CPU ซีรี่ย์ Comet Lake-U ที่กำลังจะมา รวมถึง iGPU(การ์ดจอภายใน) รุ่นใหม่ได้ปรากฎอยู่บน GFXBench โดยขึ้นมาเหนือ Core i5-8265U และ Ryzen 7 2700U สำหรับ Core i3-10110U นั้นให้ประสิทธิภาพที่น่าประทับใจกับชิปขนาด 15W
Core i3-10110U นั้นเป็นโมเดลแบบ entry-level ในซีรี่ย์ Comet Lake U ที่ผลิตด้วยสถาปัตยกรรมขนาด 14nm++ FinFET ซึ่งผู้ผลิต OEM นิยมนำไปใช้ในโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่และอัลตร้าบุ๊ค นอกจากนี้ในรายการข้อมูลของ GFXBench นั้นยังบอกด้วยว่า Core i3-10110U นั้นให้ประสิทธิภาพกราฟฟิกได้สูงทั้งที่มีเพียง 2 Core เท่านั้น
จากข้อมูลยืนยันว่าตัว CPU จะมี clock พื้นฐานอยู่ที่ 2.1GHz และ Wccftech ยังยืนยันอีกว่าความเร็ว clock สามารถบูสได้ถึง 4.1GHz สำหรับ single core และ 3.7GHz สำหรับ dual core อีกทั้ง Core i3-10110U จะรองรับ Hyper-Threading ด้วย ซึ่งหมายความว่าจะสามารถรัน 4 Thread ได้พร้อมๆกัน
ค่อนข้างน่าคาดหวังกับเครื่องที่ใช้งานชิปซีรี่ย์ Comet Lake U ที่มาพร้อม Intel UHD Graphic GPU รุ่นใหม่ที่ GFXBench ให้การสนับสนุน โดยตามฐานข้อมูลของ GFXBench นั้น Core i3-10110U ทำคะแนนได้มากกว่า Core i5-8265U ถึง 86% และ 38% บน onscreen Manhattan 3.1 และ T-Rex GFXBench 5.0 benchmark แม้ส่วนต่างจะเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแบบ offscreen แต่ทว่าส่วนต่างระหว่าง Core i3-8145U กับ Core i3-10110U นั้นกว้างเป็นอย่างมาก
ทว่าเมื่อเทียบกับ Ryzen 7 2700U แล้ว Core i3-10110U นั้นแรงกว่าเพียง 10% เท่านั้น อีกทั้งในฐานข้อมูลของ GFXBench นั้นยังไม่มีข้อมูลของ Ryzen 5 3500U และ Ryzen 7 3700U อยู่เลยทำให้ไม่สามารถนำมาเทียบได้ สิ่งที่น่าสนใจของชิป Comet Lake U นั้นคือการที่สามารถทำคะแนนได้เหนือกว่า GeForce MX250 การทดสอบมาตราฐาน Manhattan 3.1 และ T-Rex แบบ onscreen ทว่ากลับทำได้ไม่ค่อยดีในการทดสอบแบบอื่นรวมถึงการทดสอบแบบ offscreen ด้วย
อย่าพึ่งเข้าใจผิดว่า GPU UHD Graphic ใน Core i3-10110U นั้นก็ไม่ได้มีความแรงมากนัก โดยหลักๆแล้วเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ UHD Graphic 620 ที่เป็นรุ่นดัดแปลงของ HD Graphic 620 ส่วน Core i3-1005G1 นั้นควรที่จะมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นไปอีกจากการที่ผลิตด้วยสถาปัตยกรรมขนาด 10nm และใช้ GPU Gen 11 สำหรับ CPU Comet Lake U นั้นออกมาปิดช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่าง UHD Graphic 620 กับ RX Vega 10 ซึ่งนี่ถือเป็นงานสำคัญอย่างหนึ่งที่ Intel ต้องรีบแก้
ที่มา : notebookcheck