โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จาก เส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
CPU Intel Pentium Dual Core Processor T4300 อาจจะดูไม่อลังการเท่าตระกูล Core i แต่ความเร็วในการคำนวนไม่น้อยเลย ไม่ถึง 30 วินาทีด้วยซ้ำ
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวนเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวนได้พร้อมกัน
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลายๆ รูปแบบ เช่น การคำนวนทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์ เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
เครื่องไม่สามารถทดสอบได้ทุกการทดสอบ เพราะติดที่ GPU แต่สำหรับการทำงานทั่วไปแล้วสบายมาก
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
ทดสอบที่ความละเอียด 1024 x 768
ทดสอบที่ความละเอียด 1280 x 720
ทดสอบที่ความละเอียด 1366 x 768
สรุปง่ายๆ ว่า เครื่องนี้ไม่เหมาะที่จะเล่นเกมที่ต้องใช้การเรนเดอร์แบบ 3 มิติเยอะๆ แม้จะเป็นเกมเล็กๆ ก็ตาม แต่เอาไว้เล่นพวก Casual Game หรือเกมใน Facebook ที่เรนเดอร์เป็น 2 มิติเพลินๆ นั้นได้อยู่ เพราะจอสามารถแสดงผลความละเอียดต่ำๆ ได้ไม่ผิดเพี้ยน
โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลายๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย
ผลออกมาคล้ายๆ กับคะแนนของ Windows ที่ CPU ได้คะแนนสูงมากๆ ส่วนด้านกราฟิกก็ได้น้อยลงไปตามลำดับ ตรงนี้ทำให้คะแนนรวมไม่สูงมาก เพราะโปรแกรมจะเฉลี่ยค่าทุกอุปกรณ์รวมกัน
โปรแกรม Sisoftware Sandra ใช้ตรวจสอบค่าต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลายคนรู้จักกันดี นอกจากเอาไว้อ่านค่าต่างๆ แล้วยังมีความสามารถในการทดสอบระบบ และเปรียบเทียบผลลัพท์ที่ออกมากับค่ากลางของอุปกรณ์รุ่นอื่นๆ ได้ทันที โดยจะทดสอบใน 3 โหมด ดังนี้
1. Processor Arithmetic
2. Memory Bandwidth
3. File Systems
โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่าน และการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้
ฮาร์ดดิสก์ที่ติดมากับเครื่องเป็นของ Seagate Momentus มีขนาด 250 GB หมุนที่ความเร็ว 5400 รอบต่อนาที มีบัฟเฟอร์ขนาด 8 MB เชื่อมต่อแบบ SATA3.0 ผลการทดสอบฮาร์ดดิสก์ตัวนี้มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 18.3 ms ค่อนข้างปกติ แต่มีอัตราการส่งข้อมูลค่อนข้างเหวี่ยงอยู่มาก แต่อัตราเฉลี่ยที่ 60.3 MB/s ก็ไม่น้อยเลยทีเดียว
โปรแกรม Wireless Mon ใช้ในการวัดความเสถียรของสัญญาณอินเตอร์เน็ตไร้สาย
สัญญาณของการ์ด Broadcom 802.11n ค่อนข้างนิ่งเลยทีเดียว วัดในขณะที่กำลังโหลดไฟล์ขนาด 800 MB ผ่านอินเตอร์เน็ต
วิธีการทดสอบ ใช้โปรแกรม CPU Burn-In เปิดตามจำนวน Thread ของ CPU ใช้ ATI Tools เปิดภาพสามมิติ และเปิดไฟล์วิดีโอขนาด 1920 x 1080 พร้อมกัน เพื่อให้เครื่องได้ทำการประมวลผลในทุกส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ และวัดผลด้วยโปรแกรม HW Monitor
อุณหภูมิก่อนการทดสอบ อุณหภูมิห้องอยู่ที่ 27-28 องศาเซลเซียส
ระหว่างการทดสอบ
อุณหภูมิหลังการทดสอบ
อุณหภูมิต่ำมากๆ ไม่ว่าจะทั้งตอนการทดสอบหรือหลังทดสอบ อุณหภูมิระหว่างทำงานสุดๆ สูงแค่ 43 องศาเซลเซียสเท่านั้น ถ้าเทียบกับขนาดของตัวเครื่องและรูระบายอากาศก็ต้องบอกว่ายอดเยี่ยมมาก
เครื่อง Lenovo A300 โดดเด่นด้วยการออกแบบ เป็นเหมือนเครื่องประดับชิ้นงามภายในบ้าน มีแสงไฟที่แกนออกมาจากลายของดอกไม้ ให้ความแตกต่างจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ อย่างชัดเจน หน้าจอขนาดใหญ่ให้คุณได้รับอรรถรสเต็มอิ่มยามชมภาพยนตร์เรื่องโปรด พร้อมความละเอียดระดับ Full HD จะนั่งหรือจะนอนอยู่บนโซฟาก็สามารถสั่งงานเครื่องได้ด้วยเมาส์และคีย์บอร์ดไร้สายแบบ Bluetooth ให้ความสะดวกสบายกับผู้ใช้ได้ดังใจฝัน เพียงแค่เปิดเครื่องและเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi หรือ Ethernet เครื่องนี้ก็พร้อมจะตอบสนองการใช้งานทั่วไปได้เต็มที่ ขอเพียงแค่หาโต๊ะแข็งๆ มาตั้งแล้วกัน เพราะเครื่องหนักมาก
ข้อดี
- เครื่องได้รับการออกแบบมาสวยงามมาก
- มีหน้าจอ LED ขนาดใหญ่ความละเอียดสูง
- อุณหภูมิเวลาทำงานต่ำมาก
ข้อสังเกต
- น้ำหนักเยอะ ต้องการโต๊ะที่แข็งแรงและไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ
- ไม่มีเครื่องอ่าน DVD มาให้
- วัสดุและออกแบบคีย์บอร์ดทำให้พิมพ์ยาก
- บริเวณพอร์ตต่างๆ จะเป็นส่วนเดียวกับตัวโลหะด้านล่าง เวลาเสียบขอให้ระวังไฟดูด