MSI Prestige PS42 เป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานที่มีความโดดเด่นด้วยความบาง 15.9 มม. และน้ำหนักที่เบาเพียง 1.19 กิโลกรัม รูปแบบ Ultrabook เรียกได้ว่าถือมือเดียวได้สบายๆ พกพาไปใช้งานนอกบ้านได้อย่างสะดวก มาพร้อมกับชิปประมวลผล Core i5-8250U กราฟิกการ์ดจาก NVIDIA GeForce MX150 แรม 8GB พร้อม SSD NVMe ความจุ 256GB ได้ Windows 10 ในราคาที่ 23,900 บาท มีระบบ Finger Scan ด้วย
ส่วน MacBook Air Late 2018 ของ Apple รุ่นที่ถูกที่สุดนั้นจะอยู่ที่ 42,900 บาท มาพร้อมสเปก Core i5-8210Y แรม 8GB DDR3L ได้ SSD 128GB หน้าจอรุ่นใหม่ที่เป็นความละเอียดสูงคุณภาพสูง Retina Display, ขอบหน้าจอที่บางลงกว่าเดิม, Touch ID, Trackpad ที่ใหญ่มากขึ้นกว่าเดิมและตัวเครื่องที่เล็กลงกว่าเดิม เรียกได้ว่าเป็น MacBook ที่หลายคนรอคอยหลังจากที่ไม่ได้อัพเดทมานานหลายปี
ในบทความนี้เราเลยจะมาเทียบกันดูว่าโน๊ตบุ๊คทั้ง 2 รุ่นนี้มีจุดเด่นอะไรบ้าง ฝ่ายไหนชนะอะไร โดย MSI Prestige PS42 จะเป็นตัวแทนของ Ultrabook รุ่นใหม่ ท้าชน MacBook Air ที่เป็น MacBook รุ่นราคาถูกที่สุด !!!
Specification
MSI Prestige PS42 มีสเปกขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล พาเนลคุณภาพสูงอย่าง IPS ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริง มุมมองกว้างถึง 170 องศา ด้านประสิทธิภาพด้วยอย่างการใช้ชิปประมวลผล Intel Core i5-8250U ความเร็ว 1.6GHz ที่สามารถเร่งการทำงานไปได้ถึง 3.4GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 4 คอร์ 8 เทรด ซึ่งแน่นอนว่าให้ทั้งความแรงและใช้งานได้ยาวนาน เป็นสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 8 (Coffee Lake) รุ่นล่าสุด
ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDR4 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งานแน่นอน ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็น NVIDIA GeForce MX150 2GB GDDR5 ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานรองรับ 3 มิติได้ดี เล่นเกมออนไลน์ได้สบายๆ สำหรับฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงแบบ SSD M.2 ความจุ 256GB ที่สำคัญยังเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ Wireless AC และ Bluetooth 5.0 ด้วย อีกทั้งยังมีน้ำหนักเพียง 1.19 กิโลกรัมเท่านั้น !!!
นอกจากนี้ในส่วนของกล้องด้านหน้ารองรับการใช้งาน VDO Call ติดตั้งไว้เหนือขอบหน้าจอ แม้จะมีขอบจอบางมากๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้มาใช้งานได้ทันทีในการเปิดเครื่องครั้งแรก สนนราคา MSI Prestige PS42 อยู่ที่ 23,900 บาทพร้อมการรับประกัน 2 ปี ตามมาตรฐานของ MSI
MacBook Air Late 2018 มีสเปกเหนือกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปด้วยความละเอียดระดับ Retina Display ที่ 2560 x 1600 พิกเซล กับสัดส่วน 16:10 เหมือนกับ MacBook รุ่นอื่นๆ ส่วนพาเนลเป็น IPS คุณภาพสูง ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริงและมุมมองที่กว้างขว้าง ด้านชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-8210Y ความเร็ว 1.6 – 3.6GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด รุ่นล่าสุดที่เน้นการประหยัดไฟและลดความร้อน ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้พัดลมระบาย
ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 bus 2133 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งาน ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel UHD Graphics 617 ที่เรียกได้เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปในความละเอียดสูงๆ นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD NVMe ความเร็วสูงที่ 128GBทำให้มีความเร็วสูงทั้งเขียนและอ่าน
ติดตั้งกล้อง Webcam ความคมชัดระดับ 720p และไมโครโฟนแบบ Dual Microphone ไว้สำหรับแชท และวิดีโอคอลได้อย่างคมชัดลื่นไหล พอร์ตเชื่อมต่อเองก็จะมี Thunderbolt 3 และเป็น USB-C 3.1 Gen 2 ในตัว จำนวน 2 พอร์ต ส่วนช่องต่อหูฟังอย่าง Audio Combo Jack อย่างคงอยู่ปกติ แน่นอนว่ารองรับการเชื่อมไร้สายอย่าง Wireless 802.11 ac , Bluetooth 4.2 มาพร้อมระบบปฏิบัติการ macOS Mojave สนนราคาที่ 42,900 บาท สำหรับรุ่นถูกสุด ประกัน 1 ปีตามปกติของ Apple
สำหรับในฝั่งของสเปกจะเห็นว่า MSI Prestige PS42 มีความแรงกว่า ทั้งชิปประมวลผล แรม SSD ที่มากกว่า แถมมีการ์ดจอแยกด้วย ซึ่งถ้า MacBook Air Late 2018 จะเหนือกว่าคงเป็นส่วนของหน้าจอที่คุณภาพสูงและละเอียดกว่า
Hardware / Design
MSI Prestige PS42 ถือว่าเป็น Ultrabook รุ่นล่าสุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่ถูกต่อยอดมาจาก MSI Prestige รุ่นก่อนทำได้ดีมากๆ ในเรื่องของการดีไซน์ที่เน้นความบางเบา พกพาได้สะดวก โดยยังรักษาความเป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานมืออาชีพได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยน้ำหนักเพียง 1.19 กิโลกรัม ทำให้ถือมือเดียวได้สบายๆ การออกแบบให้ความรู้สึกที่ดุดันพรีเมียมด้วยวัสดุอะลูมิเนียมตลอดทั้งตัวเครื่อง
โดยฝาหลังและดีไซน์ทั้งหมดมีการเลือกใช้ให้มีความเข้ากันอย่างที่สุด กับพื้นผิวส่วนของฝาหลังและตัวเครื่องด้านในเป็นลวดลายแบบปัดเสี้ยน พร้อมกับใช้สีเงิน Silver และเทาสว่าง ตลอดทั้งตัวเครื่อง ตั้งแต่โลโก้ ขอบตัวเครื่อง ทัชแพด แกนบานพับ ช่องระบายความร้อน
ขอบหน้าจอที่บางลงอย่างเห็นได้ชัดที่ 5.7 มิลลิเมตร ทั้งด้านซ้ายขวาและขอบบน กล้องเว็บแคมถูกติดตั้งลงไปบนขอบที่บางมากๆ ซึ่งการใช้งานจริงมุมมองมันก็จะดูปกติดี ต่างจากบางแบรนด์ที่เลือกย้ายที่ไปเลย ส่วนความบางตัวเครื่องอยู่ที่ 15.9 มิลลิเมตรเท่านั้น
ส่งผลให้ตลอดทั้งตัวเครื่องมีมิติตัวเครื่องที่เล็กลงกว่าโน๊ตบุ๊คทำงานหน้าจอ 14″ ทั่วไป ซึ่งโดยรวมแล้ว MSI Prestige PS42 ไม่ใช่แค่บางเบาและสเปกดีแต่ในประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยมด้วย ถือว่า MSI นำเสนอโน๊ตบุ๊คที่ทั้งเบามากๆ แถมยังบางสุดๆ ท้าชนกับแบรนด์อื่นๆ ได้อย่างสบายๆ เลย
MacBook Air Late 2018 ถือว่าดีไซน์การออกแบบเป็นความใหม่ทั้งหมดเมื่อเทียบกับ MacBook Air รุ่นเก่า เพราะด้วยดีไซน์จากรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงไปก่อนแล้วคือ MacBook และ MacBook Pro กับน้ำหนักที่ 1.25 กิโลกรัม รวมไปถึงความบางของตัวเครื่องก็บางเพียง 4.1 – 15.6 มิลลิเมตรเท่านั้น จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา เน้นพกพา
ขนาดตัวเครื่องและความบางที่ว่าไปแล้วของ MacBook Air Late 2018 จะมีความแตกต่างจาก MacBook Pro รุ่นหน้าจอ 13 นิ้ว แม้ว่าจะมีขนาดหน้าจอที่เท่ากัน แต่ก็มีความบางและเบากว่า พร้อมขอบหน้าจอบางตามเทคโนโลยีที่ผลิตได้ง่ายแล้ว
ด้วยสเปกชิปประมวลผลที่เป็น Intel Core i ตระกูล Y ที่สามารถทำได้ได้โดยไร้พัดลม ต่างจาก MacBook Pro ที่ใช้ Intel Core i ตระกูล U ที่ยังจำเป็นต้องมีพัดลมสองตัว อย่างไรก็ตามในเรื่องประสิทธิภาพก็ต้องยอมรับว่า MacBook Pro นั้นยังเหนือกว่า ถ้าใช้งานหนักจริงๆ
สำหรับวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา
ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา เป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก
โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น ที่สำคัญ MacBook Air 2018 Late 2018 ยังเลือกใช้อะลูมิเนียมอัลลอยด์ที่รวบรวมมาจากการรีไซเคิลด้วย ทำให้เป็น MacBook ที่รักษ์โลกที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้
ในส่วนของดีไซน์การออกแบบอันนี้คงแล้วแต่คนชอบจริงๆ บางคนอาจจะชอบลายเยอะ หรือแบบเรียบๆ ซึ่งถ้าพูดความพรีเมียมเรื่องวัสดุ ผิวสัมผัสแล้วล่ะก็คงต้องยกให้ MacBook Air Late 2018 ไป
Keyboard / Touchpad
MSI Prestige PS42 จัดว่าเป็นคีย์บอร์ดและทัชแพดรูปแบบคล้ายกับ Gaming Notebook บางเบาของ MSI เอง ทั้งอารมณ์การตอบสนองของแป้นพิมพ์ แรงกด ด้วยการที่รูปแบบปุ่มมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าคีย์บอร์ด MSI แบบเดิมๆ ที่สำคัญด้วยไฟ LED สีขาวสวยงาม เข้ากับตัวปุ่มสีเงินเทาเป็นอย่างดี ดูแล้วสะอาดตา พรีเมียมสุดๆ แน่นอนว่าไม่มีชุด Numpad อยู่แล้ว จากการที่ตัวเครื่องมีมิติที่ลงนั่นเอง
ทัชแพดมีขนาดใหญ่ โดยดูเป็นเนื้อเดียวกับตัวเครื่อง ตัวปุ่มคลิกเป็นแบบชิ้นเดียวกับทัชแพด ส่วนปุ่มคลิกทั้งซ้ายขวาก็อาจจะมีความแข็งพอดีๆ การใช้งานโดยจัดได้ว่าอยู่ในระดับรับได้ (ถ้าเน้นใช้เมาส์ไม่ต้องซีเรียสมาก) มีการตัดขอบด้านบนดูโค้งมน เข้ากับตัวเครื่องโดยรวม
นอกเหนือจากนี้ยังมีฟีเจอร์อย่างสแกนลายนิ้วมือ Finger Print ไว้ให้ใช้งานร่วมกับ Windows Hello เพื่อที่จะเข้าใช้งานตัวเครื่องเพื่อความปลอดภัยแบบไม่ต้องใส่รหัสไปมาทุกครั้งอีกด้วย ส่วนการใช้งานก็ตอบสนองได้รวดเร็วไม่แพ้มือถือในปัจจุบันเลยล่ะ
MacBook Air Late 2018 มีคีย์บอร์ดมีดีไซน์การทำงานใหม่อย่างปีกผีเสื้อที่เมื่อกดแล้วจะลงไปตรงๆ ไม่เด้งไปทิศทางอื่นๆ รวมไปถึงตัวแป้นแต่ละปุ่มเองก็มีความใหญ่กว่าเดิม ส่วน Layout คีย์บอร์ดยังคงเป็น 4 แถวขนาด Full Size ซึ่งในด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด แต่ก็รู้สึกแปลกออกไปเพราะตัวแป้นเองมีความตื้นมากกว่าเดิม
สำหรับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ตรงนี้ได้มีการใส่ไฟ LED เอาไว้ในแต่ละปุ่มเลย ทำให้ความสว่างี่ออกมานั้นมีความสม่ำเสมอกันมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าสามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการของลักษณะแสงและ Ambient Light Sensor
Trackpad มีลักษณะรูปแบบเดียวกับ MacBook รุ่นอื่นๆ โดยมีขนาดใหญ่กว่า 20% จากรุ่นเดิม แน่นอนว่าวัสดุที่ทำออกมายังใช้งานได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ รวมถึงการใช้งาน Multi-Touch Gesture แต่ล่าสุดทาง Apple ได้บรรจงใส่เทคโนโลยี Force Touch แทนแบบเดิมๆ
ที่โดดเด่นคือ Touch ID ซึ่งเข้ามาไว้ใช้ใน MacBook Air Late 2018 แค่วางนิ้วบน เซ็นเซอร์ Touch ID ก็ปลดล็อค Mac ได้ทันที ง่ายๆ แค่นั้น และเรายังใช้ลายนิ้วมือเพื่อเข้าถึงเอกสาร โน้ต และการตั้งค่า ระบบที่ล็อคไว้ได้เลยโดยไม่ต้องป้อนรหัสผ่านซ้ำๆ โดยทำงานร่วมกับ Apple T2 Security ชิปรุ่นที่ 2 ที่ Apple ออกแบบขึ้นสำหรับ Mac โดยเฉพาะ
สำหรับคีย์บอร์ด MSI Prestige PS42 ให้ความรู้สึกที่ดีกว่า แต่ส่วนของ Trackpad ฝั่ง MacBook Air Late 2018 ตอบสนองได้มากกว่า และระบบสแกนลายนิ้วมือ MacBook Air Late 2018 เป็นทั้งปุ่มเปิดปิดพร้อมมีฟีเจอร์ที่มากกว่า
Screen / Speaker
MSI Prestige PS42 ได้ติดตั้งหน้าจอขนาด 14 นิ้ว สัดส่วน 16:9 ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD ซึ่งให้ประสบการณ์การใช้งานที่ค่อนข้างน่าประทับใจ โดยการใช้หน้า Desktop ปกติที่ตัวหนังสือหรือปุ่มต่างๆ มีความเรียบเนียนตาทำให้ใช้งานได้สะดวก ขอบจอจะเป็นพลาสติกสีดำบางฉียบเพียง 5.7 มิลลิเมตรเท่านั้น
เรียกได้ว่ากำลังพอดีทีเดียว และด้วยความที่จอเป็นแบบด้านที่ให้เรื่องสีสันสดใส แต่ในการใช้งานไม่ควรหันจอไปทางแหล่งกำเนิดแสงหรือในที่ที่สว่างมากๆ เพราะอาจจะรบกวนการทำงานของเราได้ เมื่อใช้การดูภาพ ดูวิดีโอ และเล่นเกมก็ทำได้อย่างเป็นอย่างดี ส่วนบานพับก็แข็งแรงกว่ารุ่นพร้อมกางได้ถึง 180 องศา
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 89% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 250 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ควรคาลิเบรตเสียก่อน
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ไม่มีผิดเพี้ยน แต่สำหรับช่องมุมบนซ้ายและขวาล่างมีแสงสว่างที่ลดลงไปที่ 10% ปิดท้ายด้วยคะแนนรวมที่ 4.0 ถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่ทำคะแนนได้ดีมากๆ ตัวนึง
MacBook Air Late 2018 มีหน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว สัดส่วน 16:10 เป็นแบบ Glare หรือจอกระจกด้วยการใช้กระจกเพียงชิ้นเดียวกั้นหน้าจอเอาไว้ พาเนลเป็น IPS คุณภาพสูงที่ให้มีสีสันที่สดใส แต่ด้วยสารเคลือบพิเศษทำให้มีแสงสะท้อนน้อย (แต่ก็ยังเยอะอยู่ดีถ้าหันไปหาแสงตรงๆ) รวมไปถึงมีความสวยงามกว่า MacBook Air รุ่นก่อน ให้สีสันดีกว่าเดิม 48% ที่เป็นพาเนล TN ปกติ ส่วนบริเวณขอบจอโดยรอบจะมียางรองไว้ป้องกันการที่ตัวเครื่องและฝากระทบกันในตอนที่ปิดฝาเครื่องลง
สำหรับเทคโนโลยีหน้าจอ Retina Display ใน MacBook Air Late 2018 ซึ่งมีความละเอียดอยู่ที่ 2650 x 1600 พิกเซล ที่มีความหนาแน่นของพิกเซลสูงถึง 227 ppi เรียกได้ว่ามีความหนาแน่นกว่า MacBook Pro 13 ซึ่งมีพื้นที่ในการใช้งานจริงมาตรฐานที่ 1440 x 900 พิกเซล (อย่างไรก็ตามเราสามารถปรับขยายพื้นที่ได้ในการใช้งานบางกรณี แต่ก็จะสูญเสียความเป็น Retina Display ที่มีความเรียบเนียนไป)
MacBook Air Late 2018 ให้ขอบเขตการแสดงสีสัน sRGB ที่ 94% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 300 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ควรคาลิเบรตเสียก่อน
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ไม่มีผิดเพี้ยน แต่สำหรับช่องมุมขวาล่างเมีแสงสว่างที่ลดลงไปที่ 11% ปิดท้ายด้วยคะแนนรวมที่ 4.5 ถือว่าเป็นสมกับมาตรฐานของ MacBook จาก Apple
MSI Prestige PS42 มีซอฟแวร์ปรับแต่งเสียง Nahimic เวอร์ชั่น 3 สู่ระบบเสียงที่ดีที่สุด คุณภาพเสียงการใช้งานต่าง ๆ ยังสามารถทำออกมาได้ดี น่าประทับใจให้เสียงที่ดังพอตัว โดยลำโพงยังจัดวางมาในตำแหน่งส่วนของขอบตัวเครื่องด้านหน้าในส่วนด้านใต้เครื่อง แบบขนาด 2W x 2 คุณภาพเสียงเบสให้แน่นลึกยิ่งกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป เพราะชุดลำโพงข้างในขยับได้เมื่อต้องการเสียงทุ่ม
MacBook Air Late 2018 ลำโพงสเตอริโอจะติดตั้งบริเวณซ้ายและขวาของชุดคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับ MacBook Pro 13 จากการทดลองใช้งานจริง ถือว่าด้อยกว่าลำโพงของ MacBook Pro 15 พอสมควร เพราะให้ได้เพียงเสียงแหลม เสียงกลางเท่านั้น โดยเสียงทุ้มที่ก็มีมาให้เรียกได้ว่าแทบไม่มี ลักษณะเสียงออกไปแนวกลางๆ ไม่ค่อยใสเคลียร์เท่าใดนัก
ในส่วนของหน้าจอต้องยกให้ MacBook Air Late 2018 จริงๆ เพราะคุณภาพดีกว่า แต่ MSI Prestige PS42 ก็เป็นรองไม่มาก แถมราคาก็ถูกกว่าเยอะ เรื่องของลำโพงคุณภาพเสียง ทดลองฟังแล้วก็ใกล้เคียงกัน จัดว่าอยู่ในเหณฑ์เดียวกันได้เลย
Connector / Thin And Weight
MSI Prestige PS42 จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานบางเบาหน้าจอ 14″ ซึ่งมีไซส์และมิติโดยรวมเล็กกระทัดรัดกว่าปกติ ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น 2 x USB 3.1 Type-A , USB 3.1 Type-C, 1x HDMI 1.4, SD Card Reader และ Mic-in/Headphone-out อย่างไรก็ตาม พอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ อาจจะดูไม่มากมายเท่าพวกโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6″ แต่ในการใช้งานจริงก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้วล่ะ อีกทั้งมีเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 5.0 และ Wi-Fi 802.11 ac
MacBook Air Late 2018 ไม่ซับซ้อนเหมือนกับ MacBook Pro 13 รุ่นเริ่มต้นก็ว่าได้ เพราะฝั่งซ้ายจะมี Thunderbolt 3 (หรือ USB 3.1 Gen 2) ที่รองรับการเชื่อมต่อมาตรฐาน Thunderbolt 3 ด้วยอยู่ 2 พอร์ต สามารถใช้พอร์ตไหนเสียบสายชาร์จเครื่องจากอะแดปเตอร์ก็ได้ ส่วนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น หากอุปกรณ์นั้นไม่ได้มีหัว USB-C ก็ต้องต่อผ่านตัวแปลงนั่นเอง อาจจะลำบากหน่อยสำหรับคนที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่เป็น USB-A อย่างเมาส์หรือแฟลชไดร์ฟ ส่วนช่องต่อหูฟังแบบ 3.5 มิลลิเมตรยังคงมีอยู่ปกติ มีเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 4.2 และ Wi-Fi 802.11 ac
MSI Prestige PS42 ก็ถือว่าทำได้เยี่ยมยอดเมื่อเทียบกับสเปก ด้วยน้ำหนักตัวเครื่องเพียง 1.19 กิโลกรัมเท่านั้น ดีกว่าตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คค่ายอื่นๆ ที่ใช้สเปกนี้มาก ที่สำคัญอแดปเตอร์จ่ายไฟที่ 65 Watt นั้น มีขนาดที่เล็กและเบาเช่นเดียว รวมกันแล้วน่าจะไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม
MacBook Air Late 2018 มีขนาดเล็กกว่า เพราะมีขนาดหน้าจอที่เล็กกว่า แต่มีน้ำหนักอยู่ที่ 1.25 กิโลกรัม ส่วนอแดปเตอร์ก็เป็นทรงคล้ายกับ iPad แต่มีขนาดใหญ่กว่า จ่ายไฟที่ 30 Watt พร้อมมีสายชาร์จ Thunderbolt 3 มาให้ด้วย รวมน้ำหนักแล้วอยู่ที่ไม่เกิน 1.5 กิโลกรัมเช่นกัน
MSI Prestige PS42 การเชื่อมต่อทำได้เหนือกว่า ใช้งานจริงได้ง่ายกว่า แม้ MacBook Air Late 2018 จะมาพร้อม Thunderbolt 3 ก็จริง แต่อุปกรณ์ต่อพ่วงก็จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงหรือต่อการ์ดจอแยก eGPU เท่านั้น ส่วนการพกพา ถือว่าพอๆ กัน เพราะ MSI Prestige PS42 เบากว่า แต่ก็ใหญ่กว่า ทำให้ใกล้เคียงกับ MacBook Air Late 2018 นั่นเอง
Performance / Software
MSI Prestige PS42 อย่าที่ทราบกันคือมีสเปกที่เหนือกว่าทั้งชิปประมวลผล แรม การ์ดจอ และ SSD ซึ่งจากการทดสอบเกมจะเป็นเกมที่ไม่หนักมาก แต่เป็นเกมที่คนส่วนมากนิยมเล่นกัน ซึ่งโดยส่วนตัวก็เล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 และ Overwatch ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ Native 1920 x 1080 พิกเซล สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าปรับสุดทุกอย่างเลยสำหรับ DOTA 2 ส่วน Overwatch จะเป็นปรับแบบ Medium โดย Rendering 100% ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับที่น่าประทับใจ
ส่วนเกมออนไลน์อย่าง PUBG ที่นับว่าเป็นอีกเกมที่กินทรัพยากรเครื่องหนัก ก็มาทดสอบด้วยการปรับเป็น Low โดยเฟรมเรทที่ได้มานั้นถือว่าผ่านเลย เล่นได้สบายๆ ภาพก็สวยงามพอตัวไม่ได้แย่อะไร พูดตรงๆ ก็คือพอจะเล่นได้สำหรับเกมออนไลน์แนวนี้ ส่วนเกมอื่นๆ ที่ไม่เกินทรัพยากรเท่าอย่าง CS:GO หรือ Point Blank รวมไปถึงเกมออนไลน์อื่นๆ ก็น่าจะเล่นได้ลื่นๆ อย่างแน่นอน
MacBook Air Late 2018 ตัวสเปกเองไม่ได้ออกแบบมาให้ทำงานหนักๆ รวมไปถึงการเล่นเกมด้วย ด้วยชิปประมวลผล Intel Core i5-8210Y ความเร็ว 1.6 – 3.6GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด รุ่นล่าสุดที่เน้นการประหยัดไฟและลดความร้อน ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้พัดลมระบาย ซึ่งสูงประสิทธิภาพ Intel Core i5-8250U ไม่ได้
ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 bus 2133 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งาน ต่างจาก MSI Prestige PS42 ที่เป็น 8GB DDR4 พร้อมอัพเกรดเพิ่มได้อีก ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel UHD Graphics 617 ที่เรียกได้เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปในความละเอียดสูงๆ แต่เล่นเกมไม่ได้เลย ไม่เหมือน MX150 ที่พอเล่นเกมได้ นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD NVMe ความเร็วสูงที่ 128GB ก็ยังเร็วและความจุสู้ฝั่งของ MSI Prestige PS42 ไม่ได้ที่ 256GB นั่นเอง
สรุปเรื่องของประสิทธิภาพ เห็นได้ชัดว่า MSI Prestige PS42 เหนือกว่า MacBook Air Late 2018 ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเอาเข้าจริงการเทียบแบบนี้อาจจะไม่ยุติธรรมนัก แต่เป็นการย้ำให้เห็นว่า MacBook Air Late 2018 ไม่ได้ออกแบบมาให้ประสิทธิภาพแรงเหลือจนทำงานทุกอย่างได้เท่านั้นเอง ต่างจาก MSI Prestige PS42 ที่ตั้งใจให้เป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงาน พี่พอเล่นเกมได้บ้าง
Battery / Heat / Noise
MSI Prestige PS42 มีแบตเตอรี่ที่ติดตั้งแบบฝังตามปกติ ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โดยจากการทดสอบของ MSI เคลมไว้ว่าใช้งานได้ 10 ชั่วโมง แต่ในการทดสอบพบว่าอยู่ได้ประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง แต่โดยส่วนตัวก็ถือว่ายอมรับได้ จากการที่น้ำหนักเบาตัวเครื่องบาง พกพาอแดปเตอร์ไปอีกตัวก็พอไหวอยู่
สำหรับอุณหภูมิเมื่อใช้งานแบบปกติจะอยู่ที่ประมาณ 33 – 43 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 92 องศาเซลเซียส
MacBook Air Late 2018 นั้สามารถจัดการพลังงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยในสถานะเครื่องเปิดไว้เฉยในสถานะแบตเตอรี่ 100% โดยทดสอบตามสถานะการใช้งานจริงผลเวลาที่ได้ออกมาจะอยู่ที่ประมาณ 9 ชั่วโมงกว่าๆ (ไม่ได้ทดสอบจริงๆ แต่เป็นการนำเว็บไซต์ต่างประเทศหลายๆ เจ้าที่ให้ผลตรงกันมารายงาน) ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับที่ Apple เคลมไว้ที่ 9 – 12 ชั่วโมง
เรื่องความร้อนของเครื่องอุณหภูมิที่ออกมาจัดได้ว่าค่อนข้างเย็นกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป ส่วนตัวเครื่องอุณหภูมิโดนรอบตัวเครื่องทั้งหมดก็ถือว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำ เนื่องด้วยความสามารถของตัววัสดุที่ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็ว รวมไปถึงชิปประมวลผล Intel Core i ตระกูล Y ก็มีการกินไฟที่ต่ำ แบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมระบายความร้อนทีเดียว แต่ก็ทำงานหนักไม่ได้หรืออยู่ในสถานที่กลางแจ้ง เพราะถ้าร้อนเกินไป ชิปประมวลผลก็จะลดความเร็วลงมาเอง
สรุปในเรื่องของการใช้งานแบตเตอรี่ตรงนี้ MacBook Air Late 2018 ทำได้ดีกว่า เพราะใช้ชิปประมวลผลที่ประหยัดพลังงานกว่า แม้ว่าจะเงียบกว่าเพราะไม่มีพัดลม แต่เรื่องของการระบายความ MSI Prestige PS42 เหนือกว่าตรงที่มีพัดลมคอยช่วย ทำให้ประสิทธิภาพจะไม่ตกลงมาเวลาใช้งานหนักๆ
Conclusion / Award
ในบทความ Battle นี้ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า MSI Prestige PS42 ดีกว่า หรือแทนที่จะเป็น MacBook Air อย่างที่หลายๆ คนคิดไปเองว่าจะซื้อโน๊ตบุ๊คบางเบาทั้งทีต้อง MacBook Air เท่านั้นจึงจะเหมาะสม ซึ่งเราอาจจะคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของเราก็เป็นไปได้ ซึ่งถ้าถามว่าใครเป็นคนที่เดือดร้อน ก็คงหนีไม่พ้นที่จะเป็นตัวเราเอง ฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้อ MSI Prestige PS42 หรือ MacBook Air ก็ตาม ควรพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่า ซื้อมาแล้วนั้นจะตรงกับการใช้งานของเราหรือเปล่า
เห็นได้ชัดว่าถ้าเรามองถึงความคุ้มค่าในการใช้งานต่อสเปกและความแรงแล้ว MSI Prestige PS42 ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว ได้ทั้งสเปกที่แรง รวมไปถึงน้ำหนักที่เบามากๆ ในขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ด้วยราคาปัจจุบันที่ 23,900 บาท เป็นอะไรที่ถูกมากๆ ถ้าเราจะหาซื้อโน๊ตบุ๊คสายบางเบาซักเครื่อง ที่ทำงานได้ลื่นไหลหลากหลายรวมไปถึงพอที่จะเล่นเกมได้
แต่ก็ต้องยอมรับว่า MSI Prestige PS42 คงไม่สามารถสมบูรณ์แบบได้ในทุกๆ ด้าน อย่างหน้าจอ วัสดุ แบตเตอรี่ ในส่วนของ MacBook Air นั้นก็เหนือกว่า แต่นั่นก็มีราคาค่าตัวที่สูงกว่าที่ 42,900 บาทเช่นกัน เอาจริงๆ เราอาจจะไม่สามารถเทียบตรงๆ ได้ เพราะ Apple ก็ออกแบบมาให้ทำงานเบาๆ มากกว่า เน้นประสบการณ์ใช้งานที่มากกว่า ไม่ได้เน้นประสิทธิภาพแต่อย่างใด
ซึ่งการที่นำ MSI Prestige PS42 และ MacBook Air มาเทียบกันนั้น เพราะว่า MacBook Air เป็น MacBook ที่ราคาถูกที่สุดของ Apple แล้ว เทียบกับหนึ่งใน Ultabook ที่เน้นความคุ้มค่าเราก็จะเห็นถึงการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ว่าจะเลือกแบบไหนนั่นเอง
สรุปปิดท้าย MSI Prestige PS42 VS MacBook Air
- สเปก MSI Prestige PS42 ชนะ
- ดีไซน์ แล้วแต่คนชอบ !!!
- วัสดุ MacBook Air ชนะ
- คีย์บอร์ด MSI Prestige PS42 ชนะ
- ทัชแพด MacBook Air ชนะ
- สแกนลายนิ้วมือ MacBook Air ชนะ
- หน้าจอ MacBook Air ชนะ
- ลำโพง เสมอกัน !!!
- การเชื่อมต่อ MSI Prestige PS42 ชนะ
- การพกพา เสมอกัน !!!
- ประสิทธิภาพ MSI Prestige PS42 ชนะ
- แบตเตอรี่ MacBook Air ชนะ
- ระบายความร้อน MSI Prestige PS42 ชนะ
- ความคุ้มค่า MSI Prestige PS42 ชนะ
Specification
MSI Prestige PS42 มีสเปกขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล พาเนลคุณภาพสูงอย่าง IPS ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริง มุมมองกว้างถึง 170 องศา ด้านประสิทธิภาพด้วยอย่างการใช้ชิปประมวลผล Intel Core i5-8250U ความเร็ว 1.6GHz ที่สามารถเร่งการทำงานไปได้ถึง 3.4GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 4 คอร์ 8 เทรด ซึ่งแน่นอนว่าให้ทั้งความแรงและใช้งานได้ยาวนาน เป็นสถาปัตยกรรม Intel Core i Gen 8 (Coffee Lake) รุ่นล่าสุด
ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDR4 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งานแน่นอน ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็น NVIDIA GeForce MX150 2GB GDDR5 ที่ให้ประสิทธิภาพการทำงานรองรับ 3 มิติได้ดี เล่นเกมออนไลน์ได้สบายๆ สำหรับฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงแบบ SSD M.2 ความจุ 256GB ที่สำคัญยังเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อ Wireless AC และ Bluetooth 5.0 ด้วย อีกทั้งยังมีน้ำหนักเพียง 1.19 กิโลกรัมเท่านั้น !!!
นอกจากนี้ในส่วนของกล้องด้านหน้ารองรับการใช้งาน VDO Call ติดตั้งไว้เหนือขอบหน้าจอ แม้จะมีขอบจอบางมากๆ รวมถึงติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 10 แท้มาใช้งานได้ทันทีในการเปิดเครื่องครั้งแรก สนนราคา MSI Prestige PS42 อยู่ที่ 23,900 บาทพร้อมการรับประกัน 2 ปี ตามมาตรฐานของ MSI
MacBook Air Late 2018 มีสเปกเหนือกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไปด้วยความละเอียดระดับ Retina Display ที่ 2560 x 1600 พิกเซล กับสัดส่วน 16:10 เหมือนกับ MacBook รุ่นอื่นๆ ส่วนพาเนลเป็น IPS คุณภาพสูง ซึ่งให้สีสันที่สวยสมจริงและมุมมองที่กว้างขว้าง ด้านชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-8210Y ความเร็ว 1.6 – 3.6GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด รุ่นล่าสุดที่เน้นการประหยัดไฟและลดความร้อน ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้พัดลมระบาย
ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 bus 2133 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งาน ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel UHD Graphics 617 ที่เรียกได้เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปในความละเอียดสูงๆ นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD NVMe ความเร็วสูงที่ 128GBทำให้มีความเร็วสูงทั้งเขียนและอ่าน
ติดตั้งกล้อง Webcam ความคมชัดระดับ 720p และไมโครโฟนแบบ Dual Microphone ไว้สำหรับแชท และวิดีโอคอลได้อย่างคมชัดลื่นไหล พอร์ตเชื่อมต่อเองก็จะมี Thunderbolt 3 และเป็น USB-C 3.1 Gen 2 ในตัว จำนวน 2 พอร์ต ส่วนช่องต่อหูฟังอย่าง Audio Combo Jack อย่างคงอยู่ปกติ แน่นอนว่ารองรับการเชื่อมไร้สายอย่าง Wireless 802.11 ac , Bluetooth 4.2 มาพร้อมระบบปฏิบัติการ macOS Mojave สนนราคาที่ 42,900 บาท สำหรับรุ่นถูกสุด ประกัน 1 ปีตามปกติของ Apple
สำหรับในฝั่งของสเปกจะเห็นว่า MSI Prestige PS42 มีความแรงกว่า ทั้งชิปประมวลผล แรม SSD ที่มากกว่า แถมมีการ์ดจอแยกด้วย ซึ่งถ้า MacBook Air Late 2018 จะเหนือกว่าคงเป็นส่วนของหน้าจอที่คุณภาพสูงและละเอียดกว่า
Hardware / Design
MSI Prestige PS42 ถือว่าเป็น Ultrabook รุ่นล่าสุดอีกรุ่นหนึ่ง ที่ถูกต่อยอดมาจาก MSI Prestige รุ่นก่อนทำได้ดีมากๆ ในเรื่องของการดีไซน์ที่เน้นความบางเบา พกพาได้สะดวก โดยยังรักษาความเป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานมืออาชีพได้อย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยน้ำหนักเพียง 1.19 กิโลกรัม ทำให้ถือมือเดียวได้สบายๆ การออกแบบให้ความรู้สึกที่ดุดันพรีเมียมด้วยวัสดุอะลูมิเนียมตลอดทั้งตัวเครื่อง
โดยฝาหลังและดีไซน์ทั้งหมดมีการเลือกใช้ให้มีความเข้ากันอย่างที่สุด กับพื้นผิวส่วนของฝาหลังและตัวเครื่องด้านในเป็นลวดลายแบบปัดเสี้ยน พร้อมกับใช้สีเงิน Silver และเทาสว่าง ตลอดทั้งตัวเครื่อง ตั้งแต่โลโก้ ขอบตัวเครื่อง ทัชแพด แกนบานพับ ช่องระบายความร้อน
ขอบหน้าจอที่บางลงอย่างเห็นได้ชัดที่ 5.7 มิลลิเมตร ทั้งด้านซ้ายขวาและขอบบน กล้องเว็บแคมถูกติดตั้งลงไปบนขอบที่บางมากๆ ซึ่งการใช้งานจริงมุมมองมันก็จะดูปกติดี ต่างจากบางแบรนด์ที่เลือกย้ายที่ไปเลย ส่วนความบางตัวเครื่องอยู่ที่ 15.9 มิลลิเมตรเท่านั้น
ส่งผลให้ตลอดทั้งตัวเครื่องมีมิติตัวเครื่องที่เล็กลงกว่าโน๊ตบุ๊คทำงานหน้าจอ 14″ ทั่วไป ซึ่งโดยรวมแล้ว MSI Prestige PS42 ไม่ใช่แค่บางเบาและสเปกดีแต่ในประสบการณ์ใช้งานที่ดีเยี่ยมด้วย ถือว่า MSI นำเสนอโน๊ตบุ๊คที่ทั้งเบามากๆ แถมยังบางสุดๆ ท้าชนกับแบรนด์อื่นๆ ได้อย่างสบายๆ เลย
MacBook Air Late 2018 ถือว่าดีไซน์การออกแบบเป็นความใหม่ทั้งหมดเมื่อเทียบกับ MacBook Air รุ่นเก่า เพราะด้วยดีไซน์จากรุ่นที่ได้รับการปรับปรุงไปก่อนแล้วคือ MacBook และ MacBook Pro กับน้ำหนักที่ 1.25 กิโลกรัม รวมไปถึงความบางของตัวเครื่องก็บางเพียง 4.1 – 15.6 มิลลิเมตรเท่านั้น จัดว่าอยู่ในเกณฑ์ของโน๊ตบุ๊คที่เน้นความบางเบา เน้นพกพา
ขนาดตัวเครื่องและความบางที่ว่าไปแล้วของ MacBook Air Late 2018 จะมีความแตกต่างจาก MacBook Pro รุ่นหน้าจอ 13 นิ้ว แม้ว่าจะมีขนาดหน้าจอที่เท่ากัน แต่ก็มีความบางและเบากว่า พร้อมขอบหน้าจอบางตามเทคโนโลยีที่ผลิตได้ง่ายแล้ว
ด้วยสเปกชิปประมวลผลที่เป็น Intel Core i ตระกูล Y ที่สามารถทำได้ได้โดยไร้พัดลม ต่างจาก MacBook Pro ที่ใช้ Intel Core i ตระกูล U ที่ยังจำเป็นต้องมีพัดลมสองตัว อย่างไรก็ตามในเรื่องประสิทธิภาพก็ต้องยอมรับว่า MacBook Pro นั้นยังเหนือกว่า ถ้าใช้งานหนักจริงๆ
สำหรับวัสดุในการผลิตอย่างอะลูมิเนียมอัลลอยด์แบบเดิมที่ให้ความสวยงามและผิวสัมผัสที่ดี รวมทั้งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตรูปแบบ Unibody อย่าง MacBook Pro หรือ MacBook ในรุ่นผ่านๆ มาที่ให้ในความบางเฉียบแต่มาพร้อมความแน่นหนา
ด้วยความที่ว่าต้องลงทุนสูงด้วยค่าเครื่องจักรตัดโลหะด้วยคอมพิวเตอร์ CNC ประกอบกับปริมาณในการผลิตต่อวัน ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องวางแผนอย่างรอบคอบรัดกุม ซึ่งทาง Apple เองก็สามารถบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตมีต้นทุนที่ไม่สูงมากแต่สามารถจำหน่ายได้ราคา เป็นอะไรที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นำไปทำตามได้ยาก
โดยทั้งเครื่องหลักๆ ประกอบจากอะลูมิเนียมอัลลอยด์เพียง 3 ชิ้นเท่านั้น ที่สำคัญ MacBook Air 2018 Late 2018 ยังเลือกใช้อะลูมิเนียมอัลลอยด์ที่รวบรวมมาจากการรีไซเคิลด้วย ทำให้เป็น MacBook ที่รักษ์โลกที่สุดในตอนนี้ก็ว่าได้
ในส่วนของดีไซน์การออกแบบอันนี้คงแล้วแต่คนชอบจริงๆ บางคนอาจจะชอบลายเยอะ หรือแบบเรียบๆ ซึ่งถ้าพูดความพรีเมียมเรื่องวัสดุ ผิวสัมผัสแล้วล่ะก็คงต้องยกให้ MacBook Air Late 2018 ไป
Keyboard / Touchpad
MSI Prestige PS42 จัดว่าเป็นคีย์บอร์ดและทัชแพดรูปแบบคล้ายกับ Gaming Notebook บางเบาของ MSI เอง ทั้งอารมณ์การตอบสนองของแป้นพิมพ์ แรงกด ด้วยการที่รูปแบบปุ่มมีขนาดที่ใหญ่โตกว่าคีย์บอร์ด MSI แบบเดิมๆ ที่สำคัญด้วยไฟ LED สีขาวสวยงาม เข้ากับตัวปุ่มสีเงินเทาเป็นอย่างดี ดูแล้วสะอาดตา พรีเมียมสุดๆ แน่นอนว่าไม่มีชุด Numpad อยู่แล้ว จากการที่ตัวเครื่องมีมิติที่ลงนั่นเอง
ทัชแพดมีขนาดใหญ่ โดยดูเป็นเนื้อเดียวกับตัวเครื่อง ตัวปุ่มคลิกเป็นแบบชิ้นเดียวกับทัชแพด ส่วนปุ่มคลิกทั้งซ้ายขวาก็อาจจะมีความแข็งพอดีๆ การใช้งานโดยจัดได้ว่าอยู่ในระดับรับได้ (ถ้าเน้นใช้เมาส์ไม่ต้องซีเรียสมาก) มีการตัดขอบด้านบนดูโค้งมน เข้ากับตัวเครื่องโดยรวม
นอกเหนือจากนี้ยังมีฟีเจอร์อย่างสแกนลายนิ้วมือ Finger Print ไว้ให้ใช้งานร่วมกับ Windows Hello เพื่อที่จะเข้าใช้งานตัวเครื่องเพื่อความปลอดภัยแบบไม่ต้องใส่รหัสไปมาทุกครั้งอีกด้วย ส่วนการใช้งานก็ตอบสนองได้รวดเร็วไม่แพ้มือถือในปัจจุบันเลยล่ะ
MacBook Air Late 2018 มีคีย์บอร์ดมีดีไซน์การทำงานใหม่อย่างปีกผีเสื้อที่เมื่อกดแล้วจะลงไปตรงๆ ไม่เด้งไปทิศทางอื่นๆ รวมไปถึงตัวแป้นแต่ละปุ่มเองก็มีความใหญ่กว่าเดิม ส่วน Layout คีย์บอร์ดยังคงเป็น 4 แถวขนาด Full Size ซึ่งในด้านการใช้งานในการพิมพ์ ก็ตอบสนองได้เป็นอย่างดีทั้งขนาดแป้นพิมพ์ที่รับกันนิ้วและช่องว่างระหว่างแป้นที่ทำให้มีความแม่นยำในการกด แต่ก็รู้สึกแปลกออกไปเพราะตัวแป้นเองมีความตื้นมากกว่าเดิม
สำหรับไฟส่องสว่างคีย์บอร์ด หรือหลายๆ คนอาจจะเรียกว่า Backlit Keyboard ตรงนี้ได้มีการใส่ไฟ LED เอาไว้ในแต่ละปุ่มเลย ทำให้ความสว่างี่ออกมานั้นมีความสม่ำเสมอกันมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่าสามารถใช้งานจริงได้สมบูรณ์แบบ ไม่แยงตาอย่างโน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อ และสามารถปรับระดับไฟได้ตามต้องการของลักษณะแสงและ Ambient Light Sensor
Trackpad มีลักษณะรูปแบบเดียวกับ MacBook รุ่นอื่นๆ โดยมีขนาดใหญ่กว่า 20% จากรุ่นเดิม แน่นอนว่าวัสดุที่ทำออกมายังใช้งานได้ดี สามารถลากนิ้วได้ลื่น ไม่เกิดอาการสะดุดหรือหน่วงใดๆ รวมถึงการใช้งาน Multi-Touch Gesture แต่ล่าสุดทาง Apple ได้บรรจงใส่เทคโนโลยี Force Touch แทนแบบเดิมๆ
ที่โดดเด่นคือ Touch ID ซึ่งเข้ามาไว้ใช้ใน MacBook Air Late 2018 แค่วางนิ้วบน เซ็นเซอร์ Touch ID ก็ปลดล็อค Mac ได้ทันที ง่ายๆ แค่นั้น และเรายังใช้ลายนิ้วมือเพื่อเข้าถึงเอกสาร โน้ต และการตั้งค่า ระบบที่ล็อคไว้ได้เลยโดยไม่ต้องป้อนรหัสผ่านซ้ำๆ โดยทำงานร่วมกับ Apple T2 Security ชิปรุ่นที่ 2 ที่ Apple ออกแบบขึ้นสำหรับ Mac โดยเฉพาะ
สำหรับคีย์บอร์ด MSI Prestige PS42 ให้ความรู้สึกที่ดีกว่า แต่ส่วนของ Trackpad ฝั่ง MacBook Air Late 2018 ตอบสนองได้มากกว่า และระบบสแกนลายนิ้วมือ MacBook Air Late 2018 เป็นทั้งปุ่มเปิดปิดพร้อมมีฟีเจอร์ที่มากกว่า
Screen / Speaker
MSI Prestige PS42 ได้ติดตั้งหน้าจอขนาด 14 นิ้ว สัดส่วน 16:9 ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล Full HD ซึ่งให้ประสบการณ์การใช้งานที่ค่อนข้างน่าประทับใจ โดยการใช้หน้า Desktop ปกติที่ตัวหนังสือหรือปุ่มต่างๆ มีความเรียบเนียนตาทำให้ใช้งานได้สะดวก ขอบจอจะเป็นพลาสติกสีดำบางฉียบเพียง 5.7 มิลลิเมตรเท่านั้น
เรียกได้ว่ากำลังพอดีทีเดียว และด้วยความที่จอเป็นแบบด้านที่ให้เรื่องสีสันสดใส แต่ในการใช้งานไม่ควรหันจอไปทางแหล่งกำเนิดแสงหรือในที่ที่สว่างมากๆ เพราะอาจจะรบกวนการทำงานของเราได้ เมื่อใช้การดูภาพ ดูวิดีโอ และเล่นเกมก็ทำได้อย่างเป็นอย่างดี ส่วนบานพับก็แข็งแรงกว่ารุ่นพร้อมกางได้ถึง 180 องศา
โดยให้ขอบเขตความกว้างของสีสันเทียบเท่ากับมาตรฐาน sRGB ที่ 89% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 250 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ควรคาลิเบรตเสียก่อน
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ไม่มีผิดเพี้ยน แต่สำหรับช่องมุมบนซ้ายและขวาล่างมีแสงสว่างที่ลดลงไปที่ 10% ปิดท้ายด้วยคะแนนรวมที่ 4.0 ถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงที่ทำคะแนนได้ดีมากๆ ตัวนึง
MacBook Air Late 2018 มีหน้าจอขนาด 13.3 นิ้ว สัดส่วน 16:10 เป็นแบบ Glare หรือจอกระจกด้วยการใช้กระจกเพียงชิ้นเดียวกั้นหน้าจอเอาไว้ พาเนลเป็น IPS คุณภาพสูงที่ให้มีสีสันที่สดใส แต่ด้วยสารเคลือบพิเศษทำให้มีแสงสะท้อนน้อย (แต่ก็ยังเยอะอยู่ดีถ้าหันไปหาแสงตรงๆ) รวมไปถึงมีความสวยงามกว่า MacBook Air รุ่นก่อน ให้สีสันดีกว่าเดิม 48% ที่เป็นพาเนล TN ปกติ ส่วนบริเวณขอบจอโดยรอบจะมียางรองไว้ป้องกันการที่ตัวเครื่องและฝากระทบกันในตอนที่ปิดฝาเครื่องลง
สำหรับเทคโนโลยีหน้าจอ Retina Display ใน MacBook Air Late 2018 ซึ่งมีความละเอียดอยู่ที่ 2650 x 1600 พิกเซล ที่มีความหนาแน่นของพิกเซลสูงถึง 227 ppi เรียกได้ว่ามีความหนาแน่นกว่า MacBook Pro 13 ซึ่งมีพื้นที่ในการใช้งานจริงมาตรฐานที่ 1440 x 900 พิกเซล (อย่างไรก็ตามเราสามารถปรับขยายพื้นที่ได้ในการใช้งานบางกรณี แต่ก็จะสูญเสียความเป็น Retina Display ที่มีความเรียบเนียนไป)
MacBook Air Late 2018 ให้ขอบเขตการแสดงสีสัน sRGB ที่ 94% ดูจากที่เส้นสีของหน้าจอจะเป็นสีแดง เรียกได้ว่าให้ประสิทธิภาพเรื่องของสีสันแค่พอใช้เท่านั้น ความสว่างหน้าจอสูงสุดอยู่ที่เกือบๆ 300 cd/m2 ซึ่งจัดได้ว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความสว่างของหน้าจอในโน๊ตบุ๊คราคาระดับนี้ คือเพียงพอต่อการใช้งานทั่วๆ ไป แต่ถ้าจะเอาไปทำภาพกราฟิกหรือตกแต่งภาพที่เน้นมืออาชีพมากๆ ก็ควรคาลิเบรตเสียก่อน
ต่อกันที่วัดความสว่างของหน้าจอตามตำแหน่งต่างๆ โดยแบ่งเป็น 9 ช่อง เทียบจากช่องกลางที่ปกติแล้วจะให้ความสว่างที่มากที่สุด ที่จะเห็นได้ว่าช่องกลางเป็น 0% ก็คือแสดงความสว่างได้เต็มที่ไม่มีผิดเพี้ยน แต่สำหรับช่องมุมขวาล่างเมีแสงสว่างที่ลดลงไปที่ 11% ปิดท้ายด้วยคะแนนรวมที่ 4.5 ถือว่าเป็นสมกับมาตรฐานของ MacBook จาก Apple
MSI Prestige PS42 มีซอฟแวร์ปรับแต่งเสียง Nahimic เวอร์ชั่น 3 สู่ระบบเสียงที่ดีที่สุด คุณภาพเสียงการใช้งานต่าง ๆ ยังสามารถทำออกมาได้ดี น่าประทับใจให้เสียงที่ดังพอตัว โดยลำโพงยังจัดวางมาในตำแหน่งส่วนของขอบตัวเครื่องด้านหน้าในส่วนด้านใต้เครื่อง แบบขนาด 2W x 2 คุณภาพเสียงเบสให้แน่นลึกยิ่งกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป เพราะชุดลำโพงข้างในขยับได้เมื่อต้องการเสียงทุ่ม
MacBook Air Late 2018 ลำโพงสเตอริโอจะติดตั้งบริเวณซ้ายและขวาของชุดคีย์บอร์ด ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับ MacBook Pro 13 จากการทดลองใช้งานจริง ถือว่าด้อยกว่าลำโพงของ MacBook Pro 15 พอสมควร เพราะให้ได้เพียงเสียงแหลม เสียงกลางเท่านั้น โดยเสียงทุ้มที่ก็มีมาให้เรียกได้ว่าแทบไม่มี ลักษณะเสียงออกไปแนวกลางๆ ไม่ค่อยใสเคลียร์เท่าใดนัก
ในส่วนของหน้าจอต้องยกให้ MacBook Air Late 2018 จริงๆ เพราะคุณภาพดีกว่า แต่ MSI Prestige PS42 ก็เป็นรองไม่มาก แถมราคาก็ถูกกว่าเยอะ เรื่องของลำโพงคุณภาพเสียง ทดลองฟังแล้วก็ใกล้เคียงกัน จัดว่าอยู่ในเหณฑ์เดียวกันได้เลย
Connector / Thin And Weight
MSI Prestige PS42 จัดว่าเป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงานบางเบาหน้าจอ 14″ ซึ่งมีไซส์และมิติโดยรวมเล็กกระทัดรัดกว่าปกติ ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น 2 x USB 3.1 Type-A , USB 3.1 Type-C, 1x HDMI 1.4, SD Card Reader และ Mic-in/Headphone-out อย่างไรก็ตาม พอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ อาจจะดูไม่มากมายเท่าพวกโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 15.6″ แต่ในการใช้งานจริงก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้งานแล้วล่ะ อีกทั้งมีเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 5.0 และ Wi-Fi 802.11 ac
MacBook Air Late 2018 ไม่ซับซ้อนเหมือนกับ MacBook Pro 13 รุ่นเริ่มต้นก็ว่าได้ เพราะฝั่งซ้ายจะมี Thunderbolt 3 (หรือ USB 3.1 Gen 2) ที่รองรับการเชื่อมต่อมาตรฐาน Thunderbolt 3 ด้วยอยู่ 2 พอร์ต สามารถใช้พอร์ตไหนเสียบสายชาร์จเครื่องจากอะแดปเตอร์ก็ได้ ส่วนการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น หากอุปกรณ์นั้นไม่ได้มีหัว USB-C ก็ต้องต่อผ่านตัวแปลงนั่นเอง อาจจะลำบากหน่อยสำหรับคนที่ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่เป็น USB-A อย่างเมาส์หรือแฟลชไดร์ฟ ส่วนช่องต่อหูฟังแบบ 3.5 มิลลิเมตรยังคงมีอยู่ปกติ มีเชื่อมต่อไร้สาย Bluetooth 4.2 และ Wi-Fi 802.11 ac
MSI Prestige PS42 ก็ถือว่าทำได้เยี่ยมยอดเมื่อเทียบกับสเปก ด้วยน้ำหนักตัวเครื่องเพียง 1.19 กิโลกรัมเท่านั้น ดีกว่าตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คค่ายอื่นๆ ที่ใช้สเปกนี้มาก ที่สำคัญอแดปเตอร์จ่ายไฟที่ 65 Watt นั้น มีขนาดที่เล็กและเบาเช่นเดียว รวมกันแล้วน่าจะไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม
MacBook Air Late 2018 มีขนาดเล็กกว่า เพราะมีขนาดหน้าจอที่เล็กกว่า แต่มีน้ำหนักอยู่ที่ 1.25 กิโลกรัม ส่วนอแดปเตอร์ก็เป็นทรงคล้ายกับ iPad แต่มีขนาดใหญ่กว่า จ่ายไฟที่ 30 Watt พร้อมมีสายชาร์จ Thunderbolt 3 มาให้ด้วย รวมน้ำหนักแล้วอยู่ที่ไม่เกิน 1.5 กิโลกรัมเช่นกัน
MSI Prestige PS42 การเชื่อมต่อทำได้เหนือกว่า ใช้งานจริงได้ง่ายกว่า แม้ MacBook Air Late 2018 จะมาพร้อม Thunderbolt 3 ก็จริง แต่อุปกรณ์ต่อพ่วงก็จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อถ่ายโอนข้อมูลความเร็วสูงหรือต่อการ์ดจอแยก eGPU เท่านั้น ส่วนการพกพา ถือว่าพอๆ กัน เพราะ MSI Prestige PS42 เบากว่า แต่ก็ใหญ่กว่า ทำให้ใกล้เคียงกับ MacBook Air Late 2018 นั่นเอง
Performance / Software
MSI Prestige PS42 อย่าที่ทราบกันคือมีสเปกที่เหนือกว่าทั้งชิปประมวลผล แรม การ์ดจอ และ SSD ซึ่งจากการทดสอบเกมจะเป็นเกมที่ไม่หนักมาก แต่เป็นเกมที่คนส่วนมากนิยมเล่นกัน ซึ่งโดยส่วนตัวก็เล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 และ Overwatch ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ Native 1920 x 1080 พิกเซล สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าปรับสุดทุกอย่างเลยสำหรับ DOTA 2 ส่วน Overwatch จะเป็นปรับแบบ Medium โดย Rendering 100% ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่นในระดับที่น่าประทับใจ
ส่วนเกมออนไลน์อย่าง PUBG ที่นับว่าเป็นอีกเกมที่กินทรัพยากรเครื่องหนัก ก็มาทดสอบด้วยการปรับเป็น Low โดยเฟรมเรทที่ได้มานั้นถือว่าผ่านเลย เล่นได้สบายๆ ภาพก็สวยงามพอตัวไม่ได้แย่อะไร พูดตรงๆ ก็คือพอจะเล่นได้สำหรับเกมออนไลน์แนวนี้ ส่วนเกมอื่นๆ ที่ไม่เกินทรัพยากรเท่าอย่าง CS:GO หรือ Point Blank รวมไปถึงเกมออนไลน์อื่นๆ ก็น่าจะเล่นได้ลื่นๆ อย่างแน่นอน
MacBook Air Late 2018 ตัวสเปกเองไม่ได้ออกแบบมาให้ทำงานหนักๆ รวมไปถึงการเล่นเกมด้วย ด้วยชิปประมวลผล Intel Core i5-8210Y ความเร็ว 1.6 – 3.6GHz โดยเป็นชิปประหยัดพลังงานพิเศษ แบบ 2 คอร์ 4 เทรด รุ่นล่าสุดที่เน้นการประหยัดไฟและลดความร้อน ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้พัดลมระบาย ซึ่งสูงประสิทธิภาพ Intel Core i5-8250U ไม่ได้
ส่วนแรมก็ติดตั้งมาให้ขนาด 8GB DDRL3 bus 2133 ซึ่งพอเพียงกับการใช้งาน ต่างจาก MSI Prestige PS42 ที่เป็น 8GB DDR4 พร้อมอัพเกรดเพิ่มได้อีก ในส่วนของกราฟิกการ์ดก็เป็นแบบออนบอร์ด Intel UHD Graphics 617 ที่เรียกได้เพียงพอต่อการใช้งานทั่วไปในความละเอียดสูงๆ แต่เล่นเกมไม่ได้เลย ไม่เหมือน MX150 ที่พอเล่นเกมได้ นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD NVMe ความเร็วสูงที่ 128GB ก็ยังเร็วและความจุสู้ฝั่งของ MSI Prestige PS42 ไม่ได้ที่ 256GB นั่นเอง
สรุปเรื่องของประสิทธิภาพ เห็นได้ชัดว่า MSI Prestige PS42 เหนือกว่า MacBook Air Late 2018 ด้วยประการทั้งปวง ซึ่งเอาเข้าจริงการเทียบแบบนี้อาจจะไม่ยุติธรรมนัก แต่เป็นการย้ำให้เห็นว่า MacBook Air Late 2018 ไม่ได้ออกแบบมาให้ประสิทธิภาพแรงเหลือจนทำงานทุกอย่างได้เท่านั้นเอง ต่างจาก MSI Prestige PS42 ที่ตั้งใจให้เป็นโน๊ตบุ๊คสายทำงาน พี่พอเล่นเกมได้บ้าง
Battery / Heat / Noise
MSI Prestige PS42 มีแบตเตอรี่ที่ติดตั้งแบบฝังตามปกติ ส่วนของการทดสอบระยะเวลาใช้งานของแบตเตอรี่โดยตั้งค่าความสว่างหน้าจอและเสียงให้ระดับกลางๆ แล้วเล่นเว็บสลับกับดู Youtube แล้ว โดยจากการทดสอบของ MSI เคลมไว้ว่าใช้งานได้ 10 ชั่วโมง แต่ในการทดสอบพบว่าอยู่ได้ประมาณ 5 – 6 ชั่วโมง แต่โดยส่วนตัวก็ถือว่ายอมรับได้ จากการที่น้ำหนักเบาตัวเครื่องบาง พกพาอแดปเตอร์ไปอีกตัวก็พอไหวอยู่
สำหรับอุณหภูมิเมื่อใช้งานแบบปกติจะอยู่ที่ประมาณ 33 – 43 องศาเซลเซียส ภายในห้องปรับอากาศอุณหภูมิประมาณ 27 องศาเซลเซียส จากนั้นทำการทดสอบเบิร์นให้เครื่องทำงาน 100% ด้วยการเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ เพื่อให้เห็นถึงระบบระบายความร้อนและเสียงรบกวนที่จะเกิดขึ้นเมื่อพัดลมหมุนรอบจัด ที่ดูจากภาพแล้วจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิสูงสุดของตัวเครื่องอยู่ที่ไม่เกิน 92 องศาเซลเซียส
MacBook Air Late 2018 นั้สามารถจัดการพลังงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยในสถานะเครื่องเปิดไว้เฉยในสถานะแบตเตอรี่ 100% โดยทดสอบตามสถานะการใช้งานจริงผลเวลาที่ได้ออกมาจะอยู่ที่ประมาณ 9 ชั่วโมงกว่าๆ (ไม่ได้ทดสอบจริงๆ แต่เป็นการนำเว็บไซต์ต่างประเทศหลายๆ เจ้าที่ให้ผลตรงกันมารายงาน) ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับที่ Apple เคลมไว้ที่ 9 – 12 ชั่วโมง
เรื่องความร้อนของเครื่องอุณหภูมิที่ออกมาจัดได้ว่าค่อนข้างเย็นกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป ส่วนตัวเครื่องอุณหภูมิโดนรอบตัวเครื่องทั้งหมดก็ถือว่ามีอุณหภูมิที่ต่ำ เนื่องด้วยความสามารถของตัววัสดุที่ช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้เร็ว รวมไปถึงชิปประมวลผล Intel Core i ตระกูล Y ก็มีการกินไฟที่ต่ำ แบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้พัดลมระบายความร้อนทีเดียว แต่ก็ทำงานหนักไม่ได้หรืออยู่ในสถานที่กลางแจ้ง เพราะถ้าร้อนเกินไป ชิปประมวลผลก็จะลดความเร็วลงมาเอง
สรุปในเรื่องของการใช้งานแบตเตอรี่ตรงนี้ MacBook Air Late 2018 ทำได้ดีกว่า เพราะใช้ชิปประมวลผลที่ประหยัดพลังงานกว่า แม้ว่าจะเงียบกว่าเพราะไม่มีพัดลม แต่เรื่องของการระบายความ MSI Prestige PS42 เหนือกว่าตรงที่มีพัดลมคอยช่วย ทำให้ประสิทธิภาพจะไม่ตกลงมาเวลาใช้งานหนักๆ
Conclusion / Award
ในบทความ Battle นี้ไม่ได้ชี้ให้เห็นว่า MSI Prestige PS42 ดีกว่า หรือแทนที่จะเป็น MacBook Air อย่างที่หลายๆ คนคิดไปเองว่าจะซื้อโน๊ตบุ๊คบางเบาทั้งทีต้อง MacBook Air เท่านั้นจึงจะเหมาะสม ซึ่งเราอาจจะคอมพิวเตอร์ที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของเราก็เป็นไปได้ ซึ่งถ้าถามว่าใครเป็นคนที่เดือดร้อน ก็คงหนีไม่พ้นที่จะเป็นตัวเราเอง ฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้อ MSI Prestige PS42 หรือ MacBook Air ก็ตาม ควรพิจารณาให้ดีเสียก่อนว่า ซื้อมาแล้วนั้นจะตรงกับการใช้งานของเราหรือเปล่า
เห็นได้ชัดว่าถ้าเรามองถึงความคุ้มค่าในการใช้งานต่อสเปกและความแรงแล้ว MSI Prestige PS42 ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีทีเดียว ได้ทั้งสเปกที่แรง รวมไปถึงน้ำหนักที่เบามากๆ ในขนาดหน้าจอ 14 นิ้ว ด้วยราคาปัจจุบันที่ 23,900 บาท เป็นอะไรที่ถูกมากๆ ถ้าเราจะหาซื้อโน๊ตบุ๊คสายบางเบาซักเครื่อง ที่ทำงานได้ลื่นไหลหลากหลายรวมไปถึงพอที่จะเล่นเกมได้
แต่ก็ต้องยอมรับว่า MSI Prestige PS42 คงไม่สามารถสมบูรณ์แบบได้ในทุกๆ ด้าน อย่างหน้าจอ วัสดุ แบตเตอรี่ ในส่วนของ MacBook Air นั้นก็เหนือกว่า แต่นั่นก็มีราคาค่าตัวที่สูงกว่าที่ 42,900 บาทเช่นกัน เอาจริงๆ เราอาจจะไม่สามารถเทียบตรงๆ ได้ เพราะ Apple ก็ออกแบบมาให้ทำงานเบาๆ มากกว่า เน้นประสบการณ์ใช้งานที่มากกว่า ไม่ได้เน้นประสิทธิภาพแต่อย่างใด
ซึ่งการที่นำ MSI Prestige PS42 และ MacBook Air มาเทียบกันนั้น เพราะว่า MacBook Air เป็น MacBook ที่ราคาถูกที่สุดของ Apple แล้ว เทียบกับหนึ่งใน Ultabook ที่เน้นความคุ้มค่าเราก็จะเห็นถึงการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สุดท้ายแล้วก็อยู่ที่ผู้ใช้งานอย่างเราๆ ว่าจะเลือกแบบไหนนั่นเอง
สรุปปิดท้าย MSI Prestige PS42 VS MacBook Air
- สเปก MSI Prestige PS42 ชนะ
- ดีไซน์ แล้วแต่คนชอบ !!!
- วัสดุ MacBook Air ชนะ
- คีย์บอร์ด MSI Prestige PS42 ชนะ
- ทัชแพด MacBook Air ชนะ
- สแกนลายนิ้วมือ MacBook Air ชนะ
- หน้าจอ MacBook Air ชนะ
- ลำโพง เสมอกัน !!!
- การเชื่อมต่อ MSI Prestige PS42 ชนะ
- การพกพา เสมอกัน !!!
- ประสิทธิภาพ MSI Prestige PS42 ชนะ
- แบตเตอรี่ MacBook Air ชนะ
- ระบายความร้อน MSI Prestige PS42 ชนะ
- ความคุ้มค่า MSI Prestige PS42 ชนะ