Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

5 เทคนิคการใช้ SSD พร้อมกับฮาร์ดดิสค์เพื่อประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขั้นสุด

ปัจจุบันโน้ตบุีคหลายรุ่นโดยเฉพาะสายเกมเมอร์สเปคแรง หรือแม้กระทั่งพีซีก็ล้วนแต่ออกแบบให้สามารถติดตั้งหน่วยความจำทั้งแบบ SSD และฮาร์ดดิสค์ควบคู่กันได้โดยไม่ต้องแบ่งแยกหรือเลือกใช้แค่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่หน่วยความจำทั้ง 2 รูปแบบก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน วันนี้ทีมงาน NBS เลยขอแนะนำ 5 วิธีใช้หน่วยความจำทั้ง 2 แบบคู่กันให้ได้ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าสูงที่สุดกันครับ

bigstock Ssd Vs Hdd New Vs Old New Te

Advertisement

ก่อนอื่นแนะนำให้ทุกท่านอ่าน 2 บทความนี้ทั้ง ข้อจำกัดของ SSD คิดให้ดีก่อนใช้ และ 5 จุดเด่นที่ทำให้ฮาร์ดดิสค์ยังเจ๋งกว่า SSD เพื่อทำความเข้าใจจุดเด่นจุดด้อยของทั้งหน่วยความจำแบบฮาร์ดดิสค์ และหน่วยความจำแบบ SSD กันก่อนนะครับ หรือพูดง่ายๆคือฮาร์ดดิสค์ราคาถูก กู้ข้อมูลได้ เก็บได้นาน แต่อ่านเขียนช้า ส่วน SSD อ่านเขียนไว แต่กู้ข้อมูลไม่ได้ และราคาต่อความจุแพงกว่า

1. ใช้ SSD ในการลงวินโดวส์และโปรแกรมหรือเกมที่เล่นบ่อยๆ

อย่างแรกแน่นอนว่าหลายท่านใช้งาน SSD เพื่อลงวินโดวส์สำหรับใช้งานเป็นหลักเพราะช่วยให้เปิดวินโดวส์ได้เร็วไม่ต้องรอนาน เปิดโปรแกรมได้ไว แต่ด้วยความจุของ SSD ที่ส่วนใหญ่จะไม่สูงมาก (เพราะถ้าความจุสูงก็จะมีราคาแพง) ทำให้ถ้าเราติดตั้งโปรแกรมทุกอย่าง เกมทุกเกมลง SSD ทั้งหมดจะทำให้เต็มความจุอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเกมภาพสวยๆในปัจจุบันล้วนแต่กินพื้นที่ความจุระดับสิบจนไปถึงหลักร้อย GB นี่ยังไม่นับไฟล์งานที่เราโหลดมา ไฟล์เอกสารต่างๆในหน้า Desktop ที่ยิ่งทำให้ไดร์ฟ C ที่เป็น SSD เต็มไวมากขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเลือกลงโปรแกรมในไดร์ฟ C สักหน่อย เน้นเฉพาะโปรแกรมที่ใช้งานบ่อยๆ ความจุไม่สูง หรือแค่บางเกมเท่านั้น ก็จะช่วยให้มีพื้นที่ใช้งานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น

SSD Vs HDD Comparison e1518592112763

2.  เลือกลงโปรแกรมที่ไม่ค่อยได้ใช้ หรือเกมที่นานๆเล่นทีไว้ในฮาร์ดดิสค์

ต่อเนื่องจากข้อแรก เมื่อไดร์ฟ C ที่เป็น SSD เลือกติดตั้งแค่บางโปรแกรม แล้วโปรแกรมที่เหลือจะไปไหนละ ก็ต้องเลือกมาลงที่ตัวฮาร์ดดิสค์แทนไงละครับ โดยเฉพาะโปรแกรมที่กินพื้นที่มาก ไปจนถึงเกมกราฟิกสูงๆ ที่แม้อาจจะเสียเวลาโหลดเกมนานอีกหน่อย แต่ก็มีพื้นที่เหลือเฟือในการใช้งานไม่ต้องกังวลว่าจะเต็มเร็ว อีกทั้งบางเกมก็ไม่ได้เล่นบ่อยๆ บางเกมเปิดช้าหน่อยครั้งแรกแต่พอโหลดเกมเสร็จแล้วก็เล่นได้อีกยาวโดยไม่ต้องโหลดฉากใหม่อีก

3. คัดลอกข้อมูลลงไดร์ฟ SSD ก่อน แล้วค่อยเลือกไปเก็บที่ฮาร์ดดิสค์

อีกเทคนิคที่อยากแนะนำคือเมื่อมีพื้นที่ใน SSD เหลือ สามารถคัดลอกข้อมูลมาพักใน SSD ก่อน จากนั้นค่อยนำไปไว้ในฮาร์ดดิสค์ กล่าวคือถ้าหากเราคัดลอกจากแฟลชไดร์ฟหรือ SSD พกพาที่มีความเร็วสูง ถ้าคัดลอกไปที่ฮาร์ดดิสค์ก่อนจะทำให้เสียเวลาอย่างมากเพราะต้องรอจากของฮาร์ดดิสค์หมุน แต่ถ้าคัดลอกไปไว้ที่ SSD ก่อน จะสามารถคัดลอกได้เร็วกว่ามาก จากนั้นเราก็นำไฟล์ไปใช้งานต่อได้เลยเสร็จแล้วค่อยโยนไปเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสค์ หรือคัดลอกเสร็จแล้วค่อยโยนไปไว้ที่ฮาร์ดดิสค์จะสะดวกกว่าไม่ต้องให้เจ้าของแฟลชไดร์ฟรอนานด้วยครับ

584559 buying a solid state drive 20 terms you need to know

4. ไฟล์งานสำคัญเก็บไวในฮาร์ดดิสค์ปลอดภัยกว่า

สำหรับท่านที่มีไฟล์งานสำคัญทื่สูญหายไม่ได้ หรือมีโปรเจ็คงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ผมแนะนำให้เก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสค์จะปลอดภัยกว่า เพราะต่อให้ฮาร์ดดิสค์พังก็ยังสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้ แต่ถ้า SSD พังนี่แทบกู้ข้อมูลไม่ได้เลย หรือจะเก็บแบบคู่ขนาดไปด้วยก็ได้คือเซฟมันไว้ทั้ง SSD และ ฮาร์ดดิสค์เผื่อไว้

5. ปิดเครื่องให้เหมาะสม เคลียไดร์ฟ Defragment ฮาร์ดดิสค์

สุดท้ายจะเป็นเรื่องของการบำรุงรักษามากกว่าครับ อย่างแรกคือการปิดเครื่องที่เหมาะสมเช่นการสั่ง Shut Down ตามระบบของวินโดวส์ไม่ใช่กดปุ่มปิดที่เครื่องหรือถอดปลั๊กก่อนเครื่องดับ หากมีไฟตก ไฟดับ ไฟกระชากบ่อยๆควรมี UPS มาใช้งาน เคลียไฟล์ในถังขยะ สั่ง disk cleanup ทั้ง SSD และ ฮาร์ดดิสค์ ไปจนถึงการทำ Disk Defragment ตัวฮาร์ดดิสค์เป็นประจำก็จะช่วยให้อ่านเขียนข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น

##แล้วทุกท่านละครับมีเทคนิคการใช้งานหน่วยความจำอย่างไรบ้างครับ##

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ถ้าประกอบคอมหรือซื้อโน๊ตบุ๊คมาสักเครื่อง นาทีนี้เป็นใครก็อยากได้ SSD 1TB มาใส่ในเครื่องสัก 1~2 ชิ้นแน่นอน จะได้ติดตั้งโปรแกรมทำงาน, เกมและเก็บไฟล์งานเรียกใช้บ่อยได้สะดวก เพราะตอนนี้จะเกมหรือโปรแกรมไหนก็กินพื้นที่กันหลัก 50~100GB กันทั้งนั้น ยังไม่รวมส่วนเสริมอีกร้อยแปดสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้งานเสร็จเร็วหรือน่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งอาจใช้พื้นที่เพิ่มอีกพอควร ยิ่งตอนนี้โน๊ตบุ๊คทำงานขนาดปกติกับเกมมิ่งส่วนใหญ่ก็ติดตั้ง SSD ตัวเสริมเข้าไปได้แทบทุกรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจะซื้อมาใส่ในเครื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งานก็ดี เปิดเครื่องมาตั้งค่าอีกหน่อยก็ใช้งานได้เลย อย่างไรก็ตาม SSD ในปัจจุบันจะมีอินเทอร์เฟสให้เลือกหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ PCIe 3.0...

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

PC Review

WD Blue SN5000 1TB เปิดเครื่องไว ก็อปปี้ไฟล์ ย้ายข้อมูลรวดเร็ว SSD เพื่อสายทำงาน สาย AI และงานที่เร่งด่วน WD Blue SN5000 เป็นหนึ่งในซีรีย์ของ SSD ระดับเพาเวอร์ยูสเซอร์และเกมเมอร์ของทาง WD ที่ออกแบบมาให้กับผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานด้านความเร็ว ในการอ่านและเขียนข้อมูล บนมาตรฐาน M.2 NVMe...

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก