ถ้าคุณเคยได้ยินมาว่าโน๊ตบุ๊คนั้นสามารถที่จะทำการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ต่างๆ ในเครื่องได้ค่อนข้างยาก ถือว่าคุณได้ยินสิ่งที่ถูกต้องมาแล้วล่ะครับเนื่องจากว่าโน๊ตบุ๊คนั้นจะมาพร้อมกับฮาร์ดแวร์ที่อัดแน่นกันอยู่ภายในซึ่งทำให้คุณสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้ยากจริงๆ เหตุผลหนึ่งนั้นก็คือโน๊ตบุ๊คนั้นเสมือนกับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสร็จมาแล้วสมบูรณ์พร้อมให้ผู้ใช้ใช้งานมากกว่าการที่จะนำไปการอัพเกรดเพิ่มเติมครับ
ภายในของ Eurocom Tornado F5 gaming
โดยความที่ฮาร์ดแวร์นั้นถูกอัดแน่น(ด้วยการคำนวณมาอย่างดี) ดังนั้นแล้วการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ต่างๆ จึงค่อนข้างที่จะยาก แต่มันก็ใช่ว่าคุณจะไม่สามารถทำการอัพเกรดมันไม่ได้เลยครับ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูกันครับว่าโน๊ตบุ๊คที่ว่าอัพเกรดไม่ได้(หรือได้ก็ยาก) จะมีฮาร์ดแวร์ส่วนไหนบ้างที่คุณสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้บ้างครับ
อะไรบ้างที่คุณสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้
The Eurocom Tornado F5 โน๊ตบุ๊ครุ่นหนึ่งที่เปิดโอกาสให้คุณอัพเกรดได้หลายส่วน
ก่อนอื่นเลยต้องบอกไว้ก่อนครับว่าใช่ว่าโน๊ตบุ๊คทุกรุ่นจะสามารถที่ทำการอัพเกรดได้เหมือนกันทั้งหมด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนเลยว่าคุณไม่สามารถที่จะอัพเกรดเองได้นั้นก็อย่างเช่น MacBook 2016 ที่ไม่ว่าจะยังไงคุณก็ไม่สามารถที่จะทำการอัพเกรดได้เอง ส่วนใหญ่แล้วโน๊ตบุ๊คที่คุณจะสามารถอัพเกรดได้เองนั้นจะเป็นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Windows มากกว่าครับ
ทั้งนี้ก็มีโน๊ตบุ๊คอยู่เครื่องหนึ่งอย่าง Eurocom Tornado F5 (MSI 16L13) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถที่จะทำการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ได้หลายๆ ส่วน ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเก็บข้อมูล, หน่วยความจำสำหรับระบบ(RAM) , หน่วยประมวลผล(CPU), กราฟิกชิป(GPU) และแบตเตอรี่ครับ
อย่างไรก็ตามแต่อย่างที่บอกไว้นะครับว่าโน๊ตบุ๊คแต่ละเครื่องแต่ละยี่ห้อนั้นเปิดโอกาสให้คุณทำการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ได้ไม่เหมือนกันดังนั้นแล้วโน๊ตบุ๊คของคุณที่ใช้อยู่นั้นอาจจะไม่สามารถอัพเกรดฮาร์ดแวร์ได้เหมือนกับ Eurocom Tornado F5 (MSI 16L13) ที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างในบทความนี้ครับ
The Important Upgrades
อย่างที่บอกไปครับว่า Eurocom Tornado F5 (MSI 16L13) ที่ถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างในบทความนี้สามารถที่จะทำการอัพเกรดฮาร์ดแวร์ได้หลายส่วน แต่กับโน๊ตบุ๊คของคุณแล้วนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องดูในส่วนของคำอธิบายสเปคเพื่อที่จะเป็นการตรวจสอบครับว่าเครื่องโน๊ตบุ๊คของคุณสามารถที่จะอัพเกรดส่วนไหนได้บ้าง โดยทั่วไปแล้วนั้นโน๊ตบุ๊คทั่วไปจะสามารถอัพเกรดได้ในส่วนของหน่วยความจำและแหล่งเก็บข้อมูลครับ
เอาเป็นว่ามาดูกันดีกว่าครับว่าเราจะสามารถที่ทำการเช็คฮาร์ดแวร์ที่สามารถทำการอัพเกรดได้อย่างไรครับ
System Memory (RAM)
โดยทั่วไปแล้วหน่วยความจำของระบบหรือ RAM นั้นมักจะเป็นฮาร์ดแวร์หลักๆ ที่สามารถทำการอัพเกรดได้ครับ ในปี 2017 นี้นั้นเราจะได้เห็นกันว่าหน่วยความจำที่ให้มาพร้อมกับโน๊ตบุ๊คนั้นจะมีความจุอยู่ที่ 8 GB เป็นอย่างต่ำ ทว่าการที่จะใช้งานให้ได้ดีนั้น ณ เวลานี้ก็น่าจะมีหน่วยความจำอยู่ที่ 16 GB ขึ้นไปครับ
หน่วยความจำนั้นถือได้ว่าเป็นฮาร์ดแวร์ที่สามารถที่จะทำการอัพเกรดได้ง่ายที่สุดครับสิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องดูไว้ก็คือเครื่องโน๊ตบุ๊คของคุณสามารถที่จะอัพเกรดหน่วยความจำได้สูงสุดที่ขนาดเท่าไร ซึ่งโดยส่วนมากนั้นจะอยู่ที่ 16 GB หรือไม่ก็ 32 GB และสิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นจะต้องดูประกอบไปด้วยนั้นก็คือ slot DIMM ของโน๊ตบุ๊คของคุณว่าจะสามารถใส่หน่วยความจำสูงสุดได้กี่แถวเพื่อที่จะได้ทำการเลือกการอัพเกรดได้ถูกต้องครับ
แต่ครับแต่ โน๊ตบุ๊คบางรุ่นบางยี่ห้อนั้นก็ไม่เป็นโอกาศให้คุณสามารถที่จะทำการอัพเกรดหน่วยความจำได้ครับเนื่องจากว่าหน่วยความจำของโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆ จะติดตั้งโดยตรงบนเมนบอร์ด ซึ่งการที่จะทำการอัพเกรดนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องเอาเครื่องเข้าศูนย์เพื่อที่จะทำการเปลี่ยนตัวบอร์ดที่มาพร้อมกับหน่วยความจำที่มากกว่าเดิมครับ
หมายเหตุ – สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถจะลืมได้เลยนั่นก็คือคุณต้องดูเงื่อนไขการรับประกันด้วยครับว่าโน๊ตบุ๊คของคุณนั้นสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้เองโดยประกันไม่หลุดหรือไม่เนื่องจากว่าโน๊ตบุ๊คบางยี่ห้อนั้นจะประกันหลุดทันทีที่คุณไขสกรูที่ยึดฝาหลังของตัวเครื่องออกมาครับ
สำหรับโน๊ตบุ๊คที่สามารถทำการอัพเกรดได้เองนั้นมักจะมีการระบุดังต่อไปนี้ครับ
- โน๊ตบุ๊คที่ระบุเอาไว้ว่ารองรับหน่วยความจำสูงสุดได้มากกว่าตอนที่คุณซื้อเครื่องมา : โดยปกติทั่วไปแล้วโน๊ตบุ๊คที่สามารถจะอัพเกรดหน่วยความจำได้จะระบุไว้ชัดเจนครับว่าตัวเครื่องสามารถรองรับหน่วยความจำได้สูงสุดที่เท่าไร ตัวอย่างเช่นโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมหน่วยความจำขนาด 8 GB ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้นจะมีอยู่ 2 ประเภทอย่างการมาพร้อมกับหน่วยความจำขนาด 8 GB 1 แถว หรือ 4 GB จำนวน 2 แถว ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้แล้วคุณสามารถที่จะทำการอัพเกรดหน่วยความจำเพิ่มได้ครับ
- โน๊ตบุ๊คที่ระบะเอาไว้ชัดเจนว่ามี slot DIMM จำนวนกี่ slot : ซึ่งถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่สามารถที่จะทำการอัพเกรดได้โดยตรงโดยสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้ตามจำนวน slot DIMM ที่สเปคของตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คนั้นได้ทำการระบุเอาไว้ครับ(ส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้ระบุ DIMM slot เอาไว้ตัวโน๊ตบุ๊คดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถอัพเกรดได้เพราะหน่วยความจำได้ติดตั้งลงไปโดยตรงที่ตัวบอร์ดครับ)
- โน๊ตบุ๊คที่ระบุประเภทของหน่วยความจำเอาไว้ : ถ้าโน๊ตบุ๊คของคุณระบุไว้ว่ามีการใช้งานหน่วยความจำแบบปกติอย่างเช่น DDR3L-1866 หรือ DDR4-2400 จะสามารถที่ทำการอัพเกรดหน่วยความจำได้ครับ แต่ถ้าโน๊ตบุ๊คของคุณระบุเอาไว้ว่าใช้หน่วยความจำแบบ LPDDR3 นั้นให้รู้ไว้เลยครับว่าคุณจะไม่สามารถอัพเกรดหน่วยความจำได้เนื่องจากว่าหน่วยความจำแบบ LPDDR3 นั้นจะจำหน่ายมาพร้อมกับบอร์ดของโน๊ตบุ๊คเท่านั้นครับ
- โน๊ตบุ๊คที่ไม่ใช่ ultra-thin model : ถ้าโน๊ตบุ๊คของคุณเป็นแบบ ultrathin ที่มีความหนาของตัวเครื่องไม่เกิน 0.8 นิ้ว คุณจะไม่สามารถอัพเกรดหน่วยความจำได้ครับเนื่องจากว่าหน่วยความจำของโน๊ตบุ๊คประเภทนี้นั้นจะฝังอยู่ที่บอร์ด แต่ถ้าโน๊ตบุ๊คของคุณไม่ใช่แบบ Ultrathin แล้วหล่ะก็ ส่วนใหญ่แล้ว 90% คุณจะสามารถที่ทำการอัพเกรดหน่วยความจำได้เองครับ
Storage (Hard Drive/Solid-State-Drive/SSD)
มาต่อกันที่แหล่งเก็บข้อมูลซึ่งถือว่าเป็นอีกฮาร์ดแวร์หนึ่งที่คุณสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้เองครับ จะเว้นก็แต่เครื่องรุ่นที่แหล่งเก็บข้อมูลฝังมากับเมนบอร์ด ตัวอย่างเช่น Apple MacBook ที่คุณไม่สามารถจะอัพเกรดแหล่งเก็บข้อมูลได้ด้วยตัวเองเป็นต้นครับ สำหรับโน๊ตบุ๊คที่สามารถทำการอัพเกรดแหล่งเก็บข้อมูลได้เองนั้นมักจะมีการระบุเอาไว้ดังต่อไปนี้ครับ
- โน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับถาดแหล่งเก็บข้อมูลขนาด 2.5 นิ้ว : โน๊ตบุ๊คที่มีการระบุไว้แบบนี้นั้นคุณสามารถที่จะทำการหาซื้อแหล่งเก็บข้อมูลทั้ง HDD และ SSD มาทำการอัพเดทได้ด้วยตัวเองครับ แถมตัวเลือกการอัพเกรดของคุณนั้นยังมีค่อนข้างที่จะมากเนื่องจากในตลาดนั้นมีการวางจำหน่ายแหล่งเก็บข้อมูลแบบนี้ค่อนข้างที่จะมากเลยทีเดียวครับ
- โน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับแหล่งเก็บข้อมูลแบบ M.2 slot สำหรับ SSD : เช่นเดียวกันครับ ถ้าแหล่งเก็บข้อมูลของตัวฮาร์ดดิสของคุณนั้นเป็นแบบ M.2 แล้วนั้นโดยส่วนใหญ่คุณจะสามารถที่ทำการอัพเกรดแหล่งเก็บข้อมูลแบบนี้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าคุณมีตัวเลือกในการอัพเกรดได้มากมายเลยทีเดียวครับ
- โน๊ตบุ๊คที่มีแหล่งเก็บข้อมูลหลายประเภท : สำหรับโน๊ตบุ๊คแบบนี้นั้นคุณมีตัวเลือกในการอัพเกรดได้มากเลยทีเดียวครับ โน๊ตบุ๊คแบบนี้นั้นถือว่าเป็นสวรรค์ของการเพิ่มแหล่งเก็บข้อมูลที่สุดตัวอย่างเช่นคุณสามารถที่จะอัพเกรด M.2 slot และแหล่งเก็บข้อมูลขนาด 2.5 นิ้วได้พร้อมกันครับ
Processor (Central Processing Unit/CPU)
สำหรับหน่วยประมวลผลนั้นบอกได้เลยครับว่าถ้าคุณซื้อโน๊ตบุ๊คมาหลังปี 2015 แล้วนั้นการอัพเกรดหน่วยประมวลผลนั้นไม่สามารถที่จะทำได้เลยครับ แถมการหาหน่วยประมวลผลมาทำการอัพเกรดนั้นก็เรียกได้ว่ายากแบบสุดๆ เนื่องจากว่าทาง Intel นั้นเลิกผลิตหน่วยประมวลผลสำหรับการอัพเกรดมาแล้วครับ
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากว่าทาง Intel ต้องการที่จะให้ผู้ใช้นั้นเปลี่ยนเครื่องรุ่นใหม่ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลรุ่นใหม่มากกว่าที่จะทำการอัพเกรดหน่วยประมวลผลทีหลังครับ แน่นอนว่าเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วนั้นหากเครื่องของคุณมีปัญหาในส่วนของหน่วยประมวลผลแล้วล่ะก็ทำใจไว้ได้เลยครับว่าคุณจะต้องทำการเปลี่ยนเครื่องใหม่หรือไม่ก็ต้องเปลี่ยนบอร์ดไปเลย(ซึ่งราคานั้นเรียกได้ว่าซื้อเครื่องใหม่ดูจะคุ้มมากกว่าครับ)
แต่ครับแต่ ถ้าเครื่องโน๊ตบุ๊คของคุณนั้นมาพร้อมกับหน่วยประมวลผลสำหรับ Desktop ตัวอย่างเช่น Core i7-7700 นั่นถือว่าคุณโชคดีเป็นอย่างมากเนื่องจากบนตัวโน๊ตบุ๊คนั้นจะมาพร้อมกับ Socket สำหรับใส่หน่วยประมวลผลซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ตัวคุณเองนั้นสามารถที่จะทำการอัพเกรดหน่วยประมวลผลได้อย่างเช่น Eurocom Tornado F5 (MSI 16L13) ที่เราแนะนำในบทความนี้ครับ
Graphics Card (GPU/Graphics Processing Unit)
ท้ายสุดกับชิปกราฟิกที่ไม่ได้แตกต่างอะไรไปจากหน่วยประมวลผล อย่างแรกเลยก็คือถ้าเครื่องโน๊ตบุ๊คของคุณนั้นมาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบฝังกับหน่วยประมวลผล คุณไม่มีโอกาสเลยครับที่จะสามารถทำการอัพเกรดชิปกราฟิกได้ แต่ถ้าเครื่องของคุณมาพร้อมกับกราฟิกแบบแยกซึ่งใช้ MXM slot นั้นคุณยังมีโอกาสที่จะสามารถทำการอัพเกรดชิปกราฟิกได้แต่ก็ใช่ว่าจะหาได้ง่ายๆ นะครับเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วกราฟิกชิปที่ใช้การเชื่อมต่อแบบ MXM slot นั้นหากในตลาดได้ค่อนข้างที่จะยากพอดูเลยล่ะครับ
แต่ต้องขอบคุณเทคโนโลยีใหม่อย่างกล่องสำหรับใส่กราฟิกการ์ดภายนอกที่ในปัจจุบันนั้นมีการวางจำหน่ายมากขึ้นกว่าเดิมทำให้การอัพเกรดกราฟิกการ์ดสำหรับเครื่องโน๊ตบุ๊คสามารถทำได้มากขึ้น โดยหากเครื่องของคุณมีพอร์ต Thunderbolt 3 หรือ USB Type-C แล้วนั้นคุณสามารถที่จะซื้อกล่องดังกล่าวเพื่อนำมาเชื่อมต่อกับโน๊ตบุ๊คและใช้กราฟิก Desktop เพื่อเพิ่มพลังในการเล่นเกมให้กับโน๊ตบุ๊คของคุณได้ครับ
ทว่าสิ่งที่น่าเสียดายนั้นก็คือคุณจำเป็นที่จะต้องใช้เงินในการอัพเกรดในส่วนนี้มากขึ้นหน่อยโดยเผลอๆ แล้วบางทีการซื้อกล่องสำหรับใส่กราฟิกการ์ดภายนอกที่ต้องซื้อกราฟิกการ์ดเพิ่มบางทีอาจจะมีต้นทุนสูงมากกว่าการซื้อโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมในระดับกลางมาใช้งานซะอีกด้วยซ้ำไปครับ
บทสรุป
คงต้องยอมรับกันล่ะครับว่าโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันนั้นการอัพเกรดของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถทำได้ลดลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ฮาร์ดแวร์ที่ทางผู้ผลิตเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถทำการอัพเกรดโน๊ตบุ๊คของตัวเองได้มากที่สุดนั้นคงหนีไม่พ้นกับส่วนของหน่วยความจำและแหล่งเก็บข้อมูล และโชคยังดีอยู่บ้างที่ฮาร์ดแวร์ทั้ง 2 ส่วนนั้นสามารถที่จะทำการอัพเกรดได้โดยง่าย
หากจะให้ดีแล้วนั้นในการเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันนั้นคุณควรที่จะดูโน๊ตบุ๊คที่มาพร้อมกับสเปคอย่างที่คุณต้องการใช้งานให้มากที่สุด หรือดูให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานตัวเครื่องที่คุณตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะอยากใช้งานยาวนานเท่าไร และสิ่งหนึ่งเลยที่ไม่สามารถจะลืมไปได้ก็คือให้คุณดูเงื่อนไขการรับประกันของตัวเครื่องด้วยครับว่าถ้าคุณอัพเกรดฮาร์ดแวร์แล้วประกันจะหลุดหรือไม่ครับ
ที่มา : notebookreview