนนดีขึ้น บางส่วนอาจจะไม่ต่างจากเดิมเลย และยังต้องใช้ไฟมากขึ้น รวมไปถึงฮาร์ดแวร์ที่ทำงานหนักกว่าเดิมโดยไม่จำเป็น

เพราะฉะนั้นแม้จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นมา (บ้าง) แต่ก็ทำให้อุปกรณ์ต้องรับภาระเกินไปอาจจะส่งผลเสียต่ออุปกรณ์ในระยะยาวได้ ถ้าโอเวอร์คล็อก แค่ลองเล็น ลองวิชาไม่นาน ลองดูได้ครับถือว่าเป็นการเรียนรู้ตัวเครื่องของเรา แต่ถ้าโอเวอร์คล็อกเพื่อใช้งานระยะยาวผมไม่แนะนำเพราะอาจจะทำให้อุปกรณืเสียหาย และยังไม่สามารถเคลมได้ด้วยในบางแบรนด์ครับ

**โอเวอร์คล็อกมีความเสี่ยงลองได้ เล่นได้ แต่แค่ชั่วคราวไม่แนะนำให้ใช้งานระยะยาว**

Click to comment

บทความน่าสนใจ

PC News

ปลดล็อก AMD Ryzen 9 9950X3D ด้วย Delidding เย็นลง แถมแรงขึ้น 9% คุ้มมั้ย ได้หรือเสียอะไรบ้าง? สำหรับคนที่ชื่นชอบความแรงของซีพียูตัวท็อป AM5 ล่าสุดอย่าง AMD Ryzen 9 9950X3D ที่จัดว่าเป็นเกมมิ่งซีพียูระดับไฮเอนด์ในเวลานี้ และมองว่าต้องการรีดประสิทธิภาพจากซีพียูรุ่นนี้ให้สุดๆ แต่ก็ติดเรื่องของอุณหภูมิ ที่น่าจะส่งผลต่อการ OC...

IT NEWS

เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ทางผู้ใช้งานซีพียู AMD 7000-series พบปัญหาในการเปิดโอเวอร์คล็อกว่ามีแรงดันไฟจ่ายเข้ามามากเกินไปอันจะนำไปสู่สาเหตุที่ทำใหเมนบอร์ดพังเร็วได้ ทาง AMD ก็ไม่นิ่งนอนใจทำการแก้ไขเรื่องนี้ผ่านการอัพเดต BIOS รหัส AGESA เพื่อแก้ไขขีดจำกัดของแรงดันตรงนี้ หลังจากที่ AMD พบการร้องเรียนปัญหาของโปรเซสเซอร์ AMD 7000-series ในการโอเวอร์คล็อก ทางบริษัทจึงเร่งทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวภายในเวลาไม่กี่วัน แม้ตอนนี้ยังไม่สามารถหาต้นตอของปัญหาที่ชัดเจนได้ แต่เพื่อความรวดเร็วให้กับเกมเมอร์ใจร้อนทั้งหลายทางบริษัทจึงปล่อยการอัพเดตไบออส รหัส AGESA ออกมาเพื่อแก้ปัญหานี้ก่อนโดยจะจำกัดแรงดันไฟฟ้าของ CPU/SoC...

Tips & Tricks

Overclock การ์ดจอ 4 โปรแกรมเด็ด เพิ่มความเร็ว เฟรมเรตลื่นไหล เล่นเกมสนุกขึ้น Overclock การ์ดจอจัดว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธี ที่จะทำให้การเล่นเกม หรือการเข้ารหัส ขุดเหมืองคริปโต มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นรูปแบบที่ใช้กันมายาวนาน โดยเฉพาะการใช้ซอฟต์แวร์ ที่ปัจจุบันมีการปรับแต่งง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เมื่อรวมกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ที่มีความยืดหยุ่นทั้งในเรื่องของชิ้นส่วน รองรับแรงดันไฟได้มาก มีความทนทานสูง จึงทำให้การ OC เช่นนี้ได้รับความนิยมไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการโอเวอร์คล็อกการ์ดจอบนพีซี...

INTEL

จริงๆ แล้วนั้นเชื่อว่าหลายๆ ท่านที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลแรงๆ นั้น ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยทำการ Overclocked หน่วยประมวลผลขึ้นไปมากสักเท่าไรเพราะในการใช้งานทั่วไปนั้นหน่อยประมวลผลรุ่นท๊อปๆ ก็มาพร้อมกับความแรงสมกับราคาแสนแพงของมันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นก็ยังมีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมจะนำเอาหน่วยประมวลผลแรงๆ นั้นมาทำการ Overclocked ให้แรงมากขึ้นกว่าเดิมทั้งเพื่อที่จะดูว่าหน่วยประมวลผลดังกล่าวนั้นจะเร่งไปได้แรงที่สุดมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงยังเป็นการทำสถิติใหม่เพื่อที่จะให้โลกบันทึกเอาไว้ด้วยอีกต่างหาก ล่าสุดนั้นก็เป็นคิวของกลุมนัก Mod ดังอย่าง ElmorLabs ที่ได้ร่วมกับทาง ASUS ในการ OC หน่วยประมวลผลสุดแรงอย่าง Core i9-10900K จนกลายเป็นสถิติใหม่ของโลกเอาไปแล้วที่ความเร็ว 7.7...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก