ASUS TUF Gaming FX505 และ ASUS ROG Strix G531 จัดว่าเป็น Gaming Notebook ประสิทธิภาพดี ที่หลายๆ คนพูดถึงกัน ด้วยราคาและสเปกที่คุ้มค่า จากชิปปประมวลผล AMD Ryzen 5 3550H/Ryzen 7 3750H หรือ Intel Core i5-9300H/i7-9750H โดยใช้การ์ดจอตั้งแต่ NVIDIA GeFroce GTX 1050 – RTX 2070 ซึ่งทั้ง ASUS TUF Gaming FX505 และ ASUS ROG Strix G531 มีให้เลือกหลากรุ่นหลายสเปกกันอีกทีด้วย สนนราคาเริ่มต้นล่าสุดอยู่ที่ 18,790 บาทเท่านั้นเอง จัดว่าถูกมากๆ หรือถ้าอยากได้สเปกแรงที่สุดล้ำที่สุด ก็จะอยู่ที่ราคา 55,900 บาท
แน่นอนว่าทำให้บางคนนนั้นเลือกซื้อกันไม่ถูก หรือไม่ทราบความแตกต่างของ ASUS TUF Gaming FX505 และ ASUS ROG Strix G531 ในบทความนี้เราก็เลยจะนำเสนอเทียบให้ดูกันแต่ละจุดอีก (นอกจากเรื่องดีไซน์การออกแบบ น้ำหนัก ความบาง) โดยแบ่งออกเป็น 5 ความต่างชัดๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ สเปกราคา / หน้าจอลำโพง / การระบายความร้อน / ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ / ประสิทธิภาพการเล่นเกม ที่น่าจะเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆ ตัดสินใจเลือกซื้อกันได้ ยังไงอ่านเสร็จแล้วบอกกันหน่อยว่า จะซื้อหรือซื้อไปแล้วรุ่นไหน ??? เพราะอะไร ???
สเปกราคา TUF Gaming FX505 VS ROG Strix G531
สเปกราคารุ่นต่างๆ ของ ASUS TUF Gaming FX505 ไม่ว่าจะเป็น FX505DT / FX505DU / FX505DV (ขอตัดรุ่น FX505DD ออก ที่เป็นการ์ดจอ GTX 1050) ที่เป็นโน๊ตบุ๊คเล่นเกมสุดคุ้มสเปก AMD + NVIDIA เป็น Gaming Notebook ยอดนิยมประจำปี 2019 ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่าง ASUS และ AMD รวมถึง NVIDIA นำเสนอโน๊ตบุ๊คสเปกเล่นเกมลื่นราคาถูกคุ้มที่สุด เรียกได้ว่าความแรงและฟีเจอร์อื่นๆ ได้ราคาที่ถูกกว่า Gaming Notebook สเปกที่เป็น Intel + NVIDIA ในสเปกที่ใกล้เคียงกัน ที่สำคัญล่าสุดก็คือ ราคาในตอนนี้ได้มีการปรับให้ถูกคุ้มลงมายิ่งกว่าเดิมเสียอีก
ส่วนสเปกอื่นๆ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ได้หน้าจอขนาด 15.6″ ที่ 120Hz หรือ 60Hz แบบ NanoEdge ขอบจอบาง ความละเอียด Full HD พาเนล IPS ในทุกๆ รุ่น โดยใส่แรมมาแล้วขนาด 8GB – 16GB สามารถติดตั้งแรมได้สูงสุด 32GB DDR4 Bus 2400 MHz รวมไปถึงที่เก็บข้อมูลก็รองรับทั้ง SSD M.2 NVMe ที่ความจุ 512GB (รองรับการอัพเกรดเพิ่ม HDD SATA 3 เพิ่มเติมได้ภายหลังด้วย) รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Bluetooth 4.2 และ Wi-Fi 5 AC ราคาเริ่มต้นที่ 18,790 บาท จนไปถึง 30,490 บาท ใช้ชิปประมวลผลเป็น AMD Ryzen 5 3550H / AMD Ryzen 7 3750H ที่แรงลื่นไม่ร้อน การ์ดจอเป็น NVIDIA GeForce GTX 1650 / GTX 1660Ti / RTX 2060
- Ryzen 5 3550H / GTX 1650 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 18,790 บาท
- Ryzen 7 3750H / GTX 1650 / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 21,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / GTX 1660 Ti / RAM 8GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 24,900 บาท
- Ryzen 5 3550H / RTX 2060 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 29,900 บาท
- Ryzen 7 3750H / RTX 2060 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 30,490 บาท
ASUS ROG Strix G531 จะมีจำหน่ายอยู่หลากหลายสเปก ได้ชิปประมวลผลตัวแรงเป็น Intel Core i7-9750H (2.60 – 4.50 GHz) ทำงานแบบ 6 คอร์ 12 เธร์ด ประสิทธิภาพไว้ใจได้ พร้อมกราฟฟิการ์ดตัวแรงอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1660 Ti (6GB GDDR6) พร้อมฮาร์ดดิสก์แบบ SSD แบบ NVMe ความจุ 512GB ไว้ด้วย ในส่วนของแรมเองมีมาให้ 16GB แบบ DDR4 หนึ่งแถว (อัพได้สูงสุด 32GB) ระบบปฎิบัติการเป็น Windows 10 แท้ พร้อมใช้งานตั้งแต่เปิดเครื่องครั้งแรก
หน้าจอที่นำมาติดตั้งเป็นหน้าจอที่ดีที่สุดในตลาดตอนนี้ กับความละเอียด Full HD พาเนล IPS รองรับ Refresh Rate ที่ 120Hz / 240Hz แบบผิวด้าน ให้สีสันการแสดงผลในเกณฑ์ดีน่าประทับใจอย่างที่สุดทั้งเล่นเกมหรือทำงาน ส่วนการเชื่อมต่อก็มีมาอย่างครบถ้วน ทั้ง USB 3.1 Type-C, mini DisplayPort, HDMI, 3 x USB 3.0, Kensington lock slot , SD Card Reader, RJ-45 , Headset
พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง Bluetooth 5.0 และ Wi-Fi 5 AC พร้อมเทคโนโลยี RangeBoost เกมมิ่งโน๊ตบุ๊ครุ่นแรกของโลกที่ใช้ตัวรับสัญญาน Wifi แบบ Multi-antenna บนมาตรฐาน Wave 2 (2×2 + 2×2) ให้ระยะการรับสัญญานที่ไกลขึ้นถึง 30% พร้อมอัตราการรับ-ส่งข้อมูลที่เร็วและเสถียรยิ่งขึ้น สนนราคาบางที่เป็นรุ่นเริ่มต้นมีราคาถูกกว่า ASUS TUF Gaming FX505 ด้วย
- i5-9300H / GTX 1650 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 25,900 บาท
- i7-9750H / GTX 1650 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 30,490 บาท
- i5-9300H / GTX 1660 Ti / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 32,900 บาท
- i7-9750H / GTX 1660 Ti / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 35,900 บาท
- i5-9300H / RTX 2060 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 120Hz ราคา 34,490 บาท
- i7-9750H / RTX 2060 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 240Hz ราคา 45,490 บาท
- i7-9750H / RTX 2070 / RAM 16GB / SSD 512GB / จอ 15.6″ IPS 240Hz ราคา 55,900 บาท
การรับประกันของ ASUS TUF Gaming FX505 และ ASUS ROG Strix G531 เหมือนกัน การรับประกัน 2 ปี ส่งเคลม 7-11 และที่สำคัญเมื่อเอาซีเรียลไปลงทะเบียนในเว็บไซต์ ASUS จะได้รับประกันอุบัติเหตุฟรี 1 ปีแรกจากทาง ASUS
ดีไซน์การออกแบบ TUF Gaming FX505 VS ROG Strix G531
ASUS TUF Gaming FX505 ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้รุ่นอื่นๆ อย่างในเรื่องของขอบหน้าจอบาง นั่นก็ทำให้ตัวเครื่องมิติโดยรวมมีความเล็กกระทัดรัดลง แม้เป็น Gaming Notebook หน้าจอ 15.6″ แต่ก็มีความใกล้เคียงกับโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 14″ แบบสมัยก่อนๆ มาก ส่วนน้ำหนักก็อยู่ที่ 2.2 กิโลกรัม จัดได้ว่าเป็น Notebook ที่สเปกแรงมากๆ แต่น้ำหนักเบาๆ พกพาสะดวก
ดีไซน์การออกแบบของ ASUS TUF Gaming FX505 เรียกได้ว่าถอดรูปแบบมาจาก FX505 รุ่นก่อนหน้านี้มาแบบเต็มๆ แล้วจับมาเปลี่ยนโทนสีเป็นโทนสีดำคล้ายกับรุ่น FX505 ตัวก่อนๆ โดยบอดี้ตัวเครื่องก็จะมีลักษณะที่เน้นเรื่องความโฉบเฉี่ยว ดุดัน โดยจะเปลี่ยนลายฝาหลังวัสดุจะเป็นพลาสติกสีดำ ทำเป็นลายขีดเส้นตัว X ผิวเรียบลายปัดเสี้ยน ตรงกลางฝาหลังมีโลโก้ ASUS สีเงินสะท้อนแสงสวยงาม สไตล์ Gaming Notebook ที่เรียบๆ โดย ASUS ให้ชื่อกับสีสันนี้ว่า Stealth Black
ส่วนด้านในจะเป็นพลาสติกแบบมีลวดลายคล้ายโลหะปัดเสี้ยนให้สัมผัสผิวไม่เรียบ ที่นอกสายสวยงามแล้วคือเป็นลายนิ้วมือได้ยาก นับว่าเป็รอะไรที่น่าประทับใจมากๆ ทั้งภายนอกและภายใน ที่ดูแล้วลงตัวกว่ารุ่นก่อนหน้าไปอีกขั้น ทางด้านพับตัวเครื่องถูกออกแบบมาให้เป็นแบบบานพับคู่วัสดุเป็นพลาสติกแข็งแรง พร้อมมีการตัดช่องเป็น V-Sharp ช่วงให้อากาศไหลผ่านได้ดีขึ้น และมีช่องระบายอากาศด้านบนคีย์บอร์ดเพิ่มเข้ามา
ดีไซน์โดยรวมของ ASUS ROG Strix G531 เป็น Gaming Notebook ขอบจอบางตัวเครื่องมิติเล็กกระชับทั้ง 3 ด้าน คือ บน ซ้ายและขวา พร้อมตัดกล้องเว็บแคมออกไป มีน้ำหนักอยู่ที่ 2.4 กิโลกรัม คาดว่าจะมาแบบแยกแนวเดียวกับ ASUS Zephyrus S GX701 ส่วนบานพับเป็นแบบ ASUS Zephyrus S GX531 แบบ 2 แกนยกตัวขึ้นมา ที่ทั้ง ASUS ROG Strix Hero III ได้ทาง BMW Designworks Group มาร่วมออกแบบด้วย เห็นได้ชัดจากชุดระบายความร้อนด้านหลังที่เป็นครีบคล้ายกับเสื้อสูมมอเตอร์ไซต์จาก BMW เรียกได้ว่ายกระดับขึ้นไปอีกขั้น
ส่งผลให้ ASUS ROG Strix G531 มีความพิเศษที่ 3D Thermal Design ได้เรื่องความล้ำสมัยและคำนึงถึงอรรถประโยชน์ในการใช้งานเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับดีไซน์ช่องระบายความร้อนแบบ 3D Flow Zone เพิ่มการไหลเวียนของอากาศ นำความร้อนออกจากภายในตัวเครื่องได้รวดเร็วที่สุด ให้ผิวสัมผัสบนตัวเครื่องในส่วนที่ต้องใช้งานมีอุณหภูมิไม่สูงกว่า 40C (ทดสอบที่อุณหภูมิห้อง 25C)
ที่สำคัญจากรุ่นก่อนที่มี Light Bar ด้านหน้า รุ่นนี้จะได้ไฟ RGB ด้านซ้ายและขวาของตัวเครื่องเข้ามา อย่าง Surrounded Light Bar รอบตัวเครื่องพร้อมเกมมิ่งคีย์บอร์ดแบบ RGB ให้สามารถปรับแต่งแสงไฟได้ตามสไตล์ของผู้ใช้อย่างอิสระมากถึง 16.7 ล้านสี ผ่านฟีเจอร์ Aura Sync รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่รองรับ ที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือได้ NumberPad เข้ามาด้วย โดยทัชแพดเองสามารถเปลี่ยนเป็นแป้นตัวเลขได้ จากการที่ตัด Numpad ด้านขวาออกไป พร้อมขยายปุ่มคีย์บอร์ดให้มีความกว้างขึ้น
หน้าจอลำโพง TUF Gaming FX505 VS ROG Strix G531
ASUS TUF FX505 มีหน้าจอขอบจอบางเฉียบเพียง 6.5 มิลลิเมตรทั้งขอบด้านข้างและด้านบน ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1920×1080 พิกเซล) พาเนลเป็น IPS คุณภาพดี มุมมองกว้าง พื้นผิวจอแบบด้าน Anti-Glare รวมๆ ทั้งสีสันความคมชัดแล้วจัดว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เหมาะกับการใช้งานทั่วๆ ไปหรือการเล่นเกมก็ทำได้อย่างน่าประทับใจ รวมไปถึงยังเป็นหน้าจอ 120Hz ทำให้ใช้งานเล่นเกม FPS ฉากเคลื่อนไหวเร็วๆ ได้อย่างลื่นไหลกว่าหน้าจอทั่วไปที่แค่ 60Hz รวมๆ แล้ว ถือว่าดีกว่ามาตรฐานของ Gaming Notebook ปี 2019 ทั่วไปมากทีเดียว
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB 62% และ AdobeRGB 46% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีเขียวและสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันระดับกลางๆ ค่อนไปทางดี ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 220 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คทั่วไป คือ พอสู้แสงกลางแจ้งได้ รวมไปถึงการทำงานภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพหน่อยก็ทำได้ดีเช่นกัน
ASUS TUF FX505 ลำโพงของตัวเครื่องใช้เป็นแบบ Stereo 2.0 แยกเสียงซ้ายขวาได้ชัดเจนดี ระบบเสียง DTS Headphone: X ทำให้มีเสียงดังฟังชัด มีน้ำหนัก ถือว่าเอามาเล่นเกมฟังเพลงได้ดีในระดับหนึ่งตามสไลต์เสียงจากลำโพงโน๊ตบุ๊ค ช่องลำโพงถูกออกแบบมาอย่างแนบเนียน อยู่ด้านข้างตัวเครื่องซ้ายขวา พร้อมทำสีสันเป็นสีแดง ช่วยแก้ปัญหาสำหรับบางคนที่เวลาพิมพ์งานข้อมืออาจจะไปปิดช่องลำโพงทำให้เสียงออกไม่เต็มที่ได้
หน้าจอแสดงผลของ ASUS ROG Strix G531 มีขนาด 15.6” ความละเอียด Full HD พาเนล IPS คุณภาพสูงแบบด้าน Anti-glare สำหรับการเล่นเกมที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ด้วย Refresh rate สูงสุด 120Hz – 240Hz ให้ทุกการเล่นเกมคมชัด สมจริง ลื่นไหลและยังแสดงสีได้อย่างแม่นยำสำหรับการทำงานเฉพาะทางอีกด้วย แน่นอนว่ามีดีไซน์หน้าจอขอบจอบางเฉียบทั้งขอบด้านข้างและด้านบน (พร้อมเลือกตัดกล้องเว็บแคมออกไปเลย) ถือว่าเป็นมาตรฐานหน้าจอของ Gaming Notebook ปี 2019 ที่ควรจะเป็นจริงๆ
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 62% และ AdobeRGB ที่ 42% เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันระดับที่ดีแบบมาตรฐานที่ควรจะเป็น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 300 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คทั่วไป คือ พอสู้แสงกลางแจ้งได้ ปิดท้ายด้วยคะแนน 3.5 เมื่อทดสอบด้านการแสดงผลต่างๆ ทั้งหมดแล้ว ผ่านทางอุปกรณ์ Spyder5Elite
ตัวเครื่องมีช่องลำโพงคู่อยู่ขอบตัวเครื่องข้างๆ ซ้ายขวา คุณภาพสูง พร้อม Smart Amp เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ระบบเสียงชั้นยอดอีกด้วย ให้เสียงคมชัด เพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมให้ถึงใจยิ่งขึ้น ให้ขอบเขตเสียงที่กว้าง จากการที่เสียงกลางแหลมออกชัดเจนดี ส่วนทุ้มมีออกมาหน่อยๆ แม้จะมีลำโพงซัฟวูฟเฟอร์ก็ตาม เรื่องของความดังของเสียงถือว่ามากกว่า 2 เท่า ส่วนในเรื่องคุณภาพเสียงนั้นถือว่าดีมากๆ ทั้งเรื่องคุณภาพและความดัง ซึ่งหากว่าเพื่อนๆ เป็นผู้ใช้งานทั่วไป คุณภาพเสียงที่ได้นั้น ก็ถือว่าดีกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปแบบรู้สึกได้
การระบายความร้อน TUF Gaming FX505 VS ROG Strix G531
ASUS TUF FX505 ใช้ระบบระบายความร้อนเป็น Hyper Cool สามารถปรับเร่งรับได้ ฟินระบายความร้อนสีแดง พร้อมมี Anti-Dust Tunnel สำหรับเป่าฝุ่นออกมาให้อีกด้วย จัดเต็มจริงๆ ให้มาครบไม่มีกั๊ก มีพัดลมขนาดใหญ่ 2 ตัว พร้อมระบายความร้อน 2 ช่องด้านหลัง หมดกังวลเรื่องฝุ่นที่ติดตรงครีบระบายความร้อนจุดสังเกตที่เปลี่ยนไปคือตัวเครื่องเลือกใช้ฮีทไปป์ 3 เส้นขนาดใหญ่
ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS TUF FX505 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 30 – 40 – 50 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 35 – 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมด Turbo
ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 90 – 92 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 75 – 80 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดีมาก ซึ่งเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้กลับมา แน่นอนว่ามากกว่า Gaming Notebook ในสเปกเดียวกัน สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง จากการที่เราสามารถเพิ่มรอบสูงสุดได้ด้วยซอฟต์แวร์จากปกติที่จะเป็นแบบ Balance ก็สามารถทำได้
ระบบระบายความร้อนของ ASUS ROG Strix G531 ใช้เป็น ROG Intelligent Cooling ที่ทำงานร่วมกับดีไซน์ช่องระบายความร้อนแบบ 3D Flow Zone ด้วยพัดลมคู่ความเร็วรอบสูงแบบ 12V 83 ใบพัด แยกฝั่ง ซ้าย-ขวา, ท่อฮีทไปป์จำนวน 5 ท่อ, copper plate ที่ครอบทับบริเวณชิ้นส่วนที่จะเกิดความร้อนทั้งหมด, และครีบทองแดงบนฮีทซิ้งค์ที่บางพิเศษเพียง 0.1 มิลลิเมตร รวมไปถึงระบบกำจัดฝุ่น Anti-Dust Cooling ช่วยให้ความร้อนต่ำและใช้งานตัวเครื่องได้ด้วยความเสถียรอย่างต่อเนื่อง ด้านฐานของตัวเครื่องเป็นวัสดุพลาสติกมีลวดลาย ROG พร้อมอากาศเย็นผ่าน โดยมีช่องดูดลมเย็นอีก 3 ช่องด้านล่างใต้เครื่อง อีกทั้งยังมีช่องด้านบนเหนือคีย์บอร์ดมีช่องดูดลมอีกช่องช่วยนำพาอากาศเย็นเข้าไปอีก
ส่วนเรื่องอุณหภูมิในการใช้งานนั้น ASUS ROG Strix G531 เมื่อใช้งานแบบปกติชิปประมวลผลจะอยู่ที่ประมาณ 40 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 45 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 25 – 28 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัดสุด ด้วยการเปิดโหมดพัดลม Turbo ผ่านทาง Armory Crate
ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 86 องศาเซลเซียส ส่วนกราฟิกการ์ดจะอยู่ที่ 74 องศาเซลเซียสโดยรวมแล้วมีการจัดการอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี สำหรับเสียงรบกวนในเวลาทำงานนั้นถือว่าดังประมาณนึง ซึ่งถ้าเทียบระหว่าง Gaming Notebook ทั้ง 2 รุ่น เห็นได้ชัดว่า ASUS ROG Strix G531 สามารถจัดการความร้อนได้ดีเยี่ยมกว่า ASUS TUF FX505 แบบชัดเจน
ฟีเจอร์เสริมอื่นๆ ของ TUF Gaming FX505 VS ROG Strix G531
สำหรับฟีเจอร์เสริมอื่นๆ ของ ASUS TUF Gaming FX505 ก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องมีความทนทานระดับ Military Grade ต่อแรงกระแทก อุณหภูมิสูงต่ำ ความชื้น ความกดอากาศ และแสงแดด เรียกได้ว่าเป็น Gaming Notebook น้อยรุ่นนักที่มาพร้อมคุณสมบัติแบบนี้ ส่วนของคีย์บอร์ดจะให้ไฟ RGB แบบ All Zone ปุ่ม WASD ทำไฮไลท์ไว้ สามารถรองรับการกดได้ 20 ล้านครั้ง Travel Key 1.8 mm
ASUS ROG Strix G531 เป็นคีย์บอร์ดมีไฟหลากสีด้วยเทคโนโลยี AuraRGB ของทาง ROG เป็นแบบคีย์บอร์ด RGB ที่สามารถปรับแต่งเองได้ด้วยซอฟต์แวร์ภายในได้ในแต่ละปุ่ม ให้ความสะดวกด้วยระยะของปุ่มที่เลื่อนลงไปเพียง 1.8 มิลลิเมตร แต่ละปุ่มมีมุมโค้งขนาด 0.25 มิลลิเมตร เข้ากับนิ้วมือเวลากดลงไปพร้อมจังหวะเด้งสุดๆ พร้อมเทคโนโลยี OverStroke เพื่อการกดรัวที่ดียิ่งขึ้นด้วยปุ่ม N-key rollover & anti-ghosting และอายุคีย์บอร์ดที่สามารถกดได้ 20 ล้านครั้ง
รวมถึงสามารถมีฟังก์ชั่นเพิ่มลดเสียง เปิดปิดไมค์ และ ปุ่ม Armory Crate ซอฟต์แวร์ Utility ซึ่งตัวปุ่มต่างๆ ออกแบบมาสำหรับเกมเมอร์ ที่สำคัญมีในส่วนของปุ่มลัดบนคีย์บอร์ดอย่าง F5 ทำให้ผู้ใช้สามารถสลับเปลี่ยนโหมดการใช้งานระหว่าง Turbo mode สำหรับประสิทธิภาพในการเล่นเกมระดับสูงสุด, Silent mode สำหรับเสียงรบกวนที่น้อยที่สุด, และ Balanced mode เพื่อความสมดุลในการใช้งาน
จุดเด่น ASUS ROG Strix G531 อีกอย่างก็คือมีแผงปุ่มตัวเลขที่ซ่อนอยู่ในทัชแพด โดยใช้ชื่อเรียกว่า NumberPad ซึ่งสามารถเปิดใช้งานได้ด้วยการแตะไอคอนตรงมุมขวาบนของทัชแพดค้างไว้ 1 วินาที เส้นไฟสำหรับแบ่งพื้นที่ของแต่ละปุ่มก็จะปรากฏขึ้นมาให้ใช้งานเป็น Numpad ได้ทันที แต่การใช้งาน NumberPad เราจะใช้งานทัชแพดปกติไม่ได้นะ
ประสิทธิภาพการเล่นเกม TUF Gaming FX505 VS ROG Strix G531
เฟรมเรมในการเล่นเกมทำออกมาน่าสนใจมากๆ โดยเฉลี่ยของเฟรมเรท (FPS) จากทั้ง 6 เกมที่ได้ทดสอบมีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยมากกว่า 60 FPS ขึ้นไปแทบทุกเกม ซึ่งตรงนี้ก็สามารถชี้วัดความสามารถในการเล่นเกมที่กราฟิกละเอียดๆ และภาพสวยๆ ได้ลื่นไหลเป็นอย่างดีเลย จากการที่สเปกภายในของ ASUS TUF Gaming FX505 เป็นชิปประมวลผล AMD Ryzen 5 3550H ที่สามารถรีดพลัง NVIDIA GeForce RTX 2060 ออกมาได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับยังใช้แรม 16GB DDR4 Bus 2400MHz รวมไปถึง SSD NVMe ความจุ 512GB
ส่วน ASUS ROG Strix G531 สเปกจะเป็น Intel Core i7-9750H ผสานกับการ์ดจอ NVIDIA GeForce GTX 1660 Ti สำหรับแรมมีขนาดเท่ากันที่ 16GB DDR4 แต่เป็น Bus 2666 MHz และ SSD ประสิทธิภาพก็มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ส่งผลช่วยด้วยในการทดสอบเล่นเกม จากการทดสอบเกมกินทรัพยากรพอตัวอย่าง BF V / GTA V / FarCry 5 โดยกราฟิกปรับระดับสูงสุดทั้งหมด ให้เฟรมเรทเฉลี่ยแล้วสูงกว่า 60 ทั้งหมด เรียกได้ว่าเหลือๆ กับการตอบสนองความต้องการเล่นเกมได้สมบูรณ์ที่สุดแล้ว ซึ่งถ้าอยากให้เฟรมเรทลื่นไหลกว่านี้ก็สามารถเลือกปรับกราฟิกระดับกลางๆ ก็ได้ จากกราฟเห็นได้ว่ามีความใกล้เคียงกันเรื่องของประสิทธิภาพความแรงทีเดียว แต่ดูเหมือน ASUS ROG Strix G531 จะให้เฟรมเรทที่สูงกว่า ASUS TUF Gaming FX505 เล็กน้อย
ต่อกันที่เกมออนไลน์อย่าง PUBG / Overwatch / DOTA 2 ก็จัดการทดสอบแบบปรับสุดหมดให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับเฟรมเรทที่สูงสุด แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 80 – 90 – 120 ขึ้นไปตลอด สรุปแล้วก็ยังมีความใกล้เคียงกัน แต่ดูเหมือน ASUS TUF Gaming FX505 จะได้เปรียนมากกว่า จากสเปกการ์ดจอที่แรงกว่า ASUS ROG Strix G531
ที่สำคัญด้วยหน้าจอพาเนล IPS แบบ Refresh Rate ที่ 120Hz หรือ 240Hz ของ Gaming Notebook ทั้ง 2 รุ่น ทำให้เกมมีความลื่นไหลกับฉากที่เคลื่อนไหวเร็วๆ เวลาที่เราปรับให้ปล่อยเฟรมเรทสูงๆ แบบสุดๆ หมดปัญหาภาพฉีก หรือภาพกระตุกไปเลย แต่นั่นก็ต้องอยู่กับตัวเกมด้วยว่าขับเฟรมเรทได้แค่ไหน ถ้าเกมกินสเปกหนักๆ 120 – 240 เฟรมเรท อาจไม่เห็นผลมากนักกับความลื่นไหล หรือเอาจริงๆ ถ้าอยากให้เฟรมเรทสูงตลอดเวลาต้องปรับลงมากลางๆ หน่อย
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับความแตกต่างระหว่าง ASUS Gaming Notebook : TUF Gaming FX505 / ROG Strix G531 น่าจะพอเลือกกันได้แล้ว สรุปก็คือ เน้นแรงเน้นคุ้มลองดูเป็น TUF Gaming FX505 เพราะด้วยประสิทธิภาพต่อราคานับว่าน่าซื้อสุดๆ ส่วนกรณีที่งบสูงหน่อย อยากได้ประสบการณ์ใช้งานล้ำๆ ดีไซน์สวยงามตามสไตล์ของ ROG มีไฟ RGB รอบตัว ก็เลือกเป็น ROG Strix G531 ได้เลย ปิดท้ายอีกเล็กน้อยกับผลทดสอบแบตเตอรี่ ที่จะเป็นว่า TUF Gaming FX505 จะสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า ROG Strix G531 เล็กน้อย
TUF Gaming FX505 / ROG Strix G531