เมื่อไม่นานมีนี้ทาง Seagate พึ่งจะทำการเปิดตัวฮาร์ดดิสความจุขนาด 3TB ไปอย่างเป็นทางการครับ และในการเปิดตัวฮาร์ดดิสทุกครั้งนั้น Seagate ก็จะใช้การโฆษณาออกมาครับว่าฮาร์ดดิสของทาง Seagate มาพร้อมกับ “ความเชื่อถือได้” และ “ไว้วางใจได้” ในการใช้งานในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเร็ว ความคงทนและความปลอดภัยของข้อมูล(ซึ่งผู้ผลิตและจำหน่ายฮาร์ดดิสทุกยี่ห้อก็โฆษณาแบบนี้เหมือนกัน) ทว่าจากข่าวล่าสุดนั้นดูเหมือนว่าฮาร์ดดิสของทาง Seagate จะไม่เป็นไปตามที่ได้โฆษณากล่าวอ้างซะแล้วครับ
ในช่วงที่ผ่านมานั้นทางกลุ่มผู้ใช้ได้รวมตัวกันฟ้องร้อง Seagate เกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริงของทาง Seagate บนฮาร์ดดิสความจุ 3 TB ทั้งแบบติดตั้งภายในและใช้งานภายนอกว่าฮาร์ดดิสขนาดความจุดังกล่าวนั้นมีอัตราความล้มเหลวสูง(High Failure Rates) ซึ่งเป็นผลทำให้ฮาร์ดดิสเสียจนไม่สามารถใช้งานได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลของผู้ใช้งานซึ่งนั่นไม่อยู่ในประกันด้วยอีกต่างหาก(เพราะไม่มีประกันในส่วนของข้อมูลผู้ใช้) ที่สำคัญแล้วนั้นส่วนใหญ่ของผู้บริโภคที่พบกับปัญหานี้มักจะเจอปัญหาในช่วงเวลาที่รวดเร็วหลังจากใช้งานไปได้ไม่นานเท่าไรครับ(ทำให้ต้องส่งฮาร์ดดิสความจุดังกล่าวเคลมประกันกันเยอะมากเลยครับ)
โจทก์(ซึ่งเป็นผู้บริโภคหลายคน) ได้ฟ้องร้อง Seagate(ในฐานะจำเลย) ว่าโฆษณาเกินจริง(ตามที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้น) ซึ่งนั่นทั้งไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคและคู่แข่งของ Seagate ในการแข่งขัน ทั้งนี้ทางโจทก์ได้อ้างอิงข้อมูลมารจากทาง Backblaze เพื่อใช้ในการอ้างอิงเป็นหลักฐานในการฟ้องร้อง Seagate โดยข้อมูลของทาง Backblaze นั้นได้มีการรายงานหลายต่อหลายครั้งว่า Seagate เป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสที่แย่ที่สุด และจากการทดสอบอัตราความผิดพบาดของฮาร์ดดิสของ Seagate เมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดนั้นพบว่าเยอะกว่าคู่แข่งเป็นอย่างมากครับ
ภาพอัตราความล้อมเหลวของฮาร์ดดิส 3 ผู้ผลิตจากการทดสอบของ Backblaze ที่จะเห็นได้ว่า Seagate นั้นเยอะมากกว่าคู่แข่งมาก
ณ ตอนนี้ทาง Seagate ยังคงไม่มีการโต้ตอบหรือให้ข้อมูลออกมาครับว่าจะมีการต่อสู้กับเรื่องนี้อย่างไร ทว่าจากประสบการณ์ส่วนตัวของผมเองที่ใช้ฮาร์ดดิสค่อนข้างจะเปลืองมากนั้นพบครับว่าฮาร์ดดิสของ Western Digital นั้นมีอัตราการล้มเหลวต่ำสุด ส่วนที่เสียเยอะที่สุดนั้นก็เป็นของ Seagate นี่แหละครับ(สำหรับ Toshiba นั้นซื้อปุ๊บต่อแล้วเสียงแก๊กๆ มาทันทีเลยเลิกคบฮาร์ดดิสแบบติดตั้งภายในของ Toshiba ไปเลยหล่ะครับ)
ที่มา : overclock3d