Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

เพิ่มพื้นที่ Drive C ปี 2021 แบบง่ายๆ วิธีแบ่งพื้นที่ว่างจากไดรฟ์ D แก้ฮาร์ดดิสก์ SSD เต็ม

ใครหลายคนที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ตอนนี้มักจะประสบปัญหาไดร์ C เต็มกันไม่น้อย ซึ่งบางทีมันก็เต็มโดยที่เราก็ไม่ได้ลงโปรแกรมเพิ่ม หรือลบแคลชแล้วก็ยังเหลือพื้นที่น้อยอยู่ดี แต่ในเครื่องเรายังเหลือพื้นที่ไดร์ D อีกตั้งเยอะ ซึ่งเราสามารถเอาพื้นที่ไดร์ D

วิธีแก้ปัญหา Drive C เต็มกันแบบง่ายๆ ด้วยการเพิ่มพื้นที่ Drive C จากไดรฟ์อื่น เพราะบางทีก็เต็มเพราะเผลอไม่ได้ลบไฟล์ทิ้ง หรือมีไฟล์ซ้ำๆ กันเยอะ รวมถึงลงโปรแกรมจนลืมไปว่าพื้นที่มีจำกัด โดยเฉพาะเกมเมอร์ ที่เจอกับเกมใหม่ๆ ซึ่งใช้พื้นที่ระดับหลักร้อยกิกะไบต์ขึ้นไป ผู้ใช้โน๊ตบุ๊คหรือพีซีรุ่นเก่าๆ บางครั้งมีแค่ 320GB-500GB เผลอแปปเดียวก็ไม่เหลือที่ว่างแล้ว อย่างไรก็ดีเราสามารถแก้ไขได้ มีตั้งแต่วิธีเบื้องต้น ซึ่งใช้การลบ สแกนและการจัดเรียง หรือถ้ามีพื้นที่ว่างบนไดรฟ์อื่นๆ ก็สามารถย้ายมาไว้ไดรฟ์ C ให้มีพื้นที่ลงโปรแกรมมากขึ้นได้เช่นกัน วิธีนี้ทำได้เองผ่านทางฟีเจอร์ Disk Management ของ Windows แต่คงต้องบอกไว้ก่อนว่า การโยกย้ายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนั้นจะต้องเป็นพาร์ทิชั่นที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ลูกเดียวกัน ซึ่งเราจะมาแนะนำการทำกันเป็นขั้นตอนต่อไปครับ

4 วิธี ลบแอพ ลบไฟล์ เคลีบร์ฮาร์ดดิสก์ คืนพื้นที่เก็บข้อมูลของคุณบน Windows 10

Advertisement
Extend Partition Windows10 cov1

เพิ่มพื้นที่ Drive C แบบง่ายๆ

จัดการไดรฟ์ C ให้ดีเสียก่อน

เพิ่มพื้นที่ Drive C

Remove Program ช่วยได้เยอะ: ในการเพิ่มพื้นที่ Drive C สิ่งนี้สำคัญเสมอ ไม่ได้ช่วยแค่เรื่องของการเล่นเกมเท่านั้น แต่ยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบโดยรวมด้วย เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ มักมีส่วนในการจับจองการทำงานของแรม และซีพียูไว้ด้วย การลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้ โปรแกรมที่ทำงานซ้ำๆ กัน รวมถึงโปรแกรมที่ Expire หมดประโยชน์ ก็ควรจะ Remove ด้วยการ Uninstall ออกไป แล้วคุณจะพบว่า พื้นที่ SSD ตัวน้อยของคุณ เพิ่มพื้นที่ว่าง มากขึ้นกว่าเดิมไม่น้อยทีเดียว

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ลบ Temp file และ Recycle Bin: ไฟล์ที่อยู่ใน Recycle Bin หรือ Temp (Temporary files) เพราะถ้าคุณได้ไม่ค่อยได้ลบหรือ Clean file ที่เป็นข้อมูลเล็กๆ เหล่านี้ ไม่ว่าจะมาจาก Web browser หรือเวลาที่คุณลบไฟล์แบบกด Del เพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ชัดว่า สิ่งเหล่านี้จะสะสมอยู่ในระบบของคุณระดับ GB หรือบางเครื่องก็มากกว่า 10GB ถ้าไม่ได้ตั้งลิมิตสำหรับการลบไฟล์อัตโนมัติ ทำโดยด่วน ถ้าคุณเตรียมจะลงเกมใหม่ ช่วยเพิ่มพื้นที่ Drive C ให้เครื่องเร็วขึ้นอีกนิดหน่อยด้วย

Copy แบบด่วนๆ เร็ว ปลอดภัย ประหยัด สะดวก ทำแบบนี้เลย

ลบ Windows.old: หลังจากอัพเกรด Windows ในเวอรชั่นที่เก่ากว่า Windows 10 ให้ลองคลิ๊กที่ Drive C: ในเครื่อง จะเห็นโฟลเดอร์ Windows.old ไฟล์จะมีขนาดประมาณ 7GB ขึ้นไป ในกรณีที่ไม่ต้องการจะย้อนกลับไปใช้เวอร์ชั่นเก่าๆ สามารถลบไฟล์นี้ แต่ย้ำไว้ก่อนว่า! ถ้าลบแล้วจะไม่สามารถย้อนคืนกลับ Windows เก่าที่คุณเคยอัพเดตมานะครับ

ซึ่งหากจะลบ “Windows.old ไม่สามารถลบได้ด้วยการกด Delete แต่ให้เข้าไปที่ Disk Cleanup จากนั้นคลิ๊กที่ Clean up system files ระบบจะทำการสแกนให้จนเสร็จสิ้น ในช่อง Files to delete: ให้ใส่เครื่องหมายหน้า Previous Windows installation จากนั้นเลือก Ok กดปุ่ม Delete files บนหน้าต่างเล็กๆ ที่เด้งขึ้นมา แล้วคลิ๊ก Yes เพื่อยืนยัน” เพียงเท่านี้ก็จะได้พื้นที่กลับคืนมาไม่น้อยกว่า 7-10GB เท่านี้ก็ เพิ่มพื้นที่ว่าง ให้ไดรฟ์ของคุณได้แล้ว

เพิ่มพื้นที่ Drive C

Disk Cleanup บ้างก็ดี: ฟีเจอร์นี้อยู่ใน Accessories > System Tools > Disk Cleanup เป็นโปรแกรมง่ายๆของ Windows ที่จะช่วยเคลียร์ไฟล์ Temporary หรือไฟล์ระบบของเครื่อง รวมถึงประวัติการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งล้วนแต่เป็นไฟล์ที่ตัว Windows สร้างมาเพื่อใช้งานชั่วคราว ซึ่งเราสามารถสั่งลบได้ทั้งหมด

เพิ่มพื้นที่ Drive C

Delete Duplicate Photos ลบไฟล์รูปภาพซ้ำ: ไฟล์ภาพที่ซ้ำกันเป็นต้นเหตุที่ทำให้ไดรฟ์เต็มได้ง่ายมาก โดยเฉพาะถ้าไม่มีการจัดการไฟล์ที่ดี เช่น รูปเดิมไม่รู้เก็บไว้ไหน ก็หาไฟล์เก่ามาใส่เพิ่ม รวมกับไฟล์ใหม่ ทิ้งอยู่ในหลายที่ ก็ยิ่งเปลืองพื้นที่หนักเข้าไปอีก ยิ่งผู้ใช้ไม่ได้จำกัดการใช้งานพื้นที่ พอมีผู้ใช้หลายๆ คนก็ทำให้รูปภาพบางส่วนซ้ำๆ กันได้ จนเต็มพื้นที่ โดยคุณสามารถเลือกใช้เครื่องมือในการตรวจเช็คและลบไฟล์ซ้ำเหล่านั้นได้เช่นกัน อย่างเช่น Awesome Duplicate Photo Finder เป็นต้น

เพิ่มพื้นที่ให้ไดรฟ์ C ด้วย Windows 10

ในบางครั้งเงื่อนไขของการขยายพื้นที่ฮาร์ดดิสก์หรือการ Extend Partition บน Windows นั้น ก็จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง บางครั้งไม่สามารถขยายพื้นที่ได้โดยทันที แต่ต้องใช้ขั้นตอนในการสร้างและย้ายพาร์ทิชั่นร่วมด้วย แต่ก็ทำให้การใช้งานง่ายขึ้นมากทีเดียว ตามขั้นตอนง่ายๆ ต่อไปนี้

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ให้เข้าไปที่ Disk Management ซึ่งเป็นฟีเจอร์ที่ใช้ในการจัดการระบบ Storage ของ Windows 10 การเข้าไปสามารถทำได้โดยคลิ๊กเมาส์ขวา ที่มุมล่างซ้ายของหน้าจอ จากนั้นเลือก Disk Management เมื่อเข้าไปด้านใน จะเห็นพาร์ทิชั่นที่ชื่อ DT1 ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามไดรฟ์ของแต่ละคน โดยสิ่งที่ต้องทำก็คือ ให้เช็คความจุและพื้นที่ที่เหลืออยู่ในพาร์ทิชั่นนี้ เพื่อประเมินสำหรับการแบ่งพื้นที่ให้กับไดรฟ์ C: ที่เป็นไดรฟ์ระบบต่อไป

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ให้เข้ามาดูใน File Explorer ซึ่งในตัวอย่างนี้ไดรฟ์ D: ที่ชื่อ DT1 มีพื้นที่ประมาณ 97GB และยังเหลือที่ว่างถึง 96GB ยังพอที่จะแบ่งให้ไดรฟ์ระบบ C: ได้อีกพอสมควร

เพิ่มพื้นที่ Drive C

Shrink Volume

ให้กลับเข้าไปที่ Disk Management แล้วคลิ๊กขวาที่ไดรฟ์ D: ที่ชื่อ DT1 จากนั้นเลือกคำสั่ง Shrink Volume… เพื่อทำการแบ่งพาร์ทิชั่น

เพิ่มพื้นที่ Drive C

เมื่อเข้ามาในหน้าต่าง Shrink Volume ในช่องบรรทัดที่ 3 หัวข้อ Enter the ammount of space to shrink MB: จะให้คุณใส่ตัวเลือก เพื่อแบ่งพื้นที่จากจำนวนเต็มที่ใช้ได้ ในกรณีที่นี้มีพื้นที่เหลือถึง 96GB โดยประมาณ หากคุณต้องการเก็บเอาไว้ใช้สักครึ่งหรือประมาณ 45-50GB ก็ใส่ตัวเลขลงไปในช่องนี้ หน่วยจะเป็น GB หรือ Gigabyte ตัวอย่างจะให้แบ่ง 40GB ก็ใส่เป็นตัวเลขกลม 40,000MB ได้เลยครับ

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ตามตัวอย่างนี้ เราต้องการแบ่งพาร์ทิชั่นในขนาด 40GB ก็ใส่เป็น 40,000MB หรือถ้าจะใส่มากกว่านี้ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการประเมินของคุณเอง ว่าเหลือเพียงพอไว้เก็บไฟล์หรือไม่ เมื่อเลือกแล้ว ก็ให้กดที่ปุ่ม Shrink

เพิ่มพื้นที่ Drive C

หลังจากที่กด Shrink ไปแล้ว จะเห็นว่ามีไดรฟ์ที่ Unallocated ขึ้นมาด้านหลังของไดรฟ์ DT1 ที่เราเพิ่งจะแบ่งหรือ Shrink Partition ไป ไดรฟ์นี้จะยังไม่สามารถใช้งานได้ การจะเปิดใช้งาน ให้คลิ๊กขวาที่พาร์ทิชั่นใหม่นี้แล้วเลือก New Simple Volume…

เพิ่มพื้นที่ Drive C

จากนั้นคลิ๊กไปตามขั้นตอน เริ่มที่ Next

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ในส่วนของ Simple volume size in MB: ให้ใส่ตัวเลขที่ต้องการสร้างพาร์ทิชั่นใหม่นี้ ซึ่งเราต้องการให้เป็นพื้นที่ 40GB ก็ไม่ต้องแก้ตัวเลขใหม่ ให้คลิ๊ก Next ได้ทันที

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ในหน้านี้จะให้เราเลือก Label หรือชื่อของพาร์ทิชั่น ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนให้ผ่านด้วยการกด Next ได้เลย แต่ถ้าต้องการเปลี่ยน เพื่อสงวนไดรฟ์นี้เอาไว้ ก็ให้เลือกเป็น F,G,H ไปจนถึง Z ได้เลยครับ

เพิ่มพื้นที่ Drive C

สุดท้าย การเพิ่มพื้นที่ Drive C ก็จะเข้ามาสู่หน้าของการสร้างพาร์ทิชั่น ด้วยการเลือก File format ซึ่งจะมีให้เลือก File system, Allocation unit size และ Volume label ทั้งหมดนี้จะใช้ค่า Default ตามที่กำหนดมาก็ได้เช่นกัน ซึ่งแนะนำว่า ให้ใช้ไฟล์ระบบที่เป็น NTFS เพื่อความคล่องตัวในการใช้งานร่วมกับไฟล์ขนาดใหญ่

เพิ่มพื้นที่ Drive C

จากหน้านี้เราจะก็จะได้พาร์ทิชั่นใหม่ขึ้นมาเป็น E: ในชื่อ Ext1 ไดรฟ์นี้ จะทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลจาก DT1 ที่มีไฟล์ข้อมูลเก็บเอาไวก่อนหน้านี้

เพิ่มพื้นที่ Drive C

มาสู่ขั้นตอนต่อไป นั่นคือ การย้ายไฟล์ข้อมูลจาก DT1 มาไว้ที่ Ext1 เพื่อเราจะทำการลบ DT1 ทิ้ง และใช้วิธีการ Extended Volume… จากไดรฟ์ C: เพื่อขยายพื้นที่ของไดรฟ์ C: ให้เพิ่มมากขึ้น ในขั้นตอนนี้ให้เข้าไป Copy file จาก DT1 มาไว้ใน Ext1 ทั้งหมด

เพิ่มพื้นที่ Drive C

จากนั้นเข้าไปที่ Disk Manager อีกครั้ง แล้วดูเป้าหมายไดรฟ์ที่เราต้องการลบเอาไว้

เพิ่มพื้นที่ Drive C

Delete Volume

คลิ๊กขวาที่ไดรฟ์ D: DT1 แล้วเลือก Delete Volume… เพื่อทำการเคลียร์พื้นที่

เพิ่มพื้นที่ Drive C

เมื่อลบแล้ว จากไดรฟ์ DT1 ก็จะกลายเป็น Unallocated คือเป็นไดรฟ์ว่างๆ แต่ยังไม่มีไฟล์ระบบ หรือ File system เป็นฟอร์แมตใด

เพิ่มพื้นที่ Drive C

Extended Volume

ให้คลิ๊กขวาที่ไดรฟ์ C: ที่เป็นไดรฟ์ระบบ ที่ใช้ในการบูตวินโดว์ 10 จากนั้นเลือก Extended Volume… เพื่อเริ่มการขยายพื้นที่ไดรฟ์ จากเดิมจะเห็นได้ว่า ความจุของ C: อยู่ที่ 378GB โดยประมาณ

เพิ่มพื้นที่ Drive C

เมื่อเลือก Extended แล้ว ระบบจะให้เราเลือกไดรฟ์ที่เป็นพื้นที่ว่าง ในตัวอย่างนี้เป็น Disk 0 ซึ่งมีความจุว่างๆ ประมาณ 60GB กรณีที่เราต้องการให้พื้นที่ทั้งหมดนี้มาเพิ่มไว้ในไดรฟ์ C: ก็ไม่จำเป็นต้องแก้ตัวเลข ให้คลิ๊ก Next ได้เลย

เพิ่มพื้นที่ Drive C

ระบบจะเริ่มการทำงาน เพื่อรวมพื้นที่ให้กับไดรฟ์ C: เมื่อเสร็จสิ้น ให้คลิ๊ก Finish

เพิ่มพื้นที่ Drive C

เมื่อเข้าไปดูใน Disk Management จะเห็นได้ว่าสุดท้ายแล้วไดรฟ์ C: ก็จะมีพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 378GB มาเป็น 437GB โดยประมาณ จากการนำพื้นที่ว่างที่เราแบ่งเอาไว้ มาใส่ไว้ในไดรฟ์นี้ อย่างน้อยๆ 60GB ส่วนไดรฟ์ Ext1 หรือที่เราแบ่งเอาไว้เก็บข้อมูล ด้วยการสำรองไฟล์จากไดรฟ์ DT1 ก็ยังคงอยู่พร้อมกับข้อมูลเดิมที่เราเก็บเอาไว้นั่นเอง

เพิ่มพื้นที่ Drive C

และเมื่อเข้าไปดูใน File Explorer ก็จะเห็นว่ามีไดรฟ์ทั้ง 2 ปรากฏอยู่ตามปกติ คุณสามารถใช้ไดรฟ์ E ในการเก็บข้อมูลได้ รวมถึงติดตั้งโปรแกรมหรือเกมเพิ่มเติมได้บนไดรฟ์ C: ที่มีที่ว่างเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย

7 วิธี เพิ่มพื้นที่ว่าง ลงเกมใหม่ แบบไม่ต้องลบเกมเก่า ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

วิธีเพิ่มพื้นที่ Drive C ด้วยโปรแกรม EaseUS Partition Master

1. โหลดโปรแกรม EaseUS Partition Master จากลิ้ง 1 หรือ 2

เพิ่มพื้นที่ Drive C

2. กด Next ติดตั้งไปเรื่อยๆ แลอย่าลืมติ๊กในส่วนหน้าที่จะโหลดโปรแกรมเสริมออก ไม่งั้นจะได้โปรแกรมอื่นมาเพิ่ม และหน้าให้ใส่ชื่อกับเมลไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้

เพิ่มพื้นที่ Drive C
e31
เพิ่มพื้นที่ Drive C
e5

3. เมื่อเราติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้วก็จะได้โปรแกรม EaseUS Partition Master 12.5 มาอยู่หน้า Desktop

เพิ่มพื้นที่ Drive C

4. เมื่อเราเข้าโปรแกรม ให้เลือกที่ไดร์ D จากนั้นกด Resize/ move partition ที่มุมบนซ้าย

เพิ่มพื้นที่ Drive C

5. จากนั้นให้เลื่อนจากทางด้านซ้ายลดขนาดไดร์ D ตามจำนวนที่เราพอใจ สังเกตว่าในรูปลดพื้นที่ไดร์ D ไปประมาณ 97 GB เมื่อพอใจแล้วก็กด OK ด้านล่าง

เพิ่มพื้นที่ Drive C

6. เลือกไดร์ฟ C  จากนั้นกด Resize/ move partition ที่มุมบนซ้าย สังเกตที่กรอบสีเหลืองนั่นคือพื้นที่ที่เราสามารถเพิ่มลงไดร์ฟ C ได้

e88

7. เลื่อนเพิ่มพื้นที่ไดร์ฟ C ไปทางด้านขวา จากนั้นกด OK

เพิ่มพื้นที่ Drive C

8. กลับมาที่หน้าแรก กด Apply ที่มุมบนขวา จะมีข้อความให้ยืนยัน กด Yes และ Yes อีกที ตัวเครื่องจะทำการีสตาร์ทอัตโนมัติ สังเกตว่าพื้นที่ตรง Unallocated จะหายไป

e999

9. เมื่อตัวเครื่องทำการรีสตาร์ทจะขึ้นหน้าประมาณนี้ ไม่ต้องตกใจ รอสักพักหนึ่งก็เป็นอันเสร็จสิ้นวิธีเพิ่มพื้นที่ Drive C ขึ้นตามที่เรากำหนดมานั่นเองครับ

e9999

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการ เพิ่มพื้นที่ Drive C โดยจากแบ่งจากไดร์ฟ D ด้วยวิธีการง่ายๆ สามารถทำได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องไปหาช่างให้เสียเงินหรือลง Windows ใหม่ ซึ่งวิธีการนี้ใช้ได้เฉพาะฮาร์ดดิสก์ที่แบ่งพาร์ทิชั่นไดร์ฟ C กับไดร์ฟ D ในฮาร์ดดิสก์หรือ SSD ลูกเดียวกันเท่านั้น ไม่สามารถเพิ่มแบบฮาร์ดดิสก์คนละลูกได้ ซึ่งอย่างไรก็ตามในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ C ควรเป็น SSD ได้แล้ว เพื่อจะได้เปิด-ปิดคอมได้เร็วขึ้น รวมถึงเปิดปิดโปรแกรมได้รวดเร็วเช่นกัน แล้วเอาฮาร์ดดิสก์ปกติไว้เก็บข้อมูลจะดีกว่าครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

วิธีสร้างปุ่ม Shortcut Shutdown และ Restart ไว้ใช้เองแบบง่ายๆ  สำหรับเพื่อนท่านไหนที่ขี้เกียจกดเมาส์หลายรอบกว่าจะปิดเครื่องได้ ต้องเลื่อนเมาส์หาไอคอน Windows เปิดเมนูขึ้นมากด Power เลื่อนหาและกดเมนู Shutdown หรือ Restart Advertisement ต้องใช้หลายขั้นตอน กว่าจะปิดเครื่องหรือ รีเครื่องได้ บางทีจังหวะเร่งด่วนมันก็ไม่ค่อยทันใจเราเสียเลยบางคนเซียนขึ้นหน่อย ใช้คีย์ลัดไปเลย Alt + F4...

How to

ไดร์ d หาย 8 วิธีแก้หาไดร์ไม่เจอ Windows 11 ตรวจเช็ค กู้คืนไดร์ให้กลับมาฉบับปี 2023 ไดร์ d หาย หาไดร์ไม่เจอ เกิดจากอะไร แก้ได้ป้องกันได้อย่างไรในปี 2023 ปัญหานี้สร้างความเสียหายได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นไดรฟ์ที่ใช้เก็บหรือสำรองข้อมูล เมื่อเกิดความเสียหาย ก็อาจทำให้ข้อมูลสำคัญต่างๆ หายไปได้ โดยเฉพาะกับ SSD...

How to

โน๊ตบุ๊คเปิดไม่ติด เช็คตรงจุด 8 วิธีแก้ปัญหาก่อนส่งซ่อม ทำเองได้ อัพเดตปี 2023 ฟรี! โน๊ตบุ๊คเปิดไม่ติด อย่าเพิ่งท้อ เพราะอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อย่างที่คิด ลองเช็คสิ่งที่อยู่รอบข้าง ก็อาจจะช่วยให้ใช้งานได้ตามปกติ ในปี 2023 นี้ บางคนอาจจะเริ่มกับการทำงานจริงจัง หรือกำลังไปเรียนแบบออนไซต์กันได้แล้ว การใช้งานโน๊ตบุ๊คที่หนักหน่วงในช่วงที่ออนไลน์กันอย่างต่อเนื่องในช่วงระบาดชของ COVID19 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายคน มีวิถีชีวิตที่หนักหน่วง ทำงานด้วย...

SOFTWARE

ย้าย Windows ไป SSD ด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่ต้องง้อ IT ให้เสียเวลา บอกเลยทำได้ง่ายไม่ต้องคิดมาก ก่อนหน้านี้การย้าย Windows ไป SSD นั้นถ้าไม่ได้ยกไปให้ร้านคอมพิวเตอร์ทำก็เป็นเรื่องยากจนหลายคนที่ไม่เก่งเรื่องคอมพิวเตอร์คงจะคิดว่าต้องถอดไดรฟ์เก่าออกแล้วใส่ SSD ลูกใหม่ลงไป ค่อยลง Windows ใน SSD ค่อยไล่ลงโปรแกรมและเซ็ตตั้งค่าตัวเครื่องกันให้วุ่นวายจนอาจจะกลายเป็นฝันร้ายของคนที่ไม่เก่งไม่ถนัดคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว Advertisement อันที่จริงปัญหานี้ไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่อย่างที่คิด เนื่องจากปัจจุบันนี้ผู้พัฒนาหลายๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก