Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

เสียบ USB ไม่ขึ้น Windows 10 วีธีแก้ไขปัญหา USB มองไม่เห็น แฟลชไดรฟ์หาย

USB Device ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดรฟ์ ปริ้นเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอก จอยสติ๊ก หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB แม้ว่าจะส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Plug & Play กันไปหมดแล้ว แต่บางครั้งเราก็พบว่า เมื่อเสียบเข้าพอร์ต USB

USB Device ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดรฟ์ ปริ้นเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ต่อภายนอก จอยสติ๊ก หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการเชื่อมต่อผ่านพอร์ต USB แม้ว่าจะส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Plug & Play กันไปหมดแล้ว แต่บางครั้งเราก็พบว่า เมื่อเสียบ USB ไม่ขึ้น Windows 10 ไม่มีปฏิกิริยาใดๆ เกิดขึ้น และบางทีก็ไม่มีการตรวจเช็ค (Detect) ในการใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งปัญหาไม่พบอุปกรณ์เมื่อต่อ USB Device เมื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ มีโอกาสเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น

เสียบ USB ไม่ขึ้น WIndows

วิธีแก้ปัญหา เสียบ USB ไม่ขึ้น Windows 10

อุปกรณ์เสีย >> หรืออุปกรณ์บางรุ่น ต่อพอร์ต USB แล้ว กลับไม่แสดงผลหรือไม่ทำงาน คือไม่มีไฟเลี้ยงเข้าสู่ตัวอุปกรณ์ เช่น แฟลชไดรฟ์หรือ Ext Drive ก็มีโอกาสที่เกิดขึ้นได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะใช้งานได้ก็ตาม แต่ก็ทำให้มองไม่เห็น USB ได้เช่นกัน

Advertisement
เสียบ USB ไม่ขึ้น WIndows

พอร์ต USB เสีย >> ก็มีความเป็นไปได้สูง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับพอร์ตบนพีซีหรือโน๊ตบุ๊ค อาจจะต้องสังเกตว่ามีการแตกหักเสียหายหรือไม่ รวมถึงสายขาดด้วยหรือเปล่า เพราะหลายคนยังนิยมดึงที่สาย ก็อาจทำให้สายขาดในได้เช่นกัน กรณีนี้ให้ลองนำอุปกรณ์อื่นๆ มาต่อใช้ก่อน

เสียบ USB ไม่ขึ้น WIndows

ไฟไม่พอ >> อุปกรณ์บางอย่างไม่สามารถใช้ไฟจากพอร์ต USB ปกติได้อย่างเดียว แต่ต้องใช้สายไฟเชื่อมต่อจากปลั๊กโดยตรง จุดนี้ควรต้องเช็คให้แน่ใจ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากไฟกระชากหรือไฟตก

เสียบ USB ไม่ขึ้น WIndows

ซึ่งหากไม่ได้เกิดอาการผิดปกติ อย่างที่แจ้งไว้ในข้างต้น ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ดังนั้นก็มีวิธีการในการตรวจสอบความผิดปกติต่างๆ โดยทำไปตามขั้นตอนต่อไปนี้ ในการแก้ไขปัญหา มองไม่เห็น USB ไม่เจอ Flash drive ไดรฟ์หายบน Windows 10

เช็คใน BIOS : เริ่มต้นหลังจากที่เราได้ต่ออุปกรณ์ผ่านทาง USB พอร์ตไปแล้ว ให้บูตเครื่องและกดปุ่มบนคีย์บอร์ด เพื่อเข้าสู่ไบออส เช่น Del สำหรับเครื่องพีซีหรือ F2 สำหรับโน๊ตบุ๊ค แล้วเข้าไปดูในส่วนของ BIOS ว่ามีการ Disable USB Device ด้วยหรือไม่ ให้เลือกเป็น Enable เพื่อเปิดการทำงานต่อไป รวมถึงตรวจเช็คหน้า Information เพื่อดูว่าอุปกรณ์ที่เราต่อไว้ เช่น Ext HDD ตรวจพบตามปกติหรือไม่

1 3

ลองดูใน Device Manager : เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณมีโอกาสแก้ไขได้ง่ายขึ้น โดยใน Device manager นี้ คุณจะสามารถมองเห็นการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ได้ชัดเจน ซึ่งให้คุณคลิกเข้าไปที่ USB Serial Bus controllers แล้วเช็คดูว่ามีรายการอุปกรณ์ที่คุณติดตั้งอยู่หรือไม่ หากไม่มี ให้ลองถอดอุปกรณ์แล้วต่อใหม่ หรือคลิกไปที่เมนู Action > Scan for hardware change

เปิดการทำงานของ Device Manager ด้วยการคลิ๊กขวา Start Menu แล้วเลือก

  • เข้าไปที่ Universal Serial Bus controller จากนั้นคลิ๊กขวาที่เป็น USB Device ที่เกิดปัญหา
  • เลือกที่ Update Driver
  • ทำตามขั้นตอน จนกว่าจะอัพเดตไดรเวอร์เสร็จสิ้น
  • ปิดหน้าต่าง Device Manager
  • รีสตาร์ทระบบใหม่อีกครั้ง แล้วตรวจเช็คการทำงาน

ลงไดรเวอร์ : แต่ถ้าในกรณีที่เจอ Device ในรายการ แต่ก็ยังไม่ทำงาน ให้ลองคลิกขวาที่รายการดังกล่าว แล้วเลือก Update driver software อีกครั้งหรือจะดาวน์โหลดไดรเวอร์อุปกรณ์โดยตรงจากผู้ผลิต แล้วติดตั้งใหม่อีกที ถ้าให้ดีควร Uninstall ไดรเวอร์ตัวเก่าออกด้วย

HDD Properties

เปลี่ยน Drive Letter : สำหรับแฟลชไดรฟ์หรือ Ext. HDD มีโอกาสที่ชื่อไดรฟ์จะไปซ้ำกับไดรฟ์ที่มีอยู่บนตัวเครื่อง เพราะไดรฟ์บางตัวมีการกำหนด Drive Letter หรือชื่อไดรฟ์เอาไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อคุณติดตั้งไดรฟ์ใหม่เข้ามา มีโอกาสที่จะชื่อซ้ำ และทำไห้เรามองไม่เห็นได้เช่นกัน ทางแก้ไขก็เพียง เข้าไปที่ Disk Management แล้วคลิกขวาไดรฟ์ปกติที่ใช้อยู่หรือคาดว่าจะซ้ำ ซึ่งจะไม่ใช่ไดรฟ์ C: ให้ลองเปลี่ยนไดรฟ์อื่นๆ ให้เลื่อนออกไป เช่น F:, G: หรืออื่นๆ เพื่อรีสตาร์ตใหม่อีกครั้งหนึ่้ง ก็ช่วยในการแก้ไขปัญหา มองไม่เห็น USB ไม่เจอ Flash drive ไดรฟ์หายบน Windows 10

แต่ถ้าในกรณีที่ยังไม่สามารถใช้งานได้ เสียบ USB ไม่ขึ้น Windows 10 แม้จะทำตามขั้นตอนที่ว่ามาในเบื้องต้นนี้ ก็อาจลองใช้วิธี Restore Windows 10 เพื่อให้ระบบกลับคืนมาในช่วงที่ยังใช้งานได้ ก็มีโอกาสที่ช่วยให้ ตรวจเช็คหรือ Detect อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้น ให้กลับคืนมาเหมือนเดิม

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

10 Tips Microsoft Edge 2024 ช่วยทำงานไว ปรับแต่งง่าย ใช้งานสะดวกกว่าเดิมเยอะ Microsoft Edge อีกหนึ่งเว็บเบราว์เซอร์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน และยังไม่ต้องไปหาดาวน์โหลดเพิ่ม เพราะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการแล่ว อย่างล่าสุด Windows 11 ก็พร้อมใช้งาน และยังมีฟีเจอร์อย่าง Microsoft Copilot เข้ามาเพิ่มความสามารถให้ใช้งาน AI ได้สะดวกยิ่งขึ้น...

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

Buyer's Guide

ในยุคนี้ที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออฟไลน์หาซื้อได้ง่ายหลายช่องทางจะหาซื้อแฟลชไดร์ฟราคาดีก็ง่าย กำเงินไปร้อยสองร้อยบาทตรงเข้าร้านคอมใกล้บ้านก็ซื้อมาเซฟงานได้แล้ว ยิ่งยุคนี้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลก็ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแฟลชไดร์ฟความจุตั้งแต่ 8GB ไปจนหลัก TB วางขายกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันก็จะมีแบรนด์ชั้นนำอย่าง Lexar, Kingston, SanDisk ให้เลือกซื้อกัน แต่หลายคนคงสงสัยว่าจะซื้อของชิ้นนี้ไว้ทำไมในเมื่อมีวิธีเซฟข้อมูลให้เลือกตั้งมากมาย? ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวอย่างการฟอร์แมตคอมลง Windows ใหม่ ก็ต้องเขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการลงแฟลชไดร์ฟเอาไว้ล้างเครื่องอย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นสายท่องเที่ยวถ่ายภาพอัดคลิปไว้มากมายแล้วหน่วยความจำในมือถือเต็ม แทนที่จะอัปโหลดขึ้น Cloud ให้เปลืองแพ็คเกจโรมมิ่งหรือรอไปต่อ Wi-Fi ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่...

How to

นอกจากรู้วิธีกดติดตั้ง, เปิดและปิดโปรแกรมแล้ว Windows 11 เองก็มีคีย์ลัดวินโดว์ 11 ให้ผู้ใช้ทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากคำสั่งพื้นๆ อย่าง Copy/Paste และ Cut แล้ว ในเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ก็มีปุ่มลัดอื่นเสริมเข้ามาให้ใช้อีกมากมายกว่า 100 คำสั่ง ซึ่งหลายคนอาจรู้สึกว่ามันเยอะเกินไปจนไม่รู้จะใช้ยังไงให้ครบทุกอย่าง ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าทาง Microsoft เองใส่มาก็ไม่ใช่ว่าจะให้ผู้ใช้กดทุกคำสั่ง เพราะคีย์ลัดบางตัวก็อยู่กับโปรแกรมเฉพาะบางอย่างซึ่งเราอาจจะไม่ได้เปิดใช้บ่อยๆ และยังไม่รวมกับคำสั่งแยกเฉพาะของแต่ละโปรแกรมอีก ซึ่งเราเลือกจำเฉพาะคำสั่งใช้งานบ่อยก็เพียงพอแล้ว วิธีการกดคีย์ลัดวินโดว์...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก