ด้วยเหตุที่ SSD ราคา ถูกลงอย่างมาก และมีตัวเลือกอยู่อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความจุ ไปจนถึงอินเทอร์เฟส และยังมีลูกเล่นประเภท แสงไฟ RGB มาให้เลือกอีกด้วย ซึ่งดูแล้ว SSD ราคา จะถูกหรือแพงนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นชนิดของ NAND Flash, อินเทอร์เฟสแบบใด รวมถึงประสิทธิภาพ ความทนทานและการรับประกัน และสำหรับคนที่เล่นเกมหรือเหล่าเกมเมอร์ที่ใช้เวลาในการเล่นเกมอยู่กับคอมตลอดทั้งวัน ไม่เพียงจะต้องเลือก SSD ที่มีความจุสูง เพื่อให้ติดตั้งเกมได้เพียงพอเท่านั้น แต่ต้องเลือก SSD ที่มีความเร็วในการตอบสนอง และความอึดทน เพื่อให้ใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย
ถ้าเรียงตามความเร็วของ SSD และ SSD ราคา ในปัจจุบัน ก็พอที่จะจัดเรียงได้ตามรูปแบบและความเร็วในการทำงาน จากความเร็วสูงสุดไปหาความเร็วต่ำสุด ได้ดังนี้
- PCIe Gen4 x4 ความเร็วประมาณ 4,000MB/s++
- PCIe Gen3 x4 ความเร็วประมาณ 2,000MB/s++
- PCIe Gen3 x2 ความเร็วประมาณ 1,500-1,700MB/s
- M.2 SATA ความเร็วประมาณ 550MB/s
- SATA III ความเร็วประมาณ 500-550MB/s
SSD M.2 NVMe PCIe จัดเป็นอินเทอร์เฟสการเชื่อมต่อที่มีความเร็วสูง และได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสามารถทำความเร็วอ่านเขียนได้มากกว่า 4,000MB/s บน PCIe 4.0 หรืออย่างน้อยๆ PCIe Gen3 x4 ก็จะได้ไม่กว่า 2,000MB/s สำหรับการอ่านข้อมูล แต่ราคาจะค่อนข้างสูง เริ่มกันที่ 2,xxx บาท สำหรับ 480GB-512GB และยิ่ง 1TB นั้น ก็จะยิ่งราคาสูงทวีคูณขึ้นไปกว่าเดิม และสิ่งที่จะได้ก็คือ นอกจากการเปิด-ปิดคอมได้ไว หรือเปิดโปรแกรมรวดเร็วแล้ว ก็ยังมีเรื่องของการเข้าเกมได้ไวกว่า สามารถช่วยในการโหลดข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่มที่ต้องทำงานร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่ เช่น ฟุตเทจของวีดีโอ การเรนเดอร์ภาพสามมิติ เป็นต้น ปัจจุบัน สามารถใช้ร่วมกับเมนบอร์ดพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Intel หรือ AMD และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ได้เกือบทั้งหมด
SSD อินเทอร์เฟส M.2 SATA จะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ SSD M.2 PCIe NVMe แตกต่างกันเพียงสล็อตการเชื่อมต่อ ที่จะเห็นได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีเมนบอร์ดและโน๊ตบุ๊ค รวมถึง เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค หลายรุ่นก็จะรองรับได้ทั้ง M.2 PCIe และ M.2 SATA ในส่วนนี้อาจจะต้องสอบถามหรือตรวจเช็คจากผู้จำหน่ายหรือผู้ให้บริการว่ารองรับ SSD แบบใด โดยที่ SSD M.2 SATA นี้ จะมีความเร็วที่น้อยกว่า คือจะอยู่ที่ราว 550MB/s ซึ่งในปัจจุบันอาจหาได้ยากบนโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ แต่ยังมีจำหน่ายแยกอยู่ สำหรับอัพเกรดบนโน๊ตบุ๊คบางเบารุ่นก่อนๆ ที่ยังไม่รองรับ M.2 NVMe PCIe แม้จะไม่เร็วมากนัก แต่ก็ยังมีข้อดีคือ ขนาดที่เล็กและบาง ทำให้ติดตั้งได้ง่าย ไม่เปลืองพื้นที่ ใช้ได้บนพีซีอีกด้วย สนนราคาก็จะถูกลงมากว่าแบบ PCIe อยู่ไม่น้อยเลย
SSD SATA III หรือที่คุ้นตากันดีในรูปแบบของ SSD 2.5″ ที่เป็นแบบพื้นฐานทั่วไปในท้องตลาด จัดเป็น SSD ราคา ประหยัด เข้ากันได้กับ เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค และคอมประกอบเล่นเกม ข้อดีคือ ราคาประหยัด มีให้เลือกตั้งแต่ 120GB ไปจนถึง 2TB ที่แบบหาได้ง่าย ซื้อได้ทั่วไป ความเร็วอยู่ในช่วง SATA III คือราว 500-550MB/s ตามมาตรฐาน มีให้เลือกตั้งแต่รุ่นธรรมดา ราคาถูก และรุ่นพรีเมียม ต่างกันตรง คอนโทรลเลอร์และ NAND Flash ที่มีให้เลือกทั้งแบบ QLC, TLC และ MLC แน่นอนว่าคุณภาพ ความเร็วและความทนทาน เป็นปัจจัยสำคัญต่อราคาด้วยเช่นกัน
4 SSD 512GB PCIe แค่ 2,200 บาท โปรโมชั่น SSD ราคา น่าใช้สำหรับเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค
ในช่วงนี้ถ้าใครรู้สึกว่า โน๊ตบุ๊คที่ใช้ เปิดเครื่องช้าไม่ทันใจ คอมช้าลง แม้ว่าจะ อัพเกรดแรม ไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังเปิดโปรแกรม เข้าเกมได้ไม่ทันใจ แนะนำว่าการ อัพเกรด SSD หรือ เปลี่ยนจากฮาร์ดดิสก์มาใช้ SSD จะเห็นผลมากขึ้น โดยเฉพาะการเล่นเกมและการโอนถ่ายไฟล์ข้อมูล และถ้าใครที่กำลังคิดจะเพิ่ม SSD มาเป็นตัวบูตระบบหรือใช้ติดตั้งโปรแกรม เกม ให้พอแล้วล่ะก็ แนะนำ SSD 512GB ขึ้นไป เพราะอย่างน้อยจะมีพื้นที่ให้ระบบหายใจหายคอ ในการ Swap file ได้สะดวกยิ่งขึ้น
Silicon Power A80 512GB – SSD 512GB รุ่นแรก ราคาดีจากทาง Silicon Power A80 ซีรีส์นี้ การันตีเรื่องความเร็ว และเป็นตัวที่ลงตลาดล่าสุด พื้นฐานเป็น SSD อินเทอร์เฟส PCIe Gen3 x4 บนมาตรฐาน NVMe 1.3 ตัวเมมโมรี 3D NAND TLC ให้ความเร็วที่ 3,400MB/s และ 3,000MB/s ถือว่าจัดจ้านในย่านเดียวกัน สำหรับการอ่าน/เขียนตามลำดับ โดยค่า Endurance ระบุไว้ที่ 800TBW สำหรับรุ่น 512GB และ MTBF 2 ล้านชั่วโมง เหมาะกับการใช้งานบนพีซี ที่มีสล็อต M.2 NVMe และเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คที่จะเห็นผลดีในการทำงาน ให้การรับประกันถึง 5 ปี ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานของ SSD PCIe ในปัจจุบัน
WD Blue SN550 500GB – จัดว่าเป็น SSD ราคา น่าใช้ กับมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจบ่อย มาในแบบ M.2 NVMe 2280 อินเทอร์เฟส PCIe Gen3 x4 มีความเร็วในการอ่าน/เขียน ข้อมูลที่ 2,400MB/s และ 1,750MB/s ตามลำดับ โดยมี NAND Flash 3D TLC และค่า TBW rating อยู่ที่ 300TBW และตัวเลข MTTF อยู่ที่ 1.7 ล้านชั่วโมง การรับประกัน 5 ปี เหมาะกับคอเกมที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ การโหลดเกมที่เร็วขึ้น และเป็นตัวบูตระบบที่เหมาะสม
Kingston A2000 500GB – มาถึง SSD ที่เรียกว่าเป็นเจ้าตลาดในด้าน Memory อีกรุ่นหนึ่งค่าย Kingston นี้ ส่ง A2000 มาตั้งแต่ในช่วงปลายปีที่แล้ว โดยใช้ 3D NAND และอินเทอร์เฟส M.2 NVMe PCIe Gen3 x4 ให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูล 2,200MB/s และ 2,000MB/s ตามลำดับ โดยมีค่า Endurance 350TBW กับตัวเลข MTBF 2 ล้านชั่วโมง ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงทีเดียว เมื่อเทียบกับราคาที่ใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ในการเข้ารหัสไดรฟ์มาอีกด้วย การรับประกันอยู่ที่ 5 ปี เป็น SSD ราคา ประหยัด อีกรุ่นในเวลานี้
HIKVISION E2000 512GB – สำหรับค่ายนี้ ก็ถือว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย โดยสิ่งที่น่าสนใจคือ SSD 512GB มาพร้อมซิงก์ระบายความร้อน และสเปคที่ไม่ธรรมดาเลย M.2 NVMe PCIe Gen3 x4 กับความเร็วในการทำงาน 3,300MB/s (Read) และ 2,100MB/s (Write) โดยใช้ NAND 3D TLC แต่ที่น่าสนใจ คือ ให้ค่า Endurance มาถึง 800TBW สูงกว่ารายใดในครั้งนี้ ส่วนค่า MTBF 1.5 ล้านชั่วโมง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตามการรับประกันอยู่ที่ 3 ปี
แนะนำ SSD 500GB สำหรับคอเกม ราคาเบา
Crucial P5 เอาใจคอเกม SSD PCIe Gen3 เร็วกว่า HDD 10 เท่า!
ใครที่เคยเป็นแฟนของ SSD ของทาง Crucial น่าจะอยากให้เข้ามาไทยกันไวๆ เพราะตอนนี้เรายังเห็นแค่ SSD Crucial P1 series อยู่ในตลาดเนิ่นนานมาแล้ว แม้จะมี P2 ออกมาก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีวี่แวว แต่คาดว่า Crucial P5 น่าจะเป็นทางออกให้กับคนที่อยากได้ SSD ระดับกลาง ความเร็วสูง และให้การรับประกันที่ยาวๆ ได้
สำหรับ Crucial P5 นั้น มาพร้อมอินเทอร์เฟส M.2 PCIe 3.0 x4 ซึ่งเป็น NVMe 1.3 ให้ความเร็วในการอ่านได้ถึง 3,400MB/s และ การเขียนข้อมูลที่ 3,000MB/s โดยที่ในรุ่น 250GB จะอยู่ที่ 1,400MB/s เท่านั้น แต่ก็เป็นตัวเลขที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะค่อนข้างสมดุลกันทีเดียวระหว่างการอ่านและเขียน นอกจากนี้ในรุ่น 500GB ที่่น่าจะเป็นไซส์ยอดนิยม ยังให้ตัวเลขไปถึง 300 TBW ให้ปริมาณการเขียนข้อมูลได้ไม่น้อยเลย กับอายุการทำงานอยู่ที่ราวๆ 1.8 ล้านชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีซอฟต์แวร์อย่าง Acronis True Image มาให้ใช้ในการ Clone ข้อมูลอีกด้วย
โดยที่ทาง Crucial ใช้คอนโทรเลอร์ DRAM-cache มาภายใน SSD P5 รุ่นใหม่นี้ พร้อมกับ 3D NAND flash ที่แม้ว่าจะไม่ได้ระบุมา แต่ถ้าดูจากข้อมูลของทาง Tom’s Hardware อ้างถึงนั้น คาดว่าจะเป็น 3D TLC จากทาง Micron ให้การรับประกัน 5 ปี มีตัวเลือกความจุตั้งแต่ 250GB, 500GB, 1TB และ 2TB
6 ตัวคุ้ม SSD 500GB SSD ราคา 1,9xx บาท เล่น Warzone เร็วดี พื้นที่เหลือ
แม้ว่าราคาจะเริ่มขยับ ปรับตัวขึ้นไปบ้างแล้ว แต่ก็มี SSD ในบางโมเดลก็ยังพอให้ได้ในราคาที่สบายกระเป๋า งานนี้แอดจึงรับหน้าที่ไปส่องของดีมาให้ SSD 500GB เอาใจคอเกมที่เล่น Warzone ที่บ่นกันมาเยอะเหลือเกิน ว่าลงใหม่ เปลี่ยนจากฮาร์ดดิสก์ลูกเดิม วันนี้จัดให้ 6 รุ่น ของดี ประกันเด่น เช่น Plextor, Seagate, Crucial และค่ายดังๆ อีกเพียบ
Plextor M8VC 512GB: ถ้ามองในแง่ของ SSD ที่ได้รับความไว้วางใจมายาวนาน ชื่อของ Plextor เป็นอีกค่ายที่มีความโดดเด่น และ M8VC รุ่นนี้ เป็นอีกซีรีส์ยอดนิยม ราคาสบายกระเป๋า ดีไซน์เรียบง่าย ตามสไตล์ของ PLEXTOR มานาน เหมาะกับการใช้งานเป็น SSD ตัวแรก ความเร็วอ่านข้อมูลระดับ 560MB/s ความทนทานถือว่ารองรับการใช้งาน การเล่นเกมหรือลงวินโดวส์ได้สบายๆ MTBF 1.5 ล้านชั่วโมง และ TBW 70TB ประกัน 3 ปี
SP ACE A56 512GB: มาถึง SSD ราคาถูก อีกรุ่นหนึ่ง ที่ไม่ควรพลาด สำหรับ SL หรือ Silicon Power กับซีรีส์สำหรับกลุ่มเริ่มต้นใช้งาน SSD ACE A56 ความเร็วในการอ่านที่ราวๆ 560MB/s (Read) และ 530MB/s (Write) กับค่า MTBF 1.5 ล้านชั่วโมง ซึ่งใช้ 3D NAND ในแบบ TLC และ SLC Cache พร้อมฟีเจอร์อีกมากมาย จัดว่าน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
TEAMGROUP GX2 512GB: เป็น SSD ซีรีส์สุดคุ้มในท้องตลาด ความเร็วในการทำงาน 530MB/s (Read) และ 430MB/s (Write) โดยมี TBW 120TB และ MTBF 1 ล้านชั่วโมง กับการรับประกันอีก 3 ปี ดูคุ้มค่าไม่น้อย ซึ่งถ้าเทียบกับ SSD ในระดับใกล้เคียงกัน
Seagate Barracuda 120 500GB: สำหรับค่ายที่เรียกว่าเป็นเจ้าตลาดในกลุ่ม Storage มาช้านาน ก็นำเอา Barracuda 120 ซีรีส์สุดคุ้ม แต่คุณภาพน่าใช้ มาเป็นตัวเลือก 3D NAND TLC และให้ความเร็วที่ 560MB/s และ 540MB/s ในการอ่าน/เขียน ตามลำดับ พร้อมตัวเลขปริมาณการเขียนที่ 300TBW และให้ค่า MTBF มากถึง 1.8 ล้านชั่วโมง กับการรับประกัน 5 ปี
CRUCIAL MX500 500GB: กับค่ายที่ไม่ธรรมดา อยู่คู่กับตลาด SSD มายาวนาน สำหรับ MX500 นี้ SSD 500GB ออกแบบมาเพื่อกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความเร็วในการทำงาน และมีความปลอดภัยของข้อมูล ให้ความเร็ว 560MB/s (Read) และ 510MB/s (Write) เพิ่มความมั่นใจด้วย TBW 180TB และ MTTF 1.8 ล้านชั่วโมง พร้อมการรับประกัน 5 ปี
ADDLINK S20 512GB: เรียกว่าเป็น SSD 512GB อีกค่ายที่ได้รับความนิยมไม่น้อยในบ้านเรา ด้วยความเร็วในการทำงานและให้ความทนทานสูง จึงเหมาะกับเป็น SSD ตัวแรก และใช้เป็นตัวเสริมได้ สปีดอยู่ที่ 550MB/s (Read) และค่า TBW สูงถึง 300TBW พร้อมการรับประกัน 3 ปี
SSD PCIe 6.0 อนาคตใหม่ของ SSD สำหรับเกมเมอร์
ทาง PCI-SIG มีการเผยข้อมูลในเวอร์ชั่น 0.5 ของมาตรฐานใหม่ PCIe 6.0 เข้าใจกันถูกต้องแล้ว ไม่ใช่ 5.0 ซึ่งให้แบนด์วิทธ์ที่เหลือเชื่อ เหนือกว่า PCIe 3.0 ที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ถึง 8 เท่า โดยที่ PCIe 3.0 ให้แบนด์วิทธ์ราว 32GB/s บนพอร์ต PCIe 3.0 x16 ส่วน PCIe 4.0 x16 นั้นจะอยู่ที่ 64GB/s
แต่สำหรับ PCIe 5.0 x16 นั้น ถูกยกระดับแบนด์วิทธ์ไปถึง 128GB/s และใน PCIe6.0 นั้น เรียกได้ว่าเหนือกว่าหลายเท่า ด้วยแบนด์วิทธ์ที่สูงถึง 256GB/s บน x16 ซึ่งก็หมายความว่า 8GBps ต่อเลน (lane) ของ PCIe6.0 อย่างไรก็ดีกราฟิกการ์ดในเวลานี้ อาจจะยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากจุดนี้มากนัก แต่ก็ต้องจับตาดูให้ดี หากเกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดของการ์ดจอรุ่นใหม่ รวมไปถึง SSD NVMe รุ่นใหม่ๆ ที่กำลังจะออกมา คอนโทรลเลอร์เน็ตเวิร์กและเทคโนโลยีของบรรดาอุปกรณ์เชื่อมต่อ ที่กำลังจะคลอดออกมาในเวลาอันใกล้นี้ ก็อาจจะเป็นตัวทำให้แบนด์วิทธ์เหล่านั้นถูกใช้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้ยังมีความเห็นจากทาง PCI-SIG ที่อ้างถึงการใช้งานของ PCIe 6.0 ร่วมกับมาตรฐานอื่นๆ ว่าสามารถใช้ร่วมกันได้ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่นการเข้ารหัสและ FEC และอื่นๆ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของแบนด์วิทธ์ เพื่อการใช้งานที่ดี เมื่อถูกนำมาใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ในเวลาอันใกล้นี้
5 ขั้นตอน ยืดอายุ SSD ให้เล่นเกมไปได้นานๆ
SSD นั้นเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีการเก็บข้อมูลเอาไว้บน Flash Memory (คิดง่ายๆ ก็คล้ายๆ กับแฟลชไดรฟ์ที่เราๆ ท่านๆ นำมาเซฟงานนั่นเอง) ซึ่งอายุการใช้งานของ Flash Memory นั้นขึ้นอยู่กับ Cell ที่นำมาติดตั้งเอาไว้ด้านใน และ Cell หนึ่งๆ จะมีอายุการเขียนบันทึกไฟล์ราว 10,000 ครั้ง แต่ใน SSD หนึ่งลูกนั้นจะมี Cell ติดตั้งเอาไว้หลายชิ้นด้วยกัน ทำให้อายุการใช้งานนั้นมากเกิน 1 ล้านครั้งขึ้นไป แต่ถ้าเราดูแลรักษาไม่ดีก็จะทำให้ Cell นั้นเสื่อมและเกิดความเสียหาย ส่งผลให้ข้อมูลเราหายได้เช่นกัน ถ้าต้องซื้อใหม่ SSD ราคา ก็ไม่ถูกเหมือนกันนะครับ
การปิดโหมด Hibernation เพื่อไม่ให้ข้อมูลต่างๆ และโปรแกรมต่างๆ ที่เราเปิดค้างเอาไว้มาพักเอาไว้ที่ SSD ให้เราเปิด Control Panel แล้วเลือก Hardware and Sound > Power Option (หรือโน๊ตบุ๊คสามารถคลิกขวาที่ไอคอนแบตเตอรี่แล้วเลือก Power Option ได้เลย) > System Settings (Choose What the power buttons do) แล้วเปลี่ยนจากโหมด Hibernation เป็น Sleep หรือ Do nothing แทนก็ได้ตามสะดวก สำหรับการกระทำเมื่อกกดปุ่มปิด หรือปิดหน้าจอลงสำหรับโน๊ตบุ๊ค
ปิดการ Defragment ทิ้งไปได้เลย สิ่งสำคัญหนึ่งที่ผู้ใช้ SSD ห้ามทำคือการทำ Defragment เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของ Cell ลดลงเพราะปกติ SSD จะมี Controller เอาไว้จัดเรียงการเขียนไฟล์เพื่อบันทึกข้อมูลเก็บเอาไว้ใน SSD อยู่แล้ว ดังนั้นการ Defragment ก็จะเร่งความเสียหายให้ SSD มากขึ้นเท่านั้น
ไม่ใช้ SSD เป็นไดร์ฟโหลดบิต สำหรับผู้ที่โหลดไฟล์ต่างๆผ่านระบบ bittorrent หรือประเภทว่าต้องเปิดเครื่องโหลดไฟล์ต่างๆทิ้งไว้นานๆ รวมไปถึงการปล่อยไฟล์ให้ผู้อื่นต่อเนื่องนานๆ ไม่แนะนำให้ใช้ SSD มารับหรือปล่อยไฟล์ เพราะจะทำให้อายุการทำงานสั้นลง
ระวังเรื่องของระบบไฟฟ้า อย่างที่รู้กันครับว่าตัว SSD ทำงานโดยใช้กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเพื่อบันทึกข้อมูล จึงทำให้ตัวของมันไวต่อกระแสไฟฟ้าด้วยครับ เช่นถ้าเกิดไฟตก ไฟดับ หรือไฟเกิน ก็อาจจะทำให้ตัวหน่วยความจำ SSD ราคา แพงๆ ของคุณเสียหายได้เช่นกัน